Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 มกราคม 2550
แบงก์พาณิชย์อ่วมสำรองเพิ่มกว่า 27 % หลังประกาศใช้มาตราฐานบัญชีใหม่             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
เกริก วณิกกุล
Banking and Finance




แบงก์ชาติระบุสถาบันการเงินในระบบต้องกันเงินสำรองเพิ่มขึ้น 27% หลังใช้มาตราฐานการบัญชีแบบใหม่ เชื่อเพิ่มความแข่งแกร่งให้สถาบันการเงินในอนาคต ยอมรับเป้าลดเอ็นพีแอลให้ได้ 2% ในปีหน้าเป็นไปได้ยาก ขึ้นกับประสิทธิภาพสถาบันการเงิน

นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า การที่ธปท.ให้สถาบันการเงินทยอยกันเงินสำรองตามมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ ฉบับที่ 39 (IAS39) ซึ่งมีการหักค่าเสี่อมราคาและค่าเสียโอกาสการขายเข้าไปรวมกับหลักประกันด้วย ทำให้การตีราคาทรัพย์สินจากเดิมอยู่ที่ 90%ของราคาหลักทรัพย์ กลับเหลือเพียง 63%ของราคาหลักทรัพย์ ซึ่งในส่วนนี้มีการคำนวณค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 7% และค่าเสียโอกาสอยู่ที่ 5.5 ปี ดังนั้น สถาบันการเงินจะต้องมีการกันเงินสำรองเพิ่มขึ้นจากหลักเกณฑ์เดิมถึง 27%ของมูลค่าหลักประกัน

ทั้งนี้ ตามมาตรฐานทางบัญชีแบบใหม่ ธปท.ได้กำหนดให้สถาบันการเงินทยอยกันสำรองแบ่งเป็น 3 งวดบัญชี โดยงวดแรกเริ่มในช่วงเดือนธ.ค.49 ที่ผ่านมา โดยต้องมีการกันเงินสำรอง 100% สำหรับลูกหนี้ประเภทศาลมีคำพิพากษาแล้วหรือยู่ระหว่างบังคับคดี และลูกหนี้ที่อยู่ระหว่างดำเนินคดีให้กันสำรอง ส่วนงวดที่สองเริ่มกันเงินสำรองในช่วงเดือนมิ.ย.50 เป็นต้นไป โดยต้องมีการกันเงินสำรองในสัดส่วน 100% จากเดิม 50% สำหรับลูกหนี้ที่ถูกจัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญและชั้นสงสัยให้กันสำรอง และงวดสุดท้ายในช่วงเดือนธ.ค.50 เป็นต้นไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ที่ถูกจัดเป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ถือเป็นลูกหนี้ที่มีมากที่สุดในระบบในปัจจุบันจะต้องถูกกันเงินสำรองในสัดส่วน 100% จากเดิมอยู่ที่ระดับ 20%

อย่างไรก็ตาม ธปท.เชื่อว่าสถาบันการเงินจะไม่ประสบปัญหามากนักในการใช้มาตรฐานการบัญชีแบบใหม่ แต่อาจมีเพียงสถาบันการเงินที่มีเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส)น้อยและต้องการขยายธุรกิจจำเป็นต้องเพิ่มทุน โดยมาตรฐานใหม่นี้อาจทำให้เงินกองทุนขั้นที่ 1 (เทียร์ 1) ลดลงได้ ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในระบบเฉลี่ยอยู่ที่ 10% แต่ก็เชื่อว่าด้วยเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ธนาคารพาณิชย์มีอยู่โดยเฉลี่ย 14% ถือว่าสูงกว่าที่ธปท.กำหนดไว้ที่ระดับ 8.5% จะไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของสถาบันการเงินมากนัก ขณะเดียวกันยอมรับว่ากำไรหลังหักเงินสำรองแล้วของปีนี้และปีหน้าจะทำให้สถาบันการเงินแข่งแกร่งขึ้นด้วย

สำหรับลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตหรือเป็นลูกหนี้รายย่อยที่มีลักษณะการกู้ยืมเงิน เช่น สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเช่าซื้อและให้เช่าแบบลิสซิ่ง ซึ่งจะมีการกันเงินสำรองตามกลุ่มลูกหนี้ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน(Collective Approach) ดูจากประสบการณ์ผลขาดทุนในอดีตที่ผ่านมสำหรบลูกหนี้แต่ละกลุ่ม(Historical Loss Experience) โดยธปท.เชื่อว่าลูกค้าในกลุ่มนี้จะไม่ได้รับผลกระทบแม้จะนำมาตรฐานทางบัญชีแบบใหม่มาใช้ เพราะเมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างสินเชื่อกลุ่มนี้กับสินเชื่อรวมคิดเป็น 20%ของสินเชื่อรวมเท่านั้น ถือว่าน้อยมาก นอกจากนี้สถาบันการเงินที่ให้บริการกลุ่มนี้จะมีการกันเงินสำรองในสัดส่วนที่สูงอยู่แล้ว เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ไม่มีหลักประกัน หากเกิดการฟ้องร้องก็ไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่เสียไป

สำหรับเป้าหมายการลดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ในระบบสถาบันการเงินให้เหลือ 2% ภายในกลางปี 2550 นั้น นายเกริก กล่าวว่า การลดเอ็นพีแอลให้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ยอมรับว่าเป็นไปได้ยากหรือแม้แต่จะมีการนำมาตรการทางบัญชีใหม่มาใช้หรือไม่ก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการบริหารจัดการของสถาบันการเงินแต่ละแห่งมากกว่า ขณะเดียวกันในบทบาทและหน้าที่ของธปท.เป็นเพียงผู้ที่กระตุ้น ส่งเสริม และเปิดช่องทางให้แก่สถาบันการเงินพยายามลดเอ็นพีแอลให้ได้มากที่สุดเท่านั้น

"การตั้งเป้าหมายแต่ละอย่างจะทำได้หรือไม่ขึ้นกับว่าใครเป็นคนกำหนดมากกว่า โดยหากเป็นฝ่ายบริหารก็ย่อมจะตั้งเป้าไว้ต่ำ เพื่อให้ได้โบนัส ขณะที่หากเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นก็ย่อมตั้งเป้าให้สูงไว้ เพื่อบีบให้คนขยันทำงานและได้ผลงานที่ดีกลับมา ดังนั้น การกันเงินสำรองเอ็นพีแอลก็เป็นส่วนหนึ่งในการโชว์ประสิทธิภาพในการทำงานของสถาบันการเงินด้วย โดยหากเอ็นพีแอลก้อนไหนมีการกันเงินสำรองแล้วก็ไม่มีความเสียหายต่อสถาบันการ แต่หากจำนวนเอ็นพีแอลไม่ได้ลดลงก็แสดงให้เห็นถึงการจัดการที่ไม่ดีของสถาบันการเงินแห่งนั้นมากกว่า"

นายเกริก กล่าวว่า ในปัจจุบันระบบสถาบันการมียอดเอ็นพีแอลอยู่ที่ 8.20%ของสินเชื่อรวม หรือประมาณ 4.85 แสนล้านบาท แต่หากหักเอ็นพีแอลที่มีการกันเงินสำรองครบถ้วนแล้วจะทำให้เอ็นพีแอลอยู่ที่ 4% ขณะเดียวกันในปัจจุบันเอ็นพีแอลในระบบมีการกันเงินสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญทั้งสิ้น 2.4 แสนล้านบาท ซึ่งมีการกันเงินสำรองฯ มากกว่าที่ธปท.กำหนดถึง 4 แสนล้านบาท และมีหลักประกันสำหรับค้ำประกันหนี้ทั้งสิ้น 2.79 แสนล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us