Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"มลพิษในอากาศสามารถแก้ไขได้"             
 

   
related stories

"เบนซินไร้สารตะกั่ว HCFC-123 และ HFC-134a ตัวการสำคัญช่วยลดมลพิษในอากาศ

   
search resources

ซีอีแกรนต์
ปรีชา พรนำพา
Environment




มลภาวะทางอากาศของประเทศกำลังเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ไฮโดรคาร์บอน (HC) ตะกั่ว (Pb) และสารฝุ่นละออง (ควันดำ) มลสารเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ โดยแหล่งที่ก่อมลพิษทางอากาศที่สำคัญคือการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะ ปัจจุบันมลภาวะทางอากาศกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ที่สภาพปัญหามีความรุนแรงมากที่สุด คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เบนซินอยู่ในระดับสูงมาก และในบางพื้นที่ก็เกินมาตรฐาน ซึ่งได้กำหนดไว้ 20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เฉลี่ย 8 ชั่วโมง ในกรุงเทพฯ มีการบันทึกค่าสูงสุดของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ได้ 32 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร บริเวณวงเวียนใหญ่ ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์จะทำให้คาร์บ็อกซีฮีโมโกลบิลอยู่ในเลือด 3.5% ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ เหนื่อยงาน และอาจทำให้เกิดอาการต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อีกด้วย

ปริมาณฝุ่นละออง (Suspended Particulate Materials : SPM) อยู่ในระดับสูงกว่ามาตรฐานมาก ฝุ่นละอองเป็นผลมาจากควันของเครื่องยนต์ดีเซล และกิจกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้าง

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ อยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐานแต่มีแนวโน้มที่สูงขึ้น ผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญก็คืออาจเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบหายใจ อันมีผลให้เกิดมะเร็งระบบหายใจและมะเร็งผิวหนัง

ปริมาณสารตะกั่ว อยู่ในระดับที่สูงมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานในต่างประเทศ แต่มีแนวโน้มลดลง เพราะได้มีการลดปริมาณสารตะกั่วในน้ำมันเบนซิน แต่พิษจากสารตะกั่วก็มีอันตรายต่อสุขภาพมาก เช่น ถ้าได้รับในระดับความเข้มข้น 10 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร จะทำให้เกิดอาการสติปัญญาเสื่อม สมองอักเษบ กล้ามเนื้ออัมพาต และไตอักเสบได้

การนำน้ำมันไร้สารตะกั่วมาใช้ในประเทศตลอดระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นแนวทางหนึ่งในการลดปริมาณตะกั่วในอากาศ ทั้งนี้เพราะน้ำมันเบนซินเดิมมีสารตะกั่วผสมอยู่สูง เมื่อน้ำมันเบนซินเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ตะกั่วจะถูกปล่อยออกจากท่อไอเสียและฟุ้งกระจายในอากาศ โดยปริมาณตะกั่วในอากาศมีความสัมพันธ์กับสภาพการจราจร

ในบริเวณที่มีการจราจรหนาแน่นจะมีปริมาณตะกั่วในอากาศสูงกว่าบริเวณที่มีการจราจรเบาบาง และในชั่วโมงเร่งด่วนจะมีปริมาณตะกั่วสูงสุด ระดับความเข้มข้นของตะกั่วจะมีอยู่สูงที่บริเวณริมถนน เมื่อห่างออกมาระดับความเข้มข้นจะลดลง

สาเหตุของมลภาวะทางอากาศไม่ได้เกิดจากเพียงตะกั่วเท่านั้นยังคงมีสาเหตุมาจากมลสารอื่นๆ อีก ดังนั้นเพื่อลดปริมาณมลสารอื่นๆ จากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์เบนซิน จึงมีการนำอุปกรณ์ลดมลพิษ (Catalytic Converter) มาบังคับติดตั้งในรถยนต์ที่มีขนาดเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1600 ซีซี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา และ 1 กันยายน สำหรับเครื่องยนต์ที่ต่ำกว่า 1600 ซีซี ทั้งนี้เพราะอุปกรณ์นี้สามารถลดปริมาณมลสาร CO, NOx, HC ลงได้

