"ปี 2536 ตลาดหุ้นเอเชียน่าลงทุนระยะยาวมากๆ ขณะที่ในยุโรปบางประเทศ
เช่น อังกฤษ หุ้นที่ค้าขายเข้าสหรัฐฯ น่าลงทุนมากที่สุด ส่วนญี่ปุ่นยังไม่แน่นอน
ขณะที่เม็กซิโกในละตินอเมริกาดูดีที่สุด
จากความวุ่นวายเรื่อง Scandal ในตลาดหุ้นของไทยเมื่อเร็วๆ นี้ คงทำให้นักลงทุนบางส่วน
เกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในตลาดหุ้นเมืองไทย และอยากไปลงทุนในตลาดต่างประเทศมากขึ้น
แต่ติดขัดในเรื่องของข่าวสารข้อมูลที่จะนำมาช่วยในการตัดสินใจ ดังนั้นเราลองมาพิจารณาดูว่าประเทศไหนที่น่าลงทุนบ้างโดยดูจาก
Fund Manager ที่มีชื่อเสียงในตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาว่าเขามีความเห็นต่อตลาดต่างประเทศอย่างไรบ้าง
ในปีที่ผ่านมานักลงทุนชาวอเมริกันรวมทั้งพวกสถาบันทางการเงินได้ลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศถึง
35,000 ล้านเหรีญญสหรัฐ ซึ่งมากกว่าในปี 1989 ถึง 3 เท่าตัว ทั้งนี้เพราะเหตุง่ายๆ
ว่า ตลาดหุ้นต่างประเทศให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าจากการจัดอันดับตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่จำนวน
18 ตลาดของ Morgan Stanley ที่มีฐานข้อมูลที่บันทึกมาเป็นเวลา 10 ปีจนกระทั่งถึงเดือนสิงหาคม
1992 พบว่าตลาดหุ้นที่มีผลตอบแทนรวมสูงสุดรวมเงินปันผลที่นำกลับมาลงทุน (Reinvested
Dividnd) อันดับ 1 คือ เบลเยียม ด้วยผลตอบแทนถึง 1,080% ตามมาด้วยเนเธอร์แลนด์
781% และฝรั่งเศส 671% ในขณะที่อเมริกาอยู่ในอันดับที่ 12 และไม่ได้อยู่ในอันดับต้นๆ
มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว
การกระจายการลงทุนในต่างประเทศนั้นเป็นการลดความเสี่ยงเนื่องจากสภาวะตลาดโลกจะส่งผลกระทบต่อแต่ละตลาดไม่เหมือนกันเสมอไป
John Bolsover ผู้จัดการกองทุน Baring ในลอนดอน ซึ่งดูแลกองทุนที่มีมูลค่ากว่า
34,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้กล่าวว่า "มันไม่มีอะไรซับซ้อนไปกว่า ทฤษฎีอย่านำไข่ทั้งหมดใส่ในตะกร้าใบเดียวกัน"
ดังเช่นในปี 1987 ที่มี crash พบว่าตลาดอเมริกามีผลตอบแทน 3% ซึ่งต่ำกว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลประเภท
3 เดือน ในขณะที่เยอรมนีมีผลตอบแทนติดลบ 25% ส่วนอังกฤษมีผลตอบแทนเพิ่มขึ้น
35%
ปัจจุบันมีกองทุนมากกว่า 200 กองทุนของอเมริกาที่ลงทุนในหุ้นต่างประเทศซึ่งเพิ่มเป็นจำนวน
3 เท่าของเมื่อห้าปีที่แล้ว โดย 65 กองทุนลงทุนในตลาดต่างๆ ทั่วโลก, 85 กองทุน
ลงทุนในที่ต่างๆ ยกเว้นในอเมริกา, 45 กองทุนจะเลือกลงทุนเฉพาะแห่ง เช่น กลุ่มประเทศ
Pacific Rim หรือละตินอเมริกา และ 40 กองทุนที่เลือกลงทุนในประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะนอกจากนี้
ยังมีหุ้นของบริษัทต่างประเทศซื้อขายผ่าน Americans Depositary Receipts
