Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2550
ธปท.หวังยอดขาดดุลสกัดบาทแข็งแจงเหตุคงสำรอง30%หวั่นเงินร้อนไหลกลับ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ธาริษา วัฒนเกส
Currency Exchange Rates




แบงก์ชาติพอใจค่าบาทเริ่มนิ่งหลังเจอยาแรง เชื่อปีนี้ไม่เหวี่ยงแรง เหตุการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะช่วยกดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็ว พร้อมยันยังไม่ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30% หวั่นเงินร้อนไหลกลับมาป่วนอีกระลอก แต่จะมีการทบทวนในบางส่วนที่ซ้ำซ้อน "ธาริษา"แจงรายละเอียดหลังถูกกดดันให้ยกเลิกมาตรการ ระบุต่างชาติมีผลตอบแทนจากตลาดหุ้นเป็นกำไรจากค่าเงินบาทมากกว่ากำไรจากการลงทุนมาก หลังหักสำรองต้นทุนเพิ่มไม่มาก

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวถึงการเคลื่อนไหวของเงินบาทว่า ในช่วงปี 49 ที่ผ่านมา เงินบาทของไทยมีการแข็งค่าขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสกุลเงินต่างๆในภูมิภาค โดยหากเทียบสัดส่วนแล้ว ค่าเงินต่างๆในภูมิภาคแข็งค่าขึ้นเพียง 7-8% ขณะที่ค่าเงินบาทไทยทั้งปีแข็งค่าขึ้นถึง 17% ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากเงินร้อนที่เกิดจากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรระยะสั้น ทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนอย่างมาก ดังนั้น ธปท.อยากจะให้ค่าเงินบาทของไทยมีการเคลื่อนไหวไปทิศทางเดียวกันค่าเงินในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม ธปท.มองว่าในปีนี้จากการขาดดุลของดุลบัญชีเดินสะพัด ส่งผลให้ค่าเงินบาทไทยจะแข็งค่าน้อยลง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินบาทปรับตัวดีขึ้นด้วย

"การแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วของเงินบาทในช่วงปีที่แล้วนั้น เป็นเพราะเงินร้อนที่เข้ามาเก็งกำไร แต่ในปีนี้เชื่อว่าจะช้าลงแล้ว และค่าเงินบาทก็เริ่มนิ่งหลังจากใช้มาตรการ ขณะนี้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้จะช่วยชะลอการแข็งค่าของเงินบาทด้วย"นางธาริษากล่าว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธปท.ยังคงมาตรการกันเงินสำรอง 30% ไว้อย่างเดิม แต่อาจจะมีการทบทวนบางมาตรการที่ซ้ำซ้อนหรือมีความจำเป็นน้อยลงภายหลังนำมาตรการกันเงินสำรองมาใช้ โดยขณะนี้ธปท.ได้ยกเลิกบางมาตรการที่เคยขอความร่วมมือสถาบันการเงินในส่วนของการลงทุนพันธบัตรอายุ 6 เดือนขึ้นไปให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ( Non-Resident) หรือ NR ดังนั้นในส่วนของธุรกรรมอื่นๆ ที่เคยกำหนดมาตรการต่างๆ ไว้รวมไปถึงการกันเงินสำรอง 30%ด้วยยังคงใช้มาตรการเดิมอยู่ รวมทั้งการลงทุนในกองทุนรวมและกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่ทางบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนได้ขอผ่อนผันมาก่อนหน้านี้ด้วย

“เรายังคงเดินตามนโยบายเดิม คือ กันเงินสำรอง 30% เช่นเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ซึ่งค่าเงินบาทในช่วงนี้ค่อนข้างนิ่งแล้ว แต่เราก็ต้องเก็บมาตรการนี้ไว้ก่อน เผื่อเงินร้อนพวกนั้นจะกลับเข้ามาลงทุนในไทยใหม่ ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากขึ้น แล้วเราก็กำลังทบทวนบางมาตรการที่อาจมีความซ้ำซ้อนหรือมีความจำเป็นน้อยลงเมื่อใช้มาตรการกันเงินสำรองแล้ว ทั้งนี้เพื่อจูนให้วิธีปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน”

