Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"บริษัทประเทศไทย จะโตหรือแท้ง ?"             
 


   
search resources

เครือเจริญโภคภัณฑ์
แพรนด้า จิวเวลรี่, บจก.
ยูนิคอร์ด, บมจ.
Investment




"ความเป็นบริษัทประเทศไทยเริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว ช่วง 4 ปีผ่านมา การออกไปลงทุนต่างประเทศของบริษัทคนไทยสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว เหตุผลคือเพื่อขยายโอกาสปัจจัยของความได้เปรียบในการผลิตและตลาด แต่อุปสรรคหลายอย่างมีมากไม่น้อย บริษัทประเทศไทยมีเทคนิคของการปรับตัวอย่างไรเพื่อหาโอกาสโตต่อไป"

กว่า 10 ปีก่อน ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกลุ่มซี.พี. นั่งใช้ความคิดอย่างหนักในสำนักงานบนตึกอาคารทวิช คลองเตย สายตาเหม่อมองออกไปนอกหน้าต่าง เพื่อค้นหาคำตอบอะไรบางอย่างสำหรับอนาคตข้างหน้าของกลุ่มซี.พี.

กลุ่มซี.พี. มักตกเป็นจำเลยในสายตาของผู้มีอำนาจบางคนและกลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยว่า เป็นกลุ่มอิทธิพลที่มีอำนาจผูกขาดเศรษฐกิจ พวกเขามักอ้างตัวอย่างความใหญ่โตในอุตสาหกรรมปศุศัตว์ของซี.พี. เป็นสัญลักษณ์ของการให้ความหมายของการผูกขาด

ธนินท์ซึ่งผ่านโลกมาอย่างโชกโชน วิสัยทัศน์ (vision) ที่มาจากสัญชาตญาณแห่งประสบการณ์ของเขาให้คำตอบอย่างชัดเจนว่า ไม่ว่าคนไทยบางคนจะมองกลุ่มซี.พี.ด้วยภาพอย่างไร กลุ่มซี.พี.ของตระกูล เจียรวนนท์ ที่ชนรุ่นพ่อได้ถากถางมาก่อน จะต้องโตต่อไป

เพียงแต่ว่า จะเลือกโตที่ไหนเท่านั้น

"เราจะโตทุกที่ ที่เรามีโอกาสโดยเฉพาะในเอเชียแปซิฟิก" ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดในซี.พี.ที่กรุงเทพฯ พยายามถอดผนึกความคิดจากวิสัยทัศน์ของธนินท์ให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

กว่า 5 ปีที่ผ่านมา ธนินท์เดินทางระหว่างกรุงเทพ-ฮ่องกง-ปักกิ่ง เป็นว่าเล่น เขามองตลาดที่มีประชากรกว่า 1,000 ล้านคนของจีนอย่างมีความหวัง จีนยังขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และสาธารณูปโภคพื้นฐาน" ธนินท์พูดอยู่เสมอเมื่อถูกถามว่าเขามองตลาดเมืองจีนอย่างไร

ความสนใจอย่างจริงจังของธนินท์ต่อเมืองจีนทุกจังหวัดในเมืองจีน ข้อมูลตั้งแต่ผู้ว่าราชการไปจนถึงทรัพยากรธรรมชาติ ถูกลำเลียงจากพื้นที่โดยเจ้าหน้าที่บริษัทโรงงานอาหารสัตว์ เข้าสู่สำนักงานที่ฮ่องกงและที่กรุงเทพฯ อย่างต่อเนื่อง

"บริษัทของบริษัทเจิ้นใต้ ได้รับความนิยมนับถือจากผู้นำของเราที่ปักกิ่งมาก เท่าที่ผมรู้ดูเหมือนเขาจะเป็นคนเดียวจากเมืองไทยที่ได้รับเกียรติจากผู้นำของเรามากเช่นนี้" เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ในกรมวิเทศสัมพันธ์เคยกล่าวกับแขกผู้มาเยือนจากเมืองไทยถึงสถานะของ "ธนินท์" ในสายตาของคนที่ทำเนียบ "จง-หนานไฮ่" ในปักกิ่ง

เตถผลสำคัญของความนับถือที่ผู้ใหญ่ในปักกิ่งมีต่อเจิ้นใต้ มาจากการแสดงออกอย่างจริงจังต่อการบริหารทุน กำไรทุกบาททุกสตางค์ที่เกิดขึ้นในจีน จะถูกนำไปลงทุนต่อไม่มีการนำกลับเข้ามาที่กรุงเทพฯ แม้รัฐบาลปักกิ่งกับรัฐบาลที่กรุงเทพฯ จะมีข้อตกลงเรื่องภาษีซ้อนกันก็ตาม

