Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุน"             
 

 
Charts & Figures

หลักเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจ วงเงินลงทุน และผลการลงทุนจำแนกตามประเภทของนักลงทุน
สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
ระดับความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากแหล่งข่าวสารกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น
นิตยสารที่นักลงทุนนิยมอ่าน
ประเภทของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ประเภทของข่าวสารและสื่อกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น

   
related stories

"กติกาการเก็บข้อมูลและการศึกษา"

   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
Stock Exchange




การเก็งกำไร เป็นพฤติกรรมหลักของนักลงทุนไทย โดยเฉพาะนักลงทุนรายย่อยที่มีวงเงินลงทุนต่ำกว่า 500,000 บาท คนเหล่านี้น่าสนใจซื้อขายหุ้นที่มีสภาพคล่องสูงและข้อมูลข่าวสารไม่ได้มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจลงทุนของพวกเขา

หุ้นเป็นสินค้าอย่างหนึ่งซึ่งมีตลาดและวิถีการค้าที่เป็นแบบฉบับของตนเอง ในขณะที่สินค้าอื่นทั่วไปจะมีระดับราคาค่อนข้างคงที่ในช่วงเวลหนึ่งหรือเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยภายใต้การกำหนดของอุปสงค์และอุปทานของสินค้า

ทว่า หุ้นจะมีระดับราคาปรับตัวขึ้นลงตลอดเวลา ภายใต้การตัดสินใจซื้อขายของนักลงทุนและภายใต้เหตุผลเหล่านี้เองทำให้หุ้นกลายเป็นสินค้าที่มีทั้ง "ราคาคาดหวัง" (expected price) และความเสี่ยง (Risk) จากการซื้อขายเกิดขึ้น ซึ่งนับเป็นเอกลักษณ์พิเศษของหุ้นที่แตกต่างจากสินค้าอื่นและวิธีการค้าทั่วๆ ไป

ปกติผู้เข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่เป็นทั้งนักลงทุนระยะสั้น และระยะยาว ต่างมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือทำกำไรจากการจำหน่ายหลักทรัพย์ การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐาน (fundemandtal analysis) เพื่อศึกษาถึงฐานะการเงินและสภาพดำเนินงานของบริษัทที่จะลงทุนในช่วงเวลาที่ผ่านมากับการวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาหุ้น และปริมาณหุ้นที่ซื้อขายในตลาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงในระดับราคาให้มีน้อยที่สุด

อย่างไรก็ดี แม้ว่าการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์ด้านเทคนิคจะต้องมีควบคู่กันไปในการตัดสินใจลงทุนหรือซื้อขายหุ้น ทว่า นักลงทุนก็ยังต้องอาศัยข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับคุณสมบัติของหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์ ราคาหลักทรัพย์ ฯลฯ ประกอบการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจซื้อและขายหลักทรัพย์ในราคาที่ได้กำไรตามที่คาดหวัง

ดังนั้น ประเด็นสำคัญของงานวิจัยชิ้นนี้จึงอยู่ที่ว่าแหล่งข่าวสาร (source) ชนิดใด สาระแห่งข่าวาร (message) ประเภทใด และสื่อ (media) ของข่าวสารรูปแบบใด จะมีผลอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุน กล่าวอีกแง่หนึ่งระบบการสื่อสารมีอิทธิพลหรือความสัมพันธ์กับผู้รับข่าวสาร ซึ่งหมายถึงนักลงทุน ในลักษณะใดหรืออย่างไรนั่นเอง

เกณฑ์การตัดสินใจลงทุน วงเงินลงทุนและผลการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ

จากผลการวิจัย กล่าวได้ว่า สภาพของธุรกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีลักษณะการซื้อขายเพื่อหวังผลจากการเก็งกำไรเป็นสำคัญ เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่สนใจจะซื้อขายหุ้น ที่มีสภาพคล่องสูง คือมีโอกาสจะซื้อหรือขายได้คล่องตัวมากกว่าหุ้นอื่นๆ ในขณะที่ให้ความสนใจหรือพิจารณาต่อผลการดำเนินงานของบริษัท และเงื่อนไขเกี่ยวกับราคา และผลตอบแทนเป็นเกณฑ์รองลงมา ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 44.17 และ 11 ตามลำดับ (ดูตารางหลักเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินใจ วงเงินลงทุน และผลการลงทุน จำแนกตามประเภทของนักลงทุน)

