Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"การบุกเบิกต่างประเทศของ BBL"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
Investment
Banking and Finance




สาขาต่างประเทศของแบงก์กรุงเทพสามารถสร้างผลกำไรได้ประมาณปีละกว่า 1,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 10% ของผลกำไรรวมของธนาคาร มีการอำนวยสินเชื่อของสาขาในต่างประเทศเมื่อสิ้นปี 2534 รวม 95,192 ล้านบาทหรือคิดเป็น 19% ของตัวเลขการการปล่อยสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารตัวเลขเหล่านี้น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ธนาคารกรุงเทพซึ่งได้รับฐานะเป็นธนาคารชั้นนำของภูมิภาคกำลังผลักดันตนเองให้เป็นธนาคารของย่านเอเชียแปซิฟิกอย่างสมบูรณ์ !!

มีผู้กล่าวว่านักธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศเวลานี้ เป็นเหมือนหน่วยกล้าตาย เป็นผู้บุกเบิกที่เดินเข้าไปในตลาดต่างประเทศดุ่ยๆ โดยขาดหน่วยสนับสนุน

ความหมายของคำกล่าวนี้ก็คือบรรดาธุรกิจไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศต้องการหน่วยสนับสนุนซึ่งหมายถึงทางการ คือแบงก์ชาติ และธนาคารพาณิชย์ไทย

แต่แบงก์ไทยส่วนมากนั้นยังทำธุรกิจอยู่ภายในประเทศ เพราะในประเทศธุรกิจดีอย่างมากๆ มีอัตราการเติบดตสูงและทำกำไรได้ดี

บรรดากิจการไทยที่ไปลงทุนต่างประเทศโดยส่วนมากจึงต้องใช้บริการทางการเงินของธนาคารหรือสถาบันการเงินต่างประเทศ

กิจการเหล่านี้จึงเป็นเสมือนหน่วยกล้าตายที่ขาดการสนับสนุนจากธนาคารไทย

แต่ธนาคารไทยเองนั้น ก็ต้องเป็นหน่วยกล้าตายด้วยเหมือนกันในการออกไปดำเนินธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศ เพียงแต่ว่ากิจการธนาคารต่างจากกิจการอื่นๆ ตรงที่ไม่ต้องการหน่วยสนับสนุนด้านทุนเหมือนกิจการอื่น

กล่าวได้ว่าธนาคารกรุงเทพเป็นผู้บุกเบิกการลงทุนธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศเป็นแห่งแรกของไทยเมื่อ 30 ปีก่อน

ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่า "เราไม่เคยคิดหรือแม้แต่ในอนาคตต่อไปข้างหน้าก็ตาม ไม่มีนโยบายที่จะให้กิจการสาขาต่างประเทศมาเป็นพระเอกมันเป็นไปไม่ได้"

คำพูดของวิชิตตีความได้ว่าแม้กิจการสาขาต่างประเทศจะทำกำไรได้มากก็จริง แต่ธุรกิจหลักของธนาคารกรุงเทพยังคงอยู่ภายในประเทศมากกว่า

วิชิตชี้ให้ดูกิจการสาขาของแบงก์ต่างชาติในประเทศไทย เป็นตัวเปรียบว่าทำไมกิจการสาขาของแบงก์กรุงเทพในต่างประเทศ จึงไม่สามารถเป็น "พระเอก" ตัวจริงในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้

แบงก์ต่างชาติในไทยไม่สามารถเติบโตได้มากกว่าแบงก์ไทยด้วยเหตุผลสำคัญคือแบงก์ไทยได้รับการปกป้องคุ้มครองจากทางการอย่างมากๆ ขณะที่แบงก์ต่างชาติต้องดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบข้อกำหนดของธนาคารชาติเท่านั้น

เมื่อแบงก์ไทยมีปัญหาทางด้านการบริหารหรือได้รับผลกระทบจากภาวะทางเศรษฐกิจ ก็มักจะได้รับความช่วยเหลือโอบอุ้มจากทางการคือธนาคารชาติอยู่เสมอ ด้วยกรอบความคิดของทางการที่ไม่ยอมให้เกิดวิกฤติในระบบธนาคารพาณิชย์ อันจมีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินของประเทศดังที่เคยเกิดขึ้นแล้ว

