|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดตราสารหนี้ปีหมูพระเพลิงเดี้ยงสนิท หลังธปท.งัดกฎเหล็กสกัดเก็งกำไรค่าบาท เอกชนจ่อระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้หลายแสนล้านบาทตายเรียบ เนื่องจากนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดส่วนใหญ่เป็นต่างชาติ นายกสมาคมบลจ.รับมาตรการธปท.ทำให้ช่องทางการระดมทุนของภาคเอกชนตีบตัน หุ้นกู้นับแสนล้านเลื่อนขาย
ภาพรวมการระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ของภาคเอกชนในปีนี้ ต้องยอมรับว่าตีบตันใช่น้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมาตรการสกัดกั้นการเก็งกำไรค่าเงินบาท โดยการหักกันสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งได้ออกประกาศและเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ซึ่งในแง่ของรายละเอียดปลีกย่อยในทางปฏิบัติในหลายกรณียังไม่มีความชัดเจนมากนัก ซึ่งสร้างความสับสนให้กับผู้ปฎิบัติและผู้ลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก
แหล่งข่าววงการธนาคารพาณิชย์ ให้ความเห็นว่า ผลกระทบจากมาตรการกันสำรอง 30% ได้ฉุดความเชื่อมั่นในการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในส่วนการลงทุนผ่านตราสารหนี้ แม้ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.จะออกมาระบุว่าส่งผลกระทบไม่มากนักก็ตาม เพราะในขณะนี้นักลงทุนต่างชาติเริ่มไม่มั่นใจว่า ในที่สุดแล้วหลังการเข้ามาลงทุนในไทยแล้วหน่วยงานที่กำกับดูแลจะออกมาตรการที่ควบคุมเงินทุนเคลื่อนย้ายหรือไม่ ซึ่งจุดนี้ถือว่าเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยมีความจำเป็นต้องพึ่งพาเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากมีข้อจำกัดในเรื่องของการออมกับเงินลงทุน
“ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ การระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ของภาคเอกชนในปีนี้ เชื่อว่าจะลำบากเป็นอย่างมาก สำหรับบริษัทขนาดใหญ่ที่มีแผนระดมทุนผ่านออกหุ้นกู้หรือตราสารหนี้ในต่างประเทศ หรือในประเทศ ได้รับผลกระทบแน่นอน ซึ่งในส่วนของต้นทุนในการกู้สูงขึ้นแน่นอน เพราะความเชื่อมั่นของผู้ให้กู้ลดลง ขณะเดียวกันโอกาสที่จะสามารถระดมทุนได้ตามเป้าก็ลดน้อยลงเช่นกัน”
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ ยังคงอยู่ในช่วงขาลง และอาจปรับตัวลดลงเร็วกว่าที่คาด เนื่องจากสภาพคล่องยังคงล้นระบบ และคาดว่าจะล้นระบบมากขึ้น เนื่องจากความเชื่อมั่นในการลงทุนลดลง ทั้งจากที่เกิดขึ้นจากมาตรการกันสำรอง 30% และล่าสุดสถานการณ์ลอบวางระเบิดในกรุงเทพฯ ได้ทำให้ความเชื่อมั่นในการบริโภค ซึ่งแน่นอนว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีผลต่อการตัดสินใจการค้าการลุงทุนแน่นนอน และอาจทำให้แนวโน้มการขยายสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ก่อนหน้า เพราะอัตรการขยายตัวเศรษฐกิจในปีนี้ชะลอตัวจากเดิมที่คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวในระดับที่ต่ำกว่า 4.5-5.5%
ขณะที่นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน กล่าวว่า สมาคมบลจ.ได้ส่งหนังสือถึงสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับธุรกิจจัดการลงทุน เพื่อให้ธปท.มีการพิจารณาผ่อนปรนมาตรการ โดยได้มีการเสนอให้ผ่อนปรนการกันสำรองเงินของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนผ่านกองทุนหุ้น กองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุเกิน 1 ปี คันทรี่ฟันด์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) กองทุนรวมลงทุน (เวนเจอร์แคปปิตอลฟันด์) และได้มีการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมว่า ในส่วนของการลงทุนผ่าน NVDR ต้องเข้าเลื่อนไขหรือไม่
“ต้องยอมรับว่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนในปีนี้ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นใหม่ การออกตราสารหนี้ ที่ขายให้กับนักลงทุนต่างชาติ ได้รับผลกระทบจากมาตรการกันสำรองเป็นอย่างมาก สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ที่เตรียมออกหุ้นกู้อาจต้องเลื่อนออกไปด้วยเช่นกัน” นายมาริษกล่าว
สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยในประเทศในปีนี้ นายมาริษ ให้ความเห็นว่า ทิศทางจะเป็นอย่างไรคงขึ้นอยู่กับรัฐบาลว่าจะเลือกแบบไหน เพราะปัจจุบันเงินเฟ้อเริ่มลดลง ขณะที่ดอกเบี้ยในสหรัฐก็ยังไม่ได้ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม การพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเงินทุนไหลออก
ส่วนแนวโน้มธุรกิจกองทุนรวมในปีนี้ คาดว่าในส่วนของกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นยังคงได้รับการตอบรับจากนักลงทุน โดยเฉพาะกองทุนตราสารหนี้ที่มีอายุสั้นๆ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์
แผนระดมทุนเอกชนสะดุด ตลาดหุ้นกู้นับแสนล้านเดี้ยง!
