Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 มกราคม 2550
"เอ็กซิมแบงก์"กรุยทาง "นกน้อย"เลือก "กิ่งไม้"สร้างโอกาสนักลงทุนขวัญอ่อนหาผลตอบแทน             
 


   
search resources

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
Investment




"นกน้อย"เลือกกิ่งไม้ที่จะเกาะได้ ก็เปรียบเหมือนนักลงทุนที่สามารถเลือกประเทศที่อยากเข้าไปลงทุนได้เช่นกัน เหตุผลสำคัญคือการเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน หลังจากกี่ลงทุนในประเทศมีต้นทุนสูงขึ้น การย้ายถิ่นฐานจึงเป็นกลยุทธ์หนึ่งที่ทำให้ต้นทุนต่ำลง ผู้ประกอบการไทยเองก็มองเห็นโอกาสดังกล่าวเช่นกัน หากแต่ยังขวัญอ่อนเกินไปหากเทียบกับผู้ลงทุนอื่นในโลกนี้ จนอาจนำมาสู่การสูญเสียโอกาสอันดี ทำให้ "ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย" (เอ็กซิมแบงก์) ต้องออกโรงเข้ามาเพิ่มความมั่นใจด้วยบริการ "ประกันความเสี่ยง"ให้นักลงทุนไทยในต่างประเทศเป็นนกที่กล้าลงเกาะกิ่งไม้

ปัจจุบันไม่เพียงแต่ "เอ็กซิมแบงก์"หนุนผู้ประกอบการไทยไปลงทุนต่างประเทศเพิ่มขึ้นเท่านั้น หากแต่ผู้ประกอบการไทยเอง...ก็มีความต้องการย้ายถิ่นฐานการผลิตสู่ต่างประเทศเช่นกัน

ไม่ใช่เพราะประเทศไทยมีความเสี่ยงทางการเมืองสูงจนนักลงทุนขาดความมั่นใจ หากแต่ปัจจัยหลักมาจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าแรงงานที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังพัฒนา รวมถึงแหล่งของวัตถุดิบที่ป้อนไม่ทันกำลังการผลิต เป็นต้น

ณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการบริหาร เอ็กซิมแบงก์ นักลงทุนไทยจำนวนมากเริ่มให้ความสนใจลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายฐานผลิต โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงอุดมสมบูรณ์ และต้นทุนแรงงานที่ต่ำ ปัจจัยดังกล่าวถือว่าล่อตาล่อในนักลงทุนไทยไม่น้อย หากแต่สถานการณ์ของประเทศเพื่อนบ้านนั้นกลับทำให้ต้องหวนกลับมาคิดหนักว่าคุ้มหรือไม่ที่เข้าไปลงทุน

ซึ่งจังหวะการชั่งใจอยู่นั้นอาจทำให้เสียโอกาสดี ๆ ไปก็ได้ โดยเฉพาะกับคู่แข่งทางการค้าที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนต่างประเทศไม่น้อย และถ้าการก้าวย่างของผู้ประกอบการไทยช้ากว่าก็อาจเสียเปรียบคู่แข่งได้

ณรงค์ชัย เปรียบนักลงทุนเป็นนก ส่วนประเทศนั้นคือต้นไม้ เมื่อต้นไม้ไม่อาจเลือกนก ประเทศไม่อาจปฏิเสธนักลงทุน ใครเข้ามาก่อนย่อมมีโอกาสก่อน

หากแต่นักลงทุนไทยยังมีอาการปอด ๆ กับเหตุการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง และนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ เพราะใครจะรู้ได้ว่าลงทุนอยู่ดีๆ วันนี้บริษัทเป็นของคนไทยพรุ้งนี้อาจกลายเป็นอื่นแล้วก็ได้ หรือเรื่องของสัมปทานที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามนโยบายรัฐ นี่คือความเสี่ยงที่เกิดขึ้น

"ระบบการเมืองการปกครอง กฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมในประเทศนั้นๆ อาจแผงฤทธิ์เดชกระทบต่อผู้ประกอบการไทยที่ไปลงทุน และกล่าวได้ว่าความเสี่ยงทางการเมืองเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้นักลงทุนบางส่วนชะลดการลงทุน ซึ่งบางครั้งนั้นอาจหมายถึงโอกาสที่หลุดลอยของผู้ประกอบการไทยก็เป็นได้"

โอกาสที่อาจหลุดลอยหากผู้ประกอบการไทยมัวชั่งใจหรือลังเลอยู่นานนั้นคือ ผลตอบแทน เนื่องเพราะประเทศเกิดใหม่นั้นจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าด้วยต้นทุนแรงงานวัตถุดิบที่ต่ำกว่า ดังนั้นจึงไม่ใช่ในเรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้น หากแต่ต้นทุนการทำธุรกิจก็จะลงด้วย

ด้วยเหตุนี้ เอ็กซิมแบงก์ ถึงเริ่มให้การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปลงทุนต่างประเทศ ที่สำคัญกว่านั้น การนำเงินออกไปลงทุนต่างประทศจะช่วงลดแรงกดันค่าบาทที่แข็งขึ้นได้ด้วย รวมถึงยังเป็นการนำส่งรายได้เข้าประเทศ ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้ประโยชน์ในแง่ของรายได้การส่งออกและการจ้างงาน