กล่าวคือจีนเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 10 ขณะที่กรุงเทพเก็บร้อยละ 30 ข้อตกลงภาษีซ้อนจะเปิดช่องให้ผู้ลงทุนในประเทศคู่สัญญา สามารถเลือกแหล่งเสียภาษีที่ถูกที่สุดได้ โดยไม่ต้องเสียภาษีซ้ำอีกเมื่อนำกำไรกลับเข้าประเทศ

จีนให้โอกาสแก่กลุ่มซี.พี.ขณะที่ความขาดแคลนของจีนเปิดกว้างอย่างมหาศาลสำหรับระดับขีดความสามารถทางการผลิตและลงทุนของซี.พี. ตรรกะแห่งการเปิดกว้างเช่นนี้คือรากฐานของการเติบโตอย่างรุนแรงและต่อเนื่องของซี.พี.ในจีน

ทศวรรษที่ 90 นี้ คือทศวรรษของการโตที่เมืองจีนของกลุ่มซี.พี. หลังจากที่ลงทุนไปแล้วกว่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐในกว่า 30 โครงการ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา "จากนี้ไปเราพร้อมลงทุนอีกกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอุตสาหกรรมสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จีนมีทรัพยากร" ธนินท์กล่าวถึงเป้าหมายยุทธศาสตร์ของกลุ่มซีพี

ความเป็นบริษัทประเทศไทยในนามกลุ่ม "เจิ้นใต้" ของซี.พี.ในจีน เริ่มมาจากการลงทุนในอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ หลังจากปักกิ่งปฏิรูปนโยบาย และกฎหมายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศโดยจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษตามจังหวัดที่อยู่ติดชายฝั่งทะเลทางตอนใต้ของประเทศเมื่อต้นทศวรรษ 80 ไม่นานนัก

การเข้าลงทุนในจีน กลุ่มซี.พี.จะใช้เครดิตเรตติ้งของตัวเองในตลาดฮ่องกง ระดมทุนจากที่ฮ่องกงเข้าไปลงทุนในจีนเสียเป็นส่วนมาก "มันเป็นเทคนิคธรรมดาของบริษัทข้ามชาติที่ใช้ ซี.พี.จะใช้เครดิตเรตติ้งของตัวเองในตลาดฮ่องกง ระดมทุนจากที่ฮ่องกงเข้าไปลงทุนในจีนเสียเป็นส่วนมาก "มันเป็นเทคนิคธรรมดาของบริษัทข้ามชาติที่ใช้ Credit Worthiness ของตัวเองมาเป็นทุนในการลงทุนต่างประเทศ" มือบริหารการเงินของซี.พี.ที่กรุงเทพฯ กล่าว

แบงเกอร์ที่กรุงเทพฯ เล่าให้ฟังว่า เครดิตเรตติ้งของซี.พี.ที่ฮ่องกงอยู่ในระดับชั้นดีมาก จะสังเกตว่า แบงก์หลักๆ ของซี.พี.ในฮ่องกงและที่กรุงเทพฯ ไม่ใช่แบงก์ท้องถิ่น แต่เป็นแบงก์ระดับเกรด A ของยุโรปและสหรัฐฯ ทั้งนั้น เช่น กลุ่มสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด และเชส แมนฮัตตัน

นั่นหมายความว่า ซี.พี.สามารถระดมทุนได้ทุกสกุลไม่ว่าจะเป็นสกุล Hard Currency หรือ Exotic Currency ของท้องถิ่นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสกุลหยวนของจีน หรือบาทไทย

ยังไม่เคยมีใครเปิดเผยฐานะของเงินกองทุนของซี.พี.ที่เมืองจีนว่ามีสกุลหยวนเท่าไร แต่หลายคนเชื่อว่า ปัจจุบันสกุลหยวนของซี.พี.มีมากกว่าบาทแน่นอน

"เมืองจีนเป็นตลาดใหญ่โตที่มีความเป็นลักษณะเฉพาะ คุณธนินท์เป็นคนมองการณ์ไกล เขาเป็นคนจีนย่อมเข้าใจตลาดได้ดี บวกกับความเป็นผู้บุกเบิก การแข่งขันที่จะมาถึงในตลาดที่เมืองจีนในอนาคตอันใกล้ กลุ่มซี.พี.ย่อมได้เปรียบกว่าบริษัทข้ามชาติทุกราย" นักวิเคราะห์กลยุทธ์องค์กรจากสถาบันวิจัยสังคมศาสตร์กล่าวถึงฐานะการแข่งขันระหว่างชาติของกลุ่มซีพี

