Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"ตลาดทุน เอเชีย-แปซิฟิก ปี 1993/2536 เพิ่มความคุ้มครองนักลงทุนมากขึ้น"             
 

 
Charts & Figures

HOW REGULATIONS WILL CHANGE


   
search resources

อาร์เธอร์แอนเดอร์เซ่น
กาญจนา นิมมานเหมินท์
Consultants and Professional Services




กลุ่มตลาดทุนของบริษัทอาร์เธอร์แอนเดอร์เซ่น ซึ่งทำธุรกิจด้านบริการตรวจสอบบัญชีเปิดเผยข้อสรุปจากงานวิจัยเรื่องภาพรวมการเปลี่ยนแปลงของตลาดทุนในเอเชีย-แปซิฟิก ว่ากฎระเบียบของตลาดเหล่านี้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในปี 2536 ขณะที่บรรดากิจการต่างๆ จะเข้ามาระดมทุนกันมากขึ้น

กาญจนา นิมมานเหมินท์ กรรมการบริษัท ที่ปรึกษากฎหมายและภาษีอากร เอสจีวีเอ็น ซึ่งเป็นตัวแทนของอาร์เธอร์แอนเดอร์เซ่นในประเทศไทย และเป็นผู้รับผิดชอบงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทย เปิดเผยว่า "กฎระเบียบของตลาดทุนในภูมิภาคนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในแนวโน้มที่ให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนมากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้มีการระดมทุนมากขึ้นด้วย"

กฎระเบียบของตลาดทุน เอเชีย-แปซิฟิก จะเปลี่ยนไปในทางที่เข้มงวดมากขึ้นในเรื่องการใช้ข้อมูลวงในเพื่อการซื้อขายหุ้นหรืออินไซเดอร์ เทรดดิ้ง ให้การคุ้มครองนักลงทุนมากขึ้น เข้มงวดเรื่องการซื้อขายหุ้นนอกงบดุล รวมทั้งกิจกรรมที่ผิดกฎหมายและการดำเนินการในประเด็นที่จะมีการลดความเข้มงวดลงหรือปล่อยเสรีมากขึ้นได้แก่ การผนวกกิจการ การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่างประเทศ และการมีส่วนร่วมของนักลงทุนต่างประเทศ

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้เวลาทำนาน 12 เดือน โดยอาศัยข้อมูลจากแบบสอบถามที่ส่งไปสัมภาษณ์เหล่าผู้บริหารในธุรกิจตลาดทุนมากกว่า 500 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล นักวิชาการ และผู้สังเกตการณ์ตลาดทุนจาก 12 ประเทศในเอเชีย-แปซิฟิก สหรัฐฯ และยุโรป

ข้อมูลจากงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้า ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก จะมีความต้องการเงินทุนอย่างมาก เพราะรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ต้องการเงินเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค เช่น ระบบการขนส่งและระบบไฟฟ้าในจีน โดยแหล่งเงินทุนใหญ่ที่จะไหลเข้ามาในภูมิภาคนี้จะมาจากยุโรป ข้อสรุปนี้ต่างจากความเชื่อทั่วไปที่ว่าภูมิภาคนี้มีเงินทุนเพียงพอกับความต้องการแล้ว

นอกจากนี้ผลการวิจัยยังชี้ให้เห็นแนวโน้มที่ว่าการดำเนินการของผู้ที่เกี่ยวข้อง กับตลาดทุนในภูมิภาคนี้จะมีลักษณะมืออาชีพมากขึ้น เพราะมีความต้องการข้อมูลข่าวสารที่ทันเหตุการณ์และน่าเชื่อถือยกตัวอย่างเช่น การตรวจสอบบัญชีของกิจการต่างๆ จะต้องยกระดับเข้าสู่มาตรฐานสากลเพื่อที่ว่านักลงทุนจะได้อ่านงบการเงินที่ถูกต้องและได้มาตรฐาน สามารถรู้สถานะการประกอบการที่แท้จริงของกิจการเหล่านั้น

การลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity Market) ในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก เป็นการลงทุนที่น่าสนใจที่สุดในโลก ตลาดหลักทรัพย์ประเภททุนในเอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) มีส่วนแบ่งร้อยละ 6 ของตลาดโลก และมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 5 โดยปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่กระตุ้นการเติบโตของตลาดนี้คือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นธุรกิจเอกชนซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มน้เช่นกัน

ข้อที่น่าสนใจประการหนึ่งจากงานวิจัยคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนให้ความสนใจต่อการพัฒนาตลาดการเงินประเภทหนี้ของสถาบัน (Corporate Debt) อย่างมาก แต่โดยข้อเท็จจริงตลาดการเงินประเภทนี้ยังไม่เติบโตอย่างแท้จริง เป็นที่คาดหมายว่าใน 5 ปีข้างหน้าการกู้ยืมเงินจากธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จะยังคงมีอยู่สูง ขณะที่การออกตราสารหนี้ของกิจการใหญ่ๆ ยังไม่สามารถทำได้เพราะตลาดที่จะรองรับยังไม่เติบโตแข็งแรงพอ

ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนได้ให้ความเห็นในแบบสอบถามครั้งนี้ด้วย ว่าอิทธิพลของบริษัทอเมริกันในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกจะลดน้อยถอยลง สาเหตุสำคัญมาจากปัญหาต่างๆ ทางด้านเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1980-1989

สถาบันการเงินของสหรัฐฯ พยายามลดทอนบทบาทของตนกระทั่งถอนตัวออกจากตลาดระหว่างประเทศ พวกเขาจึงสูญเสียโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วมกับการเติบโตของภูมิภาคนี้

แนวโน้มของสถาบันการเงินในสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่สวนทางกับสถาบันการเงินของยุโรปซึ่งมองการณ์ในระยะยาว พวกเขาสนใจที่จะพัฒนาไปพร้อมกับการพัฒนาเติบโตของตลาดทุนเอเชีย-แปซิฟิก

สำหรับตลาดทุนในประเทศไทยนั้นก็เป็นตัวหนึ่งที่สะท้อนกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบของตลาดทุนเอเชีย-แปซิฟิก ได้อย่างชัดเจน

มีการใช้กฎหมาย ก.ล.ต.เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 และมีการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เช่น กรณีการจับนักปั่นหุ้น เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีความพยายามที่จะพัมนาตลาดทุนในหลายๆ ด้าน ในทางที่จะให้ความคุ้มครองแก่นักลงทุนมากขึ้น มีการสนับสนุนการพัฒนาตราสารการเงินใหม่ๆ ส่งเสริมการตั้ง OTC เป็นต้น

ข้อที่น่าสนใจกับงานวิจัยประเทศไทยคือ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนไทยมองว่าตลาดบ้านเรายังพัฒนาไม่เต็มที่ทั้งที่มีความต้องการอย่างมาก ที่จะพัฒนาให้ได้มาตรฐานตามแบบอย่างของตลาดระหว่างประเทศแต่ความรู้ความชำนาญในตลาดทุนไทยยังไม่อยู่ในระดับเดียวกับตลาดทุนอื่นๆ เพราะกฎระเบียบของตลาดทุนไทยยังต้องมีการปรับปรุงแก้ไขอีกมาก โดยเฉพาะพฤติกรรมของนักลงทุนที่มุ่งเน้นการลงทุนระยะสั้นเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาตลาดทุนไทยอย่างมาก

ขณะที่ผู้บริหารตลาดทุนจากเอเชีย-แปซิฟิกเห็นว่าไทยและมาเลย์เป็นประเทศที่น่าลงทุนที่สุดในภูมิภาคนี้ แต่ผู้เชี่ยวชาญตลาดทุนจากอเมริกามองว่าจีนน่าลงทุนมากที่สุด ขณะที่ทางยุดรปนั้นมองว่าจีนและเวียดนามน่าลงทุนมากที่สุด สาเหตุเพราะ 2 ประเทศนี้เป็นตลาดที่ใหญ่มากและเป็นตลาดเกิดใหม่ด้วย

นอกจากนี้ยังมีแรงงานราคาถูกและมีเสถียรภาพทางการเมืองอย่างมาก

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us