Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"สาธิตเกษตร…โรงเรียนสอนเด็กออทิสติคแห่งแรกในเอเซีย"             
 


   
search resources

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ดาราณี อุทัยรัตนกิจ




และแล้วการรักษาเด็กที่เป็นโรคออทิสติคอย่างเป็นระบบ คือใช้ทางการแพทย์ควบคู่ไปกับการศึกษา โดยความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ กับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตั้งแต่ปี 2533 ก็ปรากฏผลที่ชัดเจนแล้วว่าเด็กมีไอคิวหรือพัฒนาการทางสติปัญญาเพิ่มขึ้น

ออทิสติคจัดเป็นความพิการประเภทหนึ่ง ที่เรียกว่า DEVELOPMENT DISORDER คือ เด็กจะมีความบกพร่องด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ไม่พูดเมื่อถึงวัยอันควร ไม่รู้จักสบตาคน การสื่อความหมายจึงไม่สามารถกระทำได้

"สาเหตุสำคัญยังไม่ปรากฏแต่คาดว่า "ความเครียด" ของมารดาระหว่างตั้งครรภ์น่าจะมีส่วนไม่น้อย" ดารณี อุทัยรัตนกิจ พีเอชดีทางจิตวิทยาโรงเรียนจากอเมริกาให้ข้อสังเกต

ขณะที่ทางการแพทย์โดยงานวิจัยของ พ.ญ. เพ็ญแข ลิ่มศิลา จิตแพทย์เด็กชื่อดังชี้แจงว่า "เป็นความผิดปกติของสมองที่มีเซลล์มากกว่าคนปกติ และเบียดกันอย่างหนาแน่นในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมด้านความจำ อารมณ์ การเรียนรู้และแรงจูงใจ"

และจากสาเหตุข้างต้นทำให้อาการของเด็กออทิสติคแตกต่างจากเด็กปกติทั่วไปในเรื่องความจำที่ดีเป็นเลิศ แต่จะไม่พูดเมื่อถึงวัยอันควรโดยเฉพาะในวัย 3 ขวบ หรือพูดก็เป็นภาษาที่ฟังไม่รู้เรื่อง ไม่สบตาและไม่สนใจบุคคลรอบข้าง

โดยปกติแล้วเด็กออทิสติคสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามโรงพยาบาลหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามา แต่จะเป็นการรักษาทางการแพทย์เท่านั้น

ขณะที่ทางโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ที่มี พ.ญ. เพ็ญแขเป็นผู้อำนวยการ จะให้การรักษาควบคู่กันไประหว่างทางการแพทย์กับการศึกษาโดยมีการตั้งโรงเรียนในโรงพยาบาลที่ให้บริการมานานกว่า 10 ปีแล้ว

เพราะเด็กออทิสติคไม่ใช่เด็กปัญญาอ่อน โดยเฉพาะเด็กออทิสติคที่มีปัญญาดี ความสามารถในการพัฒนาการจะเหมือนเด็กปกติ เพียงแต่ไม่พูดเหมือนเด็กปกติ

ทันทีที่เด็กเริ่มมีอายุ 4 ขวบ และมีการพัฒนาในระดับหนึ่ง คุณหมอก็จะส่งไปเรียนตามโรงเรียนต่าง ๆ ที่รู้จักเป็นการส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนอนุบาลลอออุทิศ อนุบาลสมถวิล หรือโรงเรียนราชวินิตเพื่อฝึกให้เด็กได้เรียนรู้การอยู่ร่วมกับเด็กปกติ

แต่ปรากฏว่าเด็กจำนวนไม่น้อยมีอาการถดถอยต้องส่งกลับโรงพยาบาลเริ่มรักษาใหม่ เพราะเด็กออทิสติคจะมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก การเอาใจใส่และการดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง สถานที่เรียนสำหรับเด็กออทิสติคจึงเป็นปัญหาที่มีมานานแล้ว

"คุณหมอเพ็ญแขขอความร่วมมือมา ทางเราเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีเพราะเด็กจะได้รับทั้งการรักษาและการศึกษาควบคู่กันไป จึงเสนอเรื่องต่อทางมหาวิทยาลัย ซึ่งก็ได้รับอนุมัติ และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2533 เป็นโครงการระยะยาวนานถึง 6 ปี" จงรักษ์ ไกรนาม ครูใหญ่โรงเรียนสาธิตเกษตรเล่าถึงความเป็นมาของโครงการ