ต้นทศวรรษที่ 90 กลุ่มซี.พี.ถูกประเมินจากวาณิชธนากรในกรุงเทพฯ ว่าเป็นกลุ่มบริษัทข้ามชาติของคนไทยกลุ่มแรกที่มีเครือข่ายของการผลิต และการบริหารทุนทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก "เราต้องยอมรับว่า เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญตลาดเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะจีนอย่างแท้จริง"

เป็นที่เชื่อกันแล้วว่า ธนินท์มองเอเชียแปซิฟิกคือตลาดของการเติบโตของซี.พี. ตลาดส่วนใดของภูมิภาคนี้ที่มีโอกาส เขาจะนำซี.พี.เข้าไปทันที สิ่งนี้คือตรรกะที่สังเกตได้จากตัวอย่างการลงทุนโครงการดาวเทียมในจีน พร้อมๆ กับลงทุนโครงการโทรศัพท์ 2 ล้านเลขหมายที่กรุงเทพฯ และ 300,000 เลขหมายนอกกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย

หรือในทางกลับกัน ตรงข้ามเมื่อไม่มีโอกาสเขาจะถอนการลงทุนทันที แม้ตลาดส่วนนั้นจะเป็นที่เมืองไทย ยกตัวอย่างถอนโครงการลงทุนผลิตเบียร์ไฮเนเก้นที่กรุงเทพฯ ทันทีเมื่อคาดการณ์ทางการตลาดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะแย่งส่วนแบ่งตลาด กว่า 90% จากบุญรอดบริวเวอรี่ขณะที่เขาเตรียมขยายกำลังผลิตเบียร์ไฮเนเก้นที่เมืองจีน

เฉลียว สุวรรณกิติ เคยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าธนินท์เป็นคนยืดหยุ่นสูง และเร็วในการตัดสินใจมาก เขามีสัญชาตญาณของการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการใช้ดุลพินิจในการตัดสินใจทางธุรกิจที่ชาญฉลาดมาก

แบงเกอร์ในกรุงเทพฯ มีความเชื่อว่าธนินท์เป็นคนไทยที่มีความเป็นจีนสูงมาก และทำนองเดียวกัน กลุ่มซี.พี.ก็คือกลุ่มบริษัทคนไทยที่มีความเป็น "นานาชาติ" สูงมากเช่นกัน

เจ้าหน้าที่ระดับสูงในแบงก์ชาติที่กรุงเทพฯ ยอมรับว่า กลุ่มบริษัทซี.พี.เป็นรายแรกๆ ที่กล้าตัดสินใจออกไปลงทุนในต่างประเทศอย่างจริงจังในขณะที่การผ่อนคลายกฎเกณฑ์ในด้านการปริวรรตทุนระหว่างประเทศยังไม่เกิดขึ้นด้วยซ้ำ

ประสบการณ์จากการเบิกทางสู่ต่างประเทศของซี.พี.ก่อให้เกิดคำถามตามมาในภายหลังว่า อะไรคือหนทางของโอกาสในการเติบโตของความเป็นบริษัทประเทศไทยในต่างประเทศ ภายใต้ยุคสมัยที่เคนอิชิ โอมาเอะ นักวิจัยและที่ปรึกษาชื่อดังชาวญี่ปุ่น เรียกมันว่า "ยุคธุรกิจที่ไร้พรมแดน"

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทชั้นนำแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ บอกกับ "ผู้จัดการ" ว่า ซีพีเติบโตในจีนมาก รากฐานสำคัญมาจากความสัมพันธ์กับผู้นำระดับสูงในปักกิ่ง "ท่านจูหล่งเจีย รองนายกรัฐมนตรีที่คุมงานด้านการเศรษฐกิจของประเทศ เป็นบุคคลระดับสูงในปักกิ่งที่มีความสัมพันธ์ที่ดีมากกับคุณธนินท์มาตั้งแต่สมัยเป็นผู้ว่าการมณฑลเซี่ยงไฮ้" แหล่งข่าวยกตัวอย่าง

