Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"แวง แลบอราทอรี่ส์ อาณาจักรแห่งนี้ฤาไม่มีวันล่มสลาย"             
 


   
search resources

แวง แลบอราทอรี่ส์
อัน หวาง
Computer




ช่วงระยะ 30 ปีที่ผ่านมา แวง แลอราทอรี่ส์ ก้าวหน้าเติบโตขึ้นจนนับอยู่ในแถวหน้าของธุรกิจคอมพิวเตอร์สหรัฐฯ และเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงที่วงการต่างจับตาดูไม่กะพริบ ขณะเดียวกันความสำเร็จของอัน หวาง ชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพไปอยู่ที่สหรัฐฯ และก่อร่างสร้างตัวขึ้นเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ ก็คือตำนานคลาสสิกที่น่าศึกษาเป็นบทเรียนทางธุรกิจอีกบทหนึ่ง โดยในภาคที่ว่าด้วยความล้มเหลว

ช่วงทศวรรษ 1960 อัน หวาง เปิดฉากธุรกิจของเขาด้วยการผลิตเครื่องคำนวณราคาถูกสำหรับใช้กับโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรมในคอมพิวเตอร์เมนเฟรม อีกหนึ่งทศวรรษถัดมาก็เริ่มผลิตเครื่องเวิร์ดโพรเซสเซอร์ที่ช่วยให้บรรดาเลขานุการทั้งหลายหลุดพ้นจากงานพิมพ์ดีดอันเคร่งเครียด ขณะที่แวง แลบอราทอรี่ส์ ได้ขยับฐานะขึ้นเป็นหนึ่งในกิจการบริษัทธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก และเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าสร้างสรรค์ที่สุด

"มันเป็นเรื่องที่ทั้งน่าตื่นเต้น เต็มไปด้วยพลวัตและน่าอัศจรรย์" เจค จาคอบสัน อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ของแวงในช่วงปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980 เล่าถึงบรรยากาศขณะนั้น "สถานการณ์ตอนนั้นทำให้คุณรู้ว่าคุณไม่มีวันก้าวหน้าในอาชีพการงานได้ อย่างในช่วง 13 ปีนั้นอีกแน่ๆ การเติบโตของแวง นับเป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งทางธุรกิจของสหรัฐฯ ทุกๆ วันเราคอยไล่กวดไอบีเอ็ม เราได้ติดอันดับบริษัทเด่น 500 แห่งของฟอร์จูน เราเริ่มออกโฆษณาทางดทรทัศน์ เข้าไปสนับสนุนการแข่งขันเทนนิสวิมเบิลดัน "ยูเอสโอเพ่น" และการแข่งขันกอล์ฟ เราเข้าไปร่วมในกิจกรรมชุมชนพนักงานของเราได้ค่าตอบแทนในอัตราที่สูง และดูเหมือนว่ากิจการจะมั่นคงดี"

ทว่า ตำนานความสำเร็จเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาเพียงสั้นๆ เท่านั้น กลางทศวรรษ 1980 ขณะที่แวงมีพนักงานราว 30,000 คนและยอดขายต่อปีเกือบ 3,000 ล้านดอลลาร์ ผู้บริหารของแวงกลับดำเนินการผิดพลาด ส่งผลให้บริษัทมีภาระหนี้สินสูงมาก การพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) ขึ้นในตลาดคอมพิวเตอร์ ทำให้ระบบเวิร์ดโพรเซสซิ่งของแวงกลายเป็นสิ่งล้าสมัย กิจการที่เคยทำยอดรายได้เพิ่มขึ้น 10 เท่าตัวในช่วงเวลาระหว่างปี 1977 ถึง 1982 กลับต้องตกเป็นหนี้สูงถึง 1,500 ล้านดอลลาร์ ในระหว่างปี 1987-1991

เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา แวงถึงกับต้องยื่นขอความคุ้มครองจากศาลภายใต้กฎหมายล้มละลาย Chpter 11 เพื่อขอเวลาสำหรับการปรับโครงสร้างกิจการ และสางปัญหาภายใน ราคาหุ้นของแวงที่เคยวิ่งขึ้นไปถึง 42.5 ดอลลาร์ต่อหุ้น ก็กลับดิ่งลงมาอยู่ที่ 25 เซ็นต์ สำหรับพนักงานที่เคยฝากความหวังในบั้นปลายการทำงานกับหุ้นของแวงจึงนับว่าเผชิญกับโศกนาฎกรรมครั้งใหญ่ทีเดียว และนับเป็นปรากฏการณ์ที่ผู้ประกอบธุรกิจครอบครัว พึงเก็บรับและศึกษาอย่างละเอียดเช่นกัน

บทเริ่มต้นของคนบุกเบิก

โดยบุคลิกแล้ว อัน หวาง ไม่ได้เหมือนกับนักธุรกิจทั่วๆ ไป เขาเป็นคนรูปร่างเล็ก ออกจะเหนียมอาย และเมื่อต้องพบปะผู้คนที่ไม่คุ้นเคยก็มักจาตะกุกตะกัก ทว่า หวางมีความคิดในแบบวิทยาศาสตร์ และเชื่อมั่นในตัวเองสูงมาก

"เขาไม่ใช่คนช่างพูด" แฟรงค์ เฉิน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดผู้ดูแลธุรกิจเครื่องคำนวณของแวงในช่วงปลายทศวรรษ 1960 ให้ความเห็น "แต่ถ้าเขาพูดขึ้นมาล่ะก็ แปลว่ามีเรื่องต้องพูดกันยาวทีเดียว"

หวางเกิดที่เซี่ยงไฮ้เมื่อปี 1920 เมื่ออายุ 16 ปี จึงได้เข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเฉียว ตุง แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะถูกญี่ปุ่นโจมตีในปีถัดมา หวางก็ได้ศึกษาด้านวิศวกรรมไฟฟ้าในวิทยาลัยของฝรั่งเศส และยามว่างก็เล่นกีฬาปิงปอง โดยมีงานแปลนิตยสารด้านวิทยาศาสตร์จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีนเป็นงานอดิเรก จนกระทั่งปี 1940 จึงจบการศึกษาและปี 1941จึงย้ายไปอยู่ที่กุ้ยหลิน เริ่มออกแบบและผลิตอุปกรณ์วิทยุให้กับรัฐบาลจนกระทั่งกองทัพญี่ปุ่นบุกเข้าไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกสี่ปีถัดมารัฐบาลจีนส่งหวางไปศึกษาต่อด้านฟิสิกส์ประยุกต์ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดจนจบปริญญาเอกในปี 1948

แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงจากชีวิตในช่วงสงครามโลกไปสู่การเป็นนักศึกษาในสหรัฐฯ นั้นจะเป็นการพลิกผันเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลังมือ แต่หวางกลับพิสูจน์ให้เห็นว่าเขาสามารถปรับตัวได้อย่างดี ต่อมาเมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์กำราบรัฐบาลเจียง ไค-เช็ค ได้สำเร็จ และหวางได้ทราบข่าวว่าพ่อแม่ของเขาเสียชีวิตแล้ว ส่วนพี่น้องก็พรัดพรากจากกันไปในระหว่างสงคราม เขาจึงตัดสินใจปักหลักอยู่ที่สหรัฐฯ อย่างถาวร ปี 1948 หวางได้เข้าทำงานที่ "ฮาร์วาร์ด คอมพิวเทชั่นแลบอราทอรี่" โดยจับงานในส่วนการวิจัยเกี่ยวกับระบบความจำแบบแม่เหล็กเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ จากนั้นอีก 3 ปีเขาก็รวบรวมเงินออมได้ราว 600 ดอลลาร์ และนำไปเช่าพื้นที่สำนักงานขนาด 19 ตารางเมตรในอาคารแห่งหนึ่งในเมืองบอสตัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกิจการ "แวง แลบอราทอรี่ส์" นั่นเอง

