Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน9 มกราคม 2550
ปี50บ้านมือ2สะดุด-คนซื้อรอศก.ฟื้นตัว             
 


   
search resources

Real Estate
วิศิษฐ์ คุณาทรกุล




ธุรกิจบ้านมือสองยังซบต่อเนื่อง คาดปี2550ล่วงอีก 10% นายหน้าบ้านมือสองวอนรัฐปรับเกณฑ์กระตุ้นตลาดใหม่ ลดภาษีผู้ประกอบการปรับปรุงบ้านมือสอง - โน้มน้าวแบงก์สนับสนุนสินเชื่อ เตือนลูกค้าอย่าซื้อบ้านใหม่เกินตัวเหตุเศรษฐกิจมีความผันผวน

นายวิศิษฐ์ คุณาทรกุล ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท เรียลตี้เวิลด์ อัลไลแอนซ์ จำกัด เปิดเผยว่า ธุรกิจบ้านมือสองในปี 2550 ว่า มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากปี 2549 ประมาณ 10% ขณะที่ในปีที่ผ่านมาบ้านมือสองมีอัตราการเติบโตลดลงประมาณ 5-10% จากปัจจัยลบที่เกิดขึ้น ทั้งภาวะความไม่สงบต่างๆ , อัตราดอกเบี้ย และราคาน้ำมัน แม้ว่าราคาบ้านมือสองจะถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง แต่การที่ผู้บริโภคเกิดความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจได้ก่อผลกระทบให้ผู้ซื้อบ้านชะลอการตัดสินใจซื้ออกไปอีก

" แม้ว่าภาวะความไม่สงบหรือความกดดันทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้คนไม่กล้าซื้อบ้าน และส่วนหนึ่งหันมาซื้อบ้านมือสองเพราะราคาถูกกว่า แต่ไม่มากเพียงพอที่จะทำให้ตลาดขยายตัวขึ้นมาได้ เนื่องมาจากนโยบายการเข้ามาเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ทำให้ยอดของผู้กู้ซื้อบ้านไม่ผ่านกว่า 30%

สำหรับมาตรการกระตุ้นตลาดบ้านมือสองที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ นายวิศิษฐ์กล่าวว่า แม้รัฐบาลโดยกระทรวงการ คลังจะออกมาตรการกระตุ้นตลาดบ้านมือสอง โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% การลดค่าจดจำนองจาก 1% เหลือ 0.11% และการยกเว้นอากรแสตมป์ มาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 โดยมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดปี 2550 ซึ่งนับตั้งแต่มีการนำมาตรการดังกล่าวมาใช้ กลับไม่ได้ผลเท่าที่ควร เนื่องจากมาตรการดังกล่าวมีข้อปฏิบัติที่ยุ่งอยากในการใช้ โดยเฉพาะผู้ขายต้องมีชื่ออยู่ในสำเนาทะเบียนบ้านหลังที่จะขายไม่น้อยกว่า 1 ปี เป็นต้น ทำให้เกิดข้อจำกัดกับผู้ขายอย่างมาก ประกอบกับการนำมาตรการทางภาษีมาใช้อย่างเดียวคงไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นตลาดได้ ซึ่งควรพิจารณานำมาตรการอื่นๆเข้ามาเสริม อาทิ การยกเลิกบัญชีรายชื่อในเครดิตบูโร หรือทางด้านภาคสถาบันการเงินควรสะสางลูกหนีให้จบ เพราะบัญชีส่วนใหญ่เกิดขึ้นตั้งแต่หลังวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 สถาบันการเงินควรมีการล้างบัญชีหรือเรียกลูกหนี้มาเจรจาผ่อนชำระ แต่หากไม่ชำระควรฟ้อมล้มละลายเพื่อให้ลูกหนี้ดังกล่าวกลับมาเริ่มต้นชีวิตได้ตามปกติ

นอกจากนี้ ยังมีในส่วนของสินทรัพย์รอการขาย(NPA)และหนี้เสียในสถาบันการเงิน ที่ได้ดำเนินการตั้งสำรองหนี้ไปแล้วนั้น ตนคิดว่า ควรมีการตัดหนี้ส่วนขาดทิ้งเช่นเดียวกับในต่างประเทศ เพราะที่ผ่านมามีปัญหาว่าผู้ซื้อเมื่อซื้อมาแล้ว สถาบันการเงินแห่งใหม่กลับไม่กล้าปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากเกรงว่าสถาบันการเงินเดิมจะตามทวงหนี้ส่วนขาด ซึ่งกำลังเป็นปัญหาอย่างมากในปัจจุบัน

"ในส่วนของผู้ซื้อเอง จากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ทำให้กำลังซื้อลดลง ดังนั้นผู้ซื้อจะสามารถซื้อบ้านได้ในราคาต่ำลงกว่าในอดีต อีกทั้งภาวะความผันผวนของเศรษฐกิจ ยิ่งกดดันให้ผู้บริโภคควรซื้อบ้านตามกำลังซื้อ ไม่ใช่ซื้อบ้านใหญ่หรือราคาแพงเกินตัว เพราะอาจทำให้เป็นหนี้เสียได้ ควรคำนวณกำลังผ่อนชำระหนี้ในระยะยาวให้ดี " นายวิศิษฐ์กล่าวและว่า

ในส่วนของธุรกิจการซื้อบ้านมือสองมาปรับปรุงใหม่นั้น พบว่า แม้จะมีแนวโน้มที่ขยายตัว แต่ธุรกิจดังกล่าวยังมีอุปสรรคในเรื่องของการเสียภาษีที่ซ้ำซ้อนถึง 2 ขั้น คือ โอนซื้อเข้ามาเสียภาษีประมาณ 5% และเมื่อจะขายต่อต้องเสียภาษีอีก 6.3% เมื่อรวมกับค่าปรับปรุงบ้านกว่า 10% จะทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่มกว่า 20% ทำให้แข่งขันในตลาดได้ยาก ดังนั้นจึงต้องการให้รัฐบาลช่วยลดภาษีในส่วนดังกล่าวเพื่อช่วยให้ธุรกิจขับเคลื่อนไปได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us