|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
แบงก์ชาติเปิดแนวทางกำกับดูแลสถาบันการเงินปีหน้า ระบุเป็นปีแห่งการเตรียมพร้อมรับการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรการฐานสากล โดยเฉพาะเกณฑ์บาเซิล 2 ยันไม่กระทบฐานะเงินกองทุนและไม่บีบแบงก์ควบรวม มั่นใจสิ้นปีหน้าเริ่มทดลองใช้ได้ทัน พร้อมเตรียมจัดทำมาสเตอร์แพลนฉบับที่ 2 เปิดทางแบงก์ทำธุรกิจเพิ่มและเปิดเสรีทางการเงินมากขึ้น
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงนโยบายการกำกับสถาบันการเงินในปี 50 ว่า ธปท.ได้กำหนดแนวทางในการดูแลสถาบันการเงิน โดยในช่วงปีหน้ากำหนดให้สถาบันการเงินเตรียมความพร้อมกับมาตรฐานสากลที่จะเข้ามาช่วยพัฒนาระะบบสถาบันการเงินไทย ซึ่งได้แก่ 1.แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน(มาสเตอร์แพลน) ฉบับที่ 2 มาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจไทย 2.การดำรงเงินกองทุนสำรองขั้นต่ำตามหลักเกณฑ์บาร์เซิล ทู ซึ่งส่งเสริมลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้มีต้นทุนการกู้ที่ลดลง 3.โครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงินตามมาตรฐานสากล(FSAP) และ4.นโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่ม(Consolidated Supervision) เพื่อพัฒนาศักยภาพและการแก้ไขปัญหาของกลุ่มสถาบันการเงินให้ดีขึ้น
ทั้งนี้ หลังจากที่ธปท.ได้ใช้ มาสเตอร์แพลน ฉบับที่ 1 สิ้นสุดลงในปลายปีนี้แล้ว ธปท.เตรียมออกแผนมาสเตอร์แพลน ฉบับที่ 2 เพื่อเป็นการพัฒนาระบบสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าร่างมาสเตอร์แพลนเสร็จภายในปลายปีหน้า หลังจากนั้นก็จะให้สถาบันการเงินใช้จริงในอีก 2-3 ปีข้างหน้า สำหรับรายละเอียดของแผนฉบับนี้จะเปิดเสรีให้สถาบันการเงินทั้งในประเทศและนอกประเทศสามารถเข้ามาแข่งขันอย่างเสรีมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาในระบบการเงินไทยมากขึ้น อย่างไรก็ตามธปท.ก็ต้องดูแลให้สถาบันการเงินมีดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้สถาบันการเงินได้รับผลกระทบและสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการในระบบมีมากขึ้น เชื่อว่าผู้ใช้บริการจะได้รับประโยชน์จากการแข่งขันกันเสนอบริการที่ดี
“ขณะนี้ตลาดในระบบการเงินยังขาดความหลากหลาย ทำให้ต้นทุนการบริหารความเสี่ยงสูง ดังนั้น หากเปิดขอบเขตการทำธุรกิจให้กว้างขึ้น ทำให้มีผู้เล่นรายใหม่ๆ จะสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งแง่ของประสิทธิภาพการทำงานของสถาบันการเงิน รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการพัฒนาบุคลากรระบบสถาบันการเงินไปในตัว ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้สถาบันการเงินมีต้นทุนที่ต่ำลง ท้ายที่สุดผู้ที่ได้ผลประโยชน์ก็คือผู้ใช้บริการ”
นอกจากนี้ ธปท.ได้เริ่มให้สถาบันการเงินเตรียมความพร้อมในตามหลักเกณฑ์บาร์เซิล ทู ซึ่งก่อนจะประกาศใช้จริงในช่วงปลายปี 51 โดยในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีหน้าสถาบันการเงินจะเริ่มทดลองระบบ หลังจากนั้นจะเริ่มประเมินผลประมาณ 1 ปี ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีสถาบันการเงินยื่นความจำนงมายังธปท.ขอประเมินความเสี่ยงแบบง่าย (Standardised Approach) ทั้งสิ้น 16 แห่ง ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งสิ้น ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่ง เป็นธนาคารลูกครึ่งได้แจ้งความจำนงจะขอประเมินความเสี่ยงแบบยาก(Internal Rating Base) ตามบริษัทแม่ที่อยู่ในต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม การนำหลักเกณฑ์บาร์เซิล ทู มาใช้เชื่อว่าจะไม่ส่งผลให้สถาบันการเงินต้องควบรวมกิจการกัน และจะไม่ส่งผลต่อเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(บีไอเอส)ของระบบสถาบันการเงิน เนื่องจากธปท.จะให้สถาบันการเงินทำแบบค่อยเป็นค่อยไป
ขณะเดียวที่โครงการประเมินความพร้อมการกำกับดูแลภาคการเงินตามมาตรฐานสากล(FSAP) ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)เข้ามาประเมินหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลสถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็น ธปท. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) นั้น ทางไอเอ็มเอฟจะเข้ามาประเมินภาคการเงินของไทยใน 2 ช่วง คือ ระหว่างวันที่ 17-31 ม.ค. และตั้งแต่วันที่ 3-16 พฤษภาคม ในปีหน้า ซึ่งธปท.เชื่อว่าหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลสถาบันการเงินของไทยส่วนใหญ่จะผ่านการประเมินดังกล่าวได้อย่างแน่นอน เพราะแต่ละหน่วยงานได้มีการดำเนินการดังกล่าวมาแล้วล่วงหน้า ซึ่งหากการประเมินผ่านจะส่งผลให้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในการตัดสินใจเข้ามาร่วมทำธุรกิจในประเทศไทย และเป็นการพัฒนาตลาดการเงินและเป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงที่ดีต่อภาคการเงินของไทย
และสุดท้ายนโยบายการกำกับแบบรวมกลุ่ม(Consolidated Supervision) ที่กำหนดให้สถาบันการเงินมีโครงสร้างของกลุ่มธุรกิจทางการเงินให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทแม่ กลุ่มที่มี Non-Operating Holding Company เป็นบริษัทแม่ และกลุ่มที่มีบริษัทหลักทรัพย์หรือบริษัทประกันเป็นบริษัทแม่ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการประกอบธุรกิจของบริษัทในกลุ่มที่อาจจะกระทบต่อฐานะของสถาบันการเงินได้ เพราะการทำธุรกิจของกลุ่มอาจมีผลต่อต้นทุนให้เพิ่มขึ้นบ้างจากการสร้างระบบภายใน แต่เชื่อว่าจะส่งผลดีให้ศักยภาพในการดูแลความเสี่ยง พร้อมทั้งสามารถการติดตามและแก้ไขปัญหาของกลุ่มได้ดีขึ้น
**ศก.โลก-ค่าเงินยังกดดันจีดีพีไทย**
สำหรับเศรษฐกิจในปีหน้าคาดว่าจะยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เพราะพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยหลายด้านยังแข่งแกร่งอยู่ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนที่ต้องคอยระมัดระวังให้มาก โดยเฉพาะปัจจัยด้านต่างประเทศทั้งการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะชะลอตัว เงินทุนไหลเข้าจากปัจจัยค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าจนกดดันค่าเงินในภูมิภาค เป็นต้น
ด้านปัจจัยภายในประเทศขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวภาวะการใช้จ่ายในประเทศเป็นหลัก โดยเฉพาะการลงทุน ดังนั้น สภาพคล่องของระบบสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ย และอัตราเงินเฟ้อก็เชื่อว่าจะเอื้อต่อการใช้จ่ายในประเทศ และทำให้การลงทุนฟื้นตัวด้วย แต่ก็ต้องติดตามปัจจัยที่เป็นแรงขับเคลื่อนในประเทศอีกตัวหนึ่ง คือ ความเชื่อมั่นในประเทศด้วย นอกจากนี้ในส่วนของสถาบันการเงิน หากการลงทุนฟื้นตัวก็จะส่งผลให้การขยายสินเชื่อของสถาบันการเงินได้ดีและส่งผลมายังผลประกอบการของธุรกิจสถาบันการเงินด้วย
|
|
 |
|
|