อีกสามทศวรรษหลังจากนั้น แวง แลบอราทอรี่ส์ก็ก้าวขึ้นเป็นบริษัทคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความเชื่อถือสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเริ่มต้นจากการผลิตเครื่องคำนวณ แล้วขยับขยายไปผลิตคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เวิร์คสเตชั่นสำหรับสำนักงานและมินิคอมพิวเตอร์ สำหรับหวางแล้ว ความสำเร็จได้มาอย่างง่ายดายด้วยการผสมผสานหลักคำสอนของขงจื๊อเข้ากับหลักการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจในแบบอเมริกัน และความสามารถที่จะผลักดันธุรกิจไปข้างหน้าโดยไม่ก่อศัตรูด้วยการขัดขวางผู้อื่น

ไม่ปรับตัวเท่ากับ "ล้มเหลว

ความสำเร็จอันโดดเด่นที่สุดและถือเป็นการปฏิวัติทางธุรกิจครั้งสำคัญของแวงก็คือ การพัฒนาเครื่องเวิร์ดโพรเซสเซอร์ที่ใช้งานได้สะดวกในช่วงกลางทศวรรษ 1970 สินค้าตัวนี้ทำกำไรให้กับแวงอย่างมหาศาลและดูเหมือนจะไม่มีวันหมดเลยทีเดียว

กระนั้น ปัญหาประการหนึ่งที่ซุกซ่อนตัวอยู่ภายในองค์กรแวงมาตลอดก็คือ ระบบการผลิตที่จำกัดตัวเองอยู่กับเวิร์ดโพรเซสซิ่ง โดยไม่อาจปรับเข้ากับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ เลย ครั้งหนึ่งบ๊อบ โคลด์ อดีตรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ฝ่ายพัฒนา เคยเสนอความเห็นว่าบริษัทควรจะขยายแนวธุรกิจไปสู่การผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลด้วย ปรากฏว่าหวางกลับแสดงท่าทีกราดเกรี้ยวและตะโกนตอบเขาว่า "ไม่"

แล้วคำตอบดังกล่าวก็ย้อนมาให้ร้ายต่อหวางในภายหลัง โดยเมื่อปี 1984 ซึ่งเป็นปีที่ยักษ์ใหญ่วงการคอมพิวเตอร์เริ่มเปิดตัวคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไปได้ 3 ปีแล้ว กิจการแวงได้ก้าวเข้าสู่มุมอับอย่างชัดเจน หวางผู้เคยได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้มีสายตายาวไกล กลับต้องเผชิญความล้มเหลวครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์อย่างที่แซม แกกลิเอียโน อดีตหัวหน้าฝ่ายผลิตสินค้าของแวงให้ทัศนะว่า "หวางมองข้ามความสำคัญของพีซีไป" ซ้ำร้ายตัวหวางเองก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก จากที่เคยเป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตน หวางกลับเชื่อมั่นแต่ความคิดของตนเองเป็นใหญ่ ส่วนหนึ่งก็เพราะไม่ว่าเขาจะไปที่ไหน ผู้คนแวดล้อมตลอดจนสื่อมวลชนต่างพากันยกย่องเขาว่าเป็นคนฉลาดปราดเปรื่อง เขาเคยได้รับเหรียญรางวัลชมเชยจากโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ ด้วย ชื่อเสียงและความร่ำรวยของเขาได้กลายเป็นสิ่งที่บังตาจนเขาไม่เชื่อว่าเขาได้ก่อความผิดพลาดใหญ่หลวงเสียแล้ว

วังวนของธุรกิจครอบครัว

ยิ่งกว่านั้น บรรดาพนักงานผู้มีความรู้ความสามารถของแวง แลบอราทอรี่ส์ต่างต้องตกตะลึงครั้งใหญ่ เมื่อหวางประกาศในปี 1980 ว่าจะให้เฟรด หวาง บุตรชายคนโตเข้าไปบริหารงานในส่วนการวิจัยและพัฒนา แม้ว่าเฟรดจะมีความรู้ความสามารถแต่ความที่เป็นคนรักสงบ และประนีประนอมทำให้เขาขาดบุคลิกการเป็นผู้นำองค์กรที่ต้องแข่งขันกันอย่างหนักในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์

