|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
โบรกเกอร์เชื่อปัญหาการเมืองระหว่างประเทศไทย-สิงค์โปร์ไม่กระทบตลาดหุ้น บิ๊กบล.กิมเอ็ง เชื่อไม่กระทบต่อการลงทุน เหตุเป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลไม่เกี่ยวภาคเอกชน ด้านบล.ทรีนิตี้หวังแบงก์ชาติยกเลิกมาตรการ 30% คาดไตรมาส 2 หรือ 3 ดัชนีอาจรูดไปทดสอบที่ 550-560 จุด ขณะที่บล.บีฟิท หั่นเป้าดัชนีสิ้นปีเหลือแค่ 720 จุดจากเดิม 800 จุด
ภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวานนี้ (17 ม.ค.) ยังคงถูกปกคลุมไปด้วยปัจจัยลบ ทั้งจากปัจจัยในประเทศไม่ว่าจะเป็นมาตรการของธนาคารแห่งประเทศ (ธปท.) ที่ให้สำรอง 30% รวมถึงปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่ยังไม่มีความชัดเจน ประกอบกับล่าสุดผลกระทบต่อจิตวิทยาหลังรัฐบาลไทยใช้มาตรการการตอบโต้ประเทศสิงคโปร์หลังจากเผยแพร่ข่าวอดีตนายกรัฐมนตรีเข้าพบรองนายกรัฐมนตรีของประเทศสิงค์โปร์
โดยตลอดทั้งวันดัชนีแกว่งตัวค่อนข้างมากก่อนปิดที่ 651.47 จุด ลดลง 4.43 จุด หรือ 0.68% โดยจุดสูงสุดของวันอยู่ที่ 658.10 จุด และจุดต่ำสุดอยู่ที่ 650.63 จุด มูลค่าการซื้อขาย 12,892.94 ล้านบาท นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 1,188.24 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 491.19 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 697.05 ล้านบาท
นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยระงับความร่วมมือโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานข้าราชการพลเรือนไทย-สิงคโปร์ (Civil Service Exchange Programme : CSEP) ครั้งที่ 8 รวมถึงการประชุมที่จะจัดขึ้น ในวันที่ 29-31 มกราคมนี้ เป็นการส่งสัญญาณที่สะท้อนความรู้สึกไม่พอใจของรัฐบาล ซึ่งไม่ใช่เป็นการยกเลิกมิตรภาพความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศในระยะยาวและความช่วยเหลือทางด้านอื่นๆ
"ผมเชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่ทำให้คนไทยทั้งประเทศมีความรู้สึกไม่ดีต่อคนสิงคโปร์ แต่เรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องใหญ่ เป็นเพียงการส่งสัญญาณของผู้นำประเทศ โดยไม่ถือว่าจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกันในระยะยาว "นายมนตรี กล่าว
ขณะเดียวกน เรื่องดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ เพราะนักธุรกิจสามารถที่จะแยกแยะเรื่องได้ เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นทางการเมืองไม่เกี่ยวกับการลงทุนและการดำเนินกิจการ โดยขณะนี้บริษัทแม่ของ บล.กิมเอ็ง ยังไม่ได้มีการสอบถามเรื่องดังกล่าวมายังบริษัท
นายโกสินทร์ ศรีไพบูลย์ ผู้อำนวยอาวุโส บล.ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) หรือ UOBKH กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยระงับความร่วมมือดังกล่าว ไม่น่าส่งผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวเป็นเรื่องทางด้านการเมืองและเป็นเพียงการระงับความร่วมมือระหว่างราชการเท่านั้น แต่จะต้องมีการติดตามจะมีประเด็นใดที่มีความต่อเนื่องออกมาอีกหรือไม่
สำหรับดัชนีตลาดหุ้นไทยวานนี้ (17 ม.ค. ) ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนมีการขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมาจากราคาน้ำมันดิบมีการปรับตัวลดลงมา และการที่ธปท. ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน หรือ PR 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแทนอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน หรือ RP14 วัน โดยมีการปรับลดลดอัตราดอกเบี้ยเหลือ 4.75% จากเดิม 5% ทำให้มีแรงขายในหุ้นกลุ่มที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นรับข่าวดังกล่าวในช่วงที่ผ่านมา เช่น กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ
สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ จะต้องติดตามในเรื่องการการประชุมของธปท.ว่าจะมีการทบทวนในมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงิน ว่าจะมีการผ่อนคลายในทิศทางใด รวมถึงติดตามว่าธนาคารพาณิชย์ต่างๆจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเร็วแค่ไหน