นอกจากนี้สาร CFC ในเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ ที่มีผลต่อการลดลงของปริมาณก๊าซ Ozone ซึ่งทำให้รังสี UV มีระดับรุนแรงขึ้นในชั้นบรรยากาศ และยังมีผลต่อการเกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (greenhouse effect) อีกด้วย การลดลงของโอโซนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง โรคตาต้อ ฯลฯ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมดทรมลง โดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพ เป็นผลต่อเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนรูปแบบของการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการของมนุษย์ การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมจึงจำเป็นต้องร่วมมือกันในทุกๆ ฝ่ายในภาครัฐบาลเองก็เริ่มตระหนักถึงปัญหานี้ มีการดำเนินงานเพื่อให้การส่งเสริมและอนุรักษ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วยมาตรการต่างๆ ขณะที่ภาคธุรกิจเอกชนก็ควรคำนึงถึงสังคมด้วยนอกเหนือจากผลประโยชน์ของตนเอง (private benefit) เพราะถ้ามุ่งหวังแต่ผลประโยชน์มากเกินไปโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคม (social cost) แล้วในอนาคตระบบสังคมก็คงอยู่ไม่ได้ ในส่วนของภาคเอกชนนี้ก็ได้มีหลายๆ ส่วนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดลง หรือช่วยลดสภาพปัญหาลงด้วย การนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วมาผ่านขบวนการผลิตอีกครั้ง (recycle) การพัฒนาสารต่างๆ มาทดแทนสารที่ใช้อยู่เดิมแล้วก่อมลพิษ เช่น ในเครื่องปรับอากาศ เครื่องดับเพลิง โดยเฉพาะในรถยนต์ที่นอกจากการใช้เชื้อเพลิงที่ช่วยลดมลพิษแล้วยังมีความพยายามที่จะลดชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ก่อมลพิษลง เช่น ส่วนของผ้าเบรกที่มีการพัฒนาให้ใช้สารที่ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ใช้ถ้าต้องสัมผัสโดยตรงมีการนำเข้ามาจำหน่ายบ้างแล้ว อาทิ Ferodo การลดชิ้นส่วนพลาสติกที่ใช้สาร CFC ในการผลิตลง เป็นต้น

ในปัจจุบันผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ที่ก่อปัญหามลพิษทั้งทางตรงและทางอ้อม และก็ยังเป็นผู้ที่รับเอามลพิษเหล่านั้นด้วย ได้มีความเข้าใจต่อสภาพปัญหามลภาวะเพิ่มขึ้น จะสังเกตได้จากผลิตภัณฑ์หรือสินค้าที่มีส่วนสัมพันธ์ต่อสิ่งแวดล้อมจะเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ปรีชา พรนำพา ผู้จัดการบริษัทซีอีแกนต์ จำกัด ซึ่งจำหน่ายเครื่องฟอกอากาศ ได้ชี้แจงว่า "ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ความต้องการเครื่องฟอกอากาศทั้งในอาคารที่พักอาศัยและในรถยนต์เพิ่มสูงขึ้นมาก ขณะเดียวกันก็มีผู้สนใจที่จะประกอบธุรกิจนี้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก"

สภาพมลภาวะเสื่อโทรมที่กระทบต่อผู้บริโภค ก่อให้ผู้บริโภคมีความห่วงใยในสุขภาพของตนเองมากขึ้นด้วย ดังนั้นการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ผู้บริโภคและผู้ผลิตต้องให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันภาครัฐก็ควรให้ความสนใจถึงสาเหตุแลผลกระทบที่จะทำให้เข้าใจถึงสภาพของปัญหาอย่างชัดเจน เพื่อการดำเนินการแก้ไขได้อย่างถูกวิธี

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us