Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"สุรงค์ บูลกุล ผู้บุกเบิก ปตท. สิงคโปร์"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
สุรงค์ บูลกุล
Oil and gas




หนุ่มหน้าใสร่างใหญ่มาตรฐานฝรั่งผู้ใช้ชีวิตอยู่ในสหรัฐถึง 13 ปี วัย 37 ลูกชายของศุภชัยแห่งตระกูลใหญ่ "บูลกุล" ทิ้งเงินเดือนห้าหมื่นบาทที่ธนาคารโลก ผละจากธุรกิจใหญ่ของครอบครัวเมื่อ 10 ปีก่อนมารับเงินเดือนเพียง 8,000 บาทที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เหมือนกับการเตรียมล่วงหน้าเพื่อบุกเบิกงาน ปตท. ที่สิงคโปร์..!

เขามีบุคลิกโดดเด่นคือมีมนุษยสัมพันธ์ดี และจะทำงานอยู่ที่ไหนก็ตาม ขอให้ได้พูดได้ถกเถียงโต้ตอบ หากขาดเสียซึ่งการพูด เขาคงไม่มีความสุข

คนที่เป็นเจ้าของประสบการณ์และบุคลิกนี้คือ "สุรงค์ บูลกุล" ผู้จัดการฝ่ายจัดหาและค้าน้ำมันของ ปตท. ผู้อยู่เบื้องหลังการบุกเบิกสำนักงานตัวแทน ปตท. ประเทศสิงคโปร์

หน่วยงานที่เป็นเสมือนหนึ่งหน่วยข่าวกรองเพื่อซื้อน้ำมันให้ได้คุณภาพและราคาที่มีประสิทธิภาพที่สุด และเป็นเหมือนการปิดทองหลังพระเพื่อป้อนน้ำมันให้พอกับความต้องการของตลาด

ความคิดนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยุคทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เป็นผู้ว่า ปตท. คนแรกที่เห็นว่าไทยควรจะสร้างข่ายธุรกิจด้านจัดหา กระทั่งมาเป็นจริงในปลายยุคที่อาณัติ อาภาภิรม เป็นผู้ว่าในปี 2534 ซึ่งถือว่าเป็นการเสริมความมั่นคงด้านจัดหา เนื่องจากไทยยังต้องนำเข้าน้ำมันถึงประมาณ 60% ของความต้องการในประเทศ

"ถ้าเรานำเข้าหนึ่งบาร์เรลก็ต้องจัดหา 2 บาร์เรล เพราะถ้าฉุกเฉินก็นำเข้าระบบสำรองได้" สุรงค์กล่าวและเสริมถึงถึงความจำเป็นของหน่วยงานนี้ว่า ขณะที่น้ำมันเป็นธุรกิจที่วิ่งด้วยเวลา การที่ ปตท. ออกนอกประเทศเท่ากับเป็นการเข้าสู่ตลาดน้ำมันโลกโดยตรง แต่ถ้าอยู่นอกเวทีหรือเป็นแค่ผู้ดูก็จะไม่รู้สถานการณ์ได้ทันท่วงที

ไปแรก ๆ คนเดียวโดดเดี่ยว สุรงค์อาศัยความชำนาญที่เจ้าตัวบอกว่าคุยภาษาฝรั่งสนุกกว่าภาษาไทย ทำหน้าที่หลักด้วยการคุยกับเทรดเดอร์น้ำมันอย่างมีลูกล่อลูกชน เหมือนเป็นนักข่าวที่เก็บข้อมูลทุกส่วนรายงานกลับกรุงเทพฯ ว่าตลาดน้ำมันสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์การค้าน้ำมันที่ 3 ของโลกมีกระแสเคลื่อนไหวอย่างไร ช่วยทำให้ได้ข้อมูลตลาดน้ำมันทั่วโลกว่า มีใครเสนอซื้อเสนอขายน้ำมันดิบหรือน้ำมันสำเร็จรูปผลิตภัณฑ์ใดราคาเท่าไหร่ ทำให้ ปตท. ตัดสินใจได้ว่าควรจะซื้อน้ำมันตามที่ต้องการตอนนั้นหรือไม่

"เพื่อปูทางให้เราเป็น PARTNER แทนที่จะเป็นแค่ผู้ซื้ออย่างเดียว" สุรงค์เล่าถึงเป้าหมายของการตั้ง ปตท. สิงคโปร์ที่เริ่มเป็นจริงแล้ว "อย่างมีครั้งหนึ่ง ไฟไหม้ท่าเรือเอสโซ่ที่สิงคโปร์นั้น ช่วยเราได้มาก เพราะเรารู้ว่าเขาจะเอาน้ำมันขึ้นท่าไม่ได้ ทำให้เราต่อรองราคาซื้อได้ เพราะเขาอยู่ในฐานะที่ต้องรีบขายออกแทนที่จะต้องลอยเรืออยู่กลางทะเล ซึ่งยิ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงโดยไม่จำเป็น"

ถ้าเป็นกรณีซื้อมาขายไปก็มีผลอีกเช่นกัน "ครั้งแรกที่เราทำ โดยซื้อดีเซลจากเชลล์ไปขายไต้หวัน ได้กำไรหนึ่งล้านบาท ซึ่งเป็นการขายแบบ BACK TO BACK ที่โอนความเสี่ยงทั้งหมดให้คนขาย รวมเบ็ดเสร็จปีก่อนเราทำมาร์จินได้ประมาณ 200 ล้านบาท" สุรงค์ลำดับของการมีส่วนร่วมสร้าง ปตท.อย่างภูมิใจ

เพราะเขายึดหลักเสมอว่าทำงานกับต่างชาติเพื่อให้คนไทยได้ประโยชน์มากที่สุด..!

โดยเฉพาะกับงานด้านพลังงานน้ำมันที่เขาให้ความสนใจตั้งแต่สมัยทำงานอยู่ฝ่ายวิเคราะห์การเงินของธนาคารโลก ได้อ่านโครงการกู้เงินของ ปตท. ก็เกิดความชื่นชมว่า ปตท. องค์กรน้ำมันไทยเริ่มรับผิดชอบด้านพลังงานโดยตรง ผนวกกับทึ่งในสไตล์การทำงานของทองฉัตรประสานกับแรงจูงใจ ที่คนเก่งอย่างศิรินทร์ นิมมานเหมินทร์ รองผู้ว่าการเงินในตอนนั้นชักชวน ทำให้ตัดสินใจทิ้งชีวิตต่างแดนกลับสู่มาตุภูมิหลังจากที่ไตร่ตรองอยู่หลายเดือน

"ธุรกิจของครอบครัวจะทำเมื่อไหร่ก็ทำได้" สุรงค์มีมุมมองอย่างนี้ผนึกกับพื้นฐานบ่มเพาะจากชีวิตต่างแดนที่มักจะคิดเองตัดสินใจเอง จึงก้าวสู่องค์กร ปตท. อย่างมั่นใจว่าจะได้ทำงานที่มันกว่า

เขาเริ่มต้นชีวิตจากนักวิเคราะห์การเงิน กองการเงินต่างประเทศ แม้ว่าจะจบมาถึง 3 สาขาก็ตาม คือปริญญาตรีวิศวะอุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยไซราคิวส์ ปริญญาโทสาขาการวิจัยและสาขาการเงินจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล สหรัฐฯ "แต่ก็ทำให้เราเห็นได้ชัดขึ้นว่าธุรกิจการเงินและน้ำมันจะไปด้วยกัน" สุรงค์ หวลภาพเริ่มต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรใหญ่ จนย้ายมาอยู่กองจัดซื้อน้ำมัน จากนั้นก็ได้รับมอบหมายให้ไปบุกเบิก ปตท. สิงคโปร์และย้ายกลับขึ้นมาเป็นผู้จัดการฝ่ายจัดหาที่กรุงเทพฯ

ที่สุรงค์และทีมงานภูมิใจที่สุด ก็คือ เมื่อได้ยินผู้ค้าพูดกันว่า "ขายให้ ปตท. ไม่ใช่เรื่องหมู" นับเป็นเกียรติภูมิที่เกี่ยวข้องอยู่กับมูลค่าซื้อขายน้ำมันกว่า 2.6 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่ไม่เคยถูกตำหนิถึงความด่างพร้อยเลยแม้แต่น้อย

ขณะที่สุรงค์ย้ำว่า "เราทำงานกันด้วยใจมากกว่า ที่มีงานท้าทายให้ทำ และโชคดีที่ฐานะทางบ้านพร้อม ยิ่งทำให้เราลุยงานได้เต็มที่ และเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเมื่อก่อน โลกมันแคบ ใครลองซื้อแพงหรือมีอะไรเป็นที่น่าสงสัย รับรองได้ว่าจะมีข่าวออกมาเร็วมาก"

โดยเฉพาะนับจากวันนี้ ปตท. ยังมีโครงการขยายไปสู่ตลาดอินเตอร์ในทุกมุมโลกเท่าที่จะไปได้ สุรงค์จึงยังสนุกกับงานที่นี่

งานที่เคยมีส่วนช่วยคลี่คลายสถานการณ์น้ำมันตอนเกิดวิกฤตอ่าวเปอร์เซีย โดย ปตท. สิงคโปร์คุยกับคูเวตจนวันสุดท้ายว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร และกระจายการซื้อน้ำมันจากแหล่งอื่นอย่างไรบ้าง

ยังไม่รวมถึงการเก็บข้อมูลในการผลักดันน้ำมันราคาลอยตัว การวิเคราะห์ ประมวลสรุปข้อมูลทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นการเตรียมออกน้ำมันคุณภาพใหม่แต่ละครั้งว่าจะจัดความพร้อมด้านซัพพลายแก่ ปตท. ได้อย่างไร รวมไปถึงการป้อนข้อมูลให้กับรัฐบาล ตลอดจนการเตรียมเข้าซื้อขายน้ำมันในตลาดล่วงหน้า (SIMEX) ที่สิงคโปร์ในอนาคตอันใกล้นี้อีกด้วย

สุรงค์กลับสู่สำนักงานใหญ่แล้วเพื่อให้เพื่อนร่วมงานคือ สรากร กุลธรรม ผู้จัดการ ปตท. สิงคโปร์ และพีรวัฒน์ พิพัฒน์สาธุกิจ ผู้ช่วยมือดีซึ่งถือเป็นคลื่นลูกใหม่ 2 แรงแข็งขันไปสานสร้างข่ายข่าวกรอง ปตท. ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us