Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"กองทุนรวม…18 ปี 8 บริษัท"             
 

   
related stories

"กองทุนรวม ขาใหญ่ ตลาดหุ้น!?"
"ธุรกิจจัดการกองทุนรวม…มือปืนรับจ้าง (มืออาชีพ)"
"หน่วยลงทุน..ทางเลือกใหม่ (ที่ดี)ในการลงทุน"

   
search resources

เอ็มเอฟซี, บลจ.
ดำรงสุข อมาตยกุล




"ความจำเป็นการระดมเงินออมจากประชาชนเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ ประกอบกับการเสนอทางเลือกที่เหมาะสมในการลงทุน" เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม จำกัด ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจกองทุนรวมเป็นแห่งแรกและแห่งเดียว เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2518

อีก 17 ปีต่อมา หรือในปี 2535 ทางการจึงอนุมัติเพิ่มใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนให้กับบริษัทจัดการอีก 7 แห่ง โดยให้ใช้คำนำหน้าชื่อว่า "บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.)"

บล. กองทุนรวม ได้สนองต่อวัตถุประสงค์ของทางการในการระดมเงินออมเป็นอย่างดี โดยเริ่มจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรกในปี 2520 จนกระทั่งปัจจุบันมีจำนวนกองทุนรวม 11 กองทุน เป็นกองทุนเปิด 1 กองทุนและกองทุนปิด 10 กองทุน รวมมูลค่ากว่า 13,000 ล้านบาท และเริ่มจัดตั้งกองทุนที่จำหน่ายให้แก่ชาวต่างประเทศในปี 2529 รวมจำนวนที่จำหน่ายไปแล้ว 10 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินรวมกว่า 17,800 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในช่วง 4-5 ปีนับแต่ปี 2529 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์เริ่มมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เห็นได้ชัดว่าทันทีที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตการณ์ทั้งจากภายในประเทศหรือต่างประเทศ การเคลื่อนไหวของราคาหลักทรัพย์จะมีการปรับตัวที่รุนแรงทันทีซึ่งยากที่จะปฏิเสธว่า การมีสัดส่วนนักลงทุนรายย่อยสูงกว่านักลงทุนสถาบันก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ตลาดไม่มีเสถียรภาพ

สุธี สิงห์เสน่ห์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เข้าใจปัญหาเป็นอย่างดีดังคำกล่าวในช่วงที่ประกาศเพิ่มใบอนุญาตผู้จัดการกองทุนในช่วงปี 2534 ว่า "โครงสร้างผู้ลงทุนยังมีปัญหาโดยเฉพาะผู้ลงทุนในประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีพฤติกรรมการลงทุนในลักษณะเก็งกำไรอันส่งผลให้ราคาหลักทรัพย์มีความผันผวนมาก…. การเพิ่มนักลงทุนสถาบันเป็นวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหา"

ใบอนุญาตจัดการกองทุนรวมใหม่จำนวน 7 ใบ จึงได้รับการอนุมัติในเวลาต่อมา คือ ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2535 โดยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ขณะที่กองทุนที่ตั้งขึ้นก่อนพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ จะอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และกำกับดูแลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย

ความตั้งใจจริงของทางการที่ต้องการเพิ่มนักลงทุนประเภทสถาบัน ทำให้กฎเกณฑ์ หรือเงื่อนไขในการดำเนินธุรกิจการจัดการกองทุนรวมมีความผ่อนปรนกว่าเดิมมาก ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดให้จ่ายกำไรในแต่ละงวดได้สูงถึงร้อยละ 95 ขณะที่เดิมกำหนดให้เพียงร้อยละ 50 หรือการถือหุ้นสามารถถือได้เพียงร้อยละ 60 เป็นการชั่วคราวได้หากเห็นว่ามีความเสี่ยงสูง ขณะที่เดิมกำหนดให้ถือไว้มากกว่าร้อยละ 75 ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการลดความเสี่ยงให้แก่ บลจ. ในการบริหารเงิน

ดำรงสุข อมาตยกุล รองกรรมการจัดการ บล. กองทุนรวม จำกัด ได้ชี้แจงถึงผลประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจภายใต้กฎหมายที่แตกต่างกันว่า "เราไม่ได้เปรียบหรือประโยชน์อะไรเลยครับ ซึ่งคนส่วนมากมักจะเข้าใจผิด เพราะกฎเกณฑ์ ข้อบังคับในการลงทุนเหมือนกันทุกประการ จะต่างกันก็เรื่องเงินปันผลซึ่งตามกฎหมายเดิมจะบังคับให้จ่ายได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของกำไรสุทธิ ขณะที่กฎหมายใหม่ให้จ่ายเต็มที่…อย่างไรก็ตามตั้งแต่กองทุนรุ่งโรจน์เป็นต้นมาก็อยู่ภายใต้กฎหมาย กลต. แล้ว"

อย่างไรก็ตามแม้ในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะแสดงสัดส่วนการซื้อขายของกองทุนรวมว่ามีเพียง 3.75% ของมูลค่าการซื้อขายรวมของตลาด และนักลงทุนรายย่อยยังคงครองสัดส่วนที่สูงสุด คือประมาณ 74% แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ถึงบทบาทที่เพิ่มขึ้นของกองทุนรวมอย่างชัดเจน เพราะก่อนหน้าที่ทางการจะให้ไลเซนส์เพิ่มอีก 7 ใบ ในปี 2535 สัดส่วนการซื้อขายของกองทุนรวมในตลาดมีเพียง 1% เท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us