คงไม่ใช่เพียงความพร้อมด้านสถานที่หรือความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารทั้งสองแห่งที่มีการร่วมงานกันมาโดยตลอด แต่ความพร้อมด้านบุคลากรน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญไม่น้อย

โดยเฉพาะดารณี ที่เพิ่งคว้าดีกรีด็อกเตอร์ด้านจิตวิทยาโรงเรียนมาหมาด ๆ จากอเมริกาที่สามารถตรวจวินิจฉัย บำบัด ตลอดจนจัดการเรียนการสอนเด็กออทิสติคได้เป็นอย่างดี ดารณีจึงมีหน้าที่เป็นซูเปอร์ไวท์ตลอดจนการเทรนบุคลากรที่ร่วมในโครงการ

"ค่าเล่าเรียนของเด็กออทิสติคประมาณปีละ 50,000 บาทต่อปี แต่เรารับเด็กได้ปีละ 5 คนเท่านั้น เพราะเราไม่มีบุคลากรด้านนี้อย่างเพียงพอ…ปีนี้เป็นปีที่ 4 ขณะที่มีเด็กในโครงการปัจจุบันรวม 17 คน เพราะบางคนเรียนไม่ได้ก็ต้องออกกลางคัน" จงรักษ์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

ไม่ใช่เด็กออทิสติคทุกคนจะมีโอกาส เข้าร่วมในโครงการเฉพาะเด็กออทิสติครักษาตัวอยู่กับทางโรงพยาบาลยุวประสาทฯ มาตั้งแต่เริ่มแรกและมีการพัฒนาทางด้านอารมณ์หรือสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้บ้างเท่านั้นที่มีโอกาสดังกล่าว

ในปีแรกเด็กทั้ง 5 คน จะเรียนร่วมกันโดยมีครู 2 คนเป็นผู้ดูแล ยกเว้นวิชาศิลปะ พละศึกษา และดนตรีที่จะเรียนร่วมกับเด็กปกติ แต่หากเด็กมีความชำนาญหรือความถนัดในวิชาใดเป็นพิเศษก็จะแยกให้ไปเรียนร่วมกับเด็กปกติในวิชานั้น ๆ ทันทีที่ขึ้น ป. 2

นับแต่ชั้น ป. 3 เป็นต้นไปการเรียนจะร่วมกับเด็กปกติตลอดวัน โดยแยกไปห้องละ 2 คนและ 3 คน ภายใต้การดูแลและให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดของครูในโครงการพิเศษ ขณะที่ช่วงปิดเทอมเด็กเหล่านี้จะกลับไปที่โรงพยาบาลยุวประสาทฯ เพื่อให้แพทย์สังเกตการพัฒนา และตรวจร่างกาย

การร่วมมือกันเป็นอย่างดีระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนระหว่างผู้ปกครองเด็ก นักจิตวิทยา และคุณหมอ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของเด็กออทิสติค น่าจะมีส่วนไม่น้อยต่อการประเมินผลล่าสุดที่แสดงถึงไอคิวหรือการพัฒนาด้านสติปัญญาที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

เด็กออทิสติคหลายคนสามารถทำคะแนนได้สูงกว่าเด็กปกติไม่ว่าจะเป็นวิชาสังคมการเขียนคำยาก หรือวิชาคำนวณ กรณีของ "น้องพลัม" ที่ชนะเลิศจากการแข่งคณิตคิดเร็วในระดับชั้น ป. 4 เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน

"เราคิดว่าโครงการของเราได้ผลนะ เด็กมีพัฒนาการดีขึ้น แม้ว่าความสัมพันธ์กับสังคมยังไม่ดี ซึ่งต้องใช้เวลาในการฝึกต่อไป" ดารณีกล่าวและว่า

"มีความเป็นไปได้น้อยมากที่จะเปิดรับเด็กต่อไปหลังจากที่ครบเวลาโครงการที่กำหนดไว้ 6 ปี เพราะมีปัญหามากมายโดยเฉพาะเรื่องการขาดแคลนบุคลากร แต่เด็กที่อยู่ในโครงการนี้สามารถเรียนต่อไปเรื่อย ๆ เท่าที่เขาสามารถเรียนได้ และเราก็ติดตามผลตลอดไป"

คงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายไม่น้อย หากโครงการจัดการศึกษาพิเศษไม่ได้รับการสานต่อ โดยเฉพาะภาคเอกชนที่น่าจะเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างยิ่งไม่เพียงเพื่อสนองต่อความต้องการที่มีอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นประโยชน์โดยตรงต่อบุคคลแต่ผลทางอ้อมที่เกิดกับสังคมก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us