หลังจากเฟรดเข้ารับผิดชอบงานในส่วนการวิจัยและพัฒนาได้ 3 ปี เขาได้ประกาศว่าจะเปิดตัวสินค้าใหม่ในวันที่ 4 ตุลาคม 1983 ครั้งนั้นับเป็นช่วงเวลที่สำคัญมากเพราะบริษัทไม่ได้วางตลาดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการมาเป็นเวลาราว 5 ปีแล้ว ทว่า เมื่อจาคอบสันซึ่งดูแลด้านการตลาดต่างประเทศมาพบความจริงว่า ผลิตภัณฑ์ที่เฟรดเตรียมเปิดแถลงข่าวนั้นยังเป็นเพียงแนวคิดที่ไม่มีทางเป็นไปได้ เพราะยังไม่ได้เริ่มแม้แต่ขั้นการเขียนรหัสซอฟต์แวร์ อีกทั้งบริษัทไม่สามารถระบุกำหนดเวลาในการนำผลิตภัณฑ์นี้ออกตลาดได้แน่นอน เขาจึงเสนอความเห็นแย้ง

แต่ทั้งเฟรด หวาง และอัน หวาง ก็ไม่ได้สนใจแม้แต่น้อย เมื่อถึงวันแถลงข่าว สื่อมวลชนต่างพากันสรรเสริญว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นการก้าวกระโดดของวงการ ทั้งยังดันให้ราคาหุ้นของแวงพุ่งขึ้นถึง 10% ภายในเวลา 2 วัน และจนแล้วจนรอด สินค้าใหม่ทั้ง 13 รายการของแวงก็ไม่ได้วางตลาดหรือวางตลาดล่าช้ามาก แถมสินค้าเหล่านี้ก็ไม่ได้มีขีดความสามารถอย่างที่แถลงไว้เสียด้วย ความน่าเชื่อถือของแวงจึงเริ่มลดน้อยถอยลงโดยลำดับ

นอกจากตัวหวางแล้ว ผู้บริหารคนสำคัญของแวงอีกคนหนึ่งก็คือ จอห์น คันนิ่งแฮม กรรมการผู้จัดการใหญ่ซึ่งเข้าทำงานที่แวงตั้งแต่ปี 1967 จากตำแหน่งพนักงานขายประจำชิคาโกแล้วไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งบริหารดังกล่าวในปี 1983

คันนิ่งแฮมเป็นคนฉลาดปราดเปรื่องและคล่องแคล่ว อันเป็นบุคลิกด้านตรงข้ามของหวาง เขาจึงมักได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ประสานงานกับธนาคาร นักวิเคราะห์ และลูกค้า ขณะเดียวกันพนักงานในบริษัทก็เชื่อถือเขามาก ส่วนลอร์เรน หวาง ภรรยาของอัน หวาง ถึงกับถือเขาเป็นลูกชายคนหนึ่งทีเดียว แต่ต่อมาหวางกลับย้ายเขาไปดูแลงานในโรงงานแล้วให้เฟรด หวาง ผู้อ่อนประสบการณ์ รับผิดชอบงานส่วนการผลิตแทน ซึ่งครั้งนี้นับเป็นความผิดพลาดครั้งที่สองของหวาง และสร้างความตึงเครียดขึ้นภายในองค์กร ตัวคันนิ่งแฮมเองก็ถึงกับตะลึงงันและสิ้นหวัง เพราะเคยคิดอยู่เสมอว่าเขาจะต้องเป็นประธานกรรมการของบริษัทหลังจากที่หวางเกษียณไปแล้ว ต้นปี 1985 คันนิ่งแฮมไม่อาจรับสภาพที่เกิดขึ้นกับเขาได้จึงตัดสินใจลาออกจากแวง พร้อมกับขายหุ้นในบริษัทที่เขาถืออยู่ทั้งหมด แล้วใช้เวลาอีกครึ่งปีกับการเดินทางท่องเที่ยวไปทั่วโลก และพบปะเพื่อนฝูง

