Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"ตอง พีเออร์" อณาจักรของรัตนวัน             
 


   
search resources

ตอง ซุปเปอร์มาร์เก็ต
บูมี รัตนวัน




คนเอเซียในปารีสจะมีคำพูดติดปากอยู่ประโยคหนึ่งว่า ON TROUVE TOUT CHEZ LES TANG" ซึ่งมีความหมายทำนองว่า "สรรพสิ่งพร้อมสรรพที่ 'ตอง ซุปเปอร์มาร์เก็ต'" ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียนสด ๆ จากไทย ปลาทั้งที่ตากแห้งและแช่แข็งจากฮ่องกง เนื้อห่อใบตองจากเวียดนาม รวมทั้งมะม่วง และเครื่องเซ่นไหว้บูชาตามธรรมเนียมตะวันออก "เราขายสินค้าที่มักจะไม่ค่อยพบเห็นในซุปเปอร์มาร์เก็ตส่วนใหญ่" บูมี รัตนวัน กล่าว บูมีวัย 41 กับพี่ชายบูวัย 59 เป็นเจ้าของซุปเปอร์มาร์เก็ต "ตอง ฟีเออร์" (TANG FRERES) 5 แห่ง ร้านอาหารอีก 8 ร้าน รวมทั้งธุรกิจอิมปอร์ต เอ็กซ์ปอร์ตอีกหลายแห่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ตของพี่น้องคู่นี้ดำเนินธุรกิจด้วยนโยบายตอบสนองความต้องการของชุมชนเอเซียในฝรั่งเศส ซึ่งโหยหารสชาติอาหารประจำชาติ

ตรัง เหงียน วัน นักข่าวเวียดนามได้รับคำแนะนำให้รู้จัก ตอง ฟีเออร์ ตอนที่มาถึงฝรั่งเศสใหม่ ๆ เล่าว่า "ผมมองหาร้านที่จะซื้อข้าวเวียดนามและเปาะเปี๊ยะญวน ตอนที่มาถึงปารีสครั้งแรก มีคนแนะนำให้ไปซื้อที่ตอง ฟีเออร์ การได้ลงมือทำอาหารเวียดนามกินเอง เป็นเรื่องที่มีความหมายสำหรับผมมาก"

พนักงานในร้านส่วนใหญ่พูดภาษาจีน ไม่ว่าจะเป็นโอเปอเรเตอร์จนถึงแคชเชียร์ ซึ่งเป็นความสะดวกของคนจีนลูกค้ารายใหญ่ของที่นี่ ร้านตองฟีเออร์ที่ใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ที่ย่านท่าเรือปอร์ต เดอ ชัวซี ประกอบด้วยซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร คลังสินค้าแบบขายส่งที่ขายสินค้าให้กับร้านอาหาร รวมทั้งสถานีรถไฟที่ตอง ฟีเออร์คุยว่าเป็นสถานีรถไฟส่วนตัวที่เช่ามาจากบริษัทรถไฟฝรั่งเศสชื่อ SNCF เพื่อขนส่งข้าวสารจากเมืองชายฝั่งทะเลชื่อเลอ ฮาฟร์

ในปี 1992 ตอล ฟีเออร์มียอดขายมากกว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐ เปรียบเทียบกับเมื่อปี 1990 ซึ่งมียอดขายเพียง 80 ล้านเหรียญ และในปี 1992 นั้นเอง นิตยสาร นูเวล อิโคโนมิสต์ได้จัดอันดับ 500 บริษัทชั้นนำของฝรั่งเศส โดยตอง ฟีเออร์ติด 1 ใน 150 อันดับแรก นิตยสารเล่มนี้พูดถึงความเติบโตของบริษัทว่าเป็นสิ่งที่น่าทึ่งมาก

ตระกูลรัตนวันมีเส้นทางเดินที่ยาวไกล ในทศวรรษ 1960 ครอบครัวนี้พร้อมลูกอีก 11 คน ซึ่งมีรากฐานเดิมอยู่ที่ซัวเถา ทางตะวันออกของกวางตุ้ง ติดกลุ่มคนที่รวยที่สุดในลาว ตระกูลรัตนวันหรือสกุลเดิมคือ แซ่ตั้ง ได้ลงทุนมูลค่าสูงถึง 1.5 ล้านเหรียญสหรัฐเกี่ยวกับกิจการโรงเลื่อยในลาว ซึ่งโรงเลื่อยแห่งนี้ต่อมาก็เป็นกิจการที่ใหญ่ที่สุด โดยมีคนงานมากถึง 350 คน

ในปี 1971 บูมีถูกส่งตัวไปเรียนที่ฝรั่งเศส และหลังจากนั้นไม่นาน เรื่องไม่ดีก็เกิดขึ้นกับครอบครัวนี้ เนื่องจากการจบสิ้นของสงครามเวียดนาม และการเข้าครอบครองลาวของคอมมิวนิสต์ ทำให้แผนการตั้งหลักปักฐานในลาวต้องล้มเลิกไป ในปี 1976 กิจการของตระกูลตั้งก็ได้ยกให้คอมมิวนิสต์ที่เข้ามาปกครองในลาว พี่น้องในตระกูลได้แยกย้ายกันไปอยู่ในออสเตรเลีย ส่วนที่เหลือก็ไปอยู่กับบูมีที่ฝรั่งเศส