สำหรับวงเงินลงทุนสูงสุดที่นักลงทุนใช้ซื้อขายหลักทรัพย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นวงเงินลงทุนต่ำกว่า 5 แสนบาท ซึ่งถือว่าเป็นนักลงทุนรายย่อย นอกจากนี้ยังพบว่านักลงทุนระยะยาวและกลุ่มนักเก็งกำไรมีแนวโน้มใช้วงเงินลงทุนไม่แตกต่างกันกล่าวคือใช้เงินลงทุนในช่วงไม่เกิน 1 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาจากประสบการณ์การลงทุนของนักลงทุนพบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ ซึ่งมีถึงร้อยละ 60.5 เคยทั้งกำไร-ขาดทุน พอๆ กัน นักลงทุนที่เคยขาดทุนเสมอในสัดส่วนที่น้อยที่สุด ได้แก่ นักลงทุนระยะยาวคือร้อยละ 4 ส่วนนักลงทุนที่ได้กำไรอยู่เสมอในสัดส่วนที่มากที่สุดคือร้อยละ 36.4 จะได้แก่นักลงทุนทั้งสองประเภทคือเป็นทั้งนักลงทุนระยะยาวและนักเก็งกำไร

สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมการตัดสินใจซื้อขายหุ้น

จากผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ความแตกต่างกันในสถานภาพทางเศรษฐกิจ และสังคมไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุนกล่าวอีกนัยหนึ่งปัจจัยในเรื่องความแตกต่างกันในระดับรายได้ หรือฐานะความแตกต่างกันในอาชีพ และความแตกต่างกันในระดับการศึกษา มิได้มีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อกำหนดการตัดสินใจซื้อขายหุ้น

จากผลการศึกษา นักลงทุนเกือบทุกระดับของรายได้ (ยกเว้นผู้มีรายได้มากกว่า 40,000 บาท/เดือน) ให้ความสำคัญต่อเงื่อนไขของลักษณะหุ้นมากกว่าเงื่อนไขอื่น

ในขณะที่เมื่อพิจารณาถึงความแตกต่างกันในด้านอาชีพ และความแตกต่างกันในระดับการศึกษาพบว่าทุกสาขาอาชีพ และระดับการศึกษาให้ความสำคัญต่อเกณฑ์การตัดสินใจซื้อขายหุ้นในลักษณะเดียวกันคือให้ความสำคัญต่อเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะหุ้นมากกว่าเกณฑ์อื่นๆ

เป็นที่น่าสังเกตว่า นัลงทุนในกลุ่มลูกจ้างเอกชนให้ความสำคัญต่อเกณฑ์การตัดสินใจทั้งสามในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน คือระหว่างร้อยละ 32-37.5 (ดูตารางสถานภาพของเศรษฐกิจและสังคมกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น)

ความน่าเชื่อถือของข้อมูลข่าวสาร

จากการวิจัยพบว่า ระดับความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากแหล่งทั้งสามซึ่งประกอบด้วยบุคคลโบรกเกอร์ และสื่อมวลชน ไม่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่แท้จริงในการซื้อขายหุ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เกณฑ์การตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุนไม่ผันแปรตามความน่าเชื่อถือที่นักลงทุนมีต่อข่าวสารจากแหล่งทั้งสาม หรือข่าวสารจากแหล่งทั้งสามยังมีความน่าเชื่อถือไม่เพียงพอที่นักลงทุนจะนำมาใช้เป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของตนนั่นเอง

แม้ว่าข้อสรุปข้างต้น ค่อนข้างจะขัดแย้งกับข้อเท็จจริงหรือสมมติฐานของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมีความเห็นว่าระดับความน่าเชื่อถือน่าจะมีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุน ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าการระดับนัยสำคัญ (OX) เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้เกิดการยอมรับหรือปฏิเสธสมมติฐานได้ เหตุผลอีกประการหนึ่งอาจเป็นปัญหาของช่องว่าง (Timing) นั่นคือช่วงที่เก็บข้อมูลอาจเป็นช่วงที่ตลาดหุ้นซบเซา ความสนใจต่อข่าวสารเพื่อการซื้อขายหุ้นจึงน้อยไม่ตื่นตัวเท่ากับช่วงที่ตลาดรุ่งโรจน์ เป็นผลให้ระดับความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากแหล่งสารทั้งสาม ไม่มีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุนได้

อย่างไรก็ตาม งานวิจัยพบว่าทุกระดับความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากแหล่งข่าวทั้งที่เป็นบุคคล นิติบุคคล และสื่อมวลชน ต่างให้ความสำคัญต่อเกณฑ์เกี่ยวกับลักษณะของหุ้นมากกว่าเกณฑ์อื่นๆ (ดูตารางระดับความน่าเชื่อถือของข่าวสารจากแหล่งข่าวสารกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น)

นอกจากนั้น ได้มีการสอบถามนักลงทุนเพิ่มเติมถึงแหล่งข่าวที่เป็นสื่อมวลชนประเภทนิตยสารที่นิยมอ่านพบว่านักลงทุนนิยมอ่านนิตยสาร "ผู้จัดการ" มากที่สุดถึงร้อยละ 44.5 รองลงมาคือนิตยสารการเงินะนาคาร และมติชนสุดสัปดาห์ ด้วยความนิยมเท่ากันคือ ร้อยละ 26.5 (ดูตารางนิตยสารที่นัลงทุนนิยมอ่าน)

