Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"กิจการเซรามิกของภัทรประสิทธิ์"             
 


   
search resources

ภัทราเซรามิค,บมจ.
ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์
Ceramics




ครอบครัวภัทรประสิทธิ์ร่ำรวยอย่างเงียบเชียบในกิจการสุราที่ร่วมทุนกับ เจริญ สิริวัฒนภักดี ว่ากันว่าตระกูลนี้เป็นผู้ที่มีเงินสด (cash rich) เป็นกอบเป็นกำมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะกิจการของครอบครัวนี้มีอยู่ 4 ธุรกิจหลักคือกิจการค้าปลีก เดอะมอลล์, อุตสาหกรรม-สุรา, เซรามิก และพอร์ชเลน, กิจการด้านการเงิน-บงล.เจ้าพระยา ธนาคารเอเชีย และอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บริษัทดอนเมืองพัฒนาซึ่งดำเนินกิจการตลาดสี่มุมเมือง หุ้นส่วนในโรงแรมโนโวเทล และแลนด์แบงก์อีกเป็นจำนวนมากในเขตภาคเหนือตอนล่าง

ทั้งกิจการค้าปลีกสุราและตลาดสี่มุมเมืองนั้นล้วนเป็นธุรกิจประเภทที่รับเงินสดเข้ากระเปาด้านเดียวล้วนๆ

ธุรกิจที่กลุ่มนี้มีอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือธนาคารเอเชียและกิจการเซรามิก

ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นแหล่งระดมทุนสำคัญของนักธุรกิจทั่วไป แต่สำหรับกลุ่มนี้ดูเหมือนจะไม่มีความหมายเท่าใดต่อการทำธุรกิจของพวกเขา

ผู้ที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสำคัญในกิจการเซรามิกของครอบครัวคือ ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์

เขารักธุรกิจนี้มากและมีความใฝ่ฝันที่จะสร้างแบรนด์เนม "ภัทรา/PATRA" ให้มีชื่อเสียงในระดับโลก กล่าวได้ว่าเขาเป็นผู้บุกเบิกกิจการเซรามิกของครอบครัวตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นเอเชียพอร์ซเลนอุตสาหกรรมเมื่อ 8 ปีก่อน

ปัจจุบันประดิษฐ์เป็นประธานคณะกรรมการจัดการกลุ่มภัทราเซรามิกซึ่งมีบริษัทในเครือ 4 แห่งคือภัทรา เซรามิก, ภัทรา พอร์ซเลน, ภัทรารีแฟรกทอรี่ และภัทรามาร์เก็ตติ้งชื่อ ประสงค์ ภัทรประสิทธิ์ น้องชายคนหนึ่งของประดิษฐ์เป็นผู้ดูแล

เซรามิก พอร์ซเลน และรีแฟรกทอรี่ต่างเป็นกิจการที่กลุ่มนี้เทกโอเวอร์กิจการของบริษัทเอเชียพอร์ซเลนอุตสาหกรรม, เอเชียเทเบิลแวร์อุตสาหกรรม และเอเชียรีแฟรกทอรี่อุตสาหกรรม ตามลำดับแล้วเปลี่ยนชื่อและปรับโครงสร้างใหม่โดยตั้ง บริษัทภัทรา มาร์เก็ตติ้ง ขึ้นเพื่อดูแลการตลาดให้กับทั้ง 3 บริษัทเมื่อปี 2535

ในกิจการเซรามิกนั้นกลุ่มภัทราใช้เทคโนโลยีของ JMP-Newcor Inc. จากสหรัฐซึ่งได้เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วยจำนวนร้อยละ 20 ภัทรา เซรามิกผลิตเซรามิกประเภทสโตนแวร์ สินค้าประมาณ 80% ใช้แบรนด์เนม Newcor เพื่อจำหน่ายต่างประเทศและบางส่วนก็มีจำหน่ายในประเทศ ส่วนสินค้าเซรามิกที่เหลือ ใช้ แบรนด์เนม House & Home ส่วนมากเป็นชุดถ้วยหู (Mug) เพื่อจำหน่ายในประเทศ

ผลิตภัณฑ์เซรามิกมี 4 ประเภท คือ ดินเผาธรรมดา สโตนแวร์ ซึ่งถือเป็นระดับกลาง พอร์ซเลนเป็นเซรามิกเนื้อขาวมีคุณภาพสูงกว่าสโตนแวร์ มีความโปร่งใสกว่า และมีความแกร่งสูงกว่าราคาก็แพงกว่าสโตนแวร์ประมาณ 40% พอร์ซเลนระดับดีที่สุดเรียกไฟน์ พอร์ซเลน

เซรามิกระดับสูงสุดคือโบนไชน่า (Bone China) เป็นขั้นสูงสุดในกรรมวิธีการผลิตเซรามิก มีการผสมกระดูกสัตว์และเนื้อเซรามิกจะออกสีเหลือง โบนไชน่าจะมีราคาแพงกว่าพอร์ซเลนประมาณ 30%

พิพัฒน์ บุษราคัมวดี ผู้บริหารในภัทรามาร์เก็ตติ้งเปิดเผยกับ "ผู้จัดการ" ว่า "ในส่วนของภัทราพอร์ซเลนก็มีโครงการที่จะทำเซรามิกประเภทโบนไชน่าด้วยโดยได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุนจาก BOI แล้ว"

ปัจจุบันพอร์ซเลนที่กลุ่มภัทราใช้แบรนด์เนมภัทรา (PATRA) จำหน่ายต่างประเทศเป็นส่วนมากเทคโนโลยีสำหรับพอร์ซเลนนั้น กลุ่มภัทรา ได้รับจากบริษัทนิคโก้คัมปานี (NIKKO) บริษัทญี่ปุ่นที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีพอร์ซเลนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรายหนึ่งของโลกมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมนี้มากกว่า 100 ปี

ประดิษฐ์เป็นผู้ดึงนิคโก้เข้ามาร่วมทุนและให้ความช่วยเหลือเรื่องเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ภัทราใช้แบรนด์เนม PATRA แต่จะมีการเขียนกำกับด้วยว่า Technology by Nikko

นิคโก้เป็นผู้ร่วมทุนในภัทราพอร์ซเลนด้วยจำนวน 10%

ในบรรดากิจการ 4 อย่างนี้ ภัทราเซรามิกเป็นประหนึ่งบริษัทแม่ เพราะเป็นผู้ถือหุ้นในตัวพอร์ซเลนจำนวน 60 % แต่ต่อมาลดจำนวนลงเหลือ 40% เมื่อปี 2535 โดยขายให้บงล.เจ้าพระยา 10% และประดิษฐ์เข้ามาถือในนามส่วนตัว 10%

รายได้ที่เกิดจากการขายหุ้น 20% นี้ได้นำไปซื้อหุ้นในบริษัทกรมดิษฐ์ จำนวน 53% บริษัทนี้ดำเนินธุรกิจให้เช่าอาคารสำนักงานที่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ซึ่งกลุ่มภัทราเล็งจะใช้เป็นที่ทำการกลุ่มแห่งใหม่

พิพัฒน์เปิดเผยว่า "แนวโน้มการแข่งขันเซรามิกในประเทศยังไม่รุนแรงนัก โดยเฉพาะตัวพอร์ซเลนซึ่งนอกจากภัทราแล้วก็มีผู้ผลิตอีกเพียงรายเดียวเท่านั้น ส่วนพอร์ซเลนที่นำเข้าจากต่างประเทศนั้นจะมีราคาสูงมากและวางจำหน่ายเฉพาะห้างสรรพสินค้าใหญ่"

อาจกล่าวได้ว่าสินค้าเซรามิกประเภทสโตแวร์ของกลุ่มนี้ JMP จะเป็นผู้ทำตลาดให้ในอเมริกา ส่วนพอร์ซเลน JMP ดูแลตลาดยุโรปตอนล่างและตอนกลาง นิคโก้จะทำตลาดในสหรัฐฯ และตลาดเอเชียนั้นภัทรามาร์เก็ตติ้งจะรับผิดชอบจำหน่ายทั้งสโตนแวร์อื่น เช่น โบนไชน่าที่มีโครงการจะผลิตในอนาคต

ภัทรา พอร์ซเลน ปัจจุบันมีกำลังการผลิต 800,000 ชิ้นต่อเดือน มีโครงการจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1 ล้านชิ้นต่อเดือนในปีนี้ พิพัฒน์เปิดเผยว่า "กำลังการผลิตขนาดล้านชิ้นต่อเดือนเป็นกำลังการผลิตที่เหมาะสมที่สุดแล้ว หากมากกว่านี้จะมีปัญหาเรื่องการควบคุมกำลังการผลิตในระดับนี้ ขณะที่แบรนด์เนมระดับโลกรายอื่น เช่น Noritake ในระยะหลังมียอดขายดีมาก ใช้วิธีให้โรงงานอื่นทำมาแล้วติดแบรนด์เนมของตน"

ในแง่ของผลการดำเนินงานนั้น ปรากฏว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2535 ภัทรา เซรามิกมีผลกำไรตกต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2534 ถึง 4 เท่า คือมีกำไรสุทธิเพียง 8.92 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ 41.1 ล้านบาท

ปัญหาสำคัญที่ทำให้ผลกำไรตกต่ำลงมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมาทำให้บริษัทไม่สามารถปรับราคาสินค้าปีละ 5% นอกจากนี้บริษัทยังต้องการรับภาระต้นทุนสูงขึ้นในเรื่องของแรงงานและต้นทุนการผลิต

วีรวัฒน์ ชลวณิช ประธานกรรมการบริหารภัทรา เซรามิก เปิดเผยว่า "บริษัทได้มีการจัดตั้ง Central Technical เป็นฝ่ายที่พัฒนาเทคนิคการผลิตเพื่อให้มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลงโดยเฉพาะเรื่องปรับเปลี่ยนสูตรเนื้อดินซึ่งกำลังมีการทดลองอยู่ ฝ่ายพัฒนานี้จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องภาระต้นทุนสูงของบริษัท"

ในส่วนของกิจการพอร์ซเลนนั้นมีการตั้งเป้ายอดขายปี 2536 ไว้ที่ 400 ล้านบาททั้งในและต่างประเทศและในอนาคตมีโครงการที่จะนำบริษัทนี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้วย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us