อภิชัย บุญธีรวร กรรมการผู้จัดการ บอกว่า เพราะความกังวลของนักลงทุนไทยที่จะย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านนั้น ทำให้ เอ็กซิมแบงก์ อยากเพิ่มความมั่นใจในการลงทุนด้วยการให้บริการ "ประกันความเสี่ยงการลงทุน"

เงื่อนไขที่จะทำประกันความเสี่ยงได้คือ จะต้องลูกค้าของเอ็กซิมแบงก์ เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ทำโครงการไม่ผิดกฎหมายไทย เป็นธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ โดยหากต้องการไปลงทุนต่างประเทศก็สามารถซื้อความเสี่ยงได้ซึ่งมีอยู่ 4 ประเภท คือ ประกันความเสี่ยงการจำกัดเงินโอน เงินเข้าออก การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา กรณีที่เมื่อนำเงินเข้าไปลงทุนต่างประเทศแล้วรัฐบาลประเทศดังกล่าวเปลี่ยนนโยบายห้ามนำเงินออกนอกอาณาเขต ธนาคารก็จะให้ความคุ้มครองในเรื่องนี้

ประกันความเสี่ยงจากการเวนคืนและยึดกิจการ ประกันความเสี่ยงจากสงครามและความรุนแรงทางการเมืองที่อาจมีผลเสียหายต่อทรัพย์สิน และสุดท้ายประกันความเสี่ยงจากรัฐบาลที่ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนไม่ปฏิบัติตามสัญญา สัมปทานเปลี่ยนแปลงไม่ทำตามสัญญาที่ระบุไว้

"เอ็กซิมแบงก์ให้บริการประกันความเสี่ยงทั้ง 4 รูปแบบ อยู่ที่ผู้ประกอบการจะซื้อความเสี่ยงในประเภท หรือว่าต้องการซื้อความคุ้มครองทั้งหมดก็ได้ ซึ่งเบี้ยประกันของแต่ละแบบประกันภัยก็จะแตกต่างกัน ซึ่งการคิดเบี้ยประกันภัยส่วนหนึ่งนั้นจะดูความเสี่ยงของประเทศที่จะเข้าไปลงทุน โดยประเทศที่มีความเสี่ยงมากเบี้ยประกันก็ต้องสูงกว่าประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำ ตามหลักประกันภัย"

เรทติ้งการจัดความเสี่ยงของแต่ละประเทศมีตั้งแต่ระดับศูนย์สูงสุดที่ระดับ 7 ซึ่งจัดอันดับโดยกลุ่มประเทศโออีซีดี เบี้ยประกันขั้นต่ำจะอยู่ที่ 1.75%ของวงเงินลงทุน และสูงสุดจะอยู่ที่ 4.3%ของวงเงินลงทุน โดยให้ความคุ้มครองสูงสุด 90% ของมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยมีระยะเวลาคุ้มครองนาน 3-15ปี

ส่วนถามว่า เอ็กซิมแบงก์ จะขาดทุนกับบริการนี้หรือไม่นั้น อภิชัย บอกว่า แบงก์ก็มีการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยทำร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และดูด้วยว่าแบงก์สามารถรับความเสี่ยงได้มากแค่ไหน ถ้านอกเกินกำลังก็จะมีการขายความเสี่ยงไปยังบริษัทประกันภัยต่อด้วย

"แม้เราจะเป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ แต่เราก็ทำธุรกิจดังนั้นคงจะเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องดูแลตัวเองไม่ให้ขาดทุนเช่นกัน"

ส่วนการปล่อยสินเชื่อเพื่อลงทุนต่างประเทศของเอ็กซิมแบงก์ในปี 2549 ขยายตัว 30% เมื่อเทียบกับปีก่อนมียอดสินเชื่อ 2.8หมื่นล้านบาท ของพอร์ตสินเชื่อรวม 7 หมื่นล้านบาท ด้านหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลนั้น ถือว่าดีสำหรับสินเชื่อเพื่อลงทุนต่างประเทศ เพราะแทบจะไม่มีเลยทำให้

เอ็กซิมแบงก์ต้องการที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการไทยไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้นเนื่องจากปัจจุบันไม่เพียงผู้ประกอบการไทยเท่านั้นที่ต้องการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ ทั่วโลกเองก็ต้องการเข้าไปลงทุนในประเทศเกิดใหม่เช่นกัน เพราะต้นทุนต่ำแต่ผลตอบแทนสูง

ความลังเลมากเกินไปอาจนำมาสู่การเสียโอกาส หากแต่เมื่อต้องตัดสินใจ ข้อมูลคือสิ่งสำคัญของการพิจารณา และควรทำอย่างถี่ถ้วน เพราะอย่าลืมว่า "นก" เลือกที่จะเกาะ "ต้นไม้"ได้ ต้นไหนงามก็บินถลาล่อนลงเกาะก่อนที่ "นก"สายพันธ์อื่นแย่งไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us