Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ ธันวาคม 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ ธันวาคม 2543
NCB - ความหวังในการระดมทุนของซอฟท์แบงก์             
 

   
related stories

"ซอฟท์แบงก์" - บนเวทีแห่งการตั้งรับของผู้นำโลกอินเทอร์เน็ต
มาซาโยชิ ซัน - เขาเกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ
ซอฟท์แบงก์จะหาทางออกจากภาวะหนี้ท่วมอย่างไร?
กรณีศึกษา "Yahoo! Japan" รางวัลแห่งการตัดสินใจที่ถูกต้อง

   
search resources

Softbank Corp.
นิปปอน เครดิต แบงก์
อาโอโซร่า
Masayoshi Son




การเข้าเทคโอเวอร์ NCB ธนาคาร ที่ล่มสลาย คือ ความพยายาม ที่จะหาแหล่งเงินทุนใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจเวนเจอร์-แคปิตัลของซอฟท์แบงก์ แต่ความหวังนี้จะเป็นจริงได้หรือไม่

ธนาคารอาโอโซร่า คือ ชื่อใหม่ของนิปปอน เครดิต แบงก์ ธนาคาร ที่ล่มสลาย ชื่อนี้มีความหมายว่า ธนาคารฟากฟ้าสีคราม ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงความหวัง ที่ซอฟท์แบงก์ตั้งไว้กับธุรกิจการเงินแห่งนี้ได้เป็นอย่างดี ซอฟท์แบงก์ กิจการที่รู้กันดีว่าเน้น ที่การลงทุนในธุรกิจใหม่ด้านอินเทอร์เน็ต กลับเบนมาหา NCB ธนาคาร ที่ปล่อยกู้จนบานปลายเมื่อปี 1998 และต้องถูกยึดเป็นของรัฐบาลในที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นธนาคารเก่าแก่ และมีสายสัมพันธ์แน่นแผ้นกับกระทรวงการคลังญี่ปุ่น

มาซาโยชิ ซัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ของซอฟท์แบงก์ ประกาศว่าจะฟื้นกิจการของธนาคารแห่งนี้ให้ได้ โดยให้เหตุผลว่า การเข้าซื้อกิจการ NCB ก็ เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาอาณาจักรธุรกิจอินเทอร์เน็ตของตน เขามองว่าอาโอโซร่า และตลาดหุ้นแนสแดค เจแปน จะเป็นเสมือนกุญแจ ที่ช่วยแก้ปัญหาการระดมทุนให้กับธุรกิจเวนเจอร์ในญี่ปุ่น "ผมคิดว่าจะเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ถ้าไม่มีธุรกิจ 2 แห่งนี้ บริษัทกลุ่มหลักทรัพย์ของเราจะต้องเจออุปสรรคมากมายกว่าจะประสบความสำเร็จ" ซันกล่าว

ดังนั้น ซอฟท์แบงก์จึงเข้าถือหุ้น 49% ในอาโอโซร่า และกลายเป็นบริษัทแห่งแรก ที่ไม่ใช่ธุรกิจการเงินแต่เข้ามาวิ่งวุ่นในอุตสาหกรรมธนาคาร ที่กำลังซบเซาของญี่ปุ่น เป้าหมายก็ เพื่อแปลงโฉม NCB ที่ง่อนแง่นให้เป็นตัวหลักในการระดมทุนให้กับกิจการต่าง ๆ และฟื้นฟูธุรกิจลูกค้ารายย่อยของธนาคาร อย่างไรก็ดี แม้ว่าแบบจำลองของธุรกิจจะดูแล้วมีกำไร แต่การทำจริงไม่ใช่เรื่องง่ายเลย พนักงานชั้นหัวกะทิจำนวนมากของ NCB ลาออกจากธนาคารไปตั้งแต่เมื่อ 2 ปีเดือนก่อนหน้านี้ อันเป็นช่วง ที่ธนาคารประสบปัญหารุนแรง พวก ที่เหลืออยู่ก็เป็นคนที่เคยคุ้นกับวัฒนธรรมการทำงานแบบข้าราชการ คือ ใส่ใจแต่เฉพาะลูกค้าหน้าเดิม ๆ และไม่ค่อยชอบแสวงหาลูกค้าหน้าใหม่ ๆ ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก อีกทั้งอาโอโซร่าคงไม่อาจหันหน้าไปพึ่งซอฟท์แบงก์ ไฟแนนซ์ได้ แม้ว่าบริษัทจะคุยนักคุยหนาว่าเพียบพร้อมไปด้วยคนทำงาน ที่มีความเชี่ยวชาญสูง เพราะก่อนหน้านี้โยชิทากะ คิทาโอะ หัวหน้าซอฟท์แบงก์ ไฟแนนซ์ได้ออกมาวิจารณ์การตัดสินใจซื้ออาโอโซร่า แบงก์ของซันอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาน่าปวดหัวกว่านี้รออยู่ กล่าวคือ เครือข่ายธุรกิจรายย่อยของ NCB นั้น มีสำนักงานสาขาอยู่เพียง 17 แห่ง หลายแห่งในจำนวนนี้ตั้งอยู่ในย่าน ที่ไม่ใช่ทำเลทองของธุรกิจ ซันคิดทางออกไว้ว่าจะพยายามใช้ประโยชน์จากการทำธุรกรรมแบบออนไลน์ เช่น อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง แต่คู่แข่งรายใหญ่อย่างซิตี้แบงก์, ซูมิโตโม่ แบงก์, ซากูระ แบงก์ และซันวา แบงก์ ต่างก็ก้าวไปไกลในธุรกิจนี้แล้ว ปัญหาอีกข้อคือ กลุ่มหลักทรัพย์ ที่เป็นหุ้นกู้ของอาโอโซร่านั้น ประกอบด้วยธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ซึ่งเป็นภาคธุรกิจ ที่มียอดล้มละลายสูงที่สุดเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยต่อเนื่องในญี่ปุ่น เลวย้ายกว่านั้น ก็คือ ลูกหนี้ 32% ของ NCB นั้น เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่อีก 6% คือ ธุรกิจก่อสร้าง ก็รู้กันอยู่ว่า ธุรกิจทั้งสองเป็นธุรกิจ ที่ประสบปัญหามากที่สุดในญี่ปุ่น