นอกจากนี้ ธปท.กลับมากำหนดยอดคงค้างสิ้นวันในบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไม่ให้เกิน 300 ล้านบาทอีกครั้ง หลังจากก่อนหน้านี้ธปท.ได้ผ่อนผันให้ไม่ต้องจำกัดวงเงินดังกล่าวในช่วงที่นักลงทุนต่างชาติมีการขายหุ้นเข้าบัญชีดังกล่าวมากขึ้นในช่วงธปท.ออกมาตรการกันเงินสำรอง 30%ออกไป อย่างไรก็ตาม หากนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยก็ต้องมีบัญชีเงินบาทเพิ่มขึ้นมาอีก 1 บัญชี หรือที่เรียกว่า บัญชีเงินบาทที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ (Special Non-resident Bath Account for Equity Securities: SNS) ซึ่งยอดคงค้าง ณ สิ้นวันก็ได้มีการจำกัดอยู่ที่ 300 ล้านบาทเช่นกัน ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติสามารถมีบัญชีเงินบาทของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศได้ 2 บัญชี และมีวงเงินคงค้างรวมกันไม่เกิน 600 ล้านบาท ณ สิ้นวัน

สำหรับการผ่อนผันในเรื่องระยะเวลาการลงทุนให้ลดลงต่ำกว่า 1 ปีนั้น นางธาริษา กล่าวว่า ธปท.คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขระยะเวลาเช่นกัน เพราะมาตรการดังกล่าวที่ออกไปต้องการป้องกันเงินร้อนที่เข้ามาเก็งกำไรจากการลงทุนระยะสั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในช่วง 1 ปีนั้นนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในไทยก็สามารถปรับเปลี่ยนการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ได้ ดังนั้น มาตรการที่ออกมาไม่ได้จำกัดในเรื่องการลงทุนแต่ต้องการดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นมาอีกหากนักลงทุนต่างชาติมีการเก็งกำไรจากค่าเงินบาทในช่วงสั้นๆ

อย่างไรก็ตามหลังจากที่ธปท.ออกมาตรการดังกล่าวไป ขณะนี้ค่าเงินบาทค่อนข้างนิ่งแล้ว และธปท.ไม่ตรวจพบว่ามีเงินไหลออกนอกประเทศแต่อย่างใด เพราะในช่วงที่ผ่านมานักลงทุนส่วนใหญ่ชะลอการลงทุนที่มีวันหยุดยาวในช่วงปีใหม่ ทำให้ตลาดยังมีการซื้อขายกันเบาบาง แต่ธปท.เชื่อว่านักลงทุนจะกลับมาซื้อขายกันตามปกติในช่วงกลางเดือนมกราคมนี้

“ในส่วนที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นอยู่ที่ 22% โดยเกิดจากผลตอบแทนจากการลงทุนเพียง 5% ส่วนที่เหลืออีก 17% เกิดจากผลตอบแทนที่ได้รับจากค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น แต่เมื่อเทียบกับค่าเสียโอกาสที่เราได้ออกมาตรการกันเงินสำรอง 30%ออกไป ก็เป็นการเพิ่มต้นทุนไม่มากนัก”

สำหรับเงินสำรองระหว่างประเทศล่าสุดในวันที่ 29 ธ.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ณ วันที่ 22 ธ.ค.ที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 64.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ฐานะสุทธิ(Forward) ซึ่งแสดงสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าลดลง 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นางธาริษา กล่าวว่า เงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจำนวน 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจาก ธปท.ไม่ได้มีการต่ออายุสัญญาซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า ทั้งนี้ไม่ได้เกิดจากที่ธปท.เข้าไปซื้อดอลลาร์เพื่อแทรกแซงค่าเงินแต่อย่างใด

ด้านนักค้าเงินธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าวานนี้ (8 ม.ค.) ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้าที่ 35.98-36.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วงระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอ่อนค่าสุดที่ 36.01 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และเคลื่อนไหวแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.93 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจัยที่ทำให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบดังกล่าวมาจากทิศทางของค่าเงินเยนที่มีแนวโน้มปรับตัวแข็งค่าขึ้น ขณะที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่าลง

สำหรับแนวโน้มในระยะสั้นๆ เชื่อว่าแนวโน้มค่าเงินบาทน่าจะปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 35.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us