|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
TTA แปรสภาพ " เมอร์เมด มาริไทม์ " เป็นมหาชน แจงต้องการทำให้ระบบบัชีโปร่งใสตรวจสอบได้ตามมาตรฐาน ส่วนการจะนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหรือไม่ ยังตอบได้ยาก แต่บริษัทนี้ก็มีแผนใช้เงินทุนเพื่อการขยายงาน ส่วนการอออกหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาท รอจังหวะดอกเบี้ยลด ปีนี้ตั้งเป้ารายได้เติบโต 8-9%
ม.ล. จันทรจุฑา จันทรทัต กรรมการผู้จัดการ บริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) ( TTA )รายงานว่าบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด โดยนายทะเบียนบริษัทมหาชนจำกัด กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ได้รับจดทะเบียนการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่15 มกราคม 2550
ณ ปัจจุบัน คณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น และทุนจดทะเบียนของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน)ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด โดยทุนจดทะเบียนของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) คือ 383,205,340 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 38,320,534 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท ซึ่งบริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมจำนวนร้อยละ78.09 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน)
บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจการถือหุ้น (holding company)โดยเป็นผู้ให้งานบริการเฉพาะทางนอกชายฝั่งซึ่งมีธุรกิจหลัก 2 ประเภท ได้แก่ งานบริการเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธาใต้น้ำ ได้แก่ การซ่อม ซ่อมบำรุง และตรวจสอบสิ่งก่อสร้างใต้น้ำ แท่นขุดเจาะที่อยู่นอกชายฝั่ง และเรือรวมทั้งงานบริการเกี่ยวกับเรือขุดเจาะเพื่อใช้ในงานอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง
นางนุช กัลยาวงศา ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและบัญชี TTA กล่าวว่ากรณีแปรสภาพ บริษัทย่อยแห่งนี้เป็นมหาชน เป็นการเตรียมความพร้อมในการระดมทุนในอนาคตของบริษัท เมอร์เมดฯ เนื่องจากอยู่ระหว่างขยายธุรกิจ จึงมีความต้องการใช้แหล่งเงินทุนจำนวนมาก เพราะมีแผนลงทุนเพิ่มในอนาคต การเป็นมหาชนถือเป็นการเตรียมพร้อมทุกด้านทั้งระบบบัญชีที่โปร่งใสต่างจากบริษัททั่วไป กู้เงินก็สะดวก รวมถึงการมีธรรมาภิบาล และสามารถตรวจสอบได้ให้เป็นไปตามมาตรฐาน และหากเชิญชวนผู้ลงทุนใหม่มาก็ตรวจสอบง่าย
ทั้งนี้ ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนขณะนี้ว่าจะนำบริษัท เมอร์เมดฯ เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์หรือไม่ เนื่องจากอยู่ระหว่างศึกษาแนวทางระดมทุน
สำหรับความคืบหน้าการออกขายหุ้นกู้ 1 หมื่นล้านบาทหลังจากผู้ถือหุ้นอนุมัติแล้ว ขณะนี้บริษัทฯมีความพร้อมที่จะออกขายหุ้นกู้ดังกล่าว แต่รอเพียงจังหวะที่เหมาะสม ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยมีการปรับลดลงก็พร้อมที่จะออกขายหุ้นกู้ทันที โดยจะเป็นการขายล็อตเดียวเต็มจำนวน เพื่อนำเงินมาชำระคืนเงินกู้จากธุรกิจเดินเรือทั้งหมด
นางนุช กล่าวด้วยว่า ตั้งเป้ารายได้ปี 2550 (ต.ค.49 -ก.ย.50) เติบโต 8 -9% จากปี 2549 (ต.ค.48 -ก.ย.49) ที่มีรายได้ 1.7 หมื่นล้านบาท เนื่องจากค่าระวางเรือมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นจากความต้องการที่ขยายตัว โดยคาดว่าค่าระหว่างเรือปีนี้เพิ่มขึ้น 8 -9% จาก 1 หมื่นดอลลาร์ต่อวันในปีก่อน ขณะเดียวกันยังรับรู้รายได้จากการลงทุนในบริษัทฯย่อยต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯมีแผนจะปลดระวางเรือเก่า 1 ลำ อายุ 29 ปี ด้วยการขายออกไปในช่วงไตรมาส 2 นี้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการต่อรองราคาขาย โดยเบื้องต้นคาดว่าได้เม็ดเงินจากการขายพอสมควร เนื่องจากราคาซากเหล็กมีแนวโน้มสูง ซึ่งจะสามารถรับรู้รายได้ทันทีในไตรมาส 2 ปีนี้
ทั้งนี้ TTA การซื้อหุ้นของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด เป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของ บริษัทฯ ต้องการขยายไปยังธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งหลังจากการเข้าซื้อหุ้นแล้ว บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด ก็กลายเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ พร้อมกับรุกธุรกิจพลังงาน โดยลงทุนเพิ่มใน บริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด (MML) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เมอร์เมดมาริไทม์ จำกัด (ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ TTA) ด้วยเงิน 1,174 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มเป็น 63.14% โดยบริษัทที่ลงทุนเพิ่มนี้เป็นบริษัทดำเนินงานด้านพาณิชย์นาวีนอกชายฝั่งและให้บริการเฉพาะทางมากว่า 20 ปี ซึ่งMML ได้ขยายส่วนงานที่เกี่ยวงานเทคนิค ติดตั้งโครงสร้างใต้ทะเล และให้บริการขุดเจาะปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง และยังซื้อเรือยนต์เพื่อการปฎิบัติงานเทคนิคใต้น้ำ 2 ลำ และเรือขุดเจาะทะเลอีก 2 ลำ ให้เรือ MTR-1 และ MTR-2 ซึ่งจะทำให้สามารถขยายงานด้านการให้บริการแก่กิจการอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่งแถบเอเชียได้ครบวงจรยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|