จากการรวบรวมข้อมูลหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ ของไทยในปี 2550 พบว่า ธนาคารไทยธนาคารมีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อายุไม่เกิน 12 ปี เสนอขายนักลงทุนต่างประเทศ หรือนักลงทุนสถาบัน บริษัทโทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) มีแผนขายหุ้นกู้ไม่เกิน 8 พันล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้ไปรีไฟแนนซ์หนี้ บริษัทลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (LALIN) มีแผนออกหุ้นกู้ เพื่อนำเงินไปคืนหุ้นกู้ชุดเดิมที่ครบกำหนดปี 2550 ธนาคารทิสโก้มีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 2.5 หมื่นล้านบาท อายุไม่เกิน 5 ปี
บริษัทราชธานีลิสซิ่ง (THANI) มีแผนออกหุ้นกู้ ตั๋วแลกเงินและกู้เงิน วงเงินไม่เกิน 2.5 พันล้านบาท โดยมีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 1.2 พันล้านบาท ในช่วงปลายปีนี้ บริษัทเซ็นทรัล พัฒนา (CPN) มีแผนออกหุ้นกู้ในช่วงกลางปี มูลค่าประมาณ 5 พันล้านบาท เพื่อนำไใช้ลงทุนในศูนย์การค้า บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต (PTTEP) อยู่ระหว่างการศึกษาออกหุ้นกู้หรือตั๋วบี/อี เพื่อชำระหนี้ซามูไรบอนด์วงเงิน 193 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่จะครบกำหนดในเดือนกันยายนของปีนี้ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในไตรมาสแรก
บริษัทสหวิริยา อินดัสตรี (SSI) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ บริษัทไออาร์ซีพี (IRCP) คาดว่าจะออกหุ้นกู้เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) มีแผนออกหุ้นกู้ 3 พันล้านบาท ในไตรมาส 3 ของปีนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งของแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 5 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 10 ปี ที่จะขายต่อผู้ลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศ
บริษัทปตท.เคมีคอล (PTTCH) มีแผนออกหุ้นกู้ในปลายปี 3 พันล้านบาท บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) มีแผนออกหุ้นกู้ 1 พันล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย (SCC) มีแผนออกหุ้นกู้ประมาณ 1.8-2 หมื่นล้านบาทในปีนี้
เอกชนจ่อคิวระดมทุนเคว้ง ตลาดตราสารหนี้มดมนต์
อย่างไรก็ตาม ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกเป็นจำนวนมากที่เตรียมระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ แต่ยังไม่มีการกำหนดเวลาชัดเจนว่าจะระดมทุนในช่วงใด ซึ่งเชื่อว่าจากการที่ธปท.ออกมาตรการกันสำรอง 30% ออกมา บริษัทที่เตรียมออกหุ้นกู้คงต้องเลื่อนการระดมทุนออกไป โดยในช่วงก่อนหน้าเอกชนได้ขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไว้แต่ยังไม่กำหนดเวลาชัดเจน อย่าเช่น บริษัทเอ็มบีเค (MBK) มีแผนขายหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 5 พันล้านบาท เพื่อคืนหนี้หุ้นกู้เดิมมูลค่า 900 ล้านบาท รวมถึงเงินกู้ยืมระยะสั้น 700 ล้านบาท
บริษัทผลิตไฟฟ้า (EGCOMP) มีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 2 หมื่นล้านบาท อายุไม่เกิน 30 ปี เพื่อนำเงินไปลงทุน บริษัทยานภัณฑ์ (YNP) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 4 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 5 ปี เพื่อนำเงินไปคืนหนี้และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน บริษํทเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินประมาณ 2 พันล้านบาท บริษัซิงเกอร์ประเทศไทย (SINGER) มีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 3 พันล้านบาท บริษัทโอเชียนกลาส (OGC) มีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 2 พันล้านบาท อายุ 1-10 ปี
บริษัทฐิติกร (TK) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 1.5 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 1.5 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 10 ปี เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 3 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 7 ปี เพื่อนำเงินไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและคืนหนี้ บริษัทการบินไทย (THAI) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 6 หมื่นล้านบาท ภายใน 8 ปี ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) (SCBT) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 4 หมื่นล้านบาท อายุไม่เกิน 5 ปี ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์)มีแผนออกหุ้นกู้ 5 พันล้านบาท
ธนาคารดอยซ์แบงก์ เอจี สาขากรุงเทพ มีแผนออกหุ้นกู้ไม่เกิน 2.5 หมื่นล้านบาท บริษัทวนชัย กรุ๊ป (VNG) มีแผนออกหุ้นกู้แปลงสภาพไม่เกิน 2 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 7 ปี เพื่อขยายธุรกิจและคืนหนี้บางส่วน บริษัทแสนสิริ (SIRI) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 3 พันล้านบาท อายุไม่เกิน 10 ปี บริษัทนวลิสซิ่ง (NVL) มีแผนออกหุ้นกู้วงเงินไม่เกิน 2 พันล้านบาท และบริษัทหลักทรัพย์บาร์เคลย์ แคปปิตลอล (ประเทศไทย) มีแผนออกหุ้นกู้ระยะกลางวงเงินไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท
|
|
|
|
|