การที่แบงก์ต่างชาติจะแข่งขันกับแบงก์ไทยในประเทศไทยจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขในการทำธุรกิจที่แตกต่างกัน

ดังนั้นสิ่งที่เป็นอยู่คือต่างคนต่างทำมาหากินตามช่องทางที่ตนมี

ธุรกิจหลักของแบงก์ต่างชาติในไทยคือให้บริการทางการเงินแก่กิจการของนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เช่น แบงก์ญี่ปุ่นก็มักจะให้บริการแก่นักลงทุนญี่ปุ่นเป็นส่วนมาก

นี่ก็คือลักษณะของสาขาแบงก์ไทยในต่างประเทศเช่นกัน

ความแตกต่างอยู่ตรงที่ธุรกิจไทยยังไม่ออกไปลงทุนในต่างประเทศมากนัก และพวกที่ออกไปนั้นก็ต้องใช้บริการของสถาบันการเงินต่างประเทศ

แต่ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาที่มีการลงทุนในจีนตอนใต้และอินโดจีนกันเป็นจำนวนมากเพราะเป็นเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ไทยหลายแห่งต้องออกไปเปิดสาขาในบริเวณดังกล่าวกันเป็นจำนวนมาก

ธนาคารกรุงเทพให้ความสนใจสาขาต่างประเทศและเป็นผู้ที่อยู่ในตลาดต่างประเทศนานกว่าธนาคารอื่นๆ

ไพบูลย์ อิงคะวัต รองผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ดูแลสายบริการสินค้าเข้าและสินค้าออก ซึ่งเคยดูแลกิจการสาขาต่างประเทศและเป็นผู้บุกเบิกสาขาธนาคารกรุงเทพที่จาการ์ตาเล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า "ตอนนั้นคุณชินบอกให้ผมไปบุกเบิกสาขาที่จาการ์ตาหน่อย ทั้งที่ผมไม่รู้จักใครสักคนเพราะเวลานั้นผมดูสาขาที่ลอนดอนอยู่ แล้วบังเอิญผู้จัดการที่สิงคโปร์ที่ถูกวางตัวให้ไป เกิดไม่ยอมไปขึ้นมา ผมก็ต้องไป จากลอนดอนไปอินโดนีเซีย"

ช่วงที่ไพบูลย์ไปบุกเบิกสาขาที่จาการ์ตานั้นเป็นช่วงที่ ชิน โสภณพนิช โดนภัยการเมืองในประเทศต้องเร่ร่อนเดินทางอยู่ต่างประเทศ ที่โตเกียวบ้าง ฮ่องกงบ้าง และพำนักที่สิงคโปร์นานกว่าที่อื่นๆ

แต่ช่วงที่ชินอยู่ต่างประเทศนี้ ไพบูลย์กล่าวว่า "เป็นช่วงที่แบงก์กรุงเทพเจริญที่สุดในสาขาต่างประเทศเพราะคุณชินได้เดินทางไปบ่อยและท่านความจำดีมาก เมื่อผมเสนอรายงานให้นั้นท่านจำได้ว่าเดือนนี้ตัวเลขเดือนนี้ดีกว่าเดือนที่ผ่านมาเท่าไร"

ก่อนหน้าที่ไพบูลย์จะไปจาการ์ตา มีการส่งเจ้าหน้าที่ 2 คนเข้าไปศึกษากฎหมายการทำธุรกิจอะไรได้บ้างอะไรที่ทำไม่ได้บ้าง

แต่ปรากฏว่าก่อนหน้าที่แบงก์จะเปิดสาขาได้ 1 เดือน "กฎหมายนี้ก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว ข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับธนาคารพาณิชย์นี่เปลี่ยนใหม่หมด" ไพบูลย์เล่า ประสบการณ์การทำธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศซึ่งมีวิธีการทำธุรกิจที่ต่างออกไปตามระเบียบของแต่ละประเทศ

ที่อินโดนีเซียสมัยนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากร้อยละ 4 ต่อเดือน และจ่ายดอกเบี้ยให้ทุกๆ เดือน ระเบียบปฏิบัติเช่นนี้ทำให้ไพบูลย์ต้องคิดหนักว่าจะเอาอะไรไปสู้กับเขา

นอกจากนี้ยังมีข้อกำหนดด้วยว่าแบงก์ต่างชาติที่จะเข้าไปเปิดสาขา ต้องมีการนำเงินดอลลาร์ไปลงทุนด้วย 1 ล้านเหรียญ

ไพบูลย์แก้ปัญหาเหล่านี้ทีละเปลาะ โดยนำเงินเข้าไปลงทุนซื้อที่ดินซึ่งใช้เป็นสำนักงานสาขาฯ ในปัจจุบัน แล้วชักชวนเพื่อนฝูงที่รู้จักทั้งหลายให้เอาเงินไปฝากที่แบงก์กรุงเทพสาขาจาการ์ตา โดยอาศัยช่องโหว่ที่อินโดนีเซียไม่มีการควบคุมเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และจูงใจลูกค้าด้วยอัตราดอกเบี้ย 4% ต่อเดือนหรือร้อยละ 48 ต่อปีเทียบกับอัตราเงินเฟ้อของอินดดนีเซียเวลานั้นที่อยู่ที่ 20% กว่าแล้ว ลูกค้าเงินฝากของแบงก์กรุงเทพสาขาจาการ์ตายังได้กำไรอยู่ดี เพียงแต่ต้องเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเล็กน้อย

ผลการดำเนินงานของสาขาแบงก์กรุงเทพที่จาการ์ตาสมัยไพบูลย์ไปบุกเบิกนั้นประสบความสำเร็จอย่างมากๆ ขนาดดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้ว่าการธนาคารชาติในเวลานั้นยังอดทึ่งในความสำเร็จนี้ไม่ได้

ประสบการณ์ของไพบูลย์แม้จะเป็นแบบนายแบงก์รุ่นเก่า แต่ในเวลานี้ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับกิจการสาขาต่างประเทศบางแห่งของแบงก์กรุงเทพได้

ทั้งนี้หลังจากที่มีการเปิดประเทศในกลุ่มอินโดจีนและประเทศจีนแล้ว ธนาคารพาณิชย์ไทยสนใจไปเปิดสาขาในแถบนี้กันมาก ธนาคารกรุงเทพก็มีสาขาที่กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้แล้ว

การทำธุรกิจในดินแดนเหล่านี้ไม่อาจใช้ธรรมเนียมการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์สากลได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะเงื่อนไขของประเทศเหล่านี้เป็นแบบสังคมนิยมที่เพิ่งเปิดตัวรับระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ยังไม่มีกฎระเบียบสำหรับการทำธุรกิจแบบทุนนิยม

อย่างที่กัมพูชานั้นอาจจะต้องใช้วิธีแบบท่าน้ำราชวงศ์หรือการทำธุรกิจธนาคารแบบโบราณ ไพบูลย์เปิดเผยว่า "ทุกวันนี้เราใช้วิธีให้เจ้าหน้าที่แบงก์หิ้วเงินจากพนมเปญเข้ากรุงเทพครั้งละ 2-3 ล้านเหรียญ หากมีเงินสดในพนมเปญมากเกินไป หรือในทางกลับกัน หากเงินสดไม่พอก็เข้ามาหิ้วจากกรุงเทพฯ ไป"

กรรณิการ์ ศรีศิลปวงศ์ เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสของเชสแมนฮัตตันแบงก์ในกรุงเทพฯ กล่าวว่า "วิธีนี้แบงก์ต่างชาติคงไม่สามารถทำได้ แบงก์อเมริกันที่ไหนจะยอมให้ทำ แล้วจะลงบัญชีกันอย่างไร"

แต่ที่แบงก์กรุงเทพทำได้ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นข้อยกเว้นในเงื่อนไขพิเศษของแต่ละแห่ง ความที่เป็นแบงก์ท้องถิ่นและเติบใหญ่จนเป็นแบงก์ใหญ่สุดในภูมิภาคเป็นข้อได้เปรียบในการทำธุรกิจ ไม่เฉพาะในไทยแต่ยังรวมถึงในอินโดจีนและจีนตอนใต้ ซึ่งเป็นแหล่งเศรษฐกิจใหม่ที่มีอัตราการเติบดตสูงมาก