(ADRs) ซึ่ง Fund Manager ที่มีชื่อเสียง New York Stock Market ได้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ในประเทศต่างๆ
ดังนี้
ยุโรป
ตลาดหุ้นในยุโรปมีบริษัทที่มีส่วนร่วมในการแข่งขันในตลาดโลกเป็นจำนวนมาก
ซึ่งหุ้นของบริษัทเหล่านี้มีราคาที่ถูกกว่าหุ้นของบริษัทคู่แข่งที่มาจากอเมริกาโดยที่ค่า
P/E Ratio ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในยุโรปจะอยู่ระหว่าง 13-15 เท่า ในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาจะมี
P/E มากกว่า 20 และผลตอบแทนจากเงินปันผลโดยเฉลี่ยจะสูงกว่าของในอเมริกา 50%
แต่ตลาดนี้มีปัญหาที่สำคัญคือเรื่องปัญหาเศรษฐกิจของยุโรปที่มีการเจริญเติบโตอย่างเฉื่อยชาการขาดดุลงบประมาณที่เพิ่มขึ้น
อัตราคนว่างงานที่สูงขึ้น แต่สำหรับในขณะนี้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดคือ การที่เยอรมนีมีการตั้งอัตราดอกเบี้ยให้สูง
เพื่อต่อสู้ภาวะเงินเฟ้ออันเกิดจากการใช้เงินจำนวนมากในการรวมประเทศ ซึ่งนโยบายนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อการรวมเศรษฐกิจและการเมืองในยุโรป
รวมถึงการผูกมัดอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ที่ทำให้ประเทศอื่นต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่สูงไว้ด้วย
ซึ่งผลกระทบที่ตามมาก็คือ การขาดความคล่องตัวของระบบเศรษฐกิจ
แต่เมื่อสภาวการณ์เลวร้ายลงในเดือนกันยายน อังกฤษ อิตาลี และประเทศอื่น
จึงจำเป็นจะต้องลดอัตราดอกเบี้ยและปล่อยให้ค่าเงินของตัวเองลดลงแม้กระทั่งเยอรมนีเอง
ก็ต้องค่อยๆ ลดอัตราดอกเบี้ยของตัวเองในเดือนต่อมา Alastair Ross Goobey
หัวหน้าส่วนการวิเคราะห์ของ James Capel ในลอนดอนทำนายว่าธนาคารกลางของเยอรมนีจะค่อยๆ
ลดอัตราดอเบี้ยเป็นขั้นๆ ละ 1-1.5% ในต้นปี 1993 ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้หุ้นมีราคาสูงขึ้นแต่นักลงทุนจากอเมริกาจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
เนื่องจากการลดอัตราดอเบี้ยจะทำให้ค่าเงินตราสกุลยุโรปอ่อนตัวลง ซึ่งเมื่อปีที่แล้วค่าเงินตราสกุลยุโรปเพิ่งมีค่าสูงสุดในประวัติศาสตร์
เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ทางแก้ไขคือทำการซื้อขายเงินดอลลาร์ผ่านตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราล่วงหน้า
ส่วนการลงทุนโดยตรงในหุ้นนั้นอาจใช้วิธีซื้อหุ้นของผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ไปอเมริกาที่จะได้รับประโยชน์จากการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้น
Alan Rubenstein กรรมการของ Barclays Zoete Wedd Investment Management ในลอนดอนแนะนำหุ้นที่จะได้รับผลในทางบวกคือ