พี่น้องตระกูลรัตนวันเปิดตอง ฟีเออร์ (ฟีเออร์ แปลว่า พี่น้อง) ครั้งแรกในปี 1976 ด้วยเงินลงทุน 178,000 เหรียญสหรัฐที่ได้มาจากกิจการโรงเลื่อย โดยใช้อพาร์ทเม้นท์ที่เช่ามาเป็นที่ตั้ง และเป็นจังหวะที่ดีมากที่ทั้งสองตัดสินใจลงทุนในตอนนั้น ในปี 1990 มีประชาชน 246,700 คนจากเอเชียอาคเนย์อาศัยอยู่ในฝรั่งเศส ในจำนวนนี้ 15,000 คนมาจากจีนแผ่นดินใหญ่ ณ วันนี้ ตอง ฟีเออร์ เป็นบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าจากเอเชียชั้นนำในยุโรปมีพนักงาน 460 คน ส่วนใหญ่จะเป็นเอเชีย ที่เหลือเป็นฝรั่งเศสและอาฟริกัน

พี่น้องรัตนวันมีมติประจำใจว่า "เงินกวักมือเรียกอยู่ที่ไหน ที่นั่นก็คือบ้าน" แม้ว่าจะประสบความสำเร็จมากก็ตาม วิถีชีวิตของทั้งคู่ยังเหมือนเดิม พวกเขายังอาศัยในอพาร์ทเมนท์ธรรมดา ๆ ในไชน่าทาวน์ ชานเมืองปารีสซึ่งเป็นที่พักของประชากรกว่า 30,000 คน ซึ่ง 80% เป็นคนจีน

บูมีบอกว่า การรักษาความผูกพันทั้งกับทางยุโรปและเอเซีย เป็นผลดีต่อธุรกิจของเขาเป็นอย่างมาก "พ่อแม่ของเราได้รับวัฒนธรรมของฝรั่งเศสเมื่อครั้งที่อยู่ในลาว และลูกหลานอย่างเราก็สามารถซึมซับได้ดีกว่า" ด้วยรากเหง้าและสายสัมพันธ์กับคนจีนในยุโรป บูมีกล่าวว่า "เมื่อตระกูลตั้งพูดอะไรออกไป คนจีนส่วนใหญ่ก็มักจะเชื่อถือ"

ที่จริงแล้ว พี่น้องคู่นี้เป็นสมาชิกระดับนำขององค์กรชาวจีนในฝรั่งเศสชื่อ INTEGRATION OF THE CHINESE COMMUNITY IN FRANCE พี่น้องรัตนวันซึ่งปกติเป็นคนพูดน้อย แต่เมื่อถึงคราวต้องปกป้องผลประโยชน์ของคนจีนด้วยกัน พวกเขาก็กำหมัดลุกขึ้นพูดได้อย่างฉาดฉาน แต่บูมีปฏิเสธคำวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาและพี่ชายเป็นแค่พ่อค้าจีนในฝรั่งเศส ซึ่งคำวิจารณ์นี้เป็นการต่อต้านความพยายามที่จะขยายธุรกิจออกไปนอกปารีสเป็นครั้งแรกของพวกเขา "ตรงกันข้ามกับที่คนจำนวนมากคิด เราไม่ได้ทำเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับคนเอเซียเท่านั้น แต่ยังมีโครงการอีกหลาย ๆ โครงการสำหรับประเทศฝรั่งเศสที่อยู่ในหัวของเรา แม้แต่ตอนนี้ เราได้ส่งสินค้าฝรั่งเศสไปขายที่จีนมูลค่ามากกว่า 100 ล้านฟรังซ์ (17.8 ล้านเหรียญสหรัฐ) และเราหวังว่าจะส่งออกไปมากกว่านี้อีก" บูมีกล่าว

เขาเชื่อว่าความเป็นคนสองวัฒนธรรม จะช่วยให้ ธุรกิจของเขาเล่นบทที่ฝรั่งเศสกำลังต้องการได้ "ความรู้ของเราเกี่ยวกับประเทศจีนจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจฝรั่งเศส ซึ่งอาจจะมาร่วมกับเราพัฒนาความสัมพันธ์กับจีนได้" บูมีเสริม ปัจจุบันตอง ฟีเออร์ กำลังศึกษาความเป็นไปได้ที่จะส่งอุปกรณ์เกี่ยวกับการเอกซเรย์ฟันของบริษัทฝรั่งเศสชื่อ โทรฟี่ ไปขายที่จีน ส่วนแผนการในอนาคต บูมีกล่าวว่าเขาจะเปิดซุปเปอร์มาร์เก็ตและช่องทางจัดจำหน่ายสินค้าทั่วยุโรป

ดูเหมือนว่าพี่น้องรัตนวันจะลงหลักปักฐานอยู่ที่ปารีสเป็นแน่ และในที่สุดตระกูลตั้งก็อาจจะพบที่พักพิงถาวร หลังจากที่ต้องผ่านการอพยพข้ามประเทศมาถึงสองครั้งสองครา

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us