Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"ยางสยามใหญ่กว่าที่วาดหวัง"             
 


   
search resources

ยางสยาม, บมจ.
ชลาลักษณ์ บุนนาค




ไม่ว่าจะโดยบังเอิญหรือตั้งใจ วันนี้ ยางสยามในเครือซิเมนต์ไทย เป็นเครือข่ายที่ใหญ่มาก ๆ ในวงการผู้ผลิตและค้ายางรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในประเทศ เป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า การตัดสินใจเข้าสู่ธุรกิจยางรถยนต์ของปูนซิเมนต์ไทยเมื่อ 11 ปีก่อนด้วยการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทไฟร์สะโตนซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 30% ในปี 2525 เป็นทิศทางที่ถูกต้อง หลังจากที่กลุ่มปูนใหญ่ เริ่มเข้าสู่อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องยนต์ ด้วยการตั้งบริษัทนวโลหะไทยเมื่อปี 2520

จากจุดเริ่มต้นของการซื้อหุ้น 30% ในบริษัทไฟร์สะโตน (ประเทศไทย) แล้วกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทยางสยามในเวลาต่อมา ถึงวันนี้ การขยายตัวของธุรกิจอุตสาหกรรมยางรถยนต์ของปูนซิเมนต์ไทย จึงมีมากกว่าบริษัทยางในประเทศไทยทุก ๆ บริษัท

จนมีการวิเคราะห์กันว่ายางสยามกำลังจะกลายเป็นโฮลดิ้งคัมปะนี!!!

แต่ชลาลักษณ์ บุนนาค กรรมการผู้จัดการยางสยามเชื่อว่า ยางสยามยังไม่น่าจะใหญ่ถึงขนาดนั้น แม้เครือข่ายของยางสยามในวันนี้ มีมากกว่าที่คาดก็ตาม

ปัจจุบัน เครือข่ายของยางสยามประกอบด้วย บริษัทสยามมิชลินที่ปูนซิเมนต์ไทย ยางสยามและมิชลินร่วมลงทุนตั้งบริษัทในวงเงิน 2,010 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียน 1,130 ล้านบาทในปี 2531 เพื่อผลิตยางเรเดียลเสริมใยเหล็กสำหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุกขนาดเล็ก

บริษัทยางสยามอุตสาหกรรม ซึ่งตั้งขึ้นมาเมื่อปีก่อนโดยการร่วมทุนระหว่างยางสยาม ปูนซิเมนต์ไทยและมิชลิน ด้วยทุนจดทะเบียน 400 ล้านบาท เพื่อผลิตยางรถบรรทุกใหญ่และรถโดยสารภายใต้เครื่องหมายการค้า "สยามไทร์" และมีแผนที่จะผลิตยางเรเดียลรถบรรทุกและรถโดยสาร "มิชลิน" ในอนาคต

บริษัทสยามอัลลอยวีลอุตสาหกรรม ตั้งขึ้นเมื่อปี 2535 มีทุนจดทะเบียน 180 ล้านบาท ซึ่งยางสยามถือหุ้นทั้งหมดเพื่อผลิตล้ออลูมิเนียมอัลลอยสำหรับรถยนต์นั่งและรถบรรทุกยี่ห้อ "ASTON" โดยอาศัยเทคโนโลยีจากบริษัทแลมเมอร์ซ เยอรมนี

นอกจากนี้ ยางสยามยังเข้าไปมีส่วนลงทุนในบริษัทอื่น เช่น ผลิตภัณฑ์คาร์บอนไทยที่มีไทยออยล์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อเป็นฐานในการผลิตวัตถุดิบสำหรับการผลิตยางรถยนต์

การเติบโตของยางสยามจึงเป็นการเติบโตอย่างมีระบบและมีการวางแผนอย่างดี!!