แบงก์กรุงเทพมีสาขาต่างประเทศทั้งสิ้น 18 แห่ง สาขาส่วนมากอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฮ่องกง 3 แห่ง จีน มาเลย์ กัมพูชา เวียดนาม ประเทศละ 1 แห่ง

แต่ที่จีนนั้นยังมีสาขาที่อยู่ระหว่างการขออนุญาตตั้งเพิ่มอีกที่เซียะเหมิน กวางโจว และเซี่ยงไฮ้ หลังจากเปิดสาขาที่ซัวเถาไปแล้วเมื่อเดือนธันวาคม 2535

สำหรับสาขาที่เวียดนามนั้น วิชิตเปิดเผยถึงแนวทางการทำธุรกิจว่า "ต้องเป็นเทรดไฟแนนซ์แน่นอน และนี่เป็นลักษณะของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ที่แบงก์กรุงเทพมีความถนัดมากที่สุดคือสามารถทำได้เลย"

นอกจากนี้ ในเงื่อนไขของเวียดนามในฐานะที่เป็นประเทศสังคมนิยมที่เพิ่งเปิดตัวรับระบบเศรษฐกิจทุนนิยม บทบาทอย่างหนึ่งที่แบงก์กรุงเทพจะทำด้วยคือการเป็นตัวกลางระหว่างนักลงทุนที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม

"ประเทศอย่างนี้ ต้องการพาร์ตเนอร์ต่างประเทศที่จะช่วยทั้งในเรื่องเทคโนโลยี และเรื่องทุน เขาต้องเดินนโยบายทางนี้แน่ ไม่สามารถเปิดประตูพัฒนาตัวเองได้ บทบาทเรื่องการหาเงิน หาโนว์ฮาว การบริหารจากต่างประเทศ อันนี้แบงก์กรุงเทพสามารถเป็นตัวเชื่อมได้" วิชิตกล่าว

เขาไม่ได้มองการเชื่อมโยงการลงทุนระหว่างไทยกับเวียดนามเท่านั้น แต่มองถึงนักลงทุนจากทั่วภูมิภาคเอเชีย วิชิตให้เหตุผลว่า "แบงก์กรุงเทพอยู่ในตลาดเอเชียมานาน ลูกค้าของเรามีทั้งคนไทย สิงคโปร์ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากไต้หวันซึ่งมีเยอะมาก"

ทั้งนี้แบงก์กรุงเทพมีสาขาที่ไต้หวันถึง 2 แห่ง สาขาที่นี่ประสบความสำเร็จในนโยบายการปล่อยสินเชื่ออย่างมาก ซึ่งนโยบายนี้จะนำไปใช้กับสาขาที่จีนตอนใต้ด้วย

ประสงค์ อุทัยแสงชัย ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า "สาขาที่จีนตอนใต้จะเน้นการปล่อยสินเชื่อเพื่ออุตสาหกรรมส่งออก 75% สินเชื่อบุคคล 10-15% และสินเชื่อโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่และธุรกิจซื้อขายที่ดินประมาณ 10% เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการทำธุรกิจ"

ทั้งนี้ประสงค์มองธุรกิจก่อสร้างและซื้อขายที่ดินในประเทศจีนตอนใต้ว่าถึงจุดอิ่มตัวแล้ว หลังจากที่เคยขยายตัวปีละ 30% ถึง 2 ช่วง คือระหว่างปี 2529-2530 และชะลอตัวในปี 2532 หลังจากนั้นจึงกลับมาขยายตัวอีกในช่วงปี 2533-ต้นปี 2534

ปัจจุบันประสงค์มองว่าไม่ควรเข้าไปลงทุนธุรกิจที่ดินและการก่อสร้างอีกเพราะต้นทุนเริ่มมีราคาสูงมากเกินไป ประกอบกับโครงการต่างๆ เริ่มเสร็จสมบูรณ์และเปิดให้บริการได้ หากมีการลงทุนเข้าไปอีกก็จะทำให้เกิดภาวะล้นตลาดได้

ธุรกิจที่ประสงค์มองว่ามีโอกาสการลงทุนมากที่สุดคืออุตสาหกรรมการส่งออก ซึ่งจีนตอนใต้มีแรงงานและวัตถุดิบมากมายมหาศาล อีกทั้งบริเวณนี้เป็นเขตติดชายฝั่งทะเลซึ่งสะดวกต่อการขส่งสินค้าเป็นอย่างยิ่ง

จะเห็นได้ว่าการทำธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในต่างประเทศนั้นมีเทคนิคหลายอย่าง

สมัยบุกเบิกนั้นแบงก์กรุงเทพต้องไปสร้างธุรกิจเองเป็นด้านหลัก อย่างกรณีของไพบูลย์ในจาการ์ตา

แต่มาในระยะหลัง แบงก์ค่อนข้างสบายในแง่ที่มีปริมาณธุรกิจมากพอสมควรที่จะเข้าไปตั้งสาขาให้บริการ ถึงจะมีลูกค้าคนไทยน้อย แต่อาศัยโอกาสทางเศรษฐกิจที่เปิดใหม่ทำให้มีความต้องการใช้บริการทางการเงินสูงมาก

นั่นหมายความว่าแบงก์ตามลูกค้าเข้าไปทำธุรกิจด้วย ซึ่งประโยชน์สำคัญที่แบงก์ได้รับจากการไปต่างประเทศ ไม่ใช่แต่เพียงการขยายบริการทางการเงินอำนวยความสะดวกทางการเงินแก่ลูกค้าของแบงก์ที่ไปลงทุนในต่างประเทศเท่านั้น แต่แบงก์ยังสามารถหาแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำจากตลาดต่างประเทศเพื่อเอามาปล่อยสินเชื่อในประเทศหรือในต่างประเทศนั้นๆ ได้อีกด้วย

วิชิตเปิดเผยเรื่องนี้กับ "ผู้จัดการ" ว่า "เรื่อง Forign Funding นี่เราไม่แพงกว่าคนอื่นไม่อยากอ้างว่าถูกที่สุด แต่ไม่แพงกว่าคนอื่น อันนี้เป็น goodwill ของ BBL ที่เราสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนต้นทุนต่ำเหล่านี้ได้ เพราะเราอยู่ในตลาดต่างประเทศมานานกว่าคนอื่นๆ"

นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยยังสนับสนุน ให้แบงก์พาณิชย์ไทยออกไปเปิดสาขาในเขตเศรษฐกิจใหม่ทั้งสอง อย่างเต็มที่ด้วยการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ และโดยเฉพาะการตั้ง BIBF ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อความคล่องตัวในการให้บริการทางการเงินแก่ตลาดอินโดจีนโดยเฉพาะ

มาตรการที่เกิดขึ้นในระยะหลังเหล่านี้ เป็นเครื่องประกันได้ว่านักธุรกิจไทยที่ออกไปลงทุนในตลาดเกิดใหม่ทั้งสองแห่ง จะไม่โดดเดี่ยวหรือเป็นหน่วยกล้าตายอีกต่อไป แต่ธนาคารพาณิชย์ไทยที่เพิ่งให้ความสำคัญกับสาขาต่างประเทศจะดำเนินธุรกิจได้ดีขนาดไหน เป็นเรื่องที่ต้องรอ ดูกันต่อไป

จะมีข้อยกเว้นก็คือธนาคารกรุงเทพที่มีชื่อเสียงและความสัมพันธ์ในภูมิภาคนี้อยู่พอสมควรทำให้ลูกค้าไม่จำกัดอยู่เฉพาะนักลงทุนไทย

นี่เป็นข้อได้เปรียบสำคัญสำหรับสาขาต่างประเทศของธนาคารกรุงเทพในอินโดจีนและจีนตอนใต้ ซึ่งหากสามารถเชื่อมโยงสายสัมพันธ์กับนักธุรกิจในย่านแปซิฟิกเข้าด้วยกันได้แล้ว ธนาคารก็อาจจะบรรลุเป้าหมายการเป็นธนาคารของย่านเอเชียแปซิฟิกอย่างสมบูรณ์

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us