Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 มกราคม 2550
ปีนี้คนไทยใช้น้ำมันแพง ผ่อนหนี้กองทุน 5 หมื่นล.             
 


   
search resources

Oil and gas
ศิวะนันท์ ณ นคร




แนวโน้มปี 2550 ทิศทางราคาน้ำมันยังทรงตัวในระดับสูงแต่จะไม่สวิงตัวหรือหวือหวาหนักให้รู้สึกหวาดเสียว “ปตท.”ฟันธงให้ราคาบวก ลบ 25 บาทต่อลิตร ไม่หนีจากนี้ ทำใจราคาขายปลีกต้องสูงกว่าตลาดโลกอีก 1 ปีเหตุกองทุนน้ำมันฯรีดเงินใช้หนี้จากการตรึงราคายุคทักษิณเฉียด 5 หมื่นล้านบาท แต่นับเป็นปีทองที่ผู้บริโภคจะเห็นการลด แลก แจกแถมและเติมน้ำมันสะดวกขึ้นเหตุปั๊มเปิด 24 ชม.ทำให้การแข่งขันสูง ขณะที่ธุรกิจการกลั่นหมดยุคทองค่าการกลั่นเริ่มแผ่วเหลือ 4-5 เหรียญต่อบาร์เรลเหตุกำลังผลิตเริ่มมากขึ้น

จากวิกฤติราคาน้ำมันตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่องนับแต่ปลายปี 2546 จนนำไปสู่การตัดสินใจตรึงราคาน้ำมันในยุคของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ในวันที่ 10 ม ..ค. 2547 โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกลไกสำคัญในการอุดหนุนราคาจนถึงวันที่ 13 ก.ค. 2548 จึงยกเลิกมาตรการดังกล่าว รวมเป็นภาระหนี้ที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นถึง 9.2 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้รัฐบาลต้องทยอยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อสะสมในการนำไปใช้หนี้

ปัจจุบันรัฐได้ทยอยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 13 ธ.ค. 2549 เก็บจากผู้ใช้เบนซิน 95 เก็บอัตรา 3.46 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เก็บ 3.26 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เก็บ 1.50 บาทต่อลิตรและดีเซล 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งส่งผลให้มีรายได้ปีละประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท โดยคาดว่าอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนฯจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อที่รัฐบาลจะสามารถเร่งสะสมเงินเพื่อการใช้หนี้ตามกำหนด

ทั้งนี้ หนี้สินค้างชำระของกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 13 ธ.ค. 2549 มีทั้งสิ้นรวม 48,598 ล้านบาทแบ่งเป็นหนี้เงินกู้สถาบันการเงิน 17,446 ล้านบาท หนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 1,549 ล้านบาท หนี้ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม 11,927 ล้านบาท ฯลฯ ซึ่งภาระหนี้ทั้งหมดจะมีการทยอยเก็บเงินสะสมไว้ใช้โดยหนี้สถาบันการเงินจะครบกำหนดชำระในเดือนกันยายน 2550 ขณะที่หนี้พันธบัตรล็อตสุดท้ายจะครบชำระต.ค. 2551 แต่การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯในอัตราขณะนี้จะทำให้มีเงินครบชำระหนี้ในเดือนมี.ค. 2551

นายศิวะนันท์ ณ นคร ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน(องค์การมหาชน) หรือ สบพ. กล่าวว่า อัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในระดับปัจจุบันคือ เบนซิน 95 เก็บอัตรา 3.46 บาทต่อลิตร เบนซิน 91 เก็บ 3.26 บาทต่อลิตร แก๊สโซฮอล์ 95 เก็บ 1.50 บาทต่อลิตรและดีเซล 1.50 บาทต่อลิตรซึ่งส่งผลให้มีรายได้ปีละประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาทคงจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การใช้หนี้เป็นไปตามข้อกำหนด ดังนั้นราคาน้ำมันที่คนไทยใช้ก็จะยังคงสูงกว่าราคาตลาดโลกอยู่ไปอีกอย่างน้อย 1 ปีโดยเฉพาะตลอดปี 2550

