Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 มกราคม 2550
สศค.ชี้ผลมาตรการกันสำรอง 30% ตลาดหุ้นพัง - ต้นทุนออกพันธบัตรพุ่ง 1%             
 


   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Economics




นักวิชาการสศค.ออกโรงประเมินมาตรการกันสำรอง 30%แบงก์ชาติ ชี้สร้างความเสียหายร้ายแรงทั้งทางตรงและทางอ้อม และยังอาจทำให้ต้นทุนการออกตราสารของรัฐบาลในอนาคตเพิ่มขึ้นถึง 1% จี้แบงก์ชาติแก้ข้อกล่าวหาออกมาตรการกลบผลขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ท้าเปิดเผยผลขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินในบัญชีประจำปีอย่างชัดเจน แนะ 3 มาตรการอื่นใช้แทนก่อนจะเกิดความเสียหายมากกว่านี้

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)ได้ออกรายงานประเมินผลการออกมาตรการควบคุมเงินทุนจากต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทย(แบงก์ชาติ) โดยประเมินผลมาตรการดังกล่าวได้ก่อให้เกิดผลกระทบและต้นทุนอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่า มาตรการนี้คงเป็นมาตรการชั่วคราว ไม่เกิน 13 อาทิตย์ก็คงยกเลิก (หากไม่คิดว่าเสียหน้า) เพราะมีผลเสียมากกว่าได้ ทั้งก่อให้เกิดความเสียหายชัดเจนและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติคงกำลังรอประเมินผลและศึกษาหามาตรการทางเลือกอื่นๆ

มาตรการควบคุมเงินทุนดังกล่าว ทำไปเพราะต้องการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก โดยที่ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมถึงมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประเทศไทย สาเหตุอันหนึ่งน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาเป็นเวลาพอสมควร แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด สาเหตุอีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ ซึ่งเข้าทางของนักเก็งกำไรในการวางกับดักเก็งกำไร (Speculation Trap) ทำให้ท้ายที่สุดถูกสถานการณ์จำนนให้ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุน ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ทำเพื่อลดการขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและปรับปรุงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีให้ดีขึ้น

เราสามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการของแบงก์ชาติ (Action Consequence) กับหลักไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ที่มีกฎว่า ประธาน+กริยา+กรรม โดยเฉพาะภาษาเยอรมันจะมีหลักไวยากรณ์ที่แน่นอนตายตัว นั่นคือ Dative และ Akkusative ที่ตามด้วยกรรมตรงและกรรมรอง (ทำให้ต้องผันคำคุณศัพท์ บุพบทและคำนำหน้านาม) เปรียบเทียบกับการกระทำของแบงก์ชาติ ทำให้เกิดกรรมตรงและกรรมรอง กรรมตรงก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ในขณะที่กรรมรองคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตลอดจนนักลงทุน ผู้กู้เงิน ผู้นำเข้า และผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ

ทั้งนี้ อาจเปรียบเทียบผลได้ผลเสียของมาตรการการแทรกแซงค่าเงินและควบคุมเงินทุนได้เป็น กรณีผลได้ ผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่ไม่แข็งค่าไปกว่าเดิมและอ่อนค่าลงจาก 35 บาทเป็น 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price-Sensitive) แต่จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก กล่าวคือเงินบาทแข็งขึ้น 1% มีผลต่อ GDP เพียง 0.01% ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกมากที่สุดคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1% ของประเทศคู่ค้าของไทย 11 ประเทศ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยถึง 1% เช่นกัน