ปัญหาการปล่อยกู้โดยไม่มีขีดจำกัดของ NCB ก็จะสร้างความน่าปวดหัวให้กับอาโอโซร่าไปอีกหลายปี ถึงแม้รัฐบาลญี่ปุ่นจะทุ่มเงินไปถึง 3.2 ล้านล้านเยน (30,000 ล้านดอลลาร์) เพื่อขจัดปัญหาเหล่านี้ไปบ้าง แต่ซอฟท์แบงก์ และคู่ค้าด้านการลงทุนอีกหลายแห่ง เช่น โอริกซ์ บริษัทลีสซิ่งของญี่ปุ่น ก็ตกลงกันว่าจะต้องใช้เงินอีก 1 แสนล้านเยนในการพื้นฟูฐานเงินทุนของธนาคาร ซึ่งเงินจำนวน 1,000 ล้านเยนจากทั้งหมดนี้ ได้ถูกใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมาจากการเปิดตัวของธนาคาร

ทาดาโย ฮอนม่า อดีตเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งชาติญี่ปุ่นผู้ได้รับความเชื่อถือสูง ได้รับคัดเลือกให้มาดำเนินกิจการธนาคาร โดยหวังว่าเขาจะสามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ และ เพื่อให้ทุกฝ่ายมั่นใจว่า ธนาคารจะมุ่งเป้า ที่การระดมทุนให้กับธุรกิจเวนเจอร์ของซอฟท์แบงก์ ทว่ากลับมีเหตุการณ์น่าเศร้าสลดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน ที่ผ่านมา ฮอนม่ากระทำอัตวิบาตกรรมด้วยการแขวนคอตัวเอง เพียงไม่ถึงเดือนหลังจาก ที่เข้ารับตำแหน่ง

ผ่านมาเดือนกว่า ยังไม่สามารถหาผู้มาทำหน้าที่นี้แทนได้ เอชเอสบีซี ซีเคียวริตี้กล่าวไว้ในรายงานการเสียชีวิตของฮอนม่าว่า "นี่ย่อมบ่งชี้ถึงแรงกดดันอันใหญ่หลวง ที่ฮอนม่าต้องแบกรับในการเชื่อมโยงสิ่งเก่า และสิ่งใหม่เข้าด้วยกันในประเทศญี่ปุ่น" ฮิเดยูกิ ไอซาว่า หัวหน้าคณะกรรมการฟื้นฟูด้านการเงิน ผู้ดูแลเรื่องการขาย NCB กล่าวกับผู้สื่อข่าวเมื่อเดือนตุลาคมว่า "คงไม่มีเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งชาติ หรือเจ้าหน้าที่รัฐบาลคนใดย้ายไปทำหน้าที่แทนฮอนม่าอีกแล้ว" ขณะที่ซันคุยว่า เขาวางแผนจะนำหุ้นของอาโอโซร่าเข้าจดทะเบียนในตลาดฯ ในอีก 5 ปีข้างหน้า แต่ก่อนอื่น ธนาคารแห่งใหม่นี้คงจะต้องฝ่าให้พ้นภาวะความไม่แน่นอน ที่ก่อตัวตั้งแต่ยังไม่เริ่มต้นให้ได้เสียก่อน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us