|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
การปรับตัววางยุทธศาสตร์ของสายการบินต้นทุนต่ำหรือโลว์คอสต์แอร์ไลน์ในช่วงต้นปี 2007 เริ่มเห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนมากขึ้นหลังจากทุกสายการบินเปิดให้บริการเส้นทางบินภายในประเทศมากว่า 3 ปี ล่าสุดทุกสายการบินอาทิ ไทยแอร์เอเชีย วัน-ทู-โก และนกแอร์ หลังจากมีการรับมอบเครื่องบินเพิ่มขึ้นในปี 2550 ศักยภาพความพร้อมที่บุกตลาดต่างประเทศก็มีเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ทุกสายการบินต้นทุนต่ำเริ่มเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศ
การเปิดให้บริการเส้นทางบินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศของแต่ละสายการบินต่างก็สร้างกลยุทธ์ที่เป็นจุดขายของตัวเองออกมา หวังกระตุ้นให้คนเดินทางกันมากขึ้น
ไทยแอร์เอเชีย ดูจะเป็นสายการบินเดียวที่ใช้กลยุทธ์เรื่องของราคามาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการมาจนถึงปัจจุบัน และด้วยกลยุทธ์เรื่องของราคานี่เองส่งผลให้ไทยแอร์เอเชียสามารถผลักดันเป้าหมายที่วางไว้กว่า 3 ล้านคนให้เป็นจริงได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
ขณะที่ วัน-ทู-โก เป็นอีกสายการบินหนึ่งที่ปฏิเสธมาโดยตลอดว่าจะไม่ยอมหยิบกลยุทธ์เรื่องของราคามาใช้อย่างเด็ดขาดเพราะมองว่าเป็นการทำตลาดที่ไม่ยั่งยืน ซึ่งในช่วงปีที่ผ่านมาจึงเห็นภาพ วัน-ทู-โก มีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หลายครั้งหลายหน จนกระทั่งล่าสุดก็ตัดสินใจนำเรื่องของราคาค่าตั๋วโดยสารราคาเดียวทุกที่นั่งทุกเส้นทางมาใช้ และประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ซึ่งนับว่าวัน-ทู-โก หยิบกลยุทธ์ใหม่มาใช้ได้ทุกจังหวะและเวลาพอดี
เมื่อวัน-ทู-โก ปรับแผนกลยุทธ์มาใช้ราคาเดียวในทุกที่นั่งทุกเส้นทางจนประสบความสำเร็จมาแล้ว... แน่นอนคงไม่หยุดการทำตลาดไว้เพียงเท่านี้ ล่าสุด การประกาศท้าชนของ อุดม ตันติประสงค์ชัย บิ๊กบอสของ บริษัท โอเรียนท์ไทย แอร์ไลน์ จำกัด หรือ วัน-ทู-โก กับสายการบินไทยแอร์เอเชียก็มีออกมาเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมา
การเปิดให้บริการเส้นทางบินระหว่างประเทศที่ไทยแอร์เอเชียมีอยู่ สายการบินวัน-ทู-โก ก็จะบินไปยังประเทศนั้น แม้แต่เส้นทางบินในประเทศไทยเองที่คาดว่าจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงในปี 2007 นี้อย่างแน่นอน
“ที่ตัดสินใจเปิดเส้นทางบินต่างประเทศ เพราะขณะนี้ความพร้อมของบริษัทฯมีเต็มที่ และเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับลูกค้าในการตัดสินใจเดินทางไปต่างประเทศ”อุดม กล่าว
นอกจากนั้นในส่วนของเส้นทางภายในประเทศไทยที่มีกระแสข่าวออกมาว่าการบินไทยจะมีการปรับแผนการตลาดใหม่ พร้อมกับปรับราคาตั๋วแข่งขันกับโลว์คอสต์ แอร์ไลน์และเตรียมพิจารณายกเลิกการบินในเส้นทางที่เปิดให้บริการแล้วขาดทุน โดยให้เป็นไปตามนโยบายที่ต้องการปรับภาพลักษณ์ด้านการบริการผู้โดยสารทุกระดับนั่นเอง
แน่นอน...ซีอีโอของวัน-ทู-โก ไม่รอช้ารีบฉวยโอกาสที่จะเข้าไปหารือกับการบินไทย เพื่อแจ้งให้ทราบถึงความสนใจที่จะเข้าไปบินในเส้นทางที่การบินไทยจะเลิกบินเนื่องจากไม่คุ้มทุนนั่นเอง
การเข้าไปเพื่อเจรจาขอเส้นทางบินที่การบินไทยจะเลิกให้บริการนั้น ว่ากันว่าเป็นแผนการดำเนินงานที่เตรียมขยายเส้นทางบินเพิ่มขึ้นหลังจากที่ วัน-ทู-โก จะรับมอบเครื่องบินใหม่อีกประมาณ 3-4 ลำในปี 2550
“บริษัทฯสามารถบินได้ในทุกเส้นทาง แต่ก็ต้องแล้วแต่ว่าการบินไทยจะเลิกโอนถ่ายเส้นทางใดให้กับสายการบินใด”อุดม กล่าว
เมื่อศักยภาพความพร้อมของวัน-ทู-โก มีเต็มพิกัด แน่นอนการสร้างเงื่อนไขภายใต้ความพร้อมของอุดมกับการบินไทยเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาก็คือ แผนค่อยๆทยอยถอนตัวออกไป เพื่อให้สายการบินใหม่ที่จะเข้าไปแทนได้สามารถบินทดแทนในเที่ยวที่การบินไทยลดลงไป ขณะเดียวกันให้การบินไทยช่วยขายตั๋วโดยสารในช่วงแรกๆด้วย ซึ่งจะเป็นผลดีมากกว่าการหยุดบินทันที เพราะผู้โดยสารจะค่อยๆปรับตัวได้
“เรื่องของราคาค่าตั๋วโดยสารราคาเดียวในทุกที่นั่งทุกเส้นทาง วัน-ทู-โก ยังคงใช้ต่อไป”อุดม บอกถึงกลยุทธ์ที่จะนำมาใช้กับเส้นทางบินภายในประเทศของปี 2007
จึงไม่แปลกสำหรับปี 2007 ที่จะเห็นการใช้กลยุทธ์เรื่องของราคามาแข่งขันกันของสายการบินต้นทุนต่ำหรือแม้แต่สายการบินไทยเองที่พยายามจะหามาตรการออกมาแก้ไขเรื่องของราคาให้มีส่วนใกล้เคียงกับโลว์คอตส์แอร์ไลน์ ซึ่งหากไม่เร่งปรับตัวก็จะทำให้ต้นทุนยิ่งพุ่งขึ้นสุง และด้วยเหตุผลที่มีการแข่งขันเรื่องของราคากันเพิ่มขึ้นอย่างนี้ สุดท้ายย่อมส่งผลกระทบกับ สายการบินไทยแอร์เอเชีย อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นสายการบินเดียวที่เน้นตัวเองว่าเป็นสายการบินเดียวที่มีราคาถูกที่สุด จำเป็นต้องเริ่มปรับกระบวนทัพด้านยุทธศาสตร์ใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2007 สายการบินไทยแอร์เอเชียตั้งเป้าใช้งบการตลาดกว่า 100 ล้านบาท เพื่อการโฆษณา ผ่านสื่อที่หลากหลาย รวมทั้งเปิดตัวแคมเปญใหม่ๆที่มีชื่อว่า “อะเมซิ่ง ไทย แอร์เอเชีย”นั่นหมายถึงตลอดทั้งปีหมูทองกลยุทธ์ใหม่ของไทยแอร์เอเชียจะถูกนำเสนอออกมาทุกรูปแบบเพียงเพื่อหวังกระตุ้นตลาดไม่ว่าจะเป็น อะเมซิ่งเดสสิเนชั่น,อะเมซิ่งโปรโมชั่น หรือแม้แต่ อะเมซิ่งแฟร์
สอดคล้องกับแผนการที่ ทัศพล แบเลเว็ลด์ ซีอีโอของไทยแอร์เอเชีย เคยประกาศไว้อย่างชัดเจนเมื่อปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ว่าจะพัฒนาในเรื่องของบริการใหม่ๆออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งล่าสุดมีการจัดกิจกรรมร่วมมือกับบริษัท มาสด้า เซลส์(ประเทศไทย)จำกัด ผู้จัดจำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อมาสด้า และ บริษัท แอลจี อีเล็กทรอนิคส์(ประเทศไทย จำกัด ผู้จัดจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าและมือถือยี่ห้อแอลจี จัดแคมเปญครั้งใหญ่ครบรอบ 3 ปี ของไทยแอร์เอเชีย ด้วยการชิงโชครางวัลกว่า 300 รางวัล มูลค่ากว่า 3 ล้านบาท โดยรางวัลใหญ่สุดคือ รถยนต์มาสด้า 3
การกระตุ้นให้คนอยากเดินทางด้วยกลยุทธ์อัดแคมเปญแบบนี้ในช่วงต้นปีใหม่ และก็จะมีแคมเปญแบบนี้ออกมาอีกอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่งผลให้ไทยแอร์เอเชียคาดหวังไว้ว่าจะมีผู้ใช้บริการเติบโตกว่า 50%ต่อปี นั่นหมายถึงว่าจำนวนผู้โดยสารที่จะเดินทางกับไทยแอร์เอเชีย จะมีเพิ่มขึ้นถึง 6 ล้านคน ขณะที่รายได้ถูกวางไว้ที่ประมาณกว่า 3,500 ล้านบาท
|
|
|
|
|