ประเภทของข่าวสารและสื่อกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น

จากผลการศึกษา พบว่าประเภทของข่าวสารที่แตกต่างกันมีความสัมพันธ์กับเกณฑ์การตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุนกล่าวคือนักลงทุนที่เลือกใช้ข่าวสารประเภทแนวโน้ม ดัชนีราคาหุ้นและข่าวารการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าร้อยละ 50 ให้ความสำคัญต่อเกณฑ์ลักษณะของหุ้นมากกว่าเกณฑอื่น

ในขณะที่นักลงทุนที่เลือกใช้ข่าวสารที่เป็นความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นมีมากกว่าร้อย 50 ที่หใความสำคัญต่อเกณฑ์เกี่ยวกับบริษัทผู้ออกหุ้นส่วนนักลงทุนที่เลือกใช้ข่าวสารประเภทที่เหลือให้ความสำคัญต่อเกณฑ์ต่างๆ ในสัดส่วนที่ไม่แตกต่างกันมากนัก

ในด้านของสื่อนั้น จากค่าสถิติพบว่าสื่อที่สามารถควบคุมข่าวสารได้เป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อเกณฑ์การตัดสินใจซื้อขายหุ้นของนักลงทุนไม่แตกต่างจากสื่อที่ควบคุมข่าวสาร ไม่ได้โดยนักลงทุนที่เลือกใช้สื่อที่ควบคุมข่าวสารได้และควบคุมไม่ได้จะให้ความสำคัญต่อเกณฑ์ลักษณะของหุ้นมากกว่าเกณฑ์อื่นๆ (ดูตารางประกอบของข่าวสารและสื่อกับการตัดสินใจซื้อขายหุ้น)

กล่าวโดยสรุป นักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อขายหุ้นที่คำนึงถึงเกณฑ์เกี่ยวกับสภาพคล่องของหุ้นเป็นสำคัญ และในกลุ่มนักลงทุนในตลาดดังกล่าว มีสัดส่วนของนักลงทุนระยะสั้นหรือนักเก็งกำไรมากที่สุดถึงร้อยละ 64 (ดูตารางประเภทของนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย)

เมื่อการตัดสินใจซื้อขายหุ้นมิได้อาศัยข้อมูลพื้นฐาน หรือหลักการลงทุนในระยะยาวเป็นเกณฑ์สำคัญในการวิเคราะห์ย่อมหมายถึงว่า ความสำเร็จในการพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ฯ มิได้ขึ้นอยู่กับการคำนึงถึงความเติบโตในเชิงปริมาณของตลาดเพียงประการเดียว ฉะนั้น ปัญหาที่ท้าทาย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ขณะนี้ก็คือการสร้างความกลมกลืนของสิ่งตรงกันข้ามอันหมายถึง การสร้างความเติบโตของตลาดให้เกิดควบคู่ไปกับความมีเสถียรภาพหรืออีกแง่หนึ่งคือการให้ตลาดมีการขยายตัว (เติบโต) ควบคู่ไปกับการป้องกันการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ใช้เล่ห์อย่างผิดกฎหมาย อาทิ การปั่นหุ้น หรือการใช้กระบวนการซื้อขายหลักทรัพย์ที่ไม่เป็นธรรม

นอกจากนั้น แม้ว่าทั้งนักลงทุนระยะยาว และนักเก็งกำไรจะต้องมีอยู่ควบคู่กันไปในตลาดหลักทรัพย์ฯ เนื่องจากต่างมีความสำคัญต่อตลาดพอๆ กัน ในแง่ที่นักลงทุนระยะยาวจะ "ซื้อแล้วเก็บ" (ไม่ค่อยยอมขาย) ทำให้มีเงินออมสำหรับธุรกิจอุตสาหกรรมที่ต้องการเงินทุนเพื่อการลงทุน

ส่วนนักเก็งกำไรจะ "ซื้อเล้วเร่งขาย" ทำให้ตลาดมีความเคลื่อนไหวเกิดชีวิตชีวา เพราะการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น แต่ข้อสำคัญคือผู้รับผิดชอบต้องพยายามทำให้ตลาดมีนักลงทุนทั้ง 2 กลุ่ม ในจำนวนที่เหมาะสมหรือสมดุลกันเพื่อตลาดจะได้มีธุรกิรรมซื้อขายหุ้นที่ต่อเนื่อง มีเสถียรภาพ และเป็นธรรม

แม้ว่าขณะนี้ สังคมโลกจะดำเนินไปภายใต้ปรัชญาการแข่งขันและการแสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุด (utility maximization) ของนักลงทุนแต่การรักษาคุณธรรมและการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในตลาด ก็ควรจะเป็นประเด็นที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ เพื่อให้การแข่งขันนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรมที่สุดเท่าที่จะเป็นได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us