Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์15 มกราคม 2550
รัฐ-เอกชน เดินหน้าศก.พอเพียงคลอด 6 โครงการ-“ม่าม่า-ปูนใหญ่” จุดพลุ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โอมเพจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)

   
search resources

ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์, บมจ.
ปูนซิเมนต์ไทย, บมจ.
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
Economics




ภาครัฐ - เอกชนขานรับตามแนวพระราชดำริ “เศรษฐกิจพอเพียง ”ปรับใช้ในปี2550 เชื่อไม่สวนทางตลาดโลกเสรีแต่กลับสร้างเศรษฐกิจแข็งแกร่งแบบยั่งยืน ขณะที่สภาอุตฯน้อมรับจับมือสสว.คลอด 6 โครงการพัฒนา SMEs ให้โตทั้งในและนอกประเทศ ด้านบริษัทเอกชน ‘มาม่า –ปูนซิเมนต์ไทย’ ใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการทำธุรกิจ

ภายหลังที่ โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้กับภาคอุตสาหกรรมโดยรัฐบาลต้องการอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อเป็นพันธมิตรช่วยกันคิดและทำงานร่วมกันโดยตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้

นอกจากนี้ให้ส.อ.ท.มีบทบาทชี้แนะการปรับบทบาทการทำงานของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ให้สอดคล้องกับความต้องการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดยเฉพาะเรื่องสำคัญคือการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีผลิตภาพสูงขึ้น และนำความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต เพื่อใช้ความรู้ที่ได้รับนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ทำให้อุตสาหกรรมไทยพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

สภาอุตฯจับมือสสว.พัฒนา SMEs

สันติ วิลาศสักดานนท์ ประธานส.อ.ท. กล่าวว่า ได้มีการหารือกับสมาชิกหลายครั้งในการประชุม แต่ยังไม่มีอะไรที่เป็นรูปธรรม หากบริษัทใดมีความพร้อมก็ทำไปก่อน โดยเฉพาะสมาชิกในต่างจังหวัดส่วนมากก็ธุรกิจแบบพอเพียงอยู่แล้ว

อย่างไรก็ดีสภาอุตฯจะจัดงาน “Dinner Talk มองเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2550/Thai Industry Outlook 2007 ” ในวันที่ 29 มกราคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิตต์ เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างให้ภาคเอกชนมีความเข้าใจถึงเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย และเพื่อรับทราบข้อมูลความรู้ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินกิจการให้สามารถปรับทันตามสถานการณ์ปัจจุบันและ สามารถแข่งขันได้โดยได้เชิญพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษเรื่อง“เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย”

“การจัดงานดังกล่าวจะทำให้เอกชนในภาคอุตสาหกรรมที่กำลังตัดสินว่าจะทำธุรกิจแบบเศรษฐกิจในปีนี้ก็จะได้เกิดความมั่นใจ และลงมือลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป” ประธานส.อ.ท.กล่าว

ขณะเดียวกันสภาอุตฯได้ร่วมกับสสว.ขับเคลื่อนโครงการส่งเสริม SMEs ใน 6โครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพ สร้างมูลค่าเพิ่มและนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถแข่งขันและมีมาตรฐานในระดับต่างชาติให้การยอมรับในผลิตภัณฑ์ที่ออกไปสู่ตลาดต่างประเทศได้

คลอด 6โครงการนำร่องพัฒนา

จิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า 6โครงการดังกล่าว เพิ่งผ่านบอร์ดบริหาร และอยู่ระหว่างรอการลงบันทึกข้อตกลง(MOU)กับสภาอุตฯ คาดว่าภายในสัปดาห์หน้าประธานส.อ.ท.และปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมจะลงนามข้อตกลงดังกล่าวเพื่อขับเคลื่อนโครงการส่งเสริม SMEs ต่อไป

สำหรับงบประมาณใน6โครงการ ประมาณ1,200ล้านแบ่งออก2ส่วน คืองบประมาณ800ล้านสำหรับงบประมาณดำเนินใน 6โครงการคือ1.)โครงการยกมาตรฐานอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และยาง 2.)โครงการศูนย์บ่มเพาะเอสเอ็มอี ระดับ 5 ภาค 5 ศูนย์ 3. )โครงการจับคู่ทางธุรกิจเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายเชื่อมโยงหากัน 4.) โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพยกระดับการใช้เครื่องจักรของเอสเอ็มอีที่จะสนับสนุนช่วยลดดอกเบี้ยการกู้เงินจากสถาบันการเงินร้อยละ 2 ให้กับเอสเอ็มอี 5.)โครงการเครือข่ายระบบจัดส่งสินค้าและพัสดุหรือโลจิสติกส์ ซึ่งจะทำงานระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ และ 6. )โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมระดับจังหวัดและภูมิภาค

ส่วนอีก400ล้านจะเป็นงบประมาณโครงสร้างทางปัญญาซึ่งได้ร่วมมือกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เพื่อให้นักวิจัยสามารถนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ SMEs ให้มีมาตรฐานสร้างมูลค่าเพิ่ม ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอบสนองลูกค้าทั้งในและนอกประเทศประเทศได้

ปี 50เดินหน้ายุทธศาสตร์พอเพียง

ในส่วนของการส่งเสริม SMEs ในปีงบประมาณ 2550 นั้นจะเน้นตามแผนแม่บทส่งเสริม SMEs ฉบับที่ 2 ปี 2550-2554 โดยนำแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 และนโยบายรัฐบาลมาเป็นคิดหลักในการส่งเสริม ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมสนับสนุนเอสเอ็มอีทางสสว.จะให้ความสำคัญใกล้เคียงกัน ยกเว้นปัจจัยที่ช่วยสร้างธุรกิจให้กับเอสเอ็มอีจะได้รับงบประมาณมากที่สุด รองลงมาคือยุทธศาสตร์ที่จะช่วยส่งเสริมเอสเอ็มอีสาขาต่าง ๆ ทั้งภูมิภาคและระดับประเทศ ซึ่งส่วนนี้จะร่วมงานกับสภาอุตฯ อีกส่วนคือด้านการตลาดจะเป็นยุทธศาสตร์ในการสร้างเอสเอ็มอีให้สามารถออกไปจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศ พร้อมกับเพิ่มผลิตภาพให้ด้วย โดยจะทำงานร่วมกับสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ ส.อ.ท. เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับเอสเอ็มอี

อีกทั้งสสว.มีแผนงานการดำเนินการต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง คือกองทุนส่งเสริมเอสเอ็มอี,แผนปฏิบัติการส่งเสริมเอสเอ็มอี, การบ่มเพาะ,สร้างช่องทางการตลาด, เสริมความรู้, รวมทั้งการสร้างเครือข่ายนวัตกรรม, รวมถึงการสร้างศูนย์ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับธุรกิจSMEs

‘มาม่า’ยึดลงทุนแบบพอเพียง

ขณะเดียวกันมีบริษัทเอกชน ได้ยึดพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการประกอบกิจการ อาทิบริษัทม่าม่า โดย พิพัฒ พะเนียงเวทย์ ประธานบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปตรามาม่า กล่าวถึงนโยบายการตลาดในของบริษัทฯว่า จะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทั้งในรูปแบบของการลงทุนธุรกิจเดิมที่มีอยู่หรือธุรกิจใหม่จะลงทุนอย่างพอดี โดยจะพิจารณาจากสภาพเศรษฐกิจและการตลาดเป็นหลัก เช่น หากแนวโน้มตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโต 10% บริษัทฯจะลงทุนสั่งซื้อเครื่องจักรชนิดเพิ่มความเร็วในการผลิตเป็น 4 แสนซองต่อ 8 ชั่วโมงในนี้แต่หากตลาดเติบโตเพียง 5% คาดว่าอีก 2 ปีถึงจะลงทุนสั่งซื้อเครื่องจักรดังกล่าวมาผลิต

นอกจากนี้บริษัทฯยังหันมาให้ความสำคัญกับการทำตลาดต่างประเทศในเชิงรุกมากขึ้น เนื่องจากแนวโน้มตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปทั่วโลก มีอัตราการเติบโต 10% ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีความเร่งรีบในชีวิต และบะหมี่ฯเป็นอาหารที่สะดวก ราคาไม่สูง ดังนั้นบริษัทฯได้ปรับแผนการตลาดต่างประเทศ จากเดิมทำตลาดในลักษณะตอบสนองความต้องการของตลาด มาเป็นการสร้างความต้องการใหม่ๆให้กับตลาด โดยการออกรสชาติเน้นเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะคนท้องถิ่น โดยเริ่มดำเนินการแล้วที่อเมริกา และยุโรปนอกจากนี้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสู่ไฮเปอร์มาร์เก็ต ในประเทศเยอรมัน แคนาดา ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย

ชูรสชาติใหม่เน้นความพอเพียง

ส่วนแผนการออกรสชาติใหม่ทางบริษัทฯจะยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงโดยลดการออกรสชาติใหม่ๆลงเหลือเพียง 2-3 รสชาติเท่านั้นจากเดิมเปิดตัว10 รสชาติขณะที่งบการตลาดปีหน้าวางแผนใช้เท่าเดิมคือ 500 ล้านบาท เนื่องจากคาดการณ์ว่าสภาพตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมูลค่ากว่า10,000 ล้านบาท ในปีนี้การแข่งขันด้านราคาจะลดน้อยลง เนื่องจากต้นทุนการผลิตสูงขึ้น โดยเฉพาะแป้งสาลีซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 65% จะมีราคาแพงขึ้นจากปีนี้ราคา 290 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันเพิ่มเป็น 390 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน

SCG ปรับตัวรับศก.พอเพียง

ด้านบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ก็มีนโยบายการบริหารงานให้สอดรับกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงในปีนี้คือ บริหารค่าจ้าง และสวัสดิการโดยเน้นความสมดุล และการตอบสนองผลประโยชน์ที่เป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้น, สรรหาและคัดเลือกและคัดเลืกคนอย่างเป็นระบบโดยยึดหลัก"คนดีและคนเก่ง" และมีโครงการพัฒนาภาวะผู้นำ ,รับบุคลากรเท่าที่จำเป็นโดยการจัดคนเข้าทำงานให้เหมาะกับลักษณะงานที่รับผิดชอบ,จัดสรรเงินทุนเพื่อการศึกษาด้านต่างๆเพื่อต่อยอดความรู้ของพนักงานเป็นการ"สะสมทุนมนุษย์"เพื่อสร้างขีดคสามสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจระยะยาว

นิด้าสร้างเครือข่ายยุทธศาสตร์พอเพียงหนุนชุมชนจับมือผู้ประกอบการแปลงขยะเป็นทอง

‘นิด้า’ หนุนชุมชนทั่วกรุงเทพฯหันใช้ขยะหมักสดทำน้ำยาล้างจาน –ล้างท่อ – ล้างห้องน้ำลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ทั้งจับมือกับองค์กรสำคัญ โรงเรียน โรงแรม ตลาดสดหันพึ่งขยะที่เหลือสร้างมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดรายได้ ทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชนกับผู้ประกอบการในพื้นที่

รศ.ดร.แตงอ่อน มั่นใจตรง อาจารย์คณะพัฒนาสังคมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวถึงการส่งเสริมชุมชนบนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริว่า ทุกองค์กรสามารถปรับตัวมาใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริได้อย่างง่ายๆอย่างบ้านเรือนทั่วไปที่มีขยะสด อาทิ เปลือกส้ม ,สับปะรด. , มะนาว ,มะกรูด ฯลฯ ก็จะสามารถนำมาหมักสดกับน้ำตาลทรายแดงเพื่อเป็นสารสกัดชีวะภาพ สารซักล้าง โดยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถใช้แทนน้ำยาซักล้างที่มีอยู่ตามท้องตลาด และไม่มีสารเคมีใดเลย โดยครัวเรือนที่ทำน้ำยาขึ้นเองสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนทั้งยังไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ดีโครงการดังกล่าวได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดีจากโรงเรียนในกรุงเทพฯกว่า 180 โรงเรียนอาทิ โรงเรียนลำสาลี โรงเรียงเทพลีลา โรงเรียนบดินทร์เดชา 2 ที่ส่งเสริมโครงการดังกล่าวไปใช้ในโรงอาหารก็สามารถประหยัดน้ำยาล้างจานโดยนำเอาเปลือกผลไม้ที่เหลือมาหมักเองสามารถลดค่าใช้จ่ายได้อีกทางหนึ่ง ขณะเดียวเด็กนักเรียนยังมีรายได้จากการขายสารสกัดชีวะภาพ น้ำยาซักล้างเหล่านี้อีกด้วย

“สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือเกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างสถานประกอบการกับชุมชนใกล้เคียง เพราะชุมชนใกล้เคียงสามารถนำสารสกัดชีวะภาพ สารซักล้างไปจำหน่ายให้ผู้ประกอบการ ทั้งยังร่วมมือช่วยกันดูแลน้ำที่ปล่อยลงในคลองต่างๆทั่วกรุงเทพฯได้เป็นอย่างดี ” ดร.แตงอ่อน ระบุ

ดร.แตงอ่อนกล่าวอีกว่ายังมีตลาดสดที่สนเข้าร่วมโครงการ คือตลาดสดนครไทถนนอยู่ลาดพร้าว ตลาดคลองเตยที่ได้เริ่มโครงการดังกล่าวไปแล้วสามารถลดขยะที่มีสูงถึงวันละ14 ตันแต่พอเอาวิธีการดังกล่าวไปใช้สามารถลดขยะลงเหลือวันละ 6ตันเท่านั้น ทั้งท่อระบายน้ำที่เคยมีการอุดตันก็ไม่มีปัญหานอกจากนี้แล้วโรงแรมที่ริเริ่มโครงการดังกล่าวเช่นโรงแรมเดอะไดนาสตี้ที่มีปัญหาขยะอุดตันท่อน้ำอยู่บ่อยๆ ก็เลยลองนำเอาเปลือกสับปะรดจำนวนมากที่เหลือจากการรับประทานมาหมักตามกรรมวิธีได้น้ำยาล้างท่อน้ำที่ได้ผลดีกว่าน้ำยาที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดซะอีก ทั้งกลิ่นที่ได้ก็หอมเป็นธรรมชาติจึงไม่เกิดปัญหาดังกล่าวอีก

สิ่งที่ตามมาจากใช้ขยะเหลือใช้แล้วมาพัฒนาเป้นผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มให้เป็นสินค้าได้จากจุดนี้เอง เว็บไซต์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) ก็ได้นำเอาบทความดังกล่าวไปลงในเว็บไซต์ถึงการจัดการขยะได้เป็นอย่างดี ซึ่งหากทุกคนทุกองค์กรร่วมมือกันจะสามารถช่วยกันลดขยะ สร้างมูลค่า สร้างรายได้บนพื้นฐานความพอดี ความพอเพียงตามแนวพระราชดำริได้

“ เราจะไปแนะนำให้ผู้ประกอบการว่าเขาสนใจเข้าร่วมโครงการดังกล่าวหรือไม่ แต่ไม่ใช่จะไปขายให้ผู้ประกอบการโดยตรง แต่ให้เขาไปคุยกับชุมชนในพื้นที่ว่ามีสิ่งไหนบ้างที่ทั้งชุมชนและผู้ประกอบการสามารถร่วมมือกันสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะได้ เป็นการสร้างเครือข่ายที่ใกล้ชิดกันซึ่งได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ” ดร.แตงอ่อน ระบุ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us