Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2536
"พัฒนาและโครงสร้างตลาดหุ้นไทย"             
 


   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange




ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้สร้างประวัติการณ์ ด้วยการที่ราคาหุ้นโดยเฉลี่ยที่วัดด้วยดัชนีตลาดหลักทรัพย์พุ่งสูงขึ้นทะลุระดับราคาสูงสุดในอดีตคือ 1,142 จุด และพุ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมด้วยปริมาณการซื้อขายที่สร้างประวัติการณ์ใหม่โดยมูลค่าซื้อขายต่อวันในบางวันสูงเกินหลักสองหมื่นล้านบาท

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนตุลาคมดังกล่าวนี้ เป็นสัญลักษณ์ที่เห็นได้ชัดของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา และถือว่าปี 2536 นี้เป็นการปรับโครงสร้างระลอกหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อย ๆ เป็นเวลา 6-7 ปี

ตลาดหุ้นไทยหรือตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ นับได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างจากที่ผ่านมาในประเด็นต่าง ๆ อย่างชนิดที่เรียกว่าพลิกฝ่ามือเลยทีเดียว

ในส่วนของการลงทุน มูลค่าการซื้อขายหุ้นซึ่งอยู่ในระดับ 100 ล้านบาทต่อวันในปี 2529 ได้ขยับตัวสูงขึ้นเฉลี่ย 100% ต่อปีติดต่อกันจนถึงปี 2536 นี้ที่มูลค่าการซื้อขายโดยเฉลี่ยมีแนวโน้มลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี

การที่ปริมาณการซื้อขายรวมลดลงในปี 2536 นี้เป็นผลโดยตรงจากการลดลงของปริมาณในส่วนที่มาจากการปั่นหุ้น และการเก็งกำไรอย่างรุนแรงด้วยการหมุนเวียนซื้อขายด้วยความถี่สูงในอดีต อย่างไรก็ตามการลดลงของมูลค่านี้ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ชั่วคราวด้วยเหตุผลพิเศษที่เกิดจากการจับปั่นหุ้น และคาดว่าแนวโน้มการขยายตัวของมูลค่าการซื้อขายก็คงดำเนินต่อนังตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นไป เพียงแต่อัตราการเพิ่มคงจะไม่รุนแรงเป็น 100% อย่างในอดีต แต่คงจะรักษาอัตราการขยายตัวเฉลี่ยได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ต่อปี

โครงสร้างที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดที่สุดก็คือ โครงสร้างการลงทุนจากต่างประเทศ

ก่อนปี 2529 นั้น ปริมาณการลงทุนของต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ในระดับพันกว่าล้านบาท อันเป็นยอดการซื้อขายทั้งปีโดยมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 4-5 ของปริมาณการซื้อขายทั้งหมด อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นไป มูลค่าการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ได้ขยับพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงชนิดที่เรียกว่าเป็นเท่าตัวจนถึงปี 2533 ในปีนั้นมูลค่าการซื้อขายหุ้นของต่างประเทศในไทยสูงถึง 180,673 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ 14.40 ของปริมาณการซื้อขายรวม

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองของไทย ประกอบกับการถดถอยหรือการชะลอตัวของเศรษฐกิจต่างประเทศ ส่งผลให้ต่างชาติลดการลงทุนในหุ้นไทยและมูลค่าการซื้อขายต่างชาติลดลงเหลือ 130,162 ล้านบาท โดยสัดส่วนลดลงเหลือร้อยละ 8.21 และถือเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีเช่นกัน

ในปี 2535 การลงทุนของต่างชาติ ในตลาดหุ้นไทยเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวอีกครั้ง โดยปริมาณการซื้อขายในปี 2535 เพิ่มขึ้นเป็น 237,767 ล้านบาทอันถือเป็นปริมาณประวัติการณ์อีกครั้งหนึ่ง ทว่า สัดส่วนการลงทุนของต่างชาติ กลับมีแนวโน้มลดลงในปีดังกล่าวโดยเหลือร้อยละ 7.20 อันเป็นผลจากการขยายตัวที่รวดเร็วกว่าของนักลงทุนไทยนั่นเอง

สำหรับในปี 2536 นี้ยอดการซื้อขายต่างชาติแม้ก่อนตลาดบูมสุดขีด ในเดือนตุลาคมก็เป็นมูลค่าประวัติการณ์ไปเรียบร้อยแล้ว โดยมูลค่ารวมของต่างชาติจนถึงเดือนกันยายนของปี 2536 นี้เท่ากับ 314,202 ล้านบาทหรือมากกว่าปีที่แล้วทั้งปี นอกจากนั้นสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติก็เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีที่แล้ว โดยขยับขึ้นไปเป็นร้อยละ 14.86 อันเป็นผลส่วนหนึ่งจากการขยายตัวเพิ่มขึ้นมากของการลงทุนต่างชาติ และอีกส่วนหนึ่งจากแนวโน้มชะลอตัวลงของการลงทุนภายใน อันเป็นผลมาจากการจับปั่นหุ้นในตอนครึ่งปีแรก

โครงสร้างอีกส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงมากของตลาดหุ้นไทยก็คือ บริษัทที่เข้ามาจดทะเบียนและรับอนุญาตในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ก่อนปี 2530 จำนวนบริษัทจะอยู่ในราว 90 บริษัทและทรงตัวในระดับดังกล่าวเป็นเวลาติดต่อกันหลายปี ในปี 2530 จำนวนบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 104 บริษัท และนับตั้งแต่นั้นมาก็ขยายตัวอย่างรวดเร็วติดต่อกันทุกปี โดยเฉพาะอัตราการเพิ่มอย่างก้าวกระโดดในปี 2533-2534 ที่เพิ่มขึ้น 61 บริษัทในช่วงปีเดียวเทียบกับการเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 30-40 บริษัทในช่วงที่ผ่านมา

ณ ปลายเดือนกันยายน 2536 จำนวนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มเป็น 341 บริษัท

ในส่วนของกองทุนก็มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกล่าวคือ ก่อนหน้านี้จำนวนกองทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะอยู่ในระหว่าง 4-6 กองทุน เมื่อมาถึงปี 2535 ได้เพิ่มเป็น 15 กองทุน และ ณ ปลายเดือนกันยายนปีนี้จำนวนกองทุนเท่ากับ 21 กองทุน

การเพิ่มขึ้นของบริษัทจดทะเบียนและรับใบอนุญาตในตลาดหุ้น ผนวกกับแนวโน้มราคาหุ้นที่สูงขึ้นส่งผลให้ขนาดของตลาดหุ้นไทยขยายตัวอย่างทวีคูณ ขนาดของตลาดหุ้นนั้นวัดกันด้วยมูลค่าตลาดต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศซึ่งเคยอยู่ในระดับร้อยละ 6 ในช่วงก่อนปี 2539 ได้ขยับขึ้นเป็นร้อยละ 60 ในปัจจุบัน ทั้งนี้เป็นผลจากมูลค่าตลาดที่เพิ่มจาก 49,460 ล้านบาทในปี 2528 เป็นระดับ 1.78 ล้านล้านบาท ณ ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา และหากนับเดือนตุลาคมด้วยแล้ว คาดว่ามูลค่าตลาดคงเพิ่มขึ้นกว่า 1.9 ล้านล้านบาท

ปรากฏการณ์ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงภาพฉายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดหุ้นไทยที่ลึกซึ้ง และจะเพิ่มความรุนแรงต่อไปในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us