ด้านผลเสีย ผลเสียที่ 1 (กรรมตรงและผลจากกรรมเก่า) ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ประการแรก แบงก์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไปแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท และยังมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายเงินต่างประเทศที่มีสัญญาจะขายคืนเป็นยอดคงค้าง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2549 อีก 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ชัดว่าขาดทุนเท่าไหร่ แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ต้องมีการส่งมอบ แต่หากคิดง่ายๆ ว่าเงินบาทแข็งค่าจาก 41 บาท เมื่อตอนต้นปี มาถึงในขณะนี้ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แบงก์ชาติน่าจะขาดทุนดอลลาร์ละ 5 บาท ทำให้ขาดทุนเพิ่มในส่วนนี้อีก 4.35 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดทุนที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาด Spot ที่มีการส่งมอบทันที ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 อีก 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีผลขาดทุนเกิดขึ้นแล้วเกือบ 140,000 ล้านบาท ประการที่สอง เนื่องจากแบงก์ชาติต้องออกพันธบัตร เพื่อมาดูดซับสภาพคล่องเงินบาท เป็นจำนวนเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าคิดถัวเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยที่เพียงแค่ 5% ต่อปี แบงก์ชาติจะเกิดต้นทุนเป็นภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดต้นทุนที่เกิดกับแบงก์ชาติใน 2 ส่วนนี้เกือบ 2 แสนล้านบาท (140,000+50,000) เพื่อทำให้โปร่งใส งบกำไรขาดทุนและงบดุลของแบงก์ชาติ (ณ สิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม 2549) ควรจะแสดงให้เห็นถึงผลขาดทุนอันเกิดจากการแทรกแซงค่าเงินและต้นทุนจากการออกพันธบัตร อย่าเพียงสะท้อนคร่าวๆ ในงบย่อยหรือในธุรกรรมนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Items)

ผลเสียที่ 2 (กรรมรอง) มาจากผลของมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ลดลง คิดเป็นความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นตลาดพันธบัตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้มูลค่าพันธบัตรทั้งหมดลดลงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รวมถึงความเสียหายที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้แน่นอน อันเนื่องมาจากการขายของนักลงทุนและการถูกบังคับขาย (Forced Sale) ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมมาก อีกทั้งภาวะซบเซาในตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อันเกิดจากการถอนการลงทุน และขาดเงินทุนใหม่เข้ามา ผลกระทบในทางลบต่อผู้นำเข้าและผู้ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขความเสียหายได้ชัดเจน

ผลเสียที่ 3 (กรรมรอง) มาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีหน้าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนต้องกู้เงินด้วยการออกขายพันธบัตร โดยในส่วนของรัฐบาลคิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ Re-Finance หนี้เดิม แต่ผลจากมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1% ถ้าคิดง่ายๆ ว่าเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 3 หมื่นล้านบาท

และที่น่าเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ ภาวะเงินทุนไหลออก จนทำให้เกิดวิกฤต ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาแทนที่การควบคุมเงินทุน ก็คือ ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30%ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม ในกรณีมาตรการกันสำรอง 30%ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)นั้น ได้มีหลายๆฝ่ายออกมาแสดงความไม่เห็นด้วย โดยทางสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)ได้แสดงความเห็นว่าธปท.ควรจะปรับเครื่องมือในการดูแลเงินทุนไหลเข้าออกให้อ่อนลง และเป็นกลางระหว่างตลาดต่าง ๆ มากขึ้น โดยยังสามารถใช้ประโยชน์จากเงินทุนไหลเข้าระยะสั้นในระดับที่พอประมาณ แต่สามารถปรับเปลี่ยนความเข้มข้นของมาตรการได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ และเครื่องมือนี้ควรนำมาเป็นเครื่องมือทางนโยบายอีกเครื่องมือหนึ่งของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในอนาคต โดยการควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน ธปท.ควรหาเครื่องมือเพิ่มเติมในการบริหารไหลเวียนของทุนระหว่างประเทศ แต่มาตรการที่ใช้อยู่ไม่ควรใช้นานเกินไป โดยควรหาจังหวะยกเว้นมาตรการปัจจุบันและแทนด้วยมาตรการใหม่ ๆ

โดยนายอัมมาร สยามวาลา ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า ธปท.ควรใช้มาตรการอัตราดอกเบี้ยมากกว่ามาตรการกันสำรองดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้ดอกเบี้ยในประเทศไทยสูงเกินไป ทำให้มีเงินไหลเข้ามามาก ซึ่งธปท.จะต้องรอบคอบมากกว่าที่ผ่านมาในการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน เพราะมาตรการกันสำรองที่ออกได้สร้างความเสียหายต่อตลาดหุ้น ตลาดทุนค่อนข้างมาก ทั้งนี้ แม้ว่าปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเป็นผลมาจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ที่เป็นปัญหาคือค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าเงินตราสกุลอื่นในภูมิภาค ทำให้ ธปท.ต้องเข้าไปบริหารจัดการ ซึ่งมาตรการที่ธปท.ประกาศใช้เป็นมาตรการรุนแรงที่หลายประเทศหลีกเลี่ยงที่จะใช้ ถ้าไม่จำเป็นที่สุด ส่วนใหญ่จะใช้เป็นมาตรการสุดท้าย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us