ชลาลักษณ์ยอมรับว่าการวางแผนขยายงานของยางสยามมาจากการศึกษาและวิเคราะห์ เพราะอุตสาหกรรมยางเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนในเรื่องงานวิจัยและพัฒนาสูงมาก

เมื่ออุตสาหกรรมเครื่องยนต์ของเครือซิเมนต์ไทยมีการขยายตัว มีหรือที่ยางสยามจะหยุดอยู่กับที่ได้

แต่การขยายตัวของผู้ผลิตยางรถยนต์ ไม่ได้มีเพียงยางสยามเท่านั้น

"ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในเอเซียและไม่กี่ประเทศในโลก ที่มีผู้ผลิตยางรถยนต์ตั้งโรงงานในประเทศมาก คือมีทั้งยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นคือบริจสโตน (ที่เป็นผู้ซื้อหุ้นไฟร์สโตนอันเป็นผลให้ยางสยามต้องเลิกผลิตยางไฟร์สโตนและผลิตยางสยามไทร์แทน) ยักษ์ใหญ่ของอเมริกาคือกู๊ดเยียร์และยักษ์ใหญ่ของยุโรป คือมิชลินที่มาร่วมทุนกับยางสยามนั่นเอง" ชลาลักษณ์กล่าว

การแข่งขันในประเทศไทย จึงมีมากกว่าหลาย ๆ ประเทศ

"ยางรถยนต์นี่เป็นสินค้าที่ไม่สามารถแข่งขันเรื่องราคาได้ อย่างให้ลดลงมาเหลือเส้นละไม่กี่บาท ก็ไม่มีใครซื้อไปเก็บเอาไว้เกินกว่าความจำเป็นต้องใช้" ชลาลักษณ์กล่าว

แต่กรรมการผู้จัดการยางสยามเชื่อว่า ไม่ว่าการแข่งขันจะรุนแรงแค่ไหนพวกเขาจะทำได้ดี

การที่วันนี้ ยางสยามมีมาร์เก็ตแชร์ในตลาดยางรถยนต์ประมาณ 20% ในตลาดผู้ประกอบรถยนต์ และประมาณ 44% ในตลาดทดแทน ดูเหมือนว่าจะเป็นสัญญาณบอกถึงความสำเร็จของยางสยามเป็นอย่างดี

"ตลาดโรงงานประกอบรถยนต์นั้นเป็นเรื่องปกติที่ผู้ผลิตยางญี่ปุ่น(บริดจ์สโตน-ไฟร์สโตน) จะมีมาร์เก็ตแชร์สูงเพราะรถยนต์บ้านเราเป็นรถญี่ปุ่น" นักการตลาดชี้ให้เห็นถึงการที่มาร์เก็ตแชร์ในตลาดโรงงานประกอบรถยนต์ของค่ายตะวันตกมีน้อยกว่าญี่ปุ่น กล่าวคือ ในตลาดนี้บริดจ์สโตนและไฟร์สโตน มีมาร์เก็ตแชร์รวมถึง 70% โดยประมาณ และกู๊ดเยียร์มีส่วนแบ่งแค่ 10%

ชลาลักษณ์บอกถึงความสำเร็จของยางสยามว่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่เครือข่ายการตลาดที่แข็งมากนั่นเอง

แหล่งข่าวในยางสยามเปิดเผย "ผู้จัดการ" ว่า เครือข่ายทางตลาดของยางสยามคือดีลเลอร์จำนวนกว่า 600 รายในประเทศ สามารถที่จะทำตลาดได้ดี เมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ

ความแตกต่างก็คือ ตัวแทนของบริษัทยางอื่น ๆ มีรูปแบบเป็นดิสตริบิวเตอร์ ที่เน้นการขายส่งมากกว่าขายปลีก ที่เป็นรูปแบบของดีลเลอร์ของยางสยาม ทำให้ยางสยามสามารถที่จะกระจายสินค้าสู่ตลาดทดแทนได้ดี แม้จะมีจุดอ่อนในตลาดโรงงานรถยนต์ก็ตาม

วันนี้ของยางสยาม จึงเป็นวันแห่งความภาคภูมิใจของปูนซิเมนต์ไทย ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมยางรถยนต์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us