Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
21 Ideas for Managers             
 





ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นอดีตผู้บริหารกิจการด้านน้ำมันผู้หันมาเอาดีด้านการเป็นที่ปรึกษา และนักเขียนหนังสือแนวบริหารธุรกิจหลายต่อหลายเล่ม ผลงานล่าสุดของเขาคือ 21 Ideas for Managers มีรูปแบบคล้ายคลึงกับงานเล่มก่อนหน้าคือ Waiting for the Mountain to Move คือ เป็นข้อเขียนสั้นๆ ที่นำเสนอความคิดในหัวเรื่อง ที่หลากหลาย

อย่างในบทหนึ่งแฮนดีแนะนำผู้อ่านให้ลองนึกถึงโดนัทในจินตนาการที่มีเนื้อโดนัทอยู่ตรงกลาง และขอบรอบนอกเป็นอากาศโล่งๆ นี่คือ สิ่งที่แฮนดีเปรียบเทียบกับงานในปัจจุบัน ซึ่งเขาบอกงานส่วนใหญ่จะมีเนื้องาน บทบาท และวัตถุประสงค์ ที่จะต้องทำให้บรรลุผล หากงานล้มเหลวก็อาจเห็นผลได้ชัดแจ้ง (เช่น ไม่มีอาหารเสิร์ฟ ลูกค้าในภัตตาคาร, ไม่มีประตูผู้โดยสาร ที่ลงจากเครื่องบิน หรือไม่มีบทบรรณาธิการ ในหนังสือพิมพ์ฉบับวันรุ่งขึ้น) หรืออาจเห็นผลไม่ชัดเจนนัก (เช่น ผู้บริหารระดับสูงไม่อาจหาเงินลงทุนทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ และการแข่งขัน ที่รุนแรงทำให้บริษัทอยู่ในสภาพง่อนแง่น) แต่ไม่ว่าผลจะออกมาในระดับไหน ทั้งหมดนี้ผู้เขียนก็ถือว่าเป็นความล้มเหลว ที่เห็นชัดเจนอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างระหว่างเนื้อโดนัทกับรูตรงกลางก็คือ ในพื้นที่ นี้แหละ ที่ผู้คนจะสร้างความแตกต่างได้ เป็นพื้นที่ ที่คนจะเติบโต และเรียนรู้ และรับผิดชอบต่องาน และริเริ่มสร้างสรรค์ องค์กรที่ดีเยี่ยมจึงต้องปฏิบัติตาม "หลักการบริหารโดนัท" คือ ให้พื้นที่กับงานหลักของแต่ละคนให้มาก และกระตุ้นให้พนักงานสร้างผลงานให้มากที่สุดในพื้นที่งานของตนเอง

นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของแนวทางการบริหาร ที่แฮนดีนำเสนอ ยังมีข้อแนะนำอื่นๆ อีกมาก ตั้งแต่วิธีการปลดปล่อยความตื่นเต้น และพลังงานในองค์กรไปจนถึงการรู้จักครอบครัวญาติพี่น้องของพนักงานจนกระทั่งระดับผู้บริหารองค์กร ทุกคน ทุกบทจบท้ายด้วยคำถามชวนคิดต่อโดยนำเอาหัวเรื่อง ที่นำเสนอมาแปลง ให้เป็นข้อแนะนำสำหรับนำไปปฏิบัติ อ่านเข้าใจง่ายให้ความคิด และเพลิดเพลินพร้อมกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us