จับตาซัปพลายคอนโดฯราคาต่ำ3 ล้านบาทค้างตึ้งกว่า 5,000 หน่วย โดยเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้า จับตากลุ่มเก็งกำไรยังไม่หายไปจากตลาด
ในช่วงปี 2550 ตลาดที่อยู่อาศัยประเภทคอนโดมิเนียม คาดว่าจะได้รับนิยมและความต้องการของผู้ซื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ทำงานในเมืองหรือผู้ที่ต้องซื้อมีพฤิตกรรม(ไลฟ์สไตล์)ที่ต้องการอยู่ใกล้กับแหล่งชุมชน หรืออยู่ใกล้กับโครงข่ายรถไฟฟ้าใต้ดินและบีทีเอส ทำให้ตลอดปี 2549 ที่ผ่านมา ยอดการจดทะเบียนอาคารชุดพุ่งสูงเป็นมาก ส่งผลให้ภาพรวมของยอดการจดทะเบียนทั้งตลาดอยู่ที่ประมาณ 7,700-7,800 หน่วย อย่างไรก็ตามในปีนี้จะเริ่มมีบางโครงการทยอยโอนห้องชุดให้แก่ลูกค้า
นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการบริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด หรือ AREA วิเคราะห์ว่า ตลาดคอนโดมิเนียมในเมืองหรือ "ซิตี้คอนโดฯ"ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของผู้ซื้อที่ยังมองว่า โอกาสที่โครงข่ายรถไฟฟ้าจะขยายไปออกสู่นอกเมืองมากขึ้นนั้นยังไม่ชัดเจน ทำให้ยอดขายคอนโดฯก็ขายดีอยู่ ซึ่งในปี 2550-2551 ก็คาดว่าความต้องการห้องชุดยังขยายตัว
โดยโครงการคอนโดมิเนียมระดับราคา 1-3 ล้านบาทตามแนวรถไฟฟ้ามีสัดส่วนถึง 23% เมื่อเทียบกับตลาดรวมของคอนโดมิเนียม และเป็นการเพิ่มขึ้น ขณะที่ในปี 2549 โครงการคอนโดฯระดับราคาดังกล่าวมีสัดส่วน16% ปี 2548 มีสัดส่วนเพียง 9.5% ของตลาดคอนโดมิเนียม แสดงว่าในปีนี้ แนวโน้มคอนโดฯระดับกลางจะเติบโตได้อีก
จากการรวบรวมข้อมูลในช่วง 9เดือนแรก คอนโดฯระดับ 1-3 ล้านบาท มีจำนวน 10,009 หน่วย มูลค่าการขายประมาณ 18,500 ล้านบาท และคาดว่าตลอดทั้งปีจะมีจำนวน 14,500 หน่วย มูลค่าขายประมาณ 25,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะอิงแนวรถไฟฟ้า ส่วนการขายสามารถระบายออกไปได้กว่า 67% ในช่วง 9 เดือนแรก คาดทั้งปีประมาณ 70% นั่นหมายความว่าจะมีคอนโดฯราคา 1-3 ล้านบาท คงค้างในตลาดประมาณ 5,000 หน่วย มูลค่าขายประมาณ 10,000 ล้านบาท
"แต่สิ่งที่เราห่วงคือ ห่วงการเก็งกำไร ในบางพื้นที่มีการเก็งกำไร เช่น โซนรัชดาภิเษก ลาดพร้าว ที่ยังเหลือซัปพลายอยู่จำนวนมาก มีคนสร้างแต่ไม่มีใครบอกได้ว่าความต้องการที่แท้จริงเป็นงัยบ้าง"
|