|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทโฆษณาเสริมกลยุทธช่วยลูกค้าฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจ สปาแอดเวอร์ไทซิ่ง ชี้ หมดยุคเทงบโฆษณากวาดตลาดแนวกว้าง เน้นพาแบรนด์ขยับเข้าใกล้กลุ่มเป้าหมายให้ลึกที่สุด ข้อมูลตัดสินใจต้องแน่นเกือบเต็ม 100 ก่อนลงมือ ด้านครีเอทีฟ จูซ แนะลูกค้าสร้างความพร้อมภายใน ก่อนเทงบโฆษณา ชูเครื่องมือ Squeeze สร้างงานประโยชน์ให้งบโฆษณาสูงสุดในยุคเศรษฐกิจฝืด
กิตติ ชัมพุนท์พงศ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด แสดงความเห็นถึงการวางกลยุทธโฆษณาในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันว่า การหว่านเม็ดเงินเพื่อใช้ในการโฆษณากระจายออกไปในแนวกว้างเป็นกลยุทธ์ที่ไม่เหมาะกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อีกทั้งเชื่อว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็คงไม่มีการตั้งงบประมาณโฆษณามากเหมือนก่อน เพราะความเสี่ยงมีมาก รวมถึงค่าใช้จ่ายขององค์กรที่มีมากขึ้น ซึ่งถือเป็นงานที่ท้าทายของบริษัทโฆษณา อาจจะมองว่าง่ายที่ไม่ต้องวางกลยุทธในการเข้าหากลุ่มเป้าหมายแนวกว้างที่หลากหลาย หากแต่ก็จะเป็นงานที่ยากลำบากของบริษัทโฆษณา ที่ต่อไปนี้จะทำงานเหมือนเช่นเคยไม่ได้อีกต่อไป
"ที่ผ่านมาการทำงาน หากหาข้อมูลได้อย่างน้อย 70% ก็สามารถตัดสินใจกำหนดแนวทางได้ ข้อมูลที่ต่ำกว่านี้จะไม่ขยับ ไม่ตัดสินใจ แต่ปัจจุบันคุณต้องได้ข้อมูลอย่างน้อย 90% ต้องคิดอย่างละเอียดถึงขนาดว่า ส่วนแบ่งตลาดของสินค้าที่เราดูแลอยู่ เอ็ม-150 1% จากตลาดหมื่นล้านบาท คือกี่สตางค์ 1% ของโนเกียเป็นกี่สตางค์ ทุกเปอร์เซ็นเทจ สำคัญหมด โลกสมัยใหม่ปัดส่วนไม่ได้อีกต่อไป 10.6 จะปัดเป็น 11 ไม่ได้ ข้อมูล การทำงานต้องแม่นยำขึ้น ตั้งสมมติฐานมาก ๆ ไม่ได้แล้ว"
ด้าน วศโดม รัศมิทัต รองกรรมการผู้จัดการ สปา แอดเวอร์ไทซิ่ง กล่าวว่า กลยุทธที่สปาฯ ใช้ในการทำงานมาโดยตลอดคือ การสร้างแบรนด์ให้มีความใกล้ชิดกับผู้บริโภค ดังเช่น การสร้างแบรนด์ให้กับเครื่องดื่ม M-150 ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย จากส่วนแบ่งตลาด 4% เมื่อ 10 ปีก่อน มาเป็นกว่า 60% ในปัจจุบัน ลูกค้ารายล่าสุด จักรยานยนต์ยามาฮ่า ก็มีการทำ CRM จัดกิจกรรมที่ลงไปถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ ไม่ใช่เพียงแค่การทำหนังโฆษณาเหวี่ยงออกไป
"ตอนนี้เรามองหา Target Group ที่มีแรงบันดาลใจตรงกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะการเหวี่ยงแหทำงานออกไปในตลาดแมส ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว Passion Point ของกลุ่มเป้าหมายที่มีผลกับการขาย พฤติกรรมนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องหาให้เจอ คนคงเบื่อสิ่งที่ธรรมดา ๆ ไม่ตื่นเต้น ดังนั้น ความใหม่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด"
กิตติกล่าวต่อว่า ปัจจุบันการทำงานของสปาฯ ที่มีให้แก่ลูกค้าแต่ละรายมีลักษณะเหมือน Tailor Made แตกต่างเฉพาะตัวตามแต่สินค้าแต่ละประเภท การสร้างแบรนด์ให้กับลูกค้าจะไม่ได้ลงทุนเพื่อเวลานี้เท่านั้น ส่วนหนึ่งคือการปกปักษ์แบรนด์ไว้สำหรับวันข้างหน้า ดังเช่น แบรนด์ส่วนใหญ่ที่สปาฯ ดูแล อาทิ เอ็ม-150 เบียร์ลีโอ โทรศัพท์โนเกีย โตชิบา ที่ยังแข็งแกร่งอยู่แม้สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
วิทวัส ชัยปาณี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ครีเอทีฟ จูซ\ จีวัน จำกัด กล่าวในประเด็นเดียวกันว่า เครื่องมือ Squeeze ที่บริษัทฯ นำมาใช้โดยเป็นการคั้นไอเดียครีเอทีฟที่ชัดเจนตรงตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของลูกค้า ตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมานั้น เหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันเป็นอย่างดี เมื่องบโฆษณาของลูกค้ามีจำกัด การทำงานต้องตอบโจทย์ของ Squeeze ที่ตั้งขึ้น 3 ประการ ประกอบด้วย งานตอบโจทย์เข้าถึงผู้บริโภคหรือไม่ งานตอบโจทย์การตลาดของลูกค้าหรือเปล่า และงานครีเอทีฟที่คิดขึ้น ดีที่สุดหรือยัง
จะเห็นว่า แนวคิดการตอบโจทย์ของ Squeeze จะมองประโยชน์ของลูกค้าเป็นหลัก คือ งานครีเอทีฟต้องเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย และต้องตอบโจทย์การตลาดของลูกค้า งานโฆษณาที่คิดขึ้นสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้หรือไม่ หากไม่ใช่ แม้จะเป็นงานที่มีไอเดียดีเพียงใด ก็จะไม่นำมาใช้
"แม้จะเห็นว่าครีเอทีฟ จูซ จะเป็นบริษัทโฆษณาที่มีผลงานได้รับรางวัลจากเวทีประกวดอยู่เสมอ แต่ Squeeze เป็นการสร้างงานบนโจทย์ของลูกค้า คิดหาแนวทางที่ดีที่สุด แล้วได้รางวัลด้วย คือของแถมที่ตามมา ถือเป็นการลงทุนที่ยั่งยืนกว่า เพราะหากทำงานที่เน้นแต่จะเอารางวัล แล้วลูกค้าไม่ได้อะไร สุดท้ายลูกค้าจะหนีหมด"
อย่างไรก็ตามในสถานการณ์เช่นนี้ ลูกค้าที่อาจไม่มีงบโฆษณามาก บริษัทฯ จะวางกลยุทธเน้นสร้าง Brand Experience ก่อน คือการปรับแก้ไขจุดอ่อนในตัวสินค้าหรือบริการให้เรียบร้อยให้ลงตัว ก่อนจะไปใช้เงินทำโฆษณา เมื่อสร้างความพร้อมให้กับสินค้าหรือบริการ ปรับภายในองค์กรให้เรียบร้อย ทำจุดสัมผัสที่ผู้บริโภคหรือลูกค้าจะสัมผัสกับสินค้าให้พร้อม จึงจะหันมาดูถึงงบโฆษณาเป็นลำดับต่อไป
"ตัวอย่างการทำงานให้กับลูกค้ากรุงเทพประกันภัย ก่อนที่จะออกแคมเปญโฆษณาจนประสบความสำเร็จ เราทำงานอยู่กับลูกค้าไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ปรับแนวคิดขององค์กรรองรับการก้าวเดิน เมื่อทุกอย่างพร้อมจึงเริ่มมีโฆษณาออกมาดังที่เห็น โดยขณะนี้บริษัทฯ ก็เข้าไปทำงานภายในกับกรุงเทพประกันชีวิต มาราว 1 ปีแล้ว โดยบอกว่ายังไม่ต้องใช้งบโฆษณา ทำเรื่องภายใน เรื่องประสบการณ์ในการให้บริการกับตัวแทนของเขาให้พร้อมก่อน จึงค่อยมาว่าเรื่องโฆษณา"
|
|
|
|
|