Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กุมภาพันธ์ 2537








 
นิตยสารผู้จัดการ กุมภาพันธ์ 2537
ฟิล์มสีฟูจิ วันนี้ไม่มีเบิร์ด             
 


   
search resources

ฟูจิ โฟโต้ ฟิล์ม (ประเทศไทย)
สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
Photo and Films




นับเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่ง เมื่อไม่นานมานี้ ของโต้โยค่ายฟิล์มสีฟูจิ สมพันธ์ จารุมิลินท กรรมการบริหารและผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด กับการไม่ต่อสัญญาว่าจ้าง ธงไชย แมคอินไตย์ หรือเบิร์ด…! เป็นพรีเซ็นเตอร์ของฟูจิ อีกต่อไป

พร้อมกับการออกหนังโฆษณาของฟิล์มสีชุดใหม่ที่ไม่มี " เบริด์ " ที่ชื่อว่า ชุด " แอฟริกา" ซึ่งได้นำดาราวัยรุ่นหน้าใหม่มาแสดงแทน และนำออกอากาศไปแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2536 ที่ผ่านมา

เหตุผลในการเปลี่ยนตัว พรีเซ้นเตอร์ ของฟูจิ ครั้งนี้ ที่แถลงอย่างเป็นทางการมีเพียงคำชี้แจงของ " สัมพันธ์" ในวันแถลงข่าวก่อนสิ้นปี 2536 ว่า ฟูจิต้องการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายหันไปจับกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อการซื้อฟิล์มถ่ายภาพ และมีอำนาจซื้อสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ จึงได้ออกหนังโฆษณา ที่แสดงนำโดยดาราวัยรุ่นทั้งหมดเพื่อที่จะเน้นกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว

การพูดถึงกลุ่มเป้าหมายของ " สมพันธ์ " หากสังเกตให้ดีนิดหนึ่ง จะเห็นว่าการที่พูดว่าจะหันมาเน้นกลุ่มวัยรุ่นนั้น ไม่ค่อยจะสมเหตุสมผลไปสักหน่อย เพราะใครก็รู้ดีว่า ฟูจิ นั้นจับกลุ่มวัยรุ่นเป็นหลักมาตลอด หากต้องการส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้นก็ต้องเข้าไปชิงชัยในกลุ่มลูกค้าที่ โกดัก ครองตลาดอยู่ก็คือ วัยกลางคนขึ้นไป

ฉะนั้น " วันนี้ ที่ฟูจิไม่มีเบิร์ด " อะไรคือเบื้องหลังชึก ๆ ของหมากกระดานนี้สำหรับฟูจิ และฟูติ คิดย่างไร….

จุดเริ่มแรกของการดึงเบิร์ดมาเป็พรีเซ็นเตรอ์เมื่อปี 2533 เกิดจาการใช้กลยุทธ์การตลาดด้วยการดึงเอาดนตรีเข้ามาเป้นสื่อเพื่อเข้าสู่เป้าหมาย ช่วงนั้นยังไม่มีใครเข้าไปสนับสนุนดนตรีกันมากนัก เกมของฟูจิก็จับเอาแกรมมี่ซึ่งเป็นค่ายใหญ่ไว้ก่อน เป็นการตีกัน คนอื่นหากจะหันมาเล่นบ้างก็จะใหญ่สู้แกรมมี่ไม่ได้

นอกจากการเข้าร่วมเป็นสปอนเซอร์สนับสนุนคอนเสิร์ตและเทปเพลงของนักร้องค่ายแกรมมี่แล้ว ฟูจิยังดึงเอาเบิร์ดมาเป็นพรีเซ่นเตอร์ในงานโฆษณาของตนด้วย ในช่วงแรกเป็นการร่วมมือกันใน 2 ส่วนคือการทำกิจกรรมเพื่อสังคม โดยฟูจิได้ร่วมรณรงค์แคมเปญอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและมีภาพยนตร์อนุรักษ์ที่มีเบร์ดเป็นตัวชูโรงในชุด " ไลฟ์อินเดอะบาลานซ์" และอีกส่วนหนึ่งคือในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีเบิร์ด เป็นจุดขายโดยเริ่มที่การโฆษณากล้องฟูจิ รุ่น เอฟเซด 6 หรือที่รู้จักกันในนามของ " กล้องฟูจิเบิร์ด" นั่นเป็นการเริ่มต้นของ " เบิร์ด" กับ" ฟูจิ

ถัดมาอีกหนึ่งปีในปี 2534 ฟูจิได้ออกหนังโฆษณาชุดใหม่มาอีกชุด คือในชุด " จาเมกา" ที่มีแนวสนุกสนานและมีสีสันเพือ่กระตุ้นให้ตลาดฟิล์มตื่น ขายความสดใสสีสันบาดตาบาดใจ

จากการทำวิจัยวัดผล ของโฆษณาในขณะนั้น พบว่าหนังโฆษณาที่ประชาชนคุ้นเคยหรือเห็นบ่อยหรืออบมากที่สุดในอันดับแรก ๆ ก่อหน้านั้นไม่เคยมีหนังโฆษณาของสินค้าฟิล์มเข้าไอยู่ในอันดับเลย ส่วนใหญ่จะอยู่แถวอันดับสิบกว่าหรือยี่สิบ แต่ปรากฏว่าหนังโฆษณาในชุด จาเมกา ที่มีเบิร์ด เป็นพรีเซ็นเตอร์กลายมาเป็นหนังิล์มที่เข้าสู่อันดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ฟูจิประสบความสำเร็จอย่างสูงและตลาดฟิล์มในห้วงเวลานั้น ดูคึกคักเป็นอย่างมาก

และต่อมาก็ออกมาเป็นซีรีส์ของ "จาเมกา" ในชุดที่ 2 และ 3 เป็นแนวกระตุ้นให้มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ฟูจิมากขึ้น พร้อม ๆ กับการเปิดอัลบั๊มของตัวเบิร์ดเอง จากมนุษย์บูมเมอแรง ต่อด้วยชุดพริกขี้หนู ที่ส่งให้ " เบิร์ด" โด่งดังมากที่สุด

นับเป็นอิทธิพลมาจากธงชัย เมคอินไตย ที่ผลักดันให้ฟูจิก้าวกระโดดจนเผ้นที่น่าเกรงขามของโกดักเป้นอย่างมากในช่วงนั้น ฟูจิ สร้างภาพพจน์ให้กลายเป็นฟิล์มสีชั้นนำใกล้เคียงกับ โกดักได้ภายใน 2-3 ปี ก็เพราะพรีเซ็นเตอร์ที่ชื่อ ธงไชย เมคอินไตย์ หรือ " เบิร์ด"

จนกระทั่งมาช่วงปี 2535 ที่ ศิลปินผู้นี้ได้หยุดการแสดงทั้งปี ก็เล่นเอาฟูจิย่ำแย่ไปเช่นเดียวกัน กิจกรรมทางด้านการตลาดในปี 2535 ของฟูจิไม่ค่อยโดดเด่นเท่าไรนัก ทำให้โกดัก สามารถจยึดสมรภูมิที่เคยพ่ายแพ้กลีบคืนมาได้ในหลาย ๆ ส่วน

จนมาในช่วงต้นปี 2536 การกลับมาของเบิร์ดอีกครั้ง ฟูจิได้ออกหนังโฆษณาชุดใหม่ เป็นหนังโฆษณาในปี 2536 ในชื่อ " สีสันแห่งโลกตะวันออก" เป็นแนวแฟนตาซียิ่งใหญ่ ตระการตา ผสมผสานกับการนำเสนอศิลปะวัฒนธรรมตะวันออก ถ่านทำในประเทศไทยที่ประสาทหินพนมรุ้ง

แต่โฆษณาชุดนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เหมือนอย่างที่แล้วมา บ้างก็ว่า แนวความคิดไม่แตกต่าง บ้างก็ว่า กระแสความโด่งดังของเบิร์ดเริ่มจืดจาง และนอกจากนี้ตัวเบิร์ดก็ได้รับงานเป้นพรีเซ่นเตอร์ให้กับสินค้าอื่น ๆ เช่นแนชั่นแนล พานาโซนิค ผลปรากฏว้าก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าไรนัก

ตลอดจนผลงานการแสดงของเบิร์ดทางทีวีก็ถูกวิพากษณ์วิจารณ์ว่าได้รับความนิยมน้อยลงไป

แต่อย่างไรก็ตาม ในความรู้สึกของคนทั่วไป " ฟูจิก็ยังคือ เบิร์ด เบิร์ดก็คือฟูจิ" ซึ่งวัดจากการที่เบิร์ดไปเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับสินค้ายี่ห้ออื่นอย่างเนชั่นแนลพานาโซนิค ในความรู้สึกของคนดูซึ่งมีจำนวนอยู่ไม่น้อยยังหลงคิดว่าเป็นโฆษณาของฟูจิ

เมื่อกระแสของ " เบิร์ด ฟีเวอร์" ลดลง ใคร ๆ ก็ต้องคิดหนัก หากแบรนด์ของสินค้าของตัวเองไปผูกติดกับตัวศิลปินที่ลดความนิยมลง

ในความรู้สึกของ " ฟูจิ" จึงไม่ต้องการจะฝากผีฝากไข้ไว้กับเบิร์ด ให้เป็นตัวแทนของฟูจิอย่างไม่มีวันตายต่อไป… .เพราะถือว่าเป้นความเสี่ยงอย่างมหาศาลที่จะยึดเอาพรีเซ็นเตอร์เพียงคนดียว ผูกพันเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์เหมือนหลักสัจธรรมที่ว่า " สูงสุดกลับสู่สามัญ" กระแสความนิยมก็มีวันที่จะจืดจางดังกล่าว ดังที่ผ่านมาแล้งในปี 2535 ที่เบิร์ดงดการแสดงไปในกิจกรรมทางด้านการตลาดของฟูจิก็ลดลงตามไปด้วย

ถึงแม้ว่า จะดูกลมกลืนไปกับสถานการณ์กระแสเศรษฐกิจบ้านเมืองชะลอไปด้วย แต่ในหลักการของการตลาดแล้ว ก็ยิ่งต้องการโหมการโฆษณาให้มากยิ่งขึ้น

ดังนั้นในสถานการณ์เช่นนี้ ฟูจิจำเป็นต้องพลิกหมากเกมเพือ่เดินหน้าต่อไปประจวบกับสัญญาที่ทำกับเบิร์ดหมดลงพอดี จึงเป็นจังหวะที่ฟูจิตัดสินใจเปลี่ยนพรีเซ็นเตอร์ใหม่มาเป็นกลุ่มดาราวัยรุ่นหลายคน

บทบาทของเบิร์ดกับฟูจิ จึงสิ้นสุดลงเพียงแค่นี้……

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us