|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บริษัทยักษ์ใหญ่ปรับแผนกู้นอกอุตลุต หลังได้รับผลกระทบจากมาตรการกันสำรองเงินนำเข้า 30% กดดันผู้บริหารแบงก์ชาติต้องออกมาชี้ช่องลดผลกระทบจากมาตรการฯ แนะ ปตท.ไม่ต้องเอาเงินกู้เข้าเพื่อแลกเป็นเงินบาททั้งจำนวน แต่ให้กันส่วนที่ใช้ซื้อวัตถุดิบหรือเครื่องจักรจากต่างประเทศเป็นสกุลดอลลาร์ ลดภาระกันสำรอง ผู้บริหาร ปตท.สผ.ครวญจำเป็นต้องออกหุ้นกู้สกุลบาทไตรมาสแรก 3-4 พันล้าน ขณะที่ "ไออาร์พีซี" หันออกบาทบอนด์ขายในประเทศ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนแผนปรับปรุงโรงกลั่นต้องเลื่อน 1-2 ปี
กรณีที่บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) จะหารือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องการกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำเข้ามาลงทุนขยายกิจการว่าจะเข้าข่ายการกันสำรองเงินนำเข้า 30%หรือไม่นั้น วานนี้ นายสุชาติ สักการโกศล ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับการแลกเงินและสินเชื่อ ธปท. กล่าวว่า ได้คุย ปตท.แล้วว่า เกณฑ์กันสำรองเงินทุนเป็นเกณฑ์ที่ใช้ครอบคลุมกับทุกกรณี รวมทั้งเงินกู้ กรณีของ ปตท.จึงต้องกันสำรองเงินทุนนำเข้า 30% ด้วย
"จะถือเป็นการเอาเงินมาลงทุนโดยตรงไม่ได้ เพราะเป็นเงินที่กู้เข้ามา ดังนั้น ต้องกันสำรองตามเกณฑ์แบงก์ชาติ" นายสุชาติกล่าวและว่า
ได้แนะนำผู้บริหาร ปตท.ไปด้วยว่าวงเงินที่จะกู้เข้ามาลงทุนนั้น ให้แยกระหว่างส่วนที่ต้องใช้ในการซื้อวัตถุดิบ เครื่องจักรหรืออุปกรณ์การก่อสร้างจากต่างประเทศ ส่วนนี้ให้ถือเป็นเงินดอลลาร์ฝากไว้ในต่างประเทศไม่ต้องนำมาแลกเป็นเงินบาท ซึ่งส่วนนี้ทำให้ไม่ต้องเสียต้นทุนในการกันสำรองเงินทุน 30% ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนได้ เพราะการลงทุนของ ปตท.พึ่งพาสินค้านำเข้า นอกจากนั้นเท่าที่ประเมินต้นทุนการกู้เงินจากต่างประเทศแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ ปตท.ต้องเสียรวมกับต้นทุนที่เกิดจากกันสำรองเงินทุน 30% ยังต่ำกว่าการกู้ในประเทศมาก จึงถือว่าคุ้มค่า
ปตท.สผ.เล็งออกหุ้นกู้ 3-4 พันล.Q1นี้
ด้านนายชัชวาล เอี่ยมศิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายการเงินและบัญชี บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯเตรียมออกหุ้นกู้วงเงิน 3,000-4,000 ล้านบาท อายุ 3 ปีภายในไตรมาส 1/2550 เพื่อนำไปลงทุนในธุรกิจผลิตและสำรวจทั้งในและต่างประเทศ การออกหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นไปตามแผนงานเดิมก่อนที่แบงก์ชาติจะออกมาตรการสกัดค่าเงินบาท ซึ่งเชื่อว่าหุ้นกู้ดังกล่าวจะไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกันสำรองของแบงก์ชาติมากนัก เนื่องจากมาตรการดังกล่าวมีผลทำให้การออกบอนด์ระยะยาวทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้น และในปี 2551 บริษัทคาดว่าจะมีรายได้ที่ดีขึ้น เนื่องจากรายได้จากแหล่งปิโตรเลียมอาทิตย์จะเริ่มรับรู้แล้ว
นอกจากนี้ ในช่วงเดือนก.ย. 2550 จะครบกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้ซามูไรบอนด์จำนวน 8,000 ล้านบาท ซึ่งปตท.สผ.มีแผนจะรีไฟแนนซ์เป็นเงินบาทแทน ขณะที่กระแสเงินหมุนเวียนของปตท.สผ. 1.7 หมื่นล้านบาทเพื่อใช้ในการลงทุน
ปตท.เคมิคอลออกหุ้นกู้ 300 ล.ดอลล์
นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯมีแผนการลงทุนใน 3ปีนี้วงเงิน 1 แสนล้านบาท ซึ่งแหล่งเงินทุนจะมาจากเงินเพิ่มทุนก่อนหน้านี้ 2.8หมื่นล้านบาท เงินทุนหมุนเวียน และเงินกู้อีก 700-800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเงินกู้ดังกล่าวอาจจะออกเป็นหุ้นกู้สกุลบาทล็อตแรกจะออก 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะดำเนินการในครึ่งปีหลังนี้ เพื่อนำมาใช้ในการก่อสร้างโรงงานโอเลฟินส์กำลังการผลิต 1 ล้านตันต่อปี และโรงงานผลิตแคกเกอร์และแอลดีพีอี
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้าในเครือปตท.จะใช้เงินลงทุน 6 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการกู้ยืมประมาณ 1 แสนกว่าล้านบาท ขณะที่ปตท.เองลงทุน 2 แสนล้านบาท โดยจะกู้เงิน 5 หมื่นล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้า โดยปีนี้ยังไม่ได้มีการวางแผนว่าจะกู้เงินในและต่างประเทศจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของตลาดโดยมีต้นทุนทางการเงินน้อยที่สุด แต่คงต้องหารือกับแบงก์ชาติ เนื่องจากมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่กำหนดให้กันสำรอง 30%ของเงินทุนไหลเข้านั้น ทำให้ต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้น
ส่วนผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดที่กรุงเทพฯเมื่อวันที่ 31 ธ.ค.ที่ผ่านมาว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวอาจทำให้ความต้องการใช้พลังงานในประเทศลดลง ซึ่งปตท.คงไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ในประเทศมากนัก ขณะที่ปัจจัยตลาดพลังงานในตลาดโลกจะส่งผลกระทบมากกว่า อาทิ ราคาน้ำมันตลาดโลก มาร์จินปิโตรเคมีและค่าการกลั่น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยังคาดว่ายอดขายปีนี้จะขยายตัวเมื่อเทียบกับปีที่แล้วประมาณ 5-10 %
IRPCออกบาทบอนด์ขายใน ปท.
นายปิติ ยิ้มประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)(IRPC) เปิดเผยว่า แผนการลงทุนในปีนี้จะเดินหน้าต่อ แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากมาตรการสกัดเก็งกำไรค่างินบาทของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มีผลต่อการออกหุ้นกู้ต่างประเทศ ทำให้บริษัทฯต้องปรับแผนการออกหุ้นกู้ 800 ล้านเหรียญสหรัฐใหม่เพื่อรีไฟแนนซ์หนี้ที่จะครบกำหนดชำระในเดือนกันยายนนี้ โดยบริษัทจะหารือกับธปท.ว่ากรณีการรีไฟแนนซ์หนี้เข้าข่ายที่ต้องกันสำรอง 30% หรือไม่ หากธปท.ยืนยันว่ามาตรการดังกล่าวครอบคลุมทั้งหมด บริษัทก็คงไม่สามารถที่จะไปกู้เงินจากต่างประเทศเพื่อนำมารีไฟแนนซ์หนี้ดังกล่าวได้
จึงมีความเป็นไปได้ที่จะออกพันธบัตร(บอนด์)สกุลเงินบาทเพื่อจำหน่ายในประเทศวงเงิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อนำไปรีไฟแนนซ์ ส่วนหนี้ที่เหลืออีก 400 ล้านเหรียญสหรัฐก็จะกู้จากสถาบันการเงินในประเทศหรือนำเงินทุนหมุนเวียนที่มีอยู่ประมาณ 1 หมื่นกว่าล้านบาทหลังจ่ายเงินปันผลงวดปี 2549แล้ว นำมาชำระหนี้บางส่วน เชื่อว่าระยะยาวสถานการณ์จะคลี่คลายหลังมีการเลือกตั้งใหม่
ส่วนแนวทางการออกหุ้นเพิ่มทุนเพื่อเสนอขายผู้ถือหุ้นเดิมนั้น แม้ว่าจะไม่เข้าข่ายต้องกันสำรอง 30% แต่เชื่อว่าผู้ถือหุ้นก็คงไม่ยินยอม เนื่องจากสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัท(D/E)ต่ำมากเพียง 0.4 เท่า ซึ่งมีเพดานการกู้เงินอีกมาก
"การรีไฟแนนซ์ในประเทศไทยไม่มีปัญหา เพราะจะนำเงินหมุนเวียนที่เหลือมาใช้ได้ และก็เตรียมออกบอนด์ในประเทศ แต่คงได้ไม่มากนัก แต่ถ้ามากกว่านั้นไม่น่าทำได้ เราก็ต้องไประดมทุนในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นจริงๆถึงจะทำ เพราะจะทำให้ต้นทุนการเงินเพิ่มขึ้นถึง 30% หากแบงก์ชาติผ่อนผันก็อาจปรัรบแผนการออกหุ้นกู้เป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐและกู้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐก็เป็นได้" นายปิติกล่าว
ซึ่งแผนการลงทุนของไออาร์ซีพีจะใช้เงินลงทุนประมาณ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใช้ก๊าซฯเป็นเชื้อเพลิง โครงการขุดรอกท่าเรือน้ำ ส่วนโครงการปรับปรุงคุณภาพโรงกลั่นน้ำมัน จากเดิมที่จะดำเนินการในปีนี้ ก็อาจจะต้องเลื่อนออกไปอีก 1-2 ปี เนื่องจากต้นทุนการเงินสูงและมาตรฐานยูโร 4 เลื่อนออกไป
นายปิติ กล่าวถึงพระราชบัญญัติประกอบกิจการของคนต่างด้าวใหม่นั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ เพราะมีผู้ถือหุ้นต่างชาติถือหุ้น IRPC อยู่ไม่ถึง 20%.
|
|
|
|
|