Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน5 มกราคม 2550
ทีโอทีฟ้องศาลปกครองเลิกค่าเชื่อมโยงกทช.ทำเสียหายปีละกว่าหมื่นล.             
 


   
www resources

โฮมเพจ องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย

   
search resources

องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT
Telecommunications




บอร์ดสั่งทีโอทียื่นร้องศาลปกครองให้ยกเลิกประกาศ กทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคม หลังประกาศกทช.ทำให้ทีโอทีเสียหายกว่าหมื่นล้านบาท ด้าน “สมชัย แนวพานิช” กรรมการบริหารสหภาพฯ แจงเหตุต้องเคลื่อนไหวกับคนนอกเพราะสหภาพฯแตกเป็นก๊กเป็นเหล่า จนละเลยการปกป้องผลประโยชน์องค์กร

แหล่งข่าวจากบริษัท ทีโอที กล่าวว่าบอร์ดทีโอทีมีมติเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2549ให้ฝ่ายบริหารทีโอทีรับไปดำเนินการในการร้องต่อศาลปกครองเพื่อขอให้ยกเลิกประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคม ข้อ 126 โดยให้พ.อ.พิเชษฐ คงศรี และนายชินวัฒน์ ทองภักดี กรรมการฝ่ายกฎหมายและสัญญาร่วมกับนายปริญญา วิเศษศิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักกฎหมาย ทีโอที ร่วมกันดำเนินการและดูแลสำนวนในการร้องต่อศาลปกครอง

ทั้งนี้บอร์ดเห็นว่า 1.อำนาจในการออกประกาศของกทช. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายโทรคมนาคม มีกฎหมายรองรับถูกต้อง ทั้งนี้กรณีการเชื่อมโยงโครงข่าย (Access Charge) และการเชื่อมต่อโครงข่าย (Interconnection Charge) นั้น กทช.ไม่เคยยืนยันว่าเป็นกรณีเดียวกัน และในกรณีที่ฝ่ายบริหารทีโอที ได้ถามไปยังกทช.ว่าผู้ร่วมการงานหรือบริษัทเอกชนมีสิทธิเชื่อมต่อกันเองโดยตรงหรือไม่นั้น ฝ่ายบริหารทีโอทีก็ไม่ได้รับคำตอบจากกทช.แต่อย่างใด 2.จากการพิจารณาของฝ่ายบริหารทีโอที โดยสำนักกฎหมายเห็นว่าคุณสมบัติของเอกชน ไม่เป็นไปตามประกาศของกทช. จึงไม่สามารถเชื่อมต่อกันเองได้ ซึ่งหากพบว่าบริษัทเอกชนมีการเชื่อมต่อกันเองโดยตรง ฝ่ายบริหารทีโอทีจะแจ้งให้กทช.ทราบเพื่อดำเนินการต่อไป

3.ทีโอทีควรร้องต่อศาลปกครองเพื่อยกเลิกประกาศกทช.เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายข้อ 126 โดยใช้แนวทางการพิจารณาคดีทางปกครองกรณีคำสั่งปกครองใดก่อให้เกิดภาระเกินควรเนื่องจากประกาศ กทช.ดังกล่าวทำให้ทีโอที สูญเสียรายได้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทก็น่าจะถือได้ว่าเป็นภาระเกินควร และเมื่อพิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนแม่บทโทรคมนาคม ที่ให้มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม กทช.ก็ไม่ควรกำหนดกฏเกณฑ์หรือออกประกาศ ที่จะมีผลจะทำให้ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมรายหนึ่งรายใดไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งย่อมขัดต่อการส่งเสริมการแข่งขันเสรี และถือเป็นการขัดต่อแผนแม่บทโทรคมนาคมดังกล่าว จึงน่าจะเป็นเหตุผลของทีโอทีในการร้องขอความคุ้มครองชั่วคราวกับศาลปกครองได้ และ4.ในการยื่นเรื่องต่อศาลปกครองควรเร่งดำเนินการ เพื่อมิให้ขาดอายุความในการยื่นคำร้อง ทั้งนี้หากบริษัท กสท โทรคมนาคม เข้าร่วมดำเนินการกับทีโอทีด้วย ก็จะทำให้มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น

“บอร์ดมีมติให้ทีโอที ร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เนื่องจากเป็นประเด็นข้อกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อน และเร่งด่วนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับทีโอที”

ด้านนายสมชัย แนวพานิช กรรมการกลางสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ทีโอที กล่าวว่าเมื่อวันที่ 3 ธ.ค.ที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์ศาลปกครองสูงสุดร่วมกับนายศาสตรา โตอ่อน กับนางสาว รสนา โตสิตระกูลเพื่อขอให้ศาลปกครองสูงสุด พิจารณาคำอุทธรณ์และมีคำสั่งให้ศาลปกครองกลางรับคำฟ้อง และมีคำสั่งกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวตามที่ได้มีการไต่สวนฉุกเฉินตามคำขอของผู้ฟ้องคดี

ทั้งนี้ประเด็นที่ผู้ฟ้องขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี มี 2 ประเด็น คือ หนึ่ง ประกาศ กทช.ว่าด้วยการใช้และเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 เป็นประกาศที่เกี่ยวข้องแต่เฉพาะกับ “ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม” ตามเหตุผลของศาลปกครองกลางหรือเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องถึง “นิติบุคคลเอกชนผู้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา สามารถใช้และเชื่อมต่อโครงข่าย” ตามเนื้อหาในข้อ 126 ของประกาศฯ

สอง ในคำฟ้องของผู้ฟ้องคดี “ผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้มีการกล่าวอ้างว่าตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร” ตามเหตุผลของศาลปกครองกลาง หรือ “ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้มีการกล่าวอ้างว่าตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายอย่างไร”

สำหรับคำอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดของผู้ฟ้องคดีทั้งสาม มีประเด็นโต้แย้งคำสั่งศาลปกครองกลาง ดังนี้ 1.การที่ศาลปกครองกลางให้เหตุผลว่า ประกาศฯเป็นการกำหนดสิทธิและหน้าที่ในการใช้และเชื่อมโยงโครงข่ายโทรคมนาคมระหว่างผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วยกันเอง เมื่อผู้ฟ้องคดีไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตจึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศฯ นั้น เป็นการวินิจฉัยผิดประเด็น เนื่องจาก ประกาศดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องการกำหนดสิทธิและหน้าที่เฉพาะผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมด้วยกันเองเท่านั้น แต่ใน ข้อ 126 ของประกาศฯดังกล่าว ตามที่บรรยายมาในฟ้องกลับกำหนดให้นิติบุคคลเอกชนผู้รับอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญา สามารถใช้และเชื่อมต่อโครงข่ายได้ ดังนั้นเหตุผลในคำสั่งจึงมีความคลาดเคลื่อนไปจากเนื้อหาของประกาศ จนนำไปสู่ความผิดพลาดในการวินิจฉัยว่าผู้ฟ้องคดีมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากประกาศฯดังกล่าว

2.การที่ศาลปกครองกลางให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้อ้างว่าตนได้รับความเสียหายจากประกาศดังกล่าวอย่างไร เพียงแต่อ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และวิทยุคมนาคมซึ่งเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติ เป็นการวินิจฉัยที่มีความขัดแย้งอยู่ในตัว โดยศาลปกครองกล่าวในตอนต้นว่า “ผู้ฟ้องคดีทั้งสามไม่ได้อ้างว่าตนได้รับความเสียหายจากประกาศดังกล่าวอย่างไร” แต่ต่อมากลับบรรยายว่า “เพียงแต่อ้างว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคลื่นความถี่ฯ” เหตุทั้งสองประการมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัวว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสามได้อ้างว่าตนได้รับความเสียหายหรือไม่

ในกรณีนี้ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ได้บรรยายฟ้องโดยละเอียดแล้วว่า ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหายในฐานะประชาชนอย่างไร ดังที่ได้บรรยายในคำฟ้องข้อ 1 ทั้งเหตุผลในฐานะ ประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของโครงข่ายโทรคมนาคมของชาติ และ ประชาชนชาวไทยผู้ใช้บริการสาธารณะของชาติ

นายสมชัยกล่าวว่าการที่ต้องออกมาเคลื่อนไหว ยื่นฟ้องกทช.กับศาลปกครองร่วมกับนางรสนาและนายศาสตรา เป็นเพราะ สหภาพฯทีโอที ไม่มีแนวทางดำเนินการในเรื่องดังกล่าวอย่างชัดเจน ทั้งๆที่หากมีการใช้อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จแล้ว เอกชนจะเลิกจ่ายแอ็คเซ็สชาร์จให้ทีโอที ซึ่งจะทำให้ทีโอทีเสียรายได้กว่าหมื่นล้านบาท แต่สหภาพฯกลับไม่ได้มีการเคลื่อนไหวแต่อย่างใด รวมทั้งสหภาพฯทีโอทีเกิดการแตกแยก ขาดความเป็นเอกภาพ ในการเคลื่อนไหวปกป้องรักษาผลประโยชน์ขององค์กร

“ผมยังเป็นกรรมการบริหารสหภาพฯ อยู่ แต่ต้องออกมาเคลื่อนไหวกับบุคคลภายนอก เพราะทนไม่ไหวกับสหภาพฯ ที่แตกเป็นก๊กเป็นพวก และเลือกเคลื่อนไหวบางเรื่องที่มีเป้าหมายซ่อนเร้น ซึ่งมีบางเรื่องจะถูกเปิดเผยเร็วๆนี้”   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us