ช่วงปลายปี 1985 เกิดข่าวลือในวงการคอมพิวเตอร์ว่า แวง แลบอราทอรี่ส์ กำลังเผชิญกับปัญหายุ่งยากอย่างหนัก เนื่องจากตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเติบโตชนิดพุ่งพรวดและทำให้อุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แต่ปรากฏว่าแวงกลับไม่สามารถปรับตัวเองตามกระแสได้ทัน ชื่อเสียงในฐานะกิจการของผู้มองการณ์ไกลจึงเลือนจางไปตามกาลเวลา

ยักษ์ใหญ่ล้มดัง

5 มิถุนายน 1985 คือดีเดย์ที่แวง แลบอราทอรี่ส์ เริ่มดำเนินการปลดพนักงานออกจำนวน 1,600 คนทั่วโลก นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบริษัทและทำลายขวัญและกำลังใจพนักงานโดยเฉพาะที่สำนักงานใหญ่ในโลเวลล์, แมสซาชูเซตต์ อย่างรุนแรง หลังจากนั้น แวงต้องประกาศปลดพนักงานออกอีกเป็นระลอกๆ ทั้งที่เคยเป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินมั่นคง และดูแลพนักงานราวกับเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน

ในอดีตนั้นแวงเคยส่งพนักงานขายราว 2,000 คนไปท่องเที่ยวที่โรม, อิตาลี กับคู่สามีหรือภรรยา เคยซื้อสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุมและสโมสรสำหรับรับรองพนักงานโดยเฉพาะ เคยให้สวัสดิการดูแลบุตรพนักงานและสวัสดิการด้านสุขภาพถึงระดับที่เหนือกว่าบริษัทอื่นอย่างเทียบกันไม่ได้ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของแวงรายหนึ่งกล่าวชมหวางว่า "พนักงานทุกคนชอบเขา และชื่ชมในตัวเขาอย่างมากว่าเป็นผู้นำด้วยการปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง เขาทำงานหนัก"

มันเป็นสัญญาณบอกถึงความตกต่ำของดร.หวาง" จาคอบสันให้ความเห็น ต่อกรณีที่หวางมักเข้มงวดกวดขันกับการใช้จ่ายภายในบริษัททุกๆ ด้านถึงขนาดที่เคยนำเอาประเด็นการลดค่าใช้จ่าย สำหรับซื้อผ้าอนามัยในห้องน้ำสตรีมาถกเถียงกัน และดร.หวางผู้เคยประกาศว่าจะก้าวขึ้นเป็นผู้นำวงการคอมพิวเตอร์แทนไอบีเอ็มภายในปี 1995 กลับคอยวุ่นวายกับการออกคำสั่งให้พนักงานปิดไฟในอาคารสลับดวงเว้นดวงเพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า

เดือนมกราคม 1987 คณะกรรมการบริษัทของแวงเริ่มตั้งคำถามกับการบริหารงานของเฟรด หวาง และไม่อาจยอมรับคำยืนยันจากอัน หวาง ที่เคยรับประกันว่าเฟรดจะบริหารงานได้อีกต่อไป ยิ่งกว่านั้นบรรดาผู้ถือหุ้นของบริษัทต่างก็แสดงท่าทีไม่พอใจต่อสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ของบริษัทด้วย และยังพยายามหาทางกดดันให้หวางเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทเสีย ทว่า คำตอบของหวางคือ "เขาเป็นลูกชายของผม...ผมเชื่อว่าเขาทำได้"

