เปิดตัวเลขภาระค่า ใช้จ่ายทศทฯที่ต้องลงทุนตามสัญญาร่วมการงาน กรณีทีเอ ทศทฯขาดทุนปี
45 นับพันล้านบาท ส่วนเอไอเอส ดีแทคถึงแม้มีกำไร แต่ค่าใช้จ่ายเพื่อการเชื่อมโยงรองรับทราฟิกรวมกับ
6 พันกว่าล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลข ที่จำเป็นต้องได้รับการชดเชยจากรัฐบาล ส่วนภาษีสรรพสามิตเสนอวิธีจัดเก็บที่ไม่จำ
เป็นต้องยุ่งกับสัญญา เนื่องจากเกรงเอกชนหาช่องโหว่ยก เลิกสัญญา
นายมิตร เจริญวัลย์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บมจ.ทศท คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า
จากสัญญาร่วม การงานกับเอกชน ไม่ใช่ว่าทศทฯจะเป็นฝ่ายรับประโยชน์ส่วนแบ่งรายได้เพียงอย่างเดียว
แต่ทศทฯยังมีค่าใช้จ่ายอีกจำนวนมากทั้งค่าใช้จ่ายด้าน บริหารและบริการลูกค้า รวมทั้งค่าใช้จ่ายด้านเทคนิค
ซึ่งบางสัญญาทศทฯกลับต้องควักกระเป๋าจ่ายเงินเพิ่มด้วย ซ้ำ นอกจากนี้ทศทฯยังมีภาระเรื่องการลงทุนเพื่อให้บริการโทรคมนาคมทั่วถึงโดยไม่คุ้มค่า
ทางเศรษฐกิจ
สัญญากับทีเอจากตัวเลขปี 2545 ทศทฯจะมีรายได้จากส่วน แบ่งรายได้ บริการโทรศัพท์ประจำที่
2,286 ล้านบาท และรายได้อื่นๆ 1,152 ล้านบาทรวมเป็นประมาณ 3,438 ล้านบาท ในขณะที่มีรายจ่ายรวม
4,257 ล้านบาท หรือขาดทุนสุทธิกรณีรวมรายได้อื่นๆ 819 ล้านบาท กรณีไม่รวมรายได้อื่นๆ
ขาดทุนสุทธิ 1,971 ล้านบาท
สัญญากับทีทีแอนด์ที มีรายได้รวม 3,706 ล้านบาท มีรายจ่าย รวม 3,653 ล้านบาท
หรือคิดเป็นกำไรสุทธิ หากรวมรายได้อื่น 52 ล้านบาท แต่ถ้าไม่รวมรายได้อื่นๆ ทศทฯจะขาดทุน
246 ล้านบาท
สัญญากับเอไอเอส มีรายได้ 12,190 ล้านบาท รายจ่าย 4,352 ล้านบาท คิดเป็นกำไรประมาณ
7,838 ล้านบาท ดีแทค รายได้ 5,035 ล้านบาท มี รายจ่ายรวม 2,598 ล้านบาท คิดเป็นกำไร
2,437 ล้านบาท
สำหรับรายจ่ายด้านบริหารและบริการลูกค้า ประกอบด้วย ค่ารับแจ้ง เหตุขัดข้องและซ่อมบำรุงรกัษาสายกระจาย
ใบแจ้งหนี้ ค่าใช้ที่ดินอาคารและอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายโครงข่าย ค่าสอบถามเลขหมาย ค่าธรรมเนียมธนาคารและบัตรเครดิต
ค่าใช้จ่ายติด ตามหนี้ หนี้สูญค่าใช้จ่ายบริหารสัญญา ส่วนด้านเทคนิคมีค่าบำรุงรักษาสื่อสัญญาณ
ค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับทราฟ-ฟิก ค่าใช้จ่ายบริหารความถี่ ค่าใช้จ่าย บริหารเลขหมายโทรคมนาคม
"อย่างสัญญากับทีเอ ทศทฯต้อง มีค่าใช้จ่ายโครงข่ายเกือบ 2 พันล้านบาท มีค่าใช้จ่ายรองรับทราฟฟิกอีก
เกือบ 900 ล้านบาท หรือกับเอไอเอสประมาณ 4 พันล้านบาทกับดีแทคประ มาณ 2,500 ล้านบาท
เป็นข้อพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นสัญญาร่วมการงาน เราก็ต้องลงทุน ไม่ใช่สัญญาสัมปทานที่เราได้ส่วนแบ่งรายได้แล้วจบไม่ต้องลงทุนเพิ่ม
ซึ่งทำให้เห็นว่าผู้ประกอบการโทรคมนาคมปัจจุบันมีแค่ทศทฯกับกสท. 2 ราย เอกชนเป็นแค่ผู้ร่วมการงานเท่านั้น"
ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงภาระของทศทฯในแต่ละสัญญาสัมปทาน ซึ่งหากต้องการแก้ไขสัญญา
ทั้งระบบ รัฐจำเป็นต้องชดเชยในสิ่งที่ทศทฯลงทุนไปดังกล่าว แต่ประเด็นที่มีการพูดถึงกันมากในระดับผู้บริหาร
ทศทฯคือต้องไม่เข้าไปยุ่งหรือเพิ่มเนื้อ หา หรือข้อความ อันที่จะมีการเปิดช่อง
ให้เอกชนยกเลิกสัญญา หรือถือ เป็น การแปรสัญญาโดยปริยาย โดยเฉพาะ ในเรื่องการเก็บภาษีสรรพสามิตที่จะให้หักจากส่วนแบ่งรายได้
เนื่องจาก น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.ไอซีทีเคยให้สัมภาษณ์ว่าอาจต้องมีการเพิ่มข้อความบางส่วนลงไปในสัญญา
ซึ่งทศทฯมองว่าเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง
"บอร์ดทศทฯสรุปว่าเอกชนจ่าย ส่วนแบ่งรายได้ให้ทศทฯอย่างไรต้องจ่ายเหมือนเดิมตามสัญญา
และปล่อย ให้เป็นหน้าที่ของไอซีทีจะดำเนินการต่อไป เพื่อไม่เปิดโอกาสให้เอกชนใช้เป็นข้ออ้างเลิกสัญญาหรือแปรสัญญา"
แนวทางที่ทศทฯเสนอไปกระ ทรวงไอซีทีในการเก็บภาษีสรรพ สามิตโดยไม่จำเป็นต้องแก้ไขสัญญาคือ
1.กรณีทีเอกับทีทีแอนด์ทีคู่สัญญา (ทีเอกับทีทีแอนด์ที)จะต้องชำระค่าภาษีสรรพสามิต
โดยสรุปยอดเงินที่ต้องชำระค่าภาษีสรรพสามิตให้ทศทฯทุกสิ้นเดือน เพื่อให้ทศทฯสามารถชำระภาษีให้กับทีเอกับทีทีแอนด์ที
เพื่อนำไป ชำระต่อให้กรมสรรพสามิตได้ทันกำหนดเวลา
2.สัญญากับเอไอเอส ซึ่งบริษัทเป็นคนเก็บค่าบริการ จากผู้ใช้บริการโดยตรง บริษัทจะต้องเป็นผู้ชำระภาษีสรรพสามิตให้ทันกำหนดไปก่อน
แล้วจึงนำมาหักออกจากส่วนแบ่งผลประโยชน์ที่จะต้องนำส่งทศทฯตามสัดส่วนภาษีสรรพสามิต
ส่วนที่เหลือจึงนำส่งทศทฯ แต่หากส่วนแบ่งรายได้ตามงวดที่จ่ายให้ทศทฯตามสัญญาไม่เพียงพอกับการชำระภาษีสรรพสามิต
ก็ให้นำส่วนต่างไปหักจากส่วนแบ่งรายได้ที่ทศทฯพึงได้ รับในภาพรวมตามสัญญาเมื่อสิ้นปีต่อไป