|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้นว่า มูดี้ส์ และ เอสแอนด์พี สองบริษัทจัดอันดับเครดิตระดับโลกจะยังไม่ปรับอันดับเครดิตประเทศไทย และ ยังคงมองว่ายังมีเสถียรภาพ แต่เอสแอนด์พี ระบุว่า เหตุลอบวางระเบิด กทม ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความน่าเชื่อถือของไทยแต่การเปลี่ยนแปลงอันดับความน่าเชื่อถือขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ต่างๆจะพัฒนาไปอย่างไรอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
หากพิจารณาดูอันดับเครดิตของไทยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย เห็นได้ชัดว่า ก็ไม่ได้มีอันดับดีนัก อยู่ในอันดับดีกว่าฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย เท่านั้นเอง เหตุระเบิดใน กทม บวกเข้ากับ หลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นมาตรการควบคุมเงินทุนกันสำรอง ๓๐% การส่งสัญญาณเหมือนกับว่าไม่ค่อยอยากจะต้อนรับนักลงทุนต่างชาติ หรือดูเหมือนกับว่าจะเปิดประเทศน้อยลง ตลอดจน การแก้ไขกฏหมายธุรกิจต่างด้าว
ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการลงทุนทั้งสิ้น และ ทำให้ ไทย ไม่น่าดึงดูดในสายตานักลงทุนต่างประเทศ เมื่อการลงทุนถดถอยลงมากย่อมทำให้ ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่พอไปได้กำลังจะเปลี่ยนแปลงไป
ระดับความเสี่ยงของประเทศอาจจะเพิ่มขึ้นมาพร้อมกับความน่าเชื่อถือที่อาจจะลงไปอยู่ระดับเดียวกับอินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ แทนที่จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ในระดับเดียวกับมาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ หรือ จีน
พันธบัตรระยะยาวสกุลต่างประเทศ Moody และ S & P
ประเทศ อันดับเครดิตMoody แนวโน้ม อันดับเครดิตS&P แนวโน้ม
ไทย Baa1 มีเสถียรภาพ BBB+ มีเสถียรภาพ
จีน A2 เชิงบวก A มีเสถียรภาพ
ฮ่องกง A1 เชิงบวกพร้อมปรับอันดับ AA มีเสถียรภาพ
อินเดีย Baa3 มีเสถียรภาพ BB+ เชิงบวก
อินโดนีเซีย B1 มีเสถียรภาพ BB- มีเสถียรภาพ
เกาหลี A3 เชิงบวก A มีเสถียรภาพ
มาเลเซีย A3 มีเสถียรภาพ A- มีเสถียรภาพ
ฟิลิปปินส์ B1 เชิงลบ BB- มีเสถียรภาพ
สถานการณ์หลังรัฐประหาร ภาพความเสี่ยงโดยรวมของประเทศดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางการเมืองและปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ในส่วนปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจนั้น เราเผชิญกับปัญหาการชะลอทั้งการบริโภค การลงทุนและการส่งออก ขณะที่ยังพอมีปัจจัยบวกอยู่บ้างในเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และ สัญญาณที่แสดงให้เห็นว่าราคาน้ำมันอาจจะไม่ปรับตัวสูงเหมือนปีที่แล้ว
ช่วงต้นสัปดาห์มีความเคลื่อนไหวของภาคเอกชนหลายกลุ่ม ตั้งแต่ กกร จัดประชุมประเมินสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการประชุมของโปรกเกอร์ต่างประเทศกับสภาตลาดทุนไทยและตลาดหลักทรัพย์ซึ่งเน้นหนักเรื่องมาตรการควบคุมเงินทุนโดยมีการเสนอให้ทบทวนและยกเลิก
ขณะที่มีการแถลงจุดยืนของกลุ่มหอการค้าต่างชาติและผู้แทนของสถานฑูตต่างๆคัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำนิยามใหม่ของบริษัทธุรกิจต่างด้าว
หากพิจารณาปัจจัยเสี่ยงของประเทศในสายตาของบริษัทจัดอันดับเครดิตสามารถแบ่งองค์ประกอบได้เป็นสามองค์ประกอบใหญ่ เริ่มตั้งแต่ องค์ประกอบแรก คือ ปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง อันเป็นปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อไทยในวันนี้ เขาจะเริ่มพิจารณาตั้งแต่ เสถียรภาพของรัฐบาล (Government stability) ตามด้วย ระดับการคอร์รัปชัน (Corruption) การแทรกแซงทหารในทางการเมือง (Military in Politics) รวมถึงความน่าเชื่อถือทางประชาธิปไตย ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์และศาสนา ความเป็นนิติรัฐ (Rule of Law) ความขัดแย้งทางการเมืองกับต่างประเทศ เป็นต้น
องค์ประกอบที่สอง คือ ความเสี่ยงทางการเงิน ปัจจัยเสี่ยงนี้จะเน้นดูศักยภาพในการชำระหนี้ของประเทศเป็นสำคัญเริ่มต้นตั้งแต่ หนี้ต่างประเทศเทียบกับจีดีพี สัดส่วนหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเทียบกับทุนสำรองระหว่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัดเทียบกับจีดีพี สภาพคล่องสุทธิทางการเงินเทียบกับยอดมูลค่าการนำเข้า เสถียรภาพค่าเงิน เป็นต้น
องค์ประกอบที่สาม ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ ก็จะมีการพิจารณา อัตราเงินเฟ้อดัชนีตัวนี้จะช่วยวัดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่แท้จริง รายได้เฉลี่ยต่อหัวของประชาชน อัตราการเติบโตของการลงทุนและการบริโภค เป็นต้น
หากประเมินโดยภาพรวมทั้งปัจจัยเสี่ยงทางการเมือง เศรษฐกิจ และการเงินสามารถสรุปได้ว่า ระดับความเสี่ยงของประเทศเพิ่มขึ้น หากเพิ่มมากถึงจุดหนึ่งบริษัทจัดอันดับเครดิตก็อาจจะปรับลดอันดับเครดิต จะเป็นซ้ำเติมต่อปัญหาของประเทศ
ฉะนั้น สิ่งที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และ ภาคประชาชน ต้องทำตอนนี้ คือ การสมานฉันท์เพื่อดูแลประเทศให้ผ่านพ้นความยากลำบากไปให้ได้ ครับ
|
|
|
|
|