ไทม์แมชีนในจินตนาการของเอช.จี. เวลส์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษนั้น คือ อุปกรณ์สำคัญ
ที่นำพามนุษย์ล่องไปสู่โลกอนาคตในอีก 8 แสนปีข้างหน้า แต่สำหรับซอฟท์แบงก์
อุปกรณ์มหัศจรรย์ ที่ว่านี้ก็คือ กลุ่มบริษัทอินเทอร์เน็ตยี่ห้ออเมริกา ที่บริษัทฯ
นำเข้ามาในตลาดเอเชีย หลังจาก ที่ธุรกิจเหล่านี้เปิดตัวในสหรัฐฯ เพียงไม่กี่ปี
ไทม์แมชีนของซอฟท์แบงก์ คือ ธุรกิจเวนเจอร์ ที่สร้างกำไรให้แก่บริษัทฯ อันได้แก่
ซิสโก เจแปน ธุรกิจด้านระบบคอมพิวเตอร์ และอี*เทรด เจแปน โบรกเกอร์ค้าหุ้นแบบออนไลน์
แต่กรณี ที่สร้างผลกำไรเป็นกอบเป็นกำให้แก่ซอฟท์แบงก์ก็คือ เมื่อบริษัทฯ
เข้าซื้อหุ้น 51% ใน Yahoo! Japan เวบไซด์ ที่เป็นเหมือนประตูสู่โลกอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
Yahoo! Japan เปิดตัวเมื่อเดือนเมษายนปี 1996 และกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่
ที่ใคร ๆ ก็หมายปอง จากข้อมูลของบริษัทฯ มีผู้เข้ามาเยี่ยมชม Yahoo! Japan
ถึงวันละ 112 รายในช่วงเดือนกันยายน ที่ผ่านมา นำโด่งห่างคู่แข่งไปถึง 3
เท่าตัว เรียกได้ว่าประมาณ 3 ใน 4 ของประชาชนชาวเว็บในญี่ปุ่นนั้น จะต้องเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซด์นี้อย่างน้อยเดือนละครั้ง
Yahoo! Japan ยังได้เรียนรู้จากประสบการณ์อันมีค่าของบริษัทแม่ Yahoo! ในอเมริกา
ตัวอย่างเช่น Yahoo! ในอเมริกามองข้ามธุรกิจประมูลสินค้าทั่วโลกผ่านระบบออนไลน์
ที่ได้รับความนิยมมากในช่วงต้นปี 1999 ไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งยังถูกผู้นำเว็บไซด์ประมูลสินค้า
"อีเบย์" ตีตลาด บทเรียนดังกล่าวทำให้ Yahoo! Japan ไม่รีรอ ที่จะรีบเข้าครองตลาดประมูลสินค้าระดับโลกทันที
ที่เปิดตัวไปไม่นาน ปัจจุบัน บริษัทกลายเป็นผู้นำในธุรกิจนี้ โดยมียอดการประมูลถึง
1.6 ล้านครั้งภายในช่วงเวลาแค่ปีเดียว
Yahoo! Japan ไม่ใช่แค่ธุรกิจดอทคอม ที่ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่บริษัทยังทำกำไรได้เกือบ
20 ล้านเหรียญในช่วงเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา (เมษายน-กันยายน) จากยอดรายได้ทั้งสิ้นราว
50 ล้านเหรียญ ด้วยเหตุนี้เอง ราคาหุ้นของ Yahoo! Japan จึงพุ่งสูงติดลมบน
หรือสูงกว่ารายได้ถึงเกือบ 300 เท่าตัว ขณะที่หุ้นของบริษัทอินเทอร์เน็ตอื่น
ๆ ร่วงแล้วร่วงอีก นี่เป็นข่าวดีที่สุดของซอฟท์แบงก์ เพราะบริษัทฯ ลงทุนไป
72 ล้านเหรียญกับเว็บไซด์ช่วยค้นนี้เมื่อแรกเริ่ม ต้นเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา
มูลค่าหุ้นของ Yahoo! Japan มียอดเกือบถึง 6,000 ล้านเหรียญ หรือเท่ากับ
1 ใน 4 ของมูลค่าทุนในตลาดของบริษัทซอฟท์แบงก์เลยทีเดียว (ไม่รวมยอดเงินลงทุนในสหรัฐฯ
ของซอฟท์แบงก์)
คำถามก็คือ ซอฟท์แบงก์จะสามารถคิดค้นไทม์แมชีนเครื่องใหม่ เพื่อสร้างตำนานแห่งความสำเร็จในระดับ
ที่ใหญ่กว่านี้ได้หรือไม่ เพราะโอกาสแห่งความสำเร็จดังเช่น ที่เป็นมาได้ปิดตัวลงแล้ว
ด้วยเหตุ ที่ปัจจุบันความก้าวล้ำในธุรกิจอินเทอร์เน็ตของญี่ปุ่น ก็ทัดเทียมของสหรัฐฯแล้ว
ถึงแม้ซอฟท์แบงก์จะได้เปรียบตรง ที่เริ่มต้นก่อน แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะไม่มีใครตามมาทัน
สิ่งเหล่านี้คือ ปัญหา ที่ Yahoo! Japan ต้องหาทางออก ไม่น่าแปลก ที่เมื่อไม่นานมานี้
คอมเมิร์ซแบงก์ ซีเคียวริตี้ในญี่ปุ่น ประกาศลดอันดับหุ้นของ Yahoo! Japan
จาก "ควรซื้อ" มาเป็น "ควรถือไว้" ทั้ง ๆ ที่อัตราเติบโตของรายได้ของบริษัทฯ
ก็ยังสูง และยอดขายก็พุ่งพรวด ๆ บรรดานักวิเคราะห์มองว่า อนาคตของ Yahoo!
Japan อยู่ ที่บริษัทฯ ต้องรุกสู่ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ และกิจการช่องสัญญาณขนาดใหญ่
ซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในญี่ปุ่น
มาซาฮิโร่ อิโนอูเอะ หัวหน้าฝ่ายบริหารของ Yahoo! Japan กล่าวว่า บริษัทฯ
วางแผนขยายสู่ธุรกิจ ที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้เป็นอันดับต้น ตอนนี้บริษัทฯ
ก็ได้เปิดเว็บไซด์ใหม่ เพื่อให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตไร้สาย ที่กำลังเป็นที่นิยมอีกทั้งอีกไม่นานก็จะรุกสู่ธุรกิจส่งผ่านข้อมูล
และบริการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น รายชื่อภัตตาคารร้านอาหาร
และแหล่งบันเทิง เป็นต้น
อิโนอูเอะยังคาดว่า ในอนาคต บริษัทฯ จะเสนอบริการแก่บริษัทคู่แข่ง เช่น
เจ-โฟน เน็ทเวิร์ค ของเจแปน เทเลคอมด้วย ตอนนี้ Yahoo! Japan กำลังพยายามพัฒนาโปรแกรม
ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูลขนาดใหญ่ เช่น วิดีโอ และเพลง