|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ตลาดแฟรนไชส์ธุรกิจการศึกษาในปี 2550 เป็นธุรกิจที่น่าจับตามองมากที่สุดอีกธุรกิจหนึ่ง เพราะมีการขยายตัวเฉลี่ยปีละ 15-20% มาอย่างต่อเนื่อง มีมูลค่าตลาดสูงถึง 3,000-4,000 ล้านบาทต่อปี และมีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก
ทั้งนี้เห็นได้จากการเคลื่อนไหวของแบรนด์ไทยและแบรนด์ต่างชาติมากขึ้น ที่นำเสนอการเรียน การสอนนอกเหนือจากวิชาพื้นฐานอย่างคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มาเป็น ศิลปะ กีฬา ดนตรี เพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทางมากขึ้น
ขณะที่วิชาพื้นฐานได้มีการครีเอทหลักสูตรใหม่ เช่น ภาษาอังกฤษเน้นไปที่การออกเสียง การสนทนา เพื่อให้เชี่ยวชาญด้านๆ นั้นมากขึ้น เพื่อเสริมกับการสอนพื้นฐานที่มีอยู่แล้วในตลาด ซึ่งการปรับตัวดังกล่าวนี้ สอดรับกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป
เฮรับสังคมแห่งการเรียนรู้ธุรกิจสุดคึกนำเสนอความต่าง
พัธนะชัย กมลเนตร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โกลเบิล อาร์ตแอนด์ กล่าวว่า แนวโน้มตลาดการศึกษายังสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะตลาดให้ความสำคัญกับการศึกษาเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ แต่ที่ผ่านมาคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไทยมีโรงเรียนสอนพิเศษจำนวนมาก แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรแล้วพบว่ายังมีช่องว่างอีกมากและเป็นโอกาสของผู้ลงทุน
แต่ทั้งนี้โอกาสที่เกิดขึ้นนั้นต้องดูความเหมาะสมของตลาดด้วย ทั้งนี้จะเห็นว่าช่วงระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมาจะมีแฟรนไชส์การศึกษาที่หลากหลายมากขึ้นไม่เฉพาะที่วิชาพื้นฐานเท่านั้น ที่เปิดให้บริการ เช่น แฟรนไชส์ศิลปะ ดนตรี โรงเรียนสอนขี่ม้า ภาษาต่างๆ ที่เป็นการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้เกิดขึ้น
หรือกระทั่งวิชาพื้นฐานอย่างคณิตศาสตร์ที่มีการพัฒนาหลักสูตรตอบสนองความต้องการของผู้ปกครองต่อการส่งลูกเรียนแล้วได้อะไรที่มากกว่าซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ผู้ปกครองปัจจุบันเล็งถึงและให้ความสำคัญ
พัธนะชัย ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อตลาดมีการขยายตัวจึงเป็นโอกาสที่นักลงทุนเล็งเห็น พบว่าในปี 2549 มีการขยายศูนย์ของธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาเพิ่มขึ้นที่ 560 ศูนย์และไต่ระดับการลงทุนอยู่ในอันดับ 2 รองจากธุรกิจอาหาร แซงหน้าธุรกิจบริการ ค้าปลีกและไอทีตามลำดับ
"เป็นทิศทางที่ดีต่อการเข้ามาลงทุนในธุรกิจการศึกษา ซึ่งการเติบโตนี้จะต่อเนื่องมายังปีนี้แน่นอน ซึ่งการเติบโตเฉลี่ยของธุรกิจอยู่ที่ 15-20% ของทุกปี แม้ปีนี้จะมีปัญหาการเมือง เศรษฐกิจ แต่จะเป็นการชะลอการลงทุนในระยะสั้นเท่านั้น"
สำหรับในปี 2550 นี้จะเห็นแบรนด์แฟรนไชส์การศึกษาจากต่างประเทศเข้ามามากกว่าการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการไทยเพื่อเข้าสู่ระบบแฟรนไชส์ แต่อาจเกิดขึ้นได้เฉพาะวิชาที่เจาะจงเช่น ฟุตบอล ยิมนาสติก หรือวิชาที่พัฒนาทักษะเฉพาะด้าน เพราะวิชาพื้นฐานนั้นมีผู้นำตลาดที่เข้มแข็งอยู่แล้วการแจ้งเกิดแบรนด์ใหม่จึงต้องใช้เวลานาน
ทั้งนี้ พัธนะชัย ได้แนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการเข้ามาลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาว่า สำหรับผู้ลงทุนที่สนใจตลาด mass นำเสนอวิชาพื้นฐานตลาดยังไม่อิ่มตัวเพียงแต่ต้องเลือกแบรนด์ที่เข้มแข็ง มีประวัติที่ดีและสามารถพิสูจน์ผลลัพภ์ได้เพราะจะให้ความเสี่ยงที่ต่ำกว่า ส่วนผู้ลงทุนที่ต้องการความแปลกใหม่แนะนำลงทุนในรายวิชาที่เฉพาะกลุ่มที่คนทั่วไปยังไม่รู้จักมากนัก แต่ที่สำคัญแบรนด์ต้องดี ดูความสำเร็จในประเทศที่ขยายไปลงทุนและการบริหารงานที่น่าเชื่อถือหรือไม่
และจุดใหญ่ที่สำคัญคือผู้ลงทุนควรมีความถนัดกับธุรกิจหรือรายวิชาที่เลือกลงทุนเพราะธุรกิจการศึกษาผู้ลงทุนต้องลงไปคลุกคลีมากกว่าธุรกิจประเภทอื่น ไม่ควรนำหลักพิจารณาในเรื่องเทรนด์มาพิจารณากับธุรกิจการศึกษาทั้งหมด
พันธนะชัย กล่าวว่า สำหรับโกเบิล อาร์ตในประเทศไทยนั้น ปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 3 การเติบโตของสาขาอยู่ที่ 17 สาขา ซึ่งการขยายสาขาควบคู่กับการสร้างแบรนด์ เทคนิคการสอนให้กับผู้ลงทุนและผู้บริโภครู้จัก คาดอัตราการเติบโตของปีนี้จะโตขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา
แนะนักลงทุนจับกลุ่มเด็กเล็กหนีตลาดกวดวิชาแข่งเดือด
นิพนธ์ เปาอินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดิร์น อิงค์ จำกัด มาสเตอร์แฟรนไชส์ “I Can Read” จากออสเตรเลีย กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อธุรกิจการศึกษาในแง่ของนักลงทุน ส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจออกไป แม้ว่าจะมีความตั้งใจจะเข้ามาลงทุนก็ตาม ประกอบกับสถานการณ์การเมืองยังไม่นิ่ง ทั้งนี้จากการสอบถามนักลงทุนส่วนใหญ่มีความเห็นว่ามั่นใจในการลงทุนธุรกิจแฟรนไชส์การศึกษาแต่ไม่มั่นใจระยะเวลาคืนทุนจากสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ยืดระยะเวลาคืนทุนออกไป ซึ่งเป็นสิ่งที่นักลงทุนห่วงในจุดนี้
ส่วนลูกค้าผู้ปกครองนั้น ไม่มีผลกระทบยังส่งบุตรหลานเรียนตามปกติ ดูจากตัวเลขผู้เรียนของศูนย์ I Can Read ไม่ลดลงแต่อย่างใด เพราะยังให้ความสำคัญกับการศึกษา โดยเฉพาะในระดับเด็กเล็ก
นิพนธ์ ฉายภาพการแข่งขันว่า กลุ่มตลาดที่มีการแข่งขันสูงคือตลาดระดับมัธยม เรียนเพื่อเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย และมีหลายสถาบันเปิดกันมากเพราะเจาะตลาดกลุ่มดังกล่าว ทั้งที่มีการจัดตั้งเป็นสถาบันทั้งในไทย รวมถึงจัดตั้งกันเองในกลุ่มอาจารย์ และแบรนด์จากต่างประเทศ
ขณะที่สถาบันการศึกษาที่เจาะกลุ่มตลาดเด็กเล็กนั้นการแข่งขันไม่รุนแรง และฐานลูกค้าซึ่งเป็นกลุ่มผู้ปกครองนั้นจะเป็นระดับกลางถึงบน ซึ่งกำลังซื้อในการจ่ายค่าเล่าเรียนบุตรหลานตั้งแต่ระดับอนุบาล และเป็นเทรนด์ใหม่ของผู้ปกครองที่ให้ความสำคัญกับการปูพื้นฐานการศึกษาตั้งแต่เด็กเล็ก
ฉะนั้นความน่าสนใจต่อการเข้ามาลงทุนธุรกิจการศึกษานั้นควรลงทุนกับเด็กเล็ก เพราะการแข่งขันยังไม่สูงมากนัก ดูได้จากแบรนด์ต่างประเทศหลายแบรนด์ที่เตรียมเข้ามาลงทุน เพราะปัจจุบันสาขายังกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพฯเท่านั้น ทั้งนี้คาดว่าในอนาคตภายใน 3 ปี การขยายสาขาน่าจะครอบคลุมทั่วประเทศทั้งนี้ได้มีการคิดคำนวณจำนวนเด็กที่มี
"ตลาดการแข่งขันในระดับเด็กเล็กไม่สูงมาก จุดขายคือการครีเอทหลักสูตร อย่าง I Can Read แม้ว่าจะเป็นวิชาพื้นฐานทั่วไปที่ตลาดมีค่อนข้างมากแต่มีหลักสูตรที่เป็นลิขสิทธิ์ เป็นหลักสูตรที่ดี ผ่านการทดลองวิจัยมาแล้ว"
และสำหรับ I Can Read นั้นในปี 2550 นี้เตรียมขยายอีก 15 สาขา หลังจากที่ได้ open house ไปเมื่อไตรมาสที่ 4 ของปีที่ผ่านมา ความสนใจต่อผู้เข้ามาลงทุนเฉลี่ย 100 คนภายใน 2 เดือนที่ผ่านมาและมีกว่า 40 รายที่เดินทางเข้ามาเยี่ยมชมศูนย์
ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการเข้ามาลงทุนของกลุ่มนักลงทุน ล่าสุดในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะนำนักลงทุนเดินทางไปดูศูนย์ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมี 10 ศูนย์ประสบความสำเร็จในด้านการยอมรับขึ้นเป็นอันดับ 2 ภายใน 4 ปี จำนวนผู้เรียนต่อสาขาเฉลี่ย 700 คน ต่ำสุดที่ 350 คนต่อสาขา
และเตรียมที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ของภูมิภาคเอเชียมาที่ประเทศไทยเพื่อบุกตลาดประเทศไทยและเป็นศูนย์การในการทำตลาดต่อไปยังประเทศจีน เนื่องจากจำนวนสาขาในสิงคโปร์เต็มและครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจึงต้องทำการขยายในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แต่อย่างไรก็ตามความต้องการพื้นฐานของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนเสริมนั้น ส่วนใหญ่ยังโฟกัสไปที่คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ ซึ่งมูลค่ามากถึง 3-4 พันล้านบาท อย่างล่าสุด สถาบันเพิ่มทักษะการเรียนรู้นานาชาติ ไอไออี สถาบันสอนภาษาอังกฤษแบรนด์ไทย ได้แตกแฟรนไชส์แบรนด์ใหม่คือสถาบันเพิ่มทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กระดับประถมจนถึงระดับมหาวิทยาลัยอายุตั้งแต่ 4-20 ปี ด้วยหลักสูตร “ซุปเปอร์จีเนียส” ซึ่งคิดค้นโดยอาจารย์ชาวไทย
จุดเด่นของหลักสูตรสามารถแก้โจทย์คณิตศาสตร์ที่ยากได้รวดเร็วขึ้น ด้วยขั้นตอนและวิธีการในการพัฒนาสติปัญญาในการแก้ไขปัญหา พัฒนาสมองในด้านการใช้เหตุและผลทางคณิตศาสตร์ บวกกับเม็ดเงินการลงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท แต่สามารถสร้างรายได้ต่อเดือนที่ 250,000-400,000 บาท จากค่าเรียนต่อคอร์สเริ่มต้นที่ 3,900 บาท
ทั้งนี้ผู้ซื้อแฟรนไชส์สามารถซื้อควบทั้ง 2 แบรนด์ซึ่งได้ทั้งภาษาอังกฤษภายใต้แบรนด์ไออีอีและคณิตศาสตร์ ทำให้ครอบคุมวิชาพื้นฐานซึ่งสามารถบ่งบอกถึงอัตราการเติบโตของธุรกิจการศึกษาจากการขยายสาขา ที่ตั้งเป้าแฟรนไชส์ซุปเปอร์จีเนียสครบ 20 สาขาและภายใน 5 ปีขยายครบ 40 สาขาทั่วประเทศ
|
|
|
|
|