Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 มกราคม 2550
คอมพ์ไทยปี 50 ไปโลดซอฟต์แวร์+พีซี+โน้ตบุ๊กโตต่อ             
 


   
search resources

Computer




เอทีซีเอ็มระบุทิศทางปีหน้า 2550 คอมพ์ไทยยังไปโลด คาดตลาดรวมแตะ 1.6 แสนล้านบาท โตขึ้น 15% มุ่งเน้นโลคัลแบรนด์แกร่งสู้ต่างชาติ ส่วนอุตสาหกรรมดาวเด่น “ซอฟต์แวร์ ตลาดพีซีและโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ยังโตต่อเนื่อง

วิบูลย์ ว่องวีรชัยเดชา นายกสมาคมอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทย หรือเอทีซีเอ็ม กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทยในปี 2550 ว่า ในช่วงปี 2549 ที่ผ่านมา ตลาดไอทีของไทยยังถือว่ามีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 12.6% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 141,426 ล้านบาท ซอฟต์แวร์ถือเป็นกลุ่มที่มีอัตราการเติบโตสูงที่สุด รองลงมา เป็นกลุ่มฮาร์ดแวร์ บริการทางด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารข้อมูล ตามลำดับ

“ในปี 2550 ภาพตลาดไอทีโดยรวมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพิ่มขึ้นอีก 15% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 162,717 ล้านบาท โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของเศรษฐกิจที่มีการประเมินกันว่า จะขยายตัวอยู่ที่ 4-5% เป็นผลมาจากปัจจัยบวกด้านต่างๆ จากหลายประการ เช่น ความสามารถในการเบิกจ่ายงบลงทุนของภาครัฐบาล ราคาน้ำมันในประเทศมีเสถียรภาพมากกว่าปี 2549 ผนวกกับอัตราเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวลง และความเป็นไปได้ในนโยบายปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการใช้จ่ายซื้อสินค้ามากกว่าปีที่ผ่านมา รวมถึงการลงทุนสินทรัพย์ถาวรเพิ่มขึ้น

วิบูลย์ บอกอีกว่า การเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในด้านไอที ในปี 2550 จะมีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเพิ่มขึ้นเป็น 2.22% โดยกลุ่มที่มีการใช้จ่ายทางด้านไอทีสูง ได้แก่ กลุ่มธุรกิจสำนักงานขนาดเล็กและโฮมออฟฟิศ กลุ่มการศึกษา ส่วนราชการ ซึ่งน่าจะมีโครงการจัดซื้อเพิ่มขึ้นและกลุ่มโฮมยูส ซึ่งกลุ่มต่างๆ เหล่านี้จะมีกำลังการซื้อเติบโตเพิ่มขึ้นหลังจากที่สถานการณ์บ้านเมืองคลี่คลายและราคาน้ำมันปรับตัวลดลง

สำหรับการเติบโตของตลาดคอมพิวเตอร์ในประเทศไทยนั้น วิบูลย์มองว่า มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องและยังขยายตัวได้อีกประมาณ 8-10% และมียอดจำหน่าย 1.4-1.5 ล้านเครื่อง จากการสำรวจความต้องการซื้อสินค้าเทคโนโลยีของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ ช่วงเดือนสิงหาคม 2549 ที่ผ่านมาพบว่า ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ 8% ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กคอมพิวเตอร์ 56% ต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ 46%

“คาดว่า ราคาของเครื่องคอมพิวเตอร์จะปรับลดลง แม้ว่าชิ้นส่วนประกอบหลายชิ้นส่วนมีแนวโน้มปรับราคาเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่พยายามนำเสนอสินค้าที่มีราคาต่ำลงและตัดอุปกรณ์เสริมบางอย่างเพื่อลดต้นทุนและยอมรับกำไรต่อเครื่องลดลง ทั้งในกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเครื่องโน้ตบุ๊ก”

วิบูลย์ ยังบอกอีกว่า การปรับลดราคาเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นในกลุ่มผู้ผลิตคอมพิวเตอร์อินเตอร์แบรนด์ที่มีความได้เปรียบในด้านความแข็งแกร่งของตราสินค้าที่เป็นที่ยอมรับจากตลาดทั่วโลก พร้อมกับมีบริการหลังการขายที่ดีและมีการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะของแต่ละแบรนด์อยู่เสมอ ส่งผลให้การทำตลาดสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้มากด้วยการปรับราคาลงเพื่อเพิ่มยอดขาย และยังส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตคอมพิวเตอร์โลคัลแบรนด์ในปัจจุบันที่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ต้องเร่งปรับกลยุทธ์การแข่งขันเพิ่มขึ้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่เป็นโลคัลแบรนด์นั้นยังต้องมีการพัฒนาการยอมรับของตราสินค้า บริการหลังการขายและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับตลาดที่เติบโตเพิ่มขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us