Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์8 มกราคม 2550
ส่องกล้องปีกุนตลาดทุนไทย             
 


   
search resources

Economics
Stock Exchange




สำหรับเศรษฐกิจปีกุน 2550 ปีที่หลายๆคนมองแล้วว่าอาจจะไม่หวานหมูนัก เพราะเม็ดเงินของนักลงทุนต่างประเทศก็ยังกล้าๆกลัวๆ เป็นความผูกพันอันเปราะบางที่อาจจางหายได้ในทุกเมื่อ อย่างน้อยก็คงน่าจะดีกว่าในปีที่ผ่านมา โดยหากประเมินตามวงรอบวัฎจักรเศรษฐกิจก็เชื่อได้ว่าจะอยู่ในช่วงปลายขาลงต้นขาขึ้น แต่ไม่ว่าคุณจะพร้อมหรือไม่ ขณะนี้มันได้มาเยือนคุณแล้ว และนี่คือมุมมองภาพรวมของผู้คร่ำหวอดในแวดวงการเงิน ตลาดทุน ที่จะทำให้ได้เห็นภาพรวมตลอดปี

ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์เอเชีย พลัส (ASP) กล่าวถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ว่า สิ่งที่จะต้องจับตามองก็คือการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯจะเป็นไปในลักษณะใดหลังปรากฏตัวเลขที่ถือว่าน่ากังวลเกี่ยวกับการเติบโตทางด้านอสังหาริมทรัพย์และตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆได้ปรับตัวลดลงหลังราคาที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างรุนแรงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยมีสัดส่วนเพิ่งพาการส่งออกสูงถึง 67% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) ประเทศซึ่งเป็นสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก จะต้องได้รับผลกระทบที่ชัดเจนหากผู้ซื้อรายใหญ่ของโลกอย่างสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับภาวะที่ชะลอตัวลดลง บวกกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตาม เพราะปัจจุบันสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันของประเทศไทยสูงถึง 9% ของ GDP ประเทศ

ด้านค่าเงินบาทแม้ว่าโอกาสที่จะแข็งค่าต่อเนื่องจากปัจจุบันจะยังมีแต่ยังประเมินไม่ได้ว่าจะปรับตัวแข็งค่ามากน้อยเพียงไร โดยปัจจุบันหากพิจารณาถึงเงินสำรองระหว่างประเทศของประเทศต่างๆ ทั่วโลก พบว่าอยู่ในรูปของสกุลดอลลาร์ถึง 68% สกุลยูโรถึง 25% และสกุลเยน 5%

สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในปีหน้าดัชนีมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 667-889 จุด โดยมีอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น(P/E) อยู่ในระดับ 9-12 เท่า ขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้นเฉลี่ยของตลาดเติบโตประมาณ 4.95% โดยหุ้นในกลุ่มไอซีทีเติบโตสูงสุดประมาณ 36% อิเล็กทรอนิกส์ 30%เกษตร 27% ธนาคารพาณิชย์ 6% บริษัทหลักทรัพย์ 4% ขณะที่กลุ่มพลังงานติดลบ 1% โดยหุ้นที่น่าลงทุนปีหน้าคือ หุ้นที่เกี่ยวกับโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ค้าส่งค้าปลีก ธนาคารพาณิชย์และการแพทย์

สำหรับหุ้นเด่นที่แนะนำให้ซื้อในปีหน้า ประกอบด้วย บมจ.ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) มีราคาเป้าหมายที่ 83.60บาท ,บมจ.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา(BAY) มีราคาเป้าหมายที่ 23.80 บาท ,บมจ.ชิโน-ไทย เอนจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น(STEC) ราคาเป้าหมาย 7.26 บาท ,บมจ.ซีฟโก้ (SEAFCO) ราคาเป้าหมาย 9.08 บาท ,บมจ.จี สตีล(GSTEEL) ราคาเป้าหมาย 1.33 บาท ,บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (BECL) ราคาเป้าหมาย 30บาท ,บมจ. ผลิตไฟฟ้า ( EGCOMP) ราคาเป้าหมาย 108 บาท, บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี (RATCH)ราคาเป้าหมาย 51.41 บาท, บมจ.โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ (HMPRO)ราคาเป้าหมาย 6.80 บาท, บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตส(PS) ราคาเป้าหมาย 8.37 บาท

โดยหุ้นที่คาดว่าจะโดดเด่นมากในปี 50 ได้แก่ กลุ่มธุรกิจการแพทย์ หุ้นเด่นแนะนำ บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎ์ (BH)ราคาเป้าหมาย 46.75 บาท เนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงจากค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยที่เพิ่มขึ้น รวมถึงรายได้ต่อหัวผู้ป่วยต่างชาติที่ขยายตัว

ทั้งนี้ กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตเหนือภาวะตลาดหลักทรัพย์โดยรวมช่วงปีหน้า ประกอบด้วย กลุ่มโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ทั้งไฟฟ้า ทางด่วน ขนส่งทรัพยากรน้ำ กลุ่มภาคก่อสร้าง โดยเฉพาะฐานรากและผู้ที่มีประสบการณ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้ากลุ่มสินค้าอุปโภค

"ปีหน้าตลาดหุ้นยังเป็นทางเลือกที่นักลงทุนคาดหวังให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ และคาดว่าจากอัตราดอกเบี้ยและน้ำมันที่ทรงตัวถึงขั้นลดลงทำให้เงินเฟ้อปีหน้าจะต่ำกว่า 4.5% จากปีนี้ ซึ่งมีผลกระตุ้นเศรษฐกิจและตลาดหุ้นให้ดัชนีเพิ่มขึ้น"

ประเด็นในประเทศที่ยังคงระมัดระวังคือ การเมืองที่ยังมีโอกาสสะดุด ธนาคารพาณิชย์ที่อาจต้องมีการเพิ่มทุนใน เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารทหารไทย เพื่อให้เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎข้อบังคับของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เพิ่มกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS)จาก 8.5% เป็น 9.5% ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออก

ด้านปัจจัยที่มองว่าน่าจะเป็นบวกคือ กระแสเงินทุนยังไหลเข้าประเทศไทย เพราะสภาพคล่องล้นทั่วโลกจะทำให้ทุนสำรองของประเทศเกิดใหม่ 27 ประเทศสูงขึ้น โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับ 11 ส่วนจีนครองแชมป์เงินทุนสำรองระหว่างประเทศมากที่สุด ราคาน้ำมันมีแนวโน้มอ่อนตัวลง อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงโดยคาดว่าดอกเบี้ยจะเริ่มลดลงในต้นปี50 เพราะจะหมดกังวลเรื่องอัตราเงินเฟ้อ และการแก้ปัญหาเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว

นอกจากนี้ยังมีการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยงบประมาณปี 50แบบขาดดุล 140,000 ล้านบาท การลงทุนในโครงการเมกะโปรเจกต์ 2 โครงการหลักรวมมูลค่า 400,000 ล้านบาท คือ การเปิดประมูลโรงไฟฟ้ารอบ 2 ขนาด 10,000 เมกะวัตต์ มูลค่า 200,000 ล้านบาท และการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้า 5 เส้นทาง มูลค่า 200,000 ล้านบาท

ด้าน อดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายเศรษฐกิจและกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) ( KGI) เปิดเผยผลวิเคราะห์ของบริษัท ที่มองเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปีนี้ว่าจะยังเติบโตได้ถึง 4.5-5.0% ส่วนกำไรสุทธิบริษัทจดทะเบียนของตลาดหลักทรัพย์ในปี 50 ก็น่าจะเติบโตราว 7% โดยประเมินจุดต่ำสุดของดัชนีตลาดฯไว้ก็ไม่น่าจะต่ำกว่า 9 เท่า หรือ 660 จุด

ปัจจัยที่จะกระทบการลงทุนในไตรมาส 1/50ได้แก่ การเมืองภายใน หรือคลื่นใต้น้ำ ส่วนปัจจัยภายนอกคือ ราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่ปรับสูงขึ้น การเคลื่อนย้ายทุนออก และปัญหาก่อการร้าย โดยปัจจัยหลักที่อาจจะกดดัชนีให้ลดลงได้มากก็คือ อัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯที่อาจปรับตัวสูงขึ้น เงินลงทุนต่างชาติไหลกลับสู่ตะวันตก การอ่อนค่าของเงินบาท การลดลงของอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงเนื่องจากสินเชื่อไม่เติบโต และอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมไปถึงกำไรของบริษัทจดทะเบียนฯที่ลดลง ซึ่งมองว่าประเด็นเรื่องดอกเบี้ยของสหรัฐฯเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับอนาคตของตลาดหุ้น เพราะหากดอกเบี้ยในภูมิภาคสูงกว่าเงินก็จะไหลเข้าประเทศ

ทั้งนี้มองว่า สัดส่วนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ในปี50 กลุ่มพลังงานจะยังมีน้ำหนักมากที่สุดที่ 27.38% กลุ่มธนาคารมีสัดส่วนที่ 16.01% กลุ่มสื่อสาร 9.27%กลุ่มวัสดุก่อสร้างมีสัดส่วนที่ 8.31% และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์อยู่ที่ 6.52% ซึ่งคาดว่ากลุ่มที่น่าสนใจคือ กลุ่มธนาคาร กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตามแรงเก็งกำไรน่าจะเข้ามาที่กลุ่มสื่อสาร เนื่องจากจะมีนโยบายกำกับดูแลที่ดีขึ้น

สำหรับกลุ่มพลังงาน มองว่าจะมีกำไรสุทธิประมาณ 2.01 แสนล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 3.1% เพิ่มขึ้นจากปี 49 ที่มีกำไร 1.95 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัว30.6% ขณะที่กลุ่มแบงก์ จะเติบโตขึ้น 9.1% เทียบกับปี49ที่เติบโต -6.4% โดยจะมีกำไรสุทธิ 9.7หมื่นล้านบาท ขณะที่ปีที่แล้วทำได้ 8.9 หมื่นล้านบาท ส่วนธุรกิจสื่อสารมีแนวโน้มดีขึ้นเช่นกัน โดยจะเติบโตขึ้น 6.4% จากปี49ที่โต -14% และจะมีกำไร 2.5 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปี49 ทำได้ 2.2 หมื่นล้านบาท สำหรับกลุ่มวัสดุก่อสร้างปี49 โตขึ้น 5.4% มีกำไร 4.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่50 จะมีกำไร 4.4 หมื่นล้านบาท หรือโตขึ้น 6.4% สำหรับกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ปี 49 ถดถอยโดยเติบโต -28% มีกำไร 1.85 หมื่นล้านบาท แต่ปี 50 จะเติบโตดีขึ้น 22.7% และมีกำไรสุทธิทั้งสิ้น 2.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยและเงินเฟ้อที่ลดลง รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้น

โดยกลุ่มแบงก์ คาดว่าจะมีการแข่งขันปล่อยสินเชื่อมากขึ้น เนื่องจากไม่สามารถลดดอกเบี้ยเงินฝากแข่งกันได้ จึงต้องปล่อยสินเชื่อเพื่อให้มีกำไรและลดต้นทุนเงินฝากออกไป และเป็นไปได้ว่าในปีนี้แบงก์จะปรับดอกเบี้ยสูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้ส่วนต่างดอกเบี้ยยังต่ำอยู่ขณะที่ความต้องการสินเชื่อในปีหน้าจะเพิ่มขึ้น จากการลงทุนทั้งภาครัฐและเอกชน

ขณะที่แนวโน้มค่าเงินบาทจะยังคงแข็งค่าขึ้นเรื่อยๆ โดยให้กรอบไว้ที่ 34-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะกระทบต่อภาคส่งออกและอาจเป็นตัวแปรเศรษฐกิจด้วย

ด้านไพบูลย์ นลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ กล่าวว่า บริษัทฯได้ปรับลดประมาณการเป้าดัชนีตลาดหุ้นไทยปี 2550 ลง 100 จุด จากเดิมที่ประเมินไว้ 880 จุดเหลือเพียง 780 จุดเนื่องจากปัจจุบันความมั่นใจของนักลงทุนลดลง หลังจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้คาดว่าอาจจะต้องใช้เวลาถึง 6 เดือนเพื่อเรียกความมั่นใจนักลงทุนต่างชาติกลับมา โดยเฉพาะกองทุนต่างๆ นอกจากนี้แรงซื้อจากการขายหุ้นวันที่ 19 ธันวาคมยังไม่กลับเข้ามา คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่ง

"ปี49 หุ้นทั่วโลกทำนิวไฮว์(New High) แต่หุ้นไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐทำให้เสียโอกาสจนทำให้ตลาดหุ้นติดลบเมื่อเทียบกับต้นปี โดยแรงซื้อจากการขายวันแรกยังไม่กลับมาคงต้องใช้เวลาสักระยะ โดยบางกองทุนอาจต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือนเพื่อเรียกความเชื่อมั่น โดยคาดการณ์ดัชนีฯระยะสั้นจะเคลื่อนไหวในกรอบ 690-660 จุดซึ่งไม่น่าเกิด January Effect หลังจากตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวขึ้นมาแล้ว 6 เดือน โดยหาก 17 ม.ค.ปีหน้าแบงก์ชาติปรับลดอัตราดอกเบี้ยก็เป็นประเด็นจุดพลุให้ดัชนีฯ เด้งกลับมาทะลุ 700 จุดได้อีกครั้ง"

คาดว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีหน้ามีโอกาสที่จะเติบโตได้จากปี 2549ในอัตรา 6-7% ซึ่งถือว่าไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ยังไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 50 เป็นไปได้ที่กำไรของบริษัทจดทะเบียนจะปรับเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันประเมินว่าปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าได้แก่ การเมืองที่จะต้องรอดูว่าจะมีพรรคการเมืองใดบ้างที่จะลงเลือกตั้ง และพรรคไหนจะมีโอกาสได้เป็นรัฐบาล

ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา มองว่า ต้นปีหน้าเม็ดเงินต่างชาติยังไม่น่าจะไหลกลับเข้ามาทันที เพราะต่างชาติขาดความมั่นใจในมาตรการทางการควบคุมค่าเงินบาท ซึ่งคาดว่าต้องใช้เวลา 3-6 เดือนจึงจะเรียกความมั่นใจนักลงทุนกลับมาได้ เนื่องจากนักลงทุนจะต้องดูทิศทางเศรษฐกิจว่าออกมาดีจริงหรือไม่

สำหรับแนวทางการลงทุนช่วงต้นปีหน้า นักลงทุนควรเลือกลงทุนในหุ้นที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งและหุ้นที่นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 50% อีกทั้งควรลงทุนเพียง 50% ของเงินลงทุนที่มีอยู่ เพื่อรอจังหวะซื้อหุ้นหากมีทิศทางที่ชัดเจนขึ้นโดยหุ้นที่แนะนำลงทุนได้แก่ หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล เช่น บมจ.โรงพยาบาลไทยนครินทร์ (TNH) บมจ. กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) หุ้นกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนปันผลสูง เช่น บมจ. ชิน คอร์ปอเรชั่น(SHIN) ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมาปันผลเฉลี่ย 10% บมจ. ไดนาสตี้เซรามิค(DCC) มีอัตราจ่ายปันผลสูง 7.1% บมจ. เวิร์ค พอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ (WORK) อัตราจ่ายปันผล 7.5% และ บมจ.บีอีซี เวิลด์ (BEC) เป็นหุ้นที่น่าสนใจเพราะมีโอกาสเติบโตที่ดี

ส่วนมุมมองของบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง (BLS) สุเมฆ จันทราสุริยารัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการสายงานค้าหลักทรัพย์สถาบันและงานวิจัย มองแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในระยะสั้นคาดว่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นหลังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีการผ่อนปรนมาตรการการเก็งกำไรค่าเงินบาทถึงแม้ราคาหุ้นจะปรับลดลงไป แต่เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบกับปัจจัยพื้นฐานของธุรกิจ ซึ่งหากพิจารณาจากราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงมาก็อยู่ในระดับที่น่าสนใจ

"เชื่อว่าเรื่องมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทจะมีผลกระทบเชิงจิตวิทยาเท่านั้น คงไม่มีผลกระทบกับปัจจัยพื้นฐานธุรกิจ ซึ่งราคาหุ้นที่ปรับตัวลดลงไปหลังเหตุการณ์ดังกล่าวมองว่าอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และเป็นจังหวะที่นักลงทุนจะซื้อหุ้นราคาถูกเพื่อรอการฟื้นตัวของตลาดหุ้นให้กลับมาเป็นปกติในปีหน้าได้"

สำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนคงจะให้น้ำหนักกับหุ้นที่เกี่ยวเนื่องกับนโยบายหลักและแผนการลงทุนของทางภาครัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และระบบขนส่งมวลชนซึ่งหุ้นในกลุ่มดังกล่าวจะมีความปลอดภัยในภาวะตลาดที่ยังคงผันผวน ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2/2550 เป็นต้นไปและคงจะทำให้ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคักอีกครั้ง

มองว่าตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 1/2550 ดัชนีน่าจะแกว่งตัวที่ระดับ 680-720 จุด หรือหากมีปัจจัยลบมากระทบก็ไม่น่าจะหลุดต่ำกว่า 660 จุด ขณะเดียวกันหากนโยบายทางเศรษฐกิจมีการประกาศออกมาอย่างชัดเจนและเป็นไปตามที่นักลงทุนคาดหวังก็เชื่อว่าระดับดัชนีอาจจะขึ้นไปอยู่ที่บริเวณ 800 จุดได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 2550 อัตราการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนคาดว่าจะเติบโต 7.1%

โดย สุวัฒน์ บำรุงชาติอุดม ผู้จัดการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง (BLS) กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดหุ้นไทยในปี 2550 หุ้นกลุ่มธนาคารน่าจะโดดเด่นที่สุดโดยได้รับผลดีจากการลงทุนภาครัฐในโครงการต่างๆ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับยอดสินเชื่อกับทุกธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่เนื่องจากจะไม่มีปัญหาในการตั้งสำรองเงินเพิ่มตามนโยบายการปรับเปลี่ยนมาตรฐานทางบัญชีที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศออกมาให้ต้องมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นอีก

ฝ่ายวิจัยแนะนำซื้อหุ้น บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ให้ราคาเป้าหมายในปี 2550 ที่ 81.00 บาท และหุ้น บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 78.00 บาท

"กลุ่มแบงก์ปีหน้าถือว่าน่าสนใจโดยเฉพาะแบงก์ใหญ่ๆ เพราะจะได้ประโยชน์จากการเติบโตของสินเชื่อที่ปล่อยให้กับภาคเอกชนในการไปลงทุนในโครงากรขนาดใหญ่ของภาครัฐ ความแข็งแกร่งของฐานเงินทุนและความสามารถในการตั้งสำรองหนี้ รวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยของแต่ละแบงก์จะมีสัดส่วนเพิ่มสูงขึ้นจากการแข่งขันที่สูง"

ด้านหุ้นในกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างก็ยังมีความโดดเด่นโดยเฉพาะบริษัทที่จับกลุ่มลูกค้าทุกตลาดทั้งตลาดคอนโดมีเนียมและบ้านซึ่งจะมีความได้เปรียบจากความสามารถในการดำเนินธุรกิจที่หลากหลายและสามารถช่วยลดความเสี่ยงในภาวะตลาดที่ผันผวนได้

ฝ่ายวิจัยแนะนำ บมจ. เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (AP) โดยให้ราคาเป้าหมายที่ 5.10 บาท และ บมจ. ควอลิตี้เฮ้าส์ (QH) ราคาเป้าหมายที่ 1.55 บาท ขณะที่หุ้นรับเหมายังให้น้ำหนักกับ บมจ. ช.การช่าง (CK) ทีมีความโดดเด่นทั้งมูลค่างานในมือที่สูงและการเข้าไปรับงานในต่างประเทศทั้งประเทศลาวและกัมพูชา โดยแนะนำซื้อ มีราคาเป้าหมายที่ 12.30 บาท

ขณะที่ก็ยังคงแนะนำซื้อหุ้นในกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน (HEMRAJ) ที่ยังได้รับประโยชน์จากการเติบโตในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่มีการขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง และ บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (ROJANA) ซึ่งอยู่ระหว่างการปรับประมาณการราคาเป้าหมายในปี 2550 เพิ่มใหม่

เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่มสื่อสารก็ยังมีความน่าสนใจ โดยเฉพาะ บมจ. สามารถไอโมบาย (SIM) ที่ถือว่าโดดเด่น ผลประกอบการขยายตัวต่อเนื่องตามตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยการรุกตลาดต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจะยิ่งส่งผลดีต่อบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับหุ้นในกลุ่มพลังงานประเมินว่ากลุ่มโรงไฟฟ้าน่าจะมีความโดดเด่นมากที่สุด จากนโยบายภาครัฐที่ให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนาการใช้ไฟฟ้าในประเทศ โดยเฉพาะการการเตรียมจะเปิดประมูลโครงการโรงไฟฟ้าเอกชน (IPP) รายใหญ่ซึ่งคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในไตรมาส 1/2550 ฝ่ายวิจัยโดยแนะนำซื้อหุ้นบมจ. ผลิตไฟฟ้า ( EGCOMP) ให้ราคาเป้าหมายที่ 102 บาท และ บมจ.บ้านปู (BANPU) โดยมีราคาเป้าหมายที่ 198 บาท

ด้านเสถียรภาพของค่าเงินบาท บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รายงานไว้ในงานวิจัยเรื่อง "การแข็งค่าของเงินบาท...ใครได้ ใครเสีย" ว่า ในช่วงที่ผ่านมา เงินบาทยังคงเดินหน้าแข็งค่าขึ้นจากกระแสเงินทุนไหลเข้า และการคาดการณ์ในเชิงบวกต่อแนวโน้มการปรับค่าของเงินบาทในอนาคต ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อมั่นที่นักค้าเงินมีต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ และการเมืองไทย รวมทั้งเป็นผลมาจากความกังวลที่นักค้าเงินมีต่อแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์โดยเฉพาะจากตัวเลขอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของสหรัฐที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง จนอาจนำมาสู่การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ที่ตลาดคาดว่าอาจจะเกิดขึ้นในปีหน้า

นอกจากนี้ นักค้าเงินยังมองว่าเงินบาทน่าจะยังคงแข็งค่าขึ้นได้อีก เนื่องจากในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นต้นมา เงินบาทได้ปรับค่าขึ้นค่อนข้างจะน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลักอื่นๆ ในภูมิภาค ซึ่งมุมมองดังกล่าวต่อค่าเงินบาทน่าจะยังคงส่งผลให้เงินบาทสามารถปรับค่าขึ้นได้อีกในปี 2550 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับในปี 2549 ที่ผ่านมา และหากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ สามารถคลี่คลาย และมีพัฒนาการเป็นที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญและการจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เงินบาทน่าจะสามารถแข็งค่าขึ้นไปแตะระดับ 35 บาทได้ภายในครึ่งแรกของปี 2550 และอาจจะปิดระดับ ณ ปลายปี 2550 ในช่วง 35-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

โดยผลกระทบต่อธุรกิจนั้นคาดว่า ธุรกิจที่มีรายได้หลักเป็นเงินตราต่างประเทศแต่มีต้นทุนส่วนใหญ่เป็นเงินบาท เช่น ธุรกิจส่งออกอาหารและสินค้าเกษตรแปรรูป น่าจะถูกกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทมากที่สุด ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจที่นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีระดับเทคโนโลยีสูง และไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ รวมทั้งธุรกิจท่องเที่ยวขาออก (outbound tourism) ตลอดจนธุรกิจที่มีภาระหนี้ในสกุลเงินต่างประเทศ น่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากการแข็งค่าของเงินบาท ผู้ส่งออกที่ถูกกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ผู้ประกอบการคงจะต้องเตรียมการรับมือกับความผันผวนของค่าเงินบาท โดยการใช้วิธีการ และเครื่องมือบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนต่างๆ ซึ่งรูปแบบที่ง่ายที่สุดคงจะได้แก่ การกระจายแหล่งตลาดส่งออกของตนและลดการค้าในรูปเงินดอลลาร์ ไปจนถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อนมากขึ้นตามลำดับ

การปรับตัวในระยะกลางถึงระยะยาว อันเนื่องมาจากความเป็นไปได้ที่การแข็งค่าของเงินบาทอาจจะยังคงดำเนินต่อเนื่องไปอีกในอนาคตข้างหน้านั้น ผู้ประกอบการอาจจะต้องพิจารณาหันมานำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศหรือการผลิตในบางขั้นตอนไปในต่างประเทศ แทนที่จะใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นหลักหรือผลิตในประเทศทั้งหมด รวมทั้งอาจจะต้องพิจารณาโยกย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังแหล่งที่มีต้นทุนต่ำกว่า หรือถูกกระทบจากแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐได้น้อยกว่า

สำหรับการลงทุนแล้ว ความรู้และการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง จุดแข็งจุดอ่อน คือสิ่งที่จำเป็น ซึ่งถ้าได้พอเห็นภาพของเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศเช่นนี้แล้ว ก็คงจะพอเข้าใจและพอจะเห็นภาพสิ่งที่จะเกิดขึ้นตลอดปีหมู 2550 นี้ได้ ว่าส่วนของเศรษฐกิจที่เราเข้าไปเกี่ยวข้องเกี่ยวพันจะเป็นเช่นใด กลยุทธ์ใดต่อไปนี้ที่น่าจะเหมาะสมมากที่สุดจะเดินหน้าเต็มกำลังหรือจะหาทางหลบซ้ายหลีกขวาอย่างไรได้บ้าง

เพราะชีวิตของการเป็นนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จได้คือการไม่หยุดนิ่งและยอมจำนนง่ายๆ...ขอให้โชคดีในการทำให้เงินงอกเงยตลอดปี 2550 นี้ ครับ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us