Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน8 มกราคม 2550
พรีมาเวสท์เมินกฎเหล็กลุยต่อ2กองทุน             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรีมาเวสท์ จำกัด (มหาชน)

   
search resources

พรีมาเวสท์, บลจ. - Prima Vest
เพิ่มพล ประเสริฐล้ำ
Funds




บลจ.พรีมาเวสท์ไม่สนแบงก์ชาติตั้งเกณฑ์กันสำรองเงิน 30% เดินหน้าลุยกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ต่ออีก 2 กอง ลงทุนทั้งอาคารสำนักงาน-เซอร์วิส อพาร์ตเมนต์-โรงแรม ยืนยันแม้ธปท. ยังไม่ผ่อนปรนมาตรการสกัดกั้นค่าเงินบาท ก็จะเดินหน้าระดมทุน เล็งเป้าหมายกลุ่มนักลงทุนสถาบันในประเทศเป็นหลัก

นายเพิ่มพล ประเสริฐล้ำ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) พรีมาเวสท์ จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนจัดตั้งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีกอย่างน้อย 2 กองทุน โดยกองทุนแรกจะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยประเภทเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์ ซึ่งอาจจะนำมาคละกันและจัดตั้งเป็นกองทุน โดยกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าโครงการประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนอีกกองทุนนั้น จะลงทุนในสินทรัพย์ประเภทโรงแรม และคาดว่าจะสามารถระดมทุนได้ประมาณช่วงครึ่งหลังของปี

นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มทุนโครงการสำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เจซี (JCP) มูลค่าโครงการ 620 ล้านบาท ซึ่งได้เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นวันแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งสินทรัพย์ที่จะนำเข้ามาอยู่ในกองทุนนั้น อาจจะเป็นทรัพย์สินของเจ้าของเดิมหรือสินทรัพย์ใหม่ด้วย

ทั้งนี้ จากมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งมีผลรวมถึงกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) ด้วยนั้น ส่งผลกระทบต่อกองทุนกองใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นพอสมควร โดยเฉพาะสัดส่วนของนักลงทุนต่างชาติ ถึงแม้จะเป็นการลงทุนในระยะยาวก็จริง แต่เขาคงไม่ต้องการกันเงินสำรองไว้ 30% ในปีแรกโดยไม่มีผลตอบแทนอะไรเลย

อย่างไรก็ตาม กองทุนใหม่ที่จะออกมาคงต้องหันมาดูนักลงทุนสถาบันในประเทศแทน ถึงแม้จะข้อจำกัดหลายอย่างโดยเฉพาะเม็ดเงินลงทุนที่น้อยกว่า แต่หากธปท. สามารถผ่อนผันมาตรการดังกล่าวสำหรับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้หรือมีความชัดเจนมากกว่านี้ ก็เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อตลาดกองทุนรวมอสังหาฯ แน่นอน เนื่องจากปัจจุบันนักลงทุนเองก็เริ่มรู้จักและเข้าใจการลงทุนมากขึ้น ซึ่งในส่วนของผู้ประกอบการเองก็ไม่อยากให้การขยายตัวต้องมาสะดุดลงทุนมาตรการของธปท.

"สำหรับกองทุนใหม่ที่จะออกมาคงต้องดูนักลงทุนสถาบันในประเทศมากขึ้น แต่นักลงทุนต่างประเทศก็คงต้องมีบ้างคละกันไป ซึ่งในส่วนขนาดของกองทุนเองเราก็คงไม่ทำให้ใหญ่มากนัก โดยหากระดมทุนได้แล้วก็สามารถมาเพิ่มทุนภายหลังได้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ง่ายกว่า"นายเพิ่มพลกล่าว

นายเพิ่มพลกล่าวว่า ถึงแม้ว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะไม่ได้รับการผ่อนปรนจากมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของธปท. ก็ยืนยันที่จะระดมทุนต่อไป โดยในระหว่างนี้ก็จะดำเนินการยื่นเสนอข้อมูลขอจัดตั้งกองทุนกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไปก่อน เพราะหากธปท. ผ่อนปรนแล้วจะสามารถเปิดขายกองทุนได้ทันที ในแง่ของนักลงทุนเอง ก็ต้องเร่งทำความเข้าใจให้มากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ทางสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เอง ก็กำลังอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้มีความชัดเจนโดยเร็ว โดยจุดประสงค์หลักที่สมาคมต้องการก็คือ ให้การลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ได้รับการผ่อนผันจากมาตรการกันเงินสำรอง 30% ของธปท. เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นด้วย

สำหรับแผนงานในปีนี้ บริษัทเตรียมเปิดขายกองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ (FIF) อีก 1 กองทุนในช่วงเดือนมกราคมนี้หลังจากต้องเลื่อนออกไปจากเดิมที่มีแผนจะระดมทุนตั้งแต่ปลายปี 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนดังกล่าวเป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นแถบเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนกองทุนหุ้นในประเทศตอนนี้ คงยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสม ซึ่งเราเองก็มีแผนจะจัดตั้งกองทุนเช่นกัน แต่ในสถานการณ์แบบนี้คงเน้นทำการตลาดสำหรับกองทุนเก่าที่มีอยู่แล้วไปก่อน

"กองทุนหุ้นในปีนี้ เราคงเน้นกองทุน FIF เป็นหลัก เพราะตลาดหุ้นบ้านเราเองไม่สู้ดีนัก จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ซึ่งในส่วนของกองทุน FIF ก็เชื่อว่าจะได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น เพราะถือเป็นอีกช่องทางในการกระจายความเสี่ยงนอกเหนือจากการลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียว"นายเพิ่มพลกล่าว

**ต่างชาติชะลอลงทุนกองอสังหาฯ

นายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า จากการที่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.ได้ออกมาตรการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบตลาดหุ้น และตลาดตราสารหนี้ โดยทำให้นักลงทุนต่างชาติชะลอการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทยซึ่งอาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอการเติบโตนอกจากนี้การพัฒนาตลาดทุน หรือการนำบริษัทใหม่เข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อาจจะไม่เป็นไปตามที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคาดหวังก็ได้ เพราะขาดแรงจูงใจและปัจจัยบวกเข้ามากระตุ้น

นอกจากนี้ บริษัทอาจจะมีการชะลอการออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) เนื่องจากต้องรอความชัดเจนของมาตรการกันสำรอง 30% ของ ธปท. ก่อน

ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมาได้เดินทางเข้าไปหารือกับ ธปท .และสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อให้พิจารณา และแก้ไขหรือ ยกเลิกมาตรการกันสำรอง 30%ที่ใช้กับกองทุนรวมเหมือนกับการยกเลิกให้กับการลงทุนในตลาดหุ้นแต่ในขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us