การใช้กลไกความสัมพันธ์กับผู้นำระดับสูงในจีนเป็นองค์ประกอบสำคัญมากที่สุดที่ทำให้ซี.พี.เติบโตในจีนกว่ากลุ่มธุรกิจอื่นๆ ตรรกะข้อนี้นำมาโยงเข้ากับเหตุผลทางธุรกิจของซี.พี.ได้อย่างน้อย 2 ข้อ ข้อแรกกระบวนการตัดสินใจลงทุนของซี.พี.ในจีนแม้เหตุผลบางประการจะเป็นไปเพื่อ "เอาใจผู้ใหญ่ในปักกิ่ง" แต่ท้ายสุดแล้วก็ต้องอาศัยเหตุผลความสอดคล้องทางธุรกิจเป็นตัวชี้ขาด

ประจักษ์พยานข้อนี้ จะสังเกตได้จากการตัดสินใจลงทุนกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในโครงการดาวเทียมเพื่อการสื่อสาร 2 ดวงในจีน และโครงการลงทุนนับร้อยล้านดอลลาร์เพื่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนด้วยกำลังผลิตปีละ 1.8 ล้านเมกะวัตต์ทางมณฑลยูนนานตอนใต้ของจีน
โครงการทั้งสองนี้ เป็นโครงการสาธารณูปโภคที่ให้ผลตอบแทนระยะยาวมากไม่น้อยกว่า 5 ปีขึ้นไป ซึ่งทางผู้นำในปักกิ่งต้องการให้เกิดขึ้น

ซี.พี.รู้ความต้องการของผู้นำในปักกิ่งต่อโครงการสาธารณูปโภคนี้ดี จึงใช้เครดิตเรตติ้งของตัวเองระดมทุนมาสร้างโครงการนี้ "ทางรัฐบาลที่ปักกิ่งสนับสนุนการตัดสินใจของซี.พี.ต่อโครงการนี้มากถึงขนาดให้สัมปทานเขื่อนถึง 8 เขื่อนจากเดิม 3 เขื่อนแก่ซี.พี.เพื่อนำน้ำมาผลิตไฟฟ้าปีละ 1.8 ล้านเมกะวัตต์และเก็บสำรอง 20 ล้านเมกะวัตต์ต่อปี" สมเกียรติ โอสถสภา นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญจีนกล่าว

ข้อสอง-ซีพีใช้กลยุทธ์ "หว่านพืชเพื่อหวังผล" เป็นแนวทางสร้างการเติบดตในจีน ธนินท์เข้าใจความเป็นผู้นำในรัฐสังคมนิยมจีนดี เขารู้ว่าการสร้างสังคมนิยมของผู้นำในปักกิ่งต้องอาศัยกลไกของทุนเอกชนที่มีความจริงใจต่อการสร้างสังคมนิยมที่แท้จริง สิ่งนี้คือเบื้องหลังของตรรกะในการนำกำไรเข่าลงทุนต่อในจีนของซี.พี.

กว่า 10 ปีที่หว่านพืช สิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อผลกำไรของโครงการที่ทางการจีนในปักกิ่งให้กับโครงการลงทุนของซี.พี. เริ่มปรากฏให้เห็น เช่นตัวอย่างจากโครงการลงทุนเรียลเอสเตท สร้างศูนย์การค้าที่ปักกิ่ง และอพาร์ตเมนต์ที่เซี่ยงไฮ้ ทางซี.พี.ได้สิทธิประโยชน์ด้านการเช่าที่ดินฟรี เทอมระยะยาวนานถึง 70 ปีทั้ง 2 โครงการขณะที่บริษัทของเครือมั่นคงเคหะการได้เงื่อนไขเช่าที่ดินเพียง 50 ปีจากโครงการสร้างศูนย์การค้าที่กวางตุ้ง

กลยุทธ์หรือเทคนิคของซี.พี.ในจีน เป็นตัวแบบของความสำเร็จในโครงการลงทุนต่างประเทศของบริษัทคนไทย ที่หลายบริษัทกำลังศึกษาช่องทางของตัววเองในตลาด "สวรรค์ของนักลงทุน" ทางซีกมหาสมุทรแปซิฟิกนี้

สิ่งที่เรียกว่า "ช่องทางของตัวเอง" ในตลาดเอเชียแปซิฟิกที่กำลังเติบโตสูง กำลังเป็นแนวโน้มใหม่ของนักวิเคราะห์ยุทธศาสตร์การลงทุนของบริษัทใหญ่ๆ ในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดในภูมิภาคแห่งนี้กำลังถูกซอยย่อยออกเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่หลายเขต

ผู้นำระดับสูงของธนาคารแห่งประเทศไทยมองเห็นการเปลี่ยนแปลงในภูมิภาคแห่งนี้มานานแล้ว การปรากฏขึ้นของสถาบันทางการเงินและการคลังใหม่ๆ เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการลงทุนออกต่างประเทศเพื่อการแข่งขันที่ได้เปรียบ เช่น ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออก การปล่อยเสรีการปริวรรตทุนระหว่างประเทศ การปูพื้นฐานกฎเกณฑ์ทางตลาดทุน เพื่อส่งเสริมการระดมทุนราคาถูกจากตลาดของบริษัทเอกชน (ที่ขึ้นทะเบียนเป็นบริษัทมหาชน) การจัดตั้งวิเทศธนกิจ (BIBFs) การทำสัญญาข้อตกลงภาษีซ้อนกับประเทศในเวียดนามและจีน เป็นต้น

จึงเป็นความพยายามของธนาคารกลางที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของภาวะทิศทางการไหลเวียนของทุนเอกชนยุคใหม่

"การออกไปลงทุนโดยตรงยังต่างประเทศทั่วโลกของบริษัทไทยกำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จากประมาณกว่า 800 ล้านบาทในปี 1988 เป็นกว่า 11,000 ล้านบาทในปี 1990 และเพิ่มกว่าเท่าตัวเป็น 27,000 ล้านบาทในปี 1991" รางานของธนาคารแห่งประเทศไทยระบุ

ข้อมูลนี้นักวิเคราะห์ระดับสูงในแบงก์ชาติเชื่อว่า ถ้ารวมเงินลงทุนที่จีนของบริษัทซี.พี. ที่ระดมมาจากตลาดเงินในฮ่องกงด้วยแล้วมูลค่าการลงทุนของบริษัทไทยในต่างประเทศจะสูงถึงเกือบ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณกว่า 50,000 ล้านบาท

"เงื่อนไขเพื่อการเติบโตโดยอาศัยทรัพยากรในประเทศเพียงแหล่งเดียวมันหมดไปแล้ว" ธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล ผู้บริหารระดับสูงด้านการธนาคารแบงก์ชาติกล่าวเพื่อโยงเข้าหาเหตุผลการออกไปลงทุนต่างประเทศของบริษัทไทย

เขาชี้ว่า ข้แรก-แรงงานราคาถูกของไทยหมดไปแล้ว และแรงงานที่มีทักษะก็หายากมาก ถ้าการผลิตยังต้องอาศัยแรงงานราคาถูก ต้องโยกย้ายฐานการผลิตไปยังแหล่งที่มีแรงงานราคาถูกเช่นเวียดนาม

ข้อสอง-การแข่งขันรับจ้างผลิตสินค้าให้เจ้าของลิขสิทธิ์จะมีความเสี่ยงสูงขึ้น ความข้อนี้ ศิวะ งานทวี กรรมการบริหารบริษัทกลุ่มพี่น้องงานทวีกล่าวเห็นด้วย เขายกตัวอย่างให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่าการที่บริษัทเซ็นจูรี่ อีเล็คทรอนิคส์ (เครือพี่น้องงานทวี) ตัดสินใจลงทุน 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อสินทรัพย์ของไทร์ คอมมิวนิเคชั่นส์ในยุโรปและแคนาดาเพราะต้องการสินทรัพย์สิทธิบัตรคีย์โฟนซิสเต็มของไทรที่โตรอนโต แคนาดา ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาคีย์โฟนซิสเต็ม

"เรารับจ้างเขาประกอบคีย์โฟนได้กำไรน้อยมากชิ้นละ 2 ดอลลาร์เท่านั้น ถ้าเขาเลิกจ้างประกอบเราก็จะลำบาก เราจะแสวงหากำไรได้เพิ่มขึ้น เราต้องเปลี่ยนจากการรับจ้างเป็นผู้ผลิตเสียเอง"

ก่อนหน้าการเข้าซื้อไทร์ฯ ศิวะยอมรับว่าเซ็นจูรี่ฯ มีความเสี่ยงพอสมควรในฐานะเป็นซัปพลายเออร์ของไทร์ฯ "เรามีส่วนแบ่งเพียง 20% เท่านั้นส่วนที่เหลือกว่าครึ่งเป็นซัปพลายเออร์จากเกาหลี ซึ่งหากทางไทร์ฯ เลิกจ้างเรา เขาไม่เดือดร้อน แต่เราจะเดือดร้อน" ศิวะเล่าให้ฟังถึงความเสี่ยงจากการขาดอำนาจต่อรองในฐานะเป็นซัปพลายเออร์รายเล็ก

