Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 มกราคม 2550
KESTหั่นเป้ามาร์เกตแชร์เหลือ8-9%             
 


   
www resources

โฮมเพจ กิมเอ็ง (ประเทศไทย)

   
search resources

หลักทรัพย์กิมเอ็ง, บมจ.
มนตรี ศรไพศาล
Funds




บล.กิมเอ็ง ยอมหั่นเป้ามาร์เกตแชร์เหลือ 8-9% เหตุสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยลดลง ขณะที่หวังได้บัญชีลูกค้าใหม่ 2-3 พันบัญชี จากปัจจุบันมีบัญชีอยู่ 5 หมื่นบัญชี “มนตรี”เผยงานด้านวาณิชฯปีนี้มีมูลค่าระดมทุนรวม 2-3 หมื่นล้านบาท พร้อมปรับลดดัชนีจาก 850 จุดเหลือ 750-800 จุด ขณะที่มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันจาก 2 หมื่นล้านเหลือ 1.8 หมื่นล้านบาท

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEST เปิดเผยว่า บริษัทปรับลดเป้ามาร์เก็ตแชร์ปี 2550 เหลือ 8-9% จากที่ก่อนหน้าตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ไว้ที่ 10-11% โดยในปี2549 บริษัทมีมาร์เก็ตแชร์ที่ 8.55% เนื่องจากสัดส่วนการซื้อขายของนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมรวม แบ่งเป็นนักลงทุนรายย่อยสัดส่วน 45% จากเดิมที่ 70-75% จากการที่นักลงทุนต่างประเทศมีสัดส่วนการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นเป็น 40% จากเดิมที่ 20% เนื่องจากภาวะตลาดไม่ดีหลังได้รับผลกระทบจากมาตรการต่างๆ

ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัทเองมีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนสถาบันต่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 25% จากปัจจุบันที่มี 15% โดยบล.กิมเอ็งมีบริษัทแม่ในต่างประเทศช่วยสนับสนุน และบริษัทคาดว่าจะมีนักลงทุนเข้ามาเปิดบัญชีใหม่กับบริษัทประมาณ 2,000 –3,000 บัญชี หรือเพิ่มขึ้น 10-20% โดยปัจจุบันบริษัทมีบัญชีลูกค้ารวม 50,000 บัญชี โดยเป็นบัญชีที่มีการซื้อขายสม่ำเสมอ 30,000 บัญชี

นอกจากนี้ที่ผ่านมาบริษัทได้มีการจัดโครงการให้ความรู้กับนักลงทุน “Training 4U ” เพื่อให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย จากที่ราคาหุ้นยังอยู่ในระดับต่ำมีค่าP/E 8 เท่า เมื่อเทียบกับต่างประเทศที่มีค่าP/E 12-18 เท่า โดยจัดในกรุงเทพจำนวน 7 ครั้ง ต่างจังหวัด 4 ครั้ง รวมถึงบริษัทจะมีการเปิดสาขาเพิ่มอีก 1 สาขา จากปัจจัยที่มี 39 สาขา

สำหรับงานทางด้านวาณิชธกิจในปีนี้จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนเสนอขายหุ้นต่อนักลงทุนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO)จำนวน 3-5 บริษัท โดยจะเน้นบริษัทที่มีขนาดใหญ่ มีศักยภาพการเติบโตที่ดีและมีมูลค่าการเสนอขายประมาณ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป โดยบริษัทรับเป็นที่ปรึกษาบริษัทที่จะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน 1-2 บริษัท การเสนอขายกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าการระดมทุนรวม 20,000-30,000 ล้านบาท

“จากมาตรการกันเงินสำรอง30%ของที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)จะส่งผลให้ผู้ที่เตรียมออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ต้องมีการเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีการผ่อนคลายมาตรการดังกล่าว โดยส่วนตัวมองว่าธปท.ควรที่จะยกเว้นการวางเงินสำรอง30%ทุกประเภทที่เกี่ยวกับการลงทุนในตลาดหุ้นไทย ยกเว้นการลงทุนในตราสารหนี้ ”นายมนตรี กล่าว

นายมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมในการออกใบสำคัญแสดงสิทธิ (วอร์แรนท์อนุพันธ์ ) ซึ่งทางบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆอยู่ระหว่างการหารือในเรื่องเกณฑ์เกี่ยวกับการออกซึ่งคาดว่จะใช้เวลาประมาณ 8-12 เดือนโดยบริษัทคาดว่าจะสามารถจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ)ได้ประมาณกลางปีนี้ จากขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์( ก.ล.ต.)

ทั้งนี้ บริษัทจะเน้นรุกธุรกิจอินเตอร์เน็ตมากขึ้นโดยคาดว่าจะมีมาร์เกตแชร์อยู่ที่ 20% จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 17.24% เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการซื้อขายอินเตอร์เน็ตปรับตัวลดลงเหลือ 0.15% จากเดิมที่บริษัทคิด 0.21% ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเข้ามาซื้อขายมากขึ้น

นอกจากนี้บริษัทได้มีการปรับลดประมาณการดัชนีปีนี้ลดลงเหลือ 750 –800 จุด จากเดิมที่ 850 จุด โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อปีนี้จะอยู่ที่ 18,000 ล้านบาทต่อวัน จากเดิมที่ 20,000 ล้านบาท เนื่องจากผลกระทบมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท และความไม่ชัดเจนทางการเมือง ฯลฯ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us