Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"ไมย์เออร์ฯ บุกไทย การลงทุนที่ซื้ออนาคต"             
 


   
search resources

ไมย์เออร์ กรุ๊ป
Home and Office Appliances




ทุกวันนี้ วิถีชีวิตของคนไทย โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ดังจะเห็นได้จากการเกิดขึ้นมาของอาคารชุดจำนวนมากในหลายเมือง ไม่ว่าจะเป็นกรุงเทพฯ เชียงใหม่ พัทยา หรือเมืองอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงความเป็นอยู่ที่เกิดขึ้นมานี้ ย่อมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ตามมาด้วย

กลุ่มทุนที่มองเห็นโอกาสนี้กลุ่มหนึ่งก็คือ "ไทย์เออร์อินเตอร์เนชั่นแนลโฮลดิ้ง" จากฮ่องกง ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์หลายอย่าง เช่น โคมไฟและไฟแฟลช บานพับ โคมไฟสำหรับแคมปิ้ง จนถึงไม้เทนนิส ก็ตัดสินใจมาลงทุนในไทยด้วยการผลิตเครื่องครัวประเภท non-stick ที่ทำจากอะลูมิเนียมและสแตนเลสขึ้นมาอันมีจุดเด่นที่ไม่ต้องใช้น้ำมันในการปรุงอาหาร และไม่ติดภาชนะเพื่อรองรับการใช้ชีวิตแบบใหม่ของคนไทย

"หลังจากที่มีการเลือกสถานที่ตั้งโรงงานนี้ในหลายประเทศทั้งไทย จีน ฟิลิปปินส์ เม็กซิโก และมาเลเซียแล้ว ในที่สุด เราก็เลือกเมืองไทยเพราะมีความเหมาะสมกว่าในหลายๆ ปัจจัย อย่างเช่นที่ตั้งดรงงานที่เราเลือกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังที่อยู่ติดกับท่าเรือน้ำลึก ค่าแรงงานต่ำและแรงงานมีคุณภาพ ตลอดจนถึงการสนับสนุนของรัฐบาล" แหล่งข่าวในไมย์เออร์ฯ กล่าวถึงการเลือกไทยเป็นที่ตั้งโรงงานและตั้งเป็นบริษัทใหม่ขึ้นมาชื่อ ไมเออร์อินดัสตรีย์ขึ้นมา

การมาไทยของไมย์เออร์ กรุ๊ป ในครั้งนี้ แม้จะใหม่กับการตั้งโรงงานผลิต แต่ชื่อของผลิตภัณฑ์ดังกล่าวของไมย์เออร์ในไทย ไม่ได้เป็นของใหม่ทีเดียว เพราะก่อนที่จะตัดสินใจตั้งโรงงานที่แหลมฉบังเมื่อ 2 ปีก่อนนั้น กลุ่มไมย์เออร์ได้ส่งสินค้ามาทดสอบตลาดในไทยเมื่อประมาณ 4 ปีก่อน โดยให้บริษัทธนะภัณฑ์เป็นตัวแทนจำหน่ายในไทย ผ่านห้างสรรพสินค้ากว่า 50 แห่ง และซูเปอร์มาร์เก็ตอีกกว่า 30 แห่งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ๆ เช่น เชียงใหม่ ขอนแก่น ภายใต้ชื่อที่รู้จักกันดีทั่วโลก Circulon Anolon และ Steelon

ไมย์เออร์ กรุ๊ป ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มฮ่องกงที่มีเครือข่ายมากมาย กล่าวคือในสายการผลิต กลุ่มไมย์เออร์มีบริษัทมราประกอบด้วย Meyer Manufacturing ในฮ่องกง Meyer Electronics ในฮ่องกง Meyre Zhao Qing Metal Products ในประเทศจีน บริษัท Meyer Aluminium ที่ฮ่องกง และ Meyer Cookware Industries ในสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ กลุ่มไมย์เออร์ฯ ยังมีเครือข่ายด้านการตลาดในอีก 6 ประเทศคือ Meyer Corporation U.S. ในอเมริกา บริษัท LE Cook's ware inc ในสหรัฐอเมริกา Meyer U.K.ในอังกฤษ Meyer Japan ในญี่ปุ่น Meyer Housewares Canada ในแคนาดา Meyer International ในฮ่องกง และ Meyer International ในไต้หวัน

"เครือข่ายการผลิตและกระจายสินค้าของไมเออร์ จะทำงานประสานกันเพื่อกระจายสินค้าของเราไปทั่วโลก เพราะเรามีกำลังการผลิตบนโรงงานที่มีพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางฟุต ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตเครื่องครัวใหญ่ที่สุดในโลก" เจ้าหน้าที่ของไมย์เออร์ในไทยกล่าว

การมาตั้งโรงงานในไทยด้วยเงินลงทุนกว่าพันล้านบาทครั้งนี้ ไมย์เออร์ให้ความสำคัญมาก เพราะแสตนเล่ย์ เช็ง ทายาทของผู้ก่อตั้งที่เป็นประธานกรรมการบริหาร ลงมาเป็นผู้กำกับเองในโรงงานที่เริ่มดำเนินการผลิตเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

ด้วยความที่โรงงานของไมย์เออร์อินดัสตรีส์ที่แหลมฉบัง ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการลงทุนจาก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ออกจากโรงงานจำนวน 90% จะต้องทำการส่งออก ซึ่งเขากล่าวว่าไม่มีปัญหาสำหรับการทำตลาด เพราะเครือข่ายของไมย์เออร์ กรุ๊ป คงจะสามารถกระจายสินค้าของเครือได้เป็นอย่างดีด้วยการประกาศว่า สินค้าที่ผลิตจากประเทศไทยนี้ จะมีมาตรฐานสากล

"ตอนนี้เราผลิตสินค้าในไทยเพียง 15 ชนิด จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เรามีถึง 100 กว่าชนิด ซึ่งหมายถึงปริมาณสินค้ามีมูลค่าประมาณ 750 ล้านบาท แต่ในอีก 3-5 ปี เราจะเพิ่มปริมาณสินค้าเป็น 2,400 ล้านบาท" ประธานไมย์เออร์กล่าวพร้อมทั้งย้ำว่าในอีก 3 ปี ข้างหน้าจำนวนคนงานในโรงงานที่แหลมฉบังจะเพิ่มจาก 1,100 คนในวันนี้เป็น 3,000 คนตามแผนการขยายงานของโรงงาน

อย่างไรก็ตาม การผลิตเครื่องครัวจากโรงงานดังกล่าวนั้นยังต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศหลายแห่ง เช่น สั่งซื้อแท่งอะลูมิเนียมจากแคนาดา ออสเตรเลีย โดยผ่านทางเครือข่ายของไมย์เออร์แล้วส่งให้บริษัท Meyer Aluminium ที่ฮ่องกงทำการแปรสภาพจากแท่งเป็นแผ่นอะลูมิเนียม แล้วจึงส่งมายังโรงงานในไทย

ส่วนวัตถุดิบอีกอย่างคือสแตนเลสสตีลนั้นเครือข่ายของไมย์เออร์ก็จะสั่งจากหลายๆ ประเทศที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เช่น ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวในไมย์เออร์ กรุ๊ป เปิดผยว่าโรงงานในแต่ละประเทศของกลุ่มต่างก็เน้นที่จะใช้วัตถุดิบในประเทศที่เป็นที่ตั้งของโรงงานเพื่อให้ต้นทุนในการผลิตต่ำอย่างเช่น การผลิตในไทยจะมีวัตถุดิบหลายอย่างที่ซื้อในประเทศ เช่น ทองแดง สารเคลือบ non-stick ด้ามจับที่จากยางสังเคราะห์ น้ำมันสำหรับหล่อลื่น จนถึงเหล็กที่ใช้ในการผลิตบางส่วน

"แม้กระทั่งวัตถุดิบหลักอย่างอะลูมิเนียมหรือสแตนเลสสตีล ในอนาคตก็เป็นไปได้ที่จะมีการใช้จากโรงงานในไทย"

หลังจากการเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาแล้ว สแตนเล่ย์ เช็งประธานกรรมการบริหารได้กล่าวว่า กลุ่มไมย์เออร์มีความมั่นใจต่อตลาดสินค้าตัวนี้ในไทยมากว่าจะขยายตัวสูง อันเนื่องมาจากการใช้ชีวิตของคนไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้ครอบครัวใหม่ๆ มีการสร้างครัวเรือนที่ทันสมัยตามสภาพที่อยู่อาศัยที่เป็นอาคารชุดมากขึ้น แม้ในวันนี้ ผลิตภัณฑ์ยังต้องส่งออกถึงสูงถึง 90% ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริมก็ตาม

พวกเขาหวังว่า เมื่อระเบียบของบีโอไอที่กำหนดการส่งออกไว้ที่ 90% เป็นเวลา 7 ปีหมดลงตลาดในไทยก็คงจะโตพอที่จะรองรับผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาวางแผนขยายกำลังการผลิตเพิ่มกว่า 3 เท่าตัวในระยะเวลา 5 ปีจากวันนี้

ไม่ว่าการวาดหวังของกลุ่มไมย์เออร์จะถูกหรือไม่ก็ตาม แต่การที่พวกเขากล้าลงทุนนับพันล้านบาทและประทับตรา Made in Thailand บนผลิตภัณฑ์ของเขานั้นดูเหมือนทั้งบีโอไอ และกระทรวงอุตสาหกรรมพอใจมากทีเดียวในยุคที่การลงทุนในไทยอยู่ในภาวะที่ไม่ดีนักในวันนี้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us