การเข้าซื้อไทร์ฯ ของศิวะเมื่อกว่า 2 ปีที่แล้ว แบงเกอร์ในกรุงเทพฯ ถือว่า เป็นการบุกเบิกการลงทุนต่างประเทศของบริษัทคนไทยในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์การสื่อสารรายแรกที่กล้าหาญมาก "เราและแบงเกอร์ทรัสต์สนับสนุนโครงการนี้ เพราะไทร์ฯ มีสิทธิบัตรเทคโนโลยีการผลิตคีย์โฟน ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ซ่อนเร้น" ปลิว มังกรกนก หัวหน้าวาณิชธนากรและผู้บริหารระดับสูงทิสโก้กล่าว

เป็นเวลากว่า 2 ปีหลังการซื้อไทร์ฯ ผลตอบแทนจากการลงทุนเริ่มส่งผลที่ดีขึ้น เมื่อไทร์อิตาลีทำกำไรได้ประมาณ 5 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ไทร์อังกฤษยังขาดทุนจากภาวะตลาดที่ตกต่ำ "สิ่งสำคัญกว่าคือเราสามารถจัดตั้งเครือข่ายบริษัทในยุโรปได้สำเร็จในอนาคตเมื่อไทร์แสดงผลงานดี ก็อาจสามารถหาเงินทุน (Equity) จากตลาดยุโรปได้เอง" ศิวะกล่าวถึงผลตอบแทนในรูปเครดิตเรตติ้งของไทร์ในอนาคต

วิสัยทัศน์ของศิวะในแง่มุมนี้ สอดคล้องกับข้อเสนอที่สามของธีรชัยแห่งแบงก์ชาติ ที่มองประเด็นการลงทุนในต่างประเทศของบริษัทไทยว่ามาจากความต้องการหาแหล่งเงินทุนสกุลแข็งราคาถูก (กว่าในประเทศ)

ยูนิคอร์ดเป็นตัวอย่าง เมื่อเข้าซื้อบับเบิ้ล บี ที่แคลิฟอร์เนีย ต้องใช้เงิน 289 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบงเกอร์ทรัสต์เป็นคนจัดไฟแนนซ์แพ็กเกจสกุลดอลลาร์สหรัฐ โดยหวังว่ากว่า 50% ของวงเงินจะให้บับเบิลบีที่สหรัฐฯ (ในนามยูนิกรุ๊ป) ใช้เครดิตเรตติ้งของตัวเอง ออกจังค์บอนด์สู่ตลาด

แต่ไม่สำเร็จจนทำให้ยูนิคอร์ดต้องให้เฟิร์สแพ็คมาจัดรีไฟแนนซ์ให้ใหม่ในภายหลัง ก็เพราะตลาดจังค์บอนด์พังทลายจากผลสะเทือนวิกฤติการณ์ของเดร็กเซล แลมเบิร์ต

การคาดหวังของศิวะต่ออนาคตในการหาเงินทุนสกุลแข็งในยุโรป โดยอาศัยเครดิตเรตติ้งของไทร์และความล้มเหลวในแผนการออกจังค์บอนด์ของยูนิกรุ๊ป

เหตุการณ์ 2 เหตุการณ์เป็นความเสี่ยงภัยที่มีต้นทุนสูงในการออกสู่ต่างประเทศของบริษัทไทย ซึ่งโยงมาสู่ประเด็นว่าจะมีโอกาสตรงไหนและอย่างไรในการปรับตัวเพื่อ "อำนวยความสะดวก" ให้ความเป็นบริษัทประเทศไทยเกิดขึ้นและโตต่อไปได้ในต่างประเทศ

ธีรชัยจากแบงก์ชาติกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขาเห็นโอกาสของประเด็นนี้ ตรงการเกิดขึ้นของกลไกปฏิรูประบบสถาบันการเงินที่แบงก์ชาติทำอยู่ เขาเห็นว่าการที่แบงก์ท้องถิ่นของไทยออกไปลงทุนเปิดกิจการสาขาหรือสำนักงานตัวแทนในตลาดการเงินและการค้าที่สำคัญๆ ของโลก จะเป็นกลไกสนับสนุนทางการเงิน (สกุลแข็ง) แก่บริษัทคนไทยในโครงการลงทุนในต่างประเทศเหมือนญี่ปุ่น