แต่แล้ววันที่ 31 กรกฎาคม 1989 แวง แลบอราทอรี่ส์ก็ประกาศว่าบริษัทประสบผลขาดทุนในช่วงไตรมาสก่อนหน้านั้นถึง 375 ล้านดอลลาร์ อีก 8 วันถัดมา หวางซึ่งล้มป่วยลงด้วยโรคหัวใจก็ประกาศเปลี่ยนตัวกรรมการผู้จัดการใหญ่ ในชั้นแรกนั้นหวางต้องการดึงตัวคันนิ่งแฮมกลับมา แต่เมื่อคันนิ่งแฮมเรียกร้องผลตอบแทนสูงมากพร้อมกับเงื่อนไขอื่นๆ อีก หวางกลับไม่ยอมตาม และการปฏิเสธครั้งนี้ของหวางก็นับเป็นความผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง เพราะในสถานการณ์ขณะนั้น มีเพียงคันนิ่งแฮมเท่านั้นที่สามารถกอบกู้กิจการขึ้นมาได้เพราะเคยได้รับความเชื่อถือจากบรรดาธนาคารและลูกค้า

สถานการณ์ของแวงยิ่งเลวร้ายหนักลงอีกเมื่อหวางเป็นมะเร็งที่คอจนไม่อาจดูแลกิจการได้ด้วยตนเองอีก เขาตัดสินใจจ้างริชาร์ด มิลเลอร์ ประธานฝ่ายสินค้าคอนซูเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ของเจเนอรัล อิเล็กทริค โค.เข้ามาสางปัญหา แต่ความที่มิลเลอร์ไม่เคยอยู่ในธุรกิจคอมพิวเตอร์มาก่อน แวงจึงไม่อาจฟื้นตัวได้เสียที ปี 1991 มิลเลอร์จึงยอมลงนามในสัญญารับเป็นผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มแก่ลูกค้าของตน โดยที่ไอบีเอ็มจะจ่ายเงินให้กับแวงทันทีเป็นจำนวน 25 ล้านดอลลาร์และจะจ่ายในภายหลังอีก 75 ล้านดอลลาร์

การตัดสินใจของมิลเลอร์ครั้งนี้ถูกโจมตีอย่างหนักว่า ทำให้ชื่อเสียงของแวงต้องตกต่ำลงไปอีกเพราะเป็นการประกาศให้คนทั่วไปรับรู้ว่าแวงนั้นไม่มีศักยภาพในเชิงเทคโนโลยีอีกแล้ว ยิ่งกว่านั้นแม้แต่พนักงานขายของแวงเองก็ยังสับสนเกี่ยวกับการแนะนำลูกค้า เพราะไม่อาจอธิบายได้ว่าทำไมลูกค้าจึงควรซื้อเครื่องไอบีเอ็มจากแวง ในเมื่อเขาสามารถซื้อได้จากพนักงานของไอบีเอ็มได้โดยตรง ท้ายที่สุด อัน หวาง จึงต้องตัดสินใจแจ้งขอความคุ้มครองจากศาลภายใต้กฎหมายล้มละลาย Chapter 11 เพื่อขอเวลาในการดำเนินการปรับโครงสร้างกิจการซึ่งนับได้ว่าความพยายามเฮือกสุดท้ายของหวางก่อนที่จะเสียชีวิตเมื่อ 24 มิถุนายน 1990

ทว่า สิ่งที่น่าประหลาดก็คือ ผู้ที่เข้าใจดีถึงการตัดสินใจของดร.หวางในการเลือกเฟรด หวาง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ของบริษัทกก็คือ จอห์น คันนิ่งแฮม นั่นเอง เขาชี้ว่าเหตุผลของอัน หวาง นั้นไม่ใช่ความเชื่อมั่นแต่ตัวตัวอเงจนกระหายที่จะสร้างอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ แต่เป็นเพราะว่า "บทบาทในการส่งมอบอำนาจในการบริหารดูแลธุรกิจนั้นก็มีลักษณะเหมือนกับแบบแผนของชาวเอเชียในเรื่องอื่นๆ คือบุตรชายจะเป็นผู้ที่มีสิทธิโดยชอบธรรม"

เมื่อเป็นเช่นนี้ การตัดสินใจของอัน หวาง ก็ไม่ใช่เพียงความใฝ่ฝันอันแรงกล้าของเขาเท่านั้นหากยังเป็นภาระหน้าที่ของเขาด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us