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์ ผู้อำนวยการอาวุโส บล.โกลเบล็ก จำกัด กล่าวว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างรัฐบาลไทยและสิงค์โปร์เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นทางด้านการเมือง โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยวันนี้ อาจจะผันผวนตามปัจจัยทางด้านการเมือง ซึ่งนักลงทุนต่างประเทศจะชะลอการเข้ามาลงทุน จากที่ผ่านมาเข้ามาซื้อหุ้นคืน เพราะที่ผ่านมามีการขายหุ้น โดยบริษัทแนะนำนักลงทุนควรที่จะมีการขายหุ้นออกมาหามีกำไรพอสมควร และหากดัชนีมีการปรับตัวลดลงแรงก็ควรที่จะมีการชะลอการลงทุน โดยมองแนวรับที่ระดับ 648 จุด แนวต้านที่ระดับ 662 จุด
จี้แบงก์ชาติยกเลิกกันสำรอง30%
นายวิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยว่า มาตรการกันสำรองน่าจะได้รับการผ่อนคลายภายในระยะเวลา 3 เดือนต่อจากนี้ โดยหากเปรียบเทียบกับมาตรการควบคุมเงินทุนของมาเลเซียเมื่อเดือนกันยายน 2541 ที่หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการลงแล้วตลาดหุ้นของมาเลเซียใช้เวลาเพียง 6 เดือนในการดีดกลับขึ้นมาอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน หากพิจารณาถึงบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศ (NRB) ที่ปกติจะเคลื่อนไหวอยู่ที่ 2 หมื่นล้านบาท หลังจากวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 3.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งหมายความว่ายังมีเงินอีก 1.4 หมื่นล้านบาท ที่กำลังอยู่ระหว่างการตัดสินใจว่าจะมีการย้ายเม็ดเงินออกนอกประเทศหรือนำกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นไทย
อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ว่าในช่วงไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ว่ามีโอกาสอ่อนตัวลงทดสอบระดับ 550-560 จุด ซึ่งจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของอเมริกาบ่งบอกว่าภาคการผลิตกำลังอยู่ในช่วงหดตัว ประกอบกับการอ่อนตัวของเศรษฐกิจโลกอาจเป็นสาเหตุฉุดให้ตลาดหุ้นไทยต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน
นายวิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า ปัจจัยจากเศรษฐกิจภายในประเทศไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาภาวะเงินฝืด จากการที่ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการใช้จ่าย และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยอยู่ในช่วงถูกปรับระดับลงเหลือ 3-3.5% ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองยังคงไม่มีเสถียรภาพ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงว่าตลาดหุ้นไทยจะเสียเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ขณะที่การใช้พ.ร.บ.ต่างด้าว จะทำให้เงินลงทุนทางตรงลดลงไป ปัจจัยเหล่านี้จะก่อให้เกิดความแปรปรวนหากประเทศประสบกับปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
BSECปรับเป้าดัชนีเหลือ720จุด
นายเอกพิทยา เอี่ยมคงเอก ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บล.บีฟิท กล่าวว่า บริษัทได้ปรับลดประมาณการดัชนีสิ้นปีอยู่ที่ 720-740 จุด จากเดิมที่คาดว่าดัชนีจะสามารถแตะระดับที่ 800 จุดได้ โดยมีค่าพี/อี เรโชอยู่ที่ 8.5 เท่า ทั้งนี้ คาดว่าในครึ่งปีแรก ตลาดหุ้นจะมีความผันผวนต่อเนื่องเนื่องจากปัจจัยลบอย่างปัจจัยทางการเมืองยังส่งผลต่อจิตวิทยาในการลงทุน ประกอบกับนักลงทุนยังรอความชัดเจนเรื่องการเลือกตั้ง
นอกจากนี้บริษัทได้ปรับลดตัวเลขของการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของประเทศมาอยู่ที่ 3.2-4.2 % ซึ่งต่ำจากเดิมที่คาดไว้ที่ 4.2-4.7% ขณะที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนคาดว่าจะอยู่ที่ 2.2% จากปี 2549 อยู่ที่ 3-4% โดยเหตุผลที่ลดลงเนื่องจากผลการดำเนินงานของกลุ่มพลังงานน่าจะปรับตัวลดลงจยติดลบประมาณ 5% จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง
ส่วนมาตรการการตอบโต้ประเทศสิงคโปร์หลังจากเผยแพร่ข่าวที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้าพบรองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์นั้น เรื่องดังกล่าวเชื่อว่าคงไม่ส่งผลกระทบรุนแรงมากนัก เพราะเชื่อว่านักลงทุนยังมีความมั่นใจในเรื่องความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศเพราะต่างก็เป็นสมาชิกของอาเซียน
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจมากกว่า คือมาตรการสำรองร้อยละ 30 ของธปท. ซึ่งหากมาตรการดังกล่าวมีการผ่อนคลายน่าจะมีผลต่อตลาดหุ้นทันที และส่วนตัวเชื่อว่า ธปท.คงจะไม่ใช้มาตรการดังกล่าวอีกไม่นาน
|
|
|
|
|