Rollsroyce ซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ไอพ่น (รถยนต์ผลิตโดย Vickers) เขาคิดว่าการที่ค่าเงินดอลลาร์แข็งตัวขึ้นจะช่วยให้บริษัทนี้ได้เปรียบคู่แข่งในอเมริกาอย่าง
General Electric และ Pratt & Whitney ซึ่ง Rolls มีคำสั่งซื้อเครื่องยนต์
400 เครื่องในแต่ละปีเป็นเวลาสองปีอยู่ในมือ Rubenstien เชื่อว่าหุ้นของบริษัทนี้ซึ่งมีขายในรูป
ADRs มีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น มีราคาขายสูงกว่าแล้วรายได้ประมาณการในปี 1993
สิบสามเท่า
บริษัทยาก็เป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ไปยังอเมริกา ซึ่งมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับคู่แข่งในอเมริกา
John Horseman จาก Global Asset Management ในลอนดอน แนะนำหุ้นของ Astra
จาก Sweden ซึ่งมีรายได้ที่สูงขึ้นถึง 40% จากยา Losec ที่เป็นยาแก้โรคกระเพาะอาหาร
และยังมี Roche และ Sandoz จาก Swiss ซึ่งเพิ่งเปิดตัวในรูป ADRs
ญี่ปุ่น
เป็นตลาดที่นักวิเคราะห์มีความเห็นขัดแย้งคือ Barton Biggs นักวิเคราะห์ของ
Morgan Stanley แนะนำให้หลีกเลี่ยงแต่ Kennenth W.Anderson กรรมการผู้จัดการของ
J.P.Morgan Investment Management แนะนำว่าตลาดอยู่ในภาวะกระทิง ซึ่งจากการคาดการณ์ของ
OECD รายงานว่าญี่ปุ่นจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 1992 เพียง 1.8%
จากระดับ 4.5% ในปีก่อนและมูลค่าเกินดุลการค้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 125,000 ล้านดอลลาร์จาก
103,000 ล้านดอลลาร์ในปี 1991
Biggs ไม่เห็นด้วยกับการที่รัฐบาลญี่ปุ่นอัดฉีดเงินจำนวน 86,000 ล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปในตลาดหุ้นในเดือนสิงหาคมอันมีสาเหตุมาจากการที่ตลาดหุ้นของญี่ปุ่นลดลงอย่างช้าๆ
เป็นเวลากว่าหกปีแล้ว
เขาคิดว่าความพยายามที่จะช่วยเหลือของรัฐบาลจะไม่ประสบผลสำเร็จและดัชนี
Nikkei ซึ่งเป็นปรอทวัดตลาดของญี่ปุ่น มีค่าอยู่สูงเกินไปทั้งๆ ที่ธนาคารในญี่ปุ่นประสบปัญหากับการปล่อยเงินกู้จำนวนหลายพันล้านดอลลาร์ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ในการประมาณการของเขาราคาของตลาดเมื่อเร็วๆ นี้เป็น 50 เท่าของรายได้ในงบประมาณการเงินประจำปีที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม
ซึ่งเขาคิดว่ามันมีราคาสูงเกินไปและดัชนี Nikkei น่าจะลงมาต่ำกว่า 14,000
จุด
ส่วนความเห็นในด้านที่ดีของ Anderson มีพื้นฐานมาจากที่ Price-to Cash
Flow ของตลาดเพิ่มเป็น 8.5 เท่า และ Price-to-Book Value เพิ่มเป็น 1.9 เท่า
ซึ่งยังอยู่ต่ำกว่าระดับของอเมริกา บัญชีงบประมาณของญี่ปุ่นความเป็นหนึ่งเดียวในอุตสาหกรรมใหญ่ๆ
ของญี่ปุ่น ประชาชนซึ่งมีชัวโมงการทำงานมากกว่าของอเมริกาและเยอรมนี ประกอบกับอัตราการเก็บออมของประชาชนที่ระดับ
15% ซึ่งสูงกว่าเกือบสามเท่าของอเมริกา
ถ้าหากต้องการจะลงทุนโดยตรง Fund Manager แนะนำว่าควรจะซื้อหุ้น Blue Chip
ของบริษัทส่งออกรายใหญ่ของญี่ปุ่นที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น Canon, Sony,
Matsusushita และ Hitachi หุ้นทั้งหมดนี้มีจำหน่ายในรูปของ ADRs ซึ่งในขณะที่เศรษฐกิจโลกตกต่ำ
บริษัทเหล่านี้สามารถรับมือกับการแข่งขันเพิ่มขึ้นได้อย่างดีอันเนื่องมาจากการลงทุนค้นคว้าและวิจัยอย่างหนัก
การลดต้นทุนรวมถึงราคาที่ถูกต้องตามตลาด P/E ซึ่งตกต่ำกว่า 20 และ Price-to-Cash
Flow Ratio ต่ำกว่า 7 และขายในราคาที่ต่ำกว่าหรือใกล้เคียง Book value
เอเชีย
Hieth Brown ประธานของ Lon Don-Based Worldinvest ผู้ซึ่งลงทุนในหุ้นกลุ่ม
Blue Chip จำนวน 4 พันล้านดอลลาร์เคยกล่าวไว้ว่า "ถ้าเขาต้องลงทุนในที่ที่หนึ่งเป็นเวลา
10 ปี โดยไม่ต้องกลับมาดูแลเลย เอเชียเป็นที่ที่เหมาะสมที่สุด" ผู้เชี่ยวชาญทางการลงทุนมองว่าประเทศคู่แข่
ขันในแถบนี้ คือเกาหลี,ไต้หวัน, ฮ่องกง, สิงคโปร์, ไทย และมาเลเซีย ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
(GDP) โดยเฉลี่ยถึง 7% เป็นเวลาติดต่อกันมา 3 ปี และมีการคาดการณ์ว่าในปี
1992 และ 1993 จะยังคงรักษาระดับไว้ได้อีก ซึ่งการที่ประเทศเหล่านี้ทำได้เพราะปรัชญาในการทำงานหนัก
ประชากรที่มีอายุน้อย, ความผูกพันในครอบครัว, การสนับสนุนของรัฐบาลต่ออุตสาหกรรมภายในประเทศ
นอกจากนี้นักลงทุนอเมริกันยังได้รับผลดีจากการที่อัตราแลกเปลี่ยน จะอิงกับกับเงินดอลลาร์มากดังนั้นถ้าค่าเงินดอลลาร์แข็งขึ้นก็จะได้ประโยชน์เพิ่มขึ้นอีก
แต่ถ้าพิจารณาแต่ละตลาดจะพบว่าตลาดพวกนี้มีความอ่อนไหวสูงแต่ถ้าดูเป็นกลุ่มประเทศแล้วจะมีความน่าสนใจมาก
นอกจากนี้ถ้าเราสนใจที่จะลงทุนในประเทศไหนเป็นพิเศษแล้วเราก็ยังสามารถลงทุนในรูปกองทุนแบบปิด
(Closed-End-Funds) ที่นำไปจดทะเบียนตลาดหุ้นนิวยอร์กได้
ฮ่องกงเป็นประเทศหนึ่งที่น่าสนใจในแง่ที่เป็นประตูเศรษฐกิจที่เปิดเข้าสู่ตลาดจีนได้
แต่ในปัจจุบันระดับราคาได้เพิ่มขึ้นราว 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับ 1989 ดังนั้นจึงมีตลาดอื่นน่าที่จะสนใจกว่า
แต่จากสงครามทางการทูตที่ยืดเยื้อระหว่างจีนกับอังกฤษในเรื่องอนาคตของเกาะฮ่องกงหลังปี
1997 คาดว่าดัชนีอาจดิ่งถึงระดับ 4,480 จุดได้ บางคนก็มองไปที่ตลาดเกาหลีซึ่งระดับราคามีการลดลงมา
50% จากช่วงที่เคยขึ้นไปสูง
ประเทศที่มีการขยายตัวสูงในช่วงหลังก็คือไทยและอินเดีย ซึ่งช่วงต้นปี 1992
ระดับราคามีการปรับตัวลงมาเพราะไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่เหตุการณ์ในปัจจุบันดีขึ้นมากแล้วและระดับราคายังค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ
คือซื้อขายกัน ณ P/E 15-16 เท่า ส่วนอินเดียนั้นจากข่าวเกี่ยวกับ Scandal
ทำให้นักลงทุนขาดความมั่นใจส่งผลให้เข้มงวดขึ้น ที่ไม่น่าละเลยอีกแห่งคือ
อินโดนีเซีย ระดับราคาปัจจุบันอยู่ที่ P/E 16 เท่า
ละตินอเมริกา
จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจทำให้สภาพตลาดหุ้นมีการเก็งกำไรสูงโดยปี
1991 ราคาหุ้นมีอัตราเพิ่มขึ้นในรูปเงินดอลลาร์ 403% ในอาร์เจนตินา, 169%
ในบราซิล, 120% ในเม็กซิโก และ 105% ในชิลี ซึ่งอัตราการเพิ่มขึ้นนี้เร็วมากเพราะในขณะที่เอเชียใช้เวลาในการเปลี่ยนแปลงถึง
10 ปี แต่ละตินอเมริกาใช้เวลาเพียง 18 เดือนเท่านั้น แต่นักลงทุนส่วนมากเชื่อมั่นในตลาดเม็กซิโกเพราะเป็นประเทศที่อยู่ใกล้ชิดกับอเมริกาและการพัฒนาทางด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจมากกว่าแห่งอื่น
ดังนั้นอนาคตของตลาดหุ้นในเม็กซิโก ยังดูมีความแจ่มใสกว่าที่อื่น ถึงแม้หุ้นจะเพิ่งมีราคาลดลงจากข้อสันนิษฐานที่ว่าถ้าหาก
Bill Clinton ได้รับเลือกเขาจะยกเลิกเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) แต่ราคาหุ้นก็ยังดูสมเหตุสมผลคือมีราคาเป็น
11 เท่าของรายได้ และนักวิจัยก็ยังคงเชื่อมั่นว่า Clinton จะยังคงรูปแบบบางประการของ
NAFTA ไว้ อีกประการหนึ่งนักวิจัยประมาณว่ากำไรของบริษัทต่างๆ จะเพิ่มขึ้นจาก
20% เป็น 25% ในแต่ละปีเป็นเวลาสองปี
ส่วนบราซิลซึ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีของบราซิลได้ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนร่วมในการคอร์รัปชั่น
และได้เริ่มกระบวนการสอบสวนขึ้นแล้วทำให้ตลาดหุ้นตกลงอย่างมาก Barton Biggs
เชื่อว่าวิกฤติการณ์ทางการเมืองครั้งนี้ทำให้เกิดโอกาสที่ดีในการเข้าช้อนซื้อ
เพราะหุ้นมีราคาลดลงถึง 50% ในขณะที่หุ้นบลูชิปบางตัวมีราคาเพียงหกเท่าของกำไรที่ประมาณการของปี
1992
แคนาดา, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์
ชื่อของสามประเทศนี้คงทำให้นักลงทุนหลายคนนึกถึงปัญหาเงินเฟ้อในทศวรรษที่
80 แต่ในปัจจุบันประเทศเหล่านี้เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดในโลก
อย่างไรก้ตาม สภาพเศรษฐกิจที่มีการตกต่ำเล็กน้อยส่งผลให้ตลาดหุ้นมีราคาที่ลดลง
Gary Brinson ประธานของ Brinson Partners ใน ชิคาโก เห็นว่าตลาดนี้ยังสามารถทำกำไรได้
เขาเห็นว่ารายได้ของทั้งสามประเทศนี้ในปีที่แล้วเพิ่มขึ้นประมาณ 15% โดยเกิดจากการลดต้นทุนทำให้ส่วนต่างกำไรมากขึ้น
จากการคาดการณ์ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD)
กล่าวว่าแคนาดาจะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจราว 2.3% ในปี 1992 และ 4.3%
ในปีต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการภายในประเทศยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากอัตราการว่างงานที่ยังสูงมาก
และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จะขึ้นอยู่กับการส่งสินค้าออกไปยังสหรัฐฯ