กล่าวคือ เมื่อบริษัทญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดกลางหรือยักษ์ใหญ่ ออกไปลงทุนในต่างประเทศเช่นประเทศไทย กว่าร้อยละ 80 ของแหล่งที่มาของเงินทุนจะมาจากการ Financing Package ของแบงก์ญี่ปุ่นในประเทศไทย

ข้อสังเกตในประเด็นนี้ของธีรชัยสอดคล้องกับข้อสังเกตของไพบูลย์ อิงคะวัต ผู้บริหารระดับสูงด้านกิจการทางการเงินเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศของแบงก์กรุงเทพ ไพบูลย์เคยมีประสบการณ์มากมายในการบริหารกิจการสาขาของแบงก์กรุงเทพในลอนดอนและอินโดนีเซีย

เขากล่าวในประเด็นนี้ โดยโยงเข้ากับตัวอย่างการออกไปลงทุนเปิดสาขาในต่างประเทศของแบงก์ว่า เหตุผลสำคัญของการออกไปลงทุนเปิดสาขาต่างประเทศของแบงก์กรุงเทพ มาจากการมองเห็นโอกาสที่จะเข้าไปขายบริการทางการเงินให้พ่อค้าไทยที่มีเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนในต่างประเทศ

"เมื่อกว่า 30 ปีก่อน นายห้างชินเห็นพ่อค้าไทยติดต่อค้าขายกับพ่อค้าทางฮ่องกงมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าข้าว การเปิดสาขาขึ้นที่ฮ่องกงจะช่วยเชื่อมธุรกิจเทรดไฟแนนซิ่งระหว่างกรุงเทพฯ-ฮ่องกง และฮ่องกง-กรุงเทพฯ ได้"

การเป็นผู้บุกเบิกออกไปลงทุนต่างประเทศในธุรกิจบริการทางการเงินของธนาคารกรุงเทพยาวนานกว่า 30 ปี โดยเริ่มจากการเกาะติดไปกับกระแสของทิศทางการนำเข้า และส่งออกของพ่อค้าไทยก่อนที่จะตามนักธุรกิจที่ออกไปลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในตลาดบางตลาดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

"เวลานี้เรามีเครือข่ายสาขาในตลาดต่างประเทศทุกภูมิภาคถึง 18 แห่ง กว่าครึ่งเครือข่ายสาขาของเราอยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยเฉพาะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวได้ว่าในเวลานี้ เราเป็นแบงก์ไทยที่มีบทบาทเป็นผู้นำรายหนึ่งในตลาดส่วนนี้" วิชิต สุรพงษ์ชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพกล่าว

วิชิตเน้นว่าลูกค้าชั้นนำ (ทั้งไทยและเทศ) ในตลาดส่วนนี้รู้จักชื่อเสียงธนาคารกรุงเทพดี เขายกตัวอย่างบริษัทกลุ่มโฮปเวลล์ของกอร์ดอน วู นักธุรกิจยักษ์ใหญ่ชาวฮ่องกง เป็นลูกค้าของธนาคารกรุงเทพที่เข้ามาลงทุนทำโครงการที่เข้ามาลงทุนทำโครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนมูลค่ากว่า 80,000 ล้านบาทในกรุงเทพฯ

การเกิดขึ้น การดำรงอยู่ และการเติบโตของความเป็นบริษัทประเทศไทย กล่าวสำหรับธุรกิจบริการทางการเงินแล้ว ธนาคารกรุงเทพคือตัวแทนของความสำเร็จในความเป็น "บริษัทแห่งประเทศไทย" ที่เป็นที่ยอมรับกันในตลาดเอเชียอาคเนย์แห่งนี้ หลังจากใช้เวลาในการบุกเบิกมากว่า 30 ปี

ขณะเดียวกัน กลุ่มซี.พี.ก็บรรลุความสำเร็จการเป็นตัวแทนของความเป็น "บริษัทแห่งประเทศไทย" ที่เป็นที่ยอมรับในตลาดภูมิภาคชายฝั่งแปซิฟิก ตั้งแต่สหรัฐฯ ลงมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในธุรกิจอุตสาหกรรมปศุสัตว์ หลังจากบุกเบิกมากว่า 10 ปี

ความสำเร็จของธนาคารกรุงเทพ และซี.พี.กลายเป็นตัวแบบของความพยายาม ที่บริษัทคนไทยหลายรายกำลังแสวงหาหนทางที่เหมาะสมกับธุรกิจของตัวเอง เพื่อการดำรงอยู่และเติบโตต่อไปในตลาดต่างประเทศ

บริษัทกลุ่มแพรนด้า ผู้ผลิตอัญมณีและเครื่องประดับรายใหญ่ของไทย กำลังแสวงหาการดำรงอยู่ หลังจากออกสู่ต่างประเทศมาได้เพียงปีเดียวโดยลงทุนตั้งสาขาบริษัทการค้าอัญมณีและเครื่องประดับขึ้นในนิวยอร์ก โรดส์ไอแลนด์ และฝรั่งเศส

ปรีดา เตียสุวรรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มแพรนด้ากล่าวกับ "ผู้จัดการ" ว่าเขาต้องออกไปเพราะธุรกิจนี้ต้องอาศัยเครือข่ายการขายที่ใกล้ลูกค้ามากที่สุด โดยใช้ฐานการผลิตจากประเทศไทยซึ่งมีแหล่งวัตถุดิบพลอยชั้นดีและรัฐให้การส่งเสริมลงทุนอย่างเต็มที่ ในฐานะเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานสูงและแรงงานมีทักษะในการเจียระไน

"ต้นทุนค่าแรงงานมีสัดส่วนประมาณ 6-7% ของต้นทุนรวมเท่านั้นที่เหลือกว่า 60% เป็นค่าวัตถุดิบและกว่า 20% เป็นค่าการตลาด ดังนั้นธุรกิจของเราจึงไม่ใช่ประเภท Labour Cost Advantage อย่างที่เข้าใจกัน" ปรีดากล่าวถึงโครงสร้างต้นทุนเพื่อโยงให้เห็นว่าเหตุผลที่ต้องออกไปลงทุนต่างประเทศส่วนหนึ่งก็เพื่อต้องการลดค่าการตลาดลง

ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดที่ประเทศผู้ผลิตอุตสาหกรรมเบาชั้นนำอย่างไต้หวันเข้าไปลงทุนนานแล้ว ปรีดาชี้ให้เห็นว่าตลาดสหรัฐฯ เป็นหัวใจของการเติบโตความเป็นบริษัทประเทศไทยของบริษัทคนไทย กว่าร้อยละ 20 สหรัฐฯ เป็นตลาดสินค้าของไทย การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันสู่ตลาดสหรัฐฯ หนทางหนึ่งคือการมีเครือข่ายการผลิตหรือการขายอย่างใดอย่างหนึ่งที่นั่น

"กระนั้นก็ดี ผมยังกังวลอยู่ว่าการที่ไทยยังไม่มีข้อตกลงภาษีซ้อนกับสหรัฐฯ เราจะปรับตัวอย่างไร" ปรีดายกอุปสรรคด้านภาษีต่อการดำรงอยู่ของบริษัทคนไทยในสหรัฐฯ

การปราศจากข้อตกลงเรื่องภาษีซ้อนทำให้บริษัทคนไทยที่ตั้งอยู่ในสหรัฐฯ ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในสหรัฐฯ ร้อยละ 34 และถ้าหากโอนกำไรเข้าบริษัทแม่ที่กรุงเทพฯ ต้องเสียภาษีอีก 30%
ประมนต์ สุธีวงศ์ ผู้บริหารระดับสูงของปูนซิเมนต์ไทย ซึ่งเข้าไปลงทุนผลิตเซรามิกที่รัฐเทนเนสซี่ สหรัฐฯ ในนามบริษัท ไทล์เซอราอิงค์ เป็นเวลาเกือบ 2 ปี กล่าวถึงหนทางการปรับตัวของบริษัทไทยต่อปัญหานี้ว่า ต้องนำกำไรไปลงทุนต่อที่นั่นเหมือนกับที่ซี.พี.ใช้ในจีน

สถานะของเครดิตเรตติ้งของปูนซิเมนต์ไทยอาจจะต่างกับยูนิคอร์ด, แพรนด้าฯ ในตลาดสหรัฐฯ การดำรงอยู่ในตลาดที่นั่น ท่ามกลางอุปสรรคเรื่องภาษีและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสกุลแข็งราคาถูกการเติบโตต่อไปเพื่อสร้างความเป็น "บริษัทประเทศไทย" อาจจะมีโอกาสเข้าถึงความสำเร็จที่แตกต่างกัน

กระนั้นก็ตาม ความเป็นบริษัทแห่งประเทศไทย โอกาสเปิดขึ้นแล้วท่ามกลางอุปสรรคบางประการที่ดำรงอยู่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us