Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 มกราคม 2550
เจาะ "MFEC" ยักษ์ไอทีไทยโตได้ไม่ต้องพึ่ง "คอนเนกชั่น"             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)

   
search resources

เอ็ม เอฟ อี ซี, บมจ.
ICT (Information and Communication Technology)
ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร




* เจาะเส้นทางโต "MFEC" ยักษ์ไอทีไทยต่อกรคู่แข่งระดับโลก
* ผงาดหนึ่งเดียวของไทยติดท็อป 500 บริษัทเทคโนโลยีในเอเชียแปซิฟิก
* สร้างวัฒนธรรมใหม่ทางธุรกิจด้วย "คุณภาพ" ไม่พึ่งพา "คอนเนกชั่น"
* ชูใบเบิกทางระดับโลกจาก "TRACE" เทียบชั้นความโปร่งใสบริษัทยักษ์ใหญ่

เดินหน้ารวบงานเอกชน เมินงานภาครัฐ ก่อนต่อยอดธุรกิจในต่างประเทศ

"การแข่งขันทางธุรกิจของไทยยังวัดกันที่เรื่องของคอนเนกชั่น โดยเฉพาะงานภาครัฐ ยังไม่เน้นเรื่องของความสามารถและคุณภาพสินค้าและบริการ"

เป็นคำกล่าวของ ศิริวัฒน์ วงศ์จารุกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอฟอีซี จำกัด(มหาชน) ที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมขององค์กรต่างๆ ที่ยังยึดติดเรื่องของคอนเนกชั่นเป็นหลัก ทำให้เกิดขบวนการคอร์รัปชั่นรูปแบบต่างๆ เป็นเหตุให้สังคมไทยไม่สามารถเทียบกับประเทศพัฒนาอื่นๆ ได้

"เราต้องการเซ็ตเทรนด์ใหม่ให้กับสังคมไทยไปในทิศทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกับประเทศอย่างสิงคโปร์ อเมริกา ฟินแลนด์"

คอนเซ็ปต์การดำเนินธุรกิจของเอ็มเอฟอีซี จึงยึดอยู่บนพื้นฐานของเรื่องคุณภาพเป็นหลัก และไม่ได้หวังพึ่งพาเรื่องของคอนเนกชั่น ส่งผลให้เอ็มเอฟอีซีเป็นหนึ่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีท็อป 500 บริษัทของเอเชียแปซิฟิก

ศิริวัฒน์ บอกว่าประเทศอื่นๆ ติดอันดับบริษัทเทคโนโลยีของเอเชียแปซิฟิกนับสิบแห่งในแต่ละประเทศ แต่ประเทศไทยกับมีเอ็มเอฟอีซีเพียงบริษัทเดียว สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับในมาตรฐานของบริษัทเทคโนโลยีในประเทศไทยยังมีอยู่น้อยมากในเวทีระดับโลก

สาเหตุหลักที่ทำให้ต่างชาติไม่ยอมรับบริษัทเทคโนโลยีในประเทศไทย เนื่องจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทเหล่านั้นยังขาดเรื่องของคุณภาพและประสิทธิภาพ แต่การได้มาของงานในแต่ละบริษัทนั้น จะอาศัยเรื่องของคอนเนกชั่นเป็นหลัก

บทพิสูจน์สำคัญที่เอ็มเอฟอีซีประสบกับตนเองมาคือการรุกเข้าไปเจาะงานภาครัฐในโครงการต่างๆ ไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ และต้องถอยมาตั้งหลักและทบทวนการทำตลาดภาคราชการอีกครั้ง หลังจากที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำตลาดนี้อย่างจริงจังตั้งแต่ช่วงต้นปี 2549 ที่ผ่านมา

ปัจจุบันงานหลักของเอ็มเอฟอีซีจึงอยู่ที่การรับงานภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเซกเมนต์ของธุรกิจเทเลคอมและไฟแนนซ์ ซึ่งได้รับการยอมรับจากลูกค้ารายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น เอไอเอส ดีแทค แบงก์ชาติ ตลาดหลักทรัพย์

ทั้งนี้ธุรกิจหลักของเอ็มเอฟอีซี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ธุรกิจบริการให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบไอที โดยให้คำปรึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจร เพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานและแก้ปัญหาทางธุรกิจและการบริหารงานองค์กรที่แตกต่างกันไปเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์ให้ลูกค้าสามารถแข่งขันได้ในธุรกิจของตน

ธุรกิจพัฒนาและวางระบบ บริการออกแบบจัดหา และติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ และธุรกิจบริการบำรุงรักษา บริการด้านการบำรุงรักษาและสนับสนุนทางเทคนิคสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กร โดยวิศวกรระบบที่มีความเชี่ยวชาญ

สำหรับการดำเนินธุรกิจของเอ็มเอฟอีซีในปี 2550 ยังคงยึดในเรื่องของการนำเสนอคุณภาพสินค้าและบริการ โดยได้รับการสนับสนุนจากพันธมิตรหลักระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นซิสโก้และซันไมโครซิสเต็มส์ เน้นโฟกัสไปที่ตลาดเทเลคอมและไฟแนนซ์แบงก์กิ้งเป็นหลัก เนื่องจากมองว่าเป็นตลาดที่ยังมีใช้จ่ายทางด้านไอทีในปริมาณสูงอย่างต่อเนื่อง

ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ในภาคธุรกิจเทเลคอมจะมีการขยายตัวรับกับเทคโนโลยีและบริการรูปแบบใหม่ ตลาดนี้จึงยังต้องมีการลงทุนทางด้านไอทีใหม่อย่างต่อเนื่อง ส่วนในตลาดแบงก์กิ้งจะมีการลงทุนด้านไอทีมากขึ้น เพราะข้อบังคับจากการที่มีกฏกติกาใหม่จากแบงก์ชาติ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบาเซิล II และวิธีการลงบัญชีแบบใหม่ IAS39

"เราจะใช้บริษัทลูกค้าใหญ่จากภาคธุรกิจมาเป็นตัวเซ็ตเทรนด์ให้กับธุรกิจทางด้านนี้"

ความหมายของศิริวัฒน์ คือบริษัทภาคเอกชนเหล่านี้จะพิจารณาเรื่องของคุณาภาพสินค้าและบริการมากกว่าเรื่องของคอนเนกชั่น เมื่อเอ็มเอฟอีซีสามารถทำตลาดนี้ได้เป็นอย่างดี ย่อมได้รับความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น จนทำให้องค์กรต่างๆ หันมาให้บริการของเอ็มเอฟอีซีในที่สุด

นอกจากนี้เอ็มเอฟอีซียังได้ผ่านการเป็นสมาชิกของ TRACE ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่วัดผลด้านจริยธรรมความโปร่งใส เน้นเรื่องการต่อต้านการคอร์รัปชั่นของสหรัฐอเมริกา ซึ่งบริษัทที่จดทะเบียนในแนสแดคส่วนใหญ่ก็เป็นสมาชิกองค์กรนี้ รวมทั้งบริษัทระดับโลกในประเทศต่างๆ ด้วย

"TRACE มีกฏข้อบังคับในการห้ามจ่ายเงินใต้โต๊ะ เพื่อให้ได้รับงาน ยิ่งไปกว่านั้นการเลี้ยงดูลูกค้าก็ห้ามมีจำนวนเงินกว่าที่กฏได้ระบุจำนวนเงินที่ควรจะเป็นไว้"

การได้เป็นสมาชิก TRACE ของเอ็มเอฟอีซี เสมือนกับการได้รับใบการันตีสำคัญทางด้านความโปร่งใส ซึ่งในอนาคตจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เอ็มเอฟอีซีสามารถประกาศตัวเองได้ดียิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับสำหรับองค์กรทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ

ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถเป็นใบเบิกทางสำคัญให้เอ็มเอฟอีซีรุกตลาดต่างประเทศในอนาคตได้ด้วย ซึ่งจากคำบอกเล่าของศิริวัฒน์ เอ็มเอฟอีซีได้มีการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดตลาดต่างประเทศไว้แล้ว รอเวลาเพียงทำให้เอ็มเอฟอีซีในประเทศไทยมีความแข็งแรงมากกว่านี้ก่อน

"เราคิดว่าเอ็มเอฟอีซีสามารถแข่งขันกับใครได้ในเอเชียแปซิฟิก"

สำหรับผลการดำเนินงานของเอ็มเอฟอีซีในปี 2549 ศิริวัฒน์ คาดว่าจะปิดที่ตัวเลขประมาณ 2,200 ล้านบาท และตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตขึ้นอีกประมาณ 15-20% ในปี 2550 หรือมีรายได้รวมกันทั้งกลุ่มประมาณ 2,600 ล้านบาท

แต่เป้าหมายสำคัญที่ศิริวัฒน์ ได้วางไว้สำหรับเอ็มเอฟอีซี คือการนำพาบริษัทแห่งนี้ให้เป็นบริษัทที่มีรายได้มากกว่าสามพันล้านบาท และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเอ็มเอฟอีซีสามารถเจาะตลาดภาครัฐของไทยมากขึ้น ย่อมสามารถทำรายได้ตามที่ตั้งไว้อย่างไม่ยากเย็น และเติบโตได้อย่างที่ศิริวัฒน์บอกว่าเอ็มเอฟอีซีโตได้โดยไม่ต้องพึ่งพาคอนเนกชั่น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us