“ วันนี้ราคาน้ำมันที่แพงต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเพราะต้องเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ โดยเฉพาะเบนซินที่เก็บถึงกว่า 3 บาทต่อลิตร จากอดีตที่เรายังไม่ได้ตรึงราคาเบนซิน 95 และดีเซลจะเก็บ 50 สตางค์ต่อลิตรและเบนซิน 91 เก็บ 30 สตางค์ต่อลิตรเท่านั้น แต่ผมก็เห็นว่าอัตราขณะนี้ที่เก็บน่าจะเหมาะสมแล้วและระดับราคาขายปลีกในไทยก็ถือว่าถูกกว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงมากทั้ง กัมพูชา ลาว เวียดนาม “นายศิวะนันท์กล่าว

ด้านนายเทียนไชย จงพีร์เพียร นักวิชาการด้านพลังงานและที่ปรึกษาสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ปี 2550 ทิศทางของราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจะยังคงทรงตัวในระดับสูงเพราะนโยบายนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว.พลังงานชัดเจนว่าจะไม่มีการแทรกแซงราคาขายปลีกอีกเป็นอันขาดซึ่งก็เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าวเพราะการแทรกแซงทั้งทางตรงกล่าวคือใช้เงินกองทุนน้ำมันฯตรึงราคาอดีตที่ผ่านมาก็ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าเป็นภาระหนี้จำนวนมาก ขณะที่การแทรกแซงทางอ้อมโดยใช้ บมจ.ปตท.ตรึงราคาระยะยาวจะเกิดผลเสียที่บริษัทน้ำมันอาจขาดทุนและนำไปสู่การบิดเบือนตลาดจะเหลือผู้ค้าไม่กี่รายอนาคตจะยิ่งส่งเสริมให้เกิดการผูกขาด

“ ส่วนราคาขายปลีกในประเทศแม้ว่าตลาดโลกจะมีทิศทางที่ลดลงกว่าปี 2549 แต่ราคาในไทยคาดว่าจะทรงตัวระดับสูงต่อไปเพราะรัฐชัดเจนที่จะปล่อยให้ราคาสะท้อนต้นทุนมากที่สุดและนั่นหมายถึงการเร่งจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้หนี้จากการตรึงราคาน้ำมันก่อนหน้าให้หมดเร็วด้วยซึ่งก็จะทำให้ราคาน้ำมันจะเห็นลดลงเหมือนอดีตเบนซินต่ำกว่า 20 บาทต่อลิตรน่าจะยาก”นายเทียนไชยกล่าว

ทั้งนี้ ราคาตลาดโลกคาดว่าจะมีเสถียรภาพมากกว่าปี 2549 โดยนักวิเคราะห์มองว่าจะเฉลี่ยระดับ 60 เหรียญต่อบาร์เรลหรืออาจลดต่ำกว่านี้เล็กน้อย ทั้งนี้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกมีอัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง ประกอบกับกำลังการผลิตแม้ว่ากลุ่มผู้ผลิตโลกหรือโอเปกจะลดลงเพื่อรักษาระดับราคาไม่ให้ลดต่ำลงมากแต่ก็ยังคงในระดับสูงทำให้ปี 2550 ความต้องการรวมจะมีต่ำกว่าการผลิต

“เศรษฐกิจโลกชะลอลงเล็กน้อยประกอบกับคนหันไปพึ่งพาเชื้อเพลิงอื่นๆในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาก็เห็นชัดว่าทำให้การผลิตคงระดับสูงดังนั้นปี 2550 ในไทยเองก็เช่นกันราคาพลังงานที่มีเสถียรภาพจะไม่ก่อให้เกิดเป็นภาระต่อระบบเศรษฐกิจไทยเช่นที่ผ่านมาเพราะราคาที่แพงทำให้ไทยขาดดุลการค้าจากการนำเข้าน้ำมันดิบค่อนข้างสูง”นายเทียนไชยกล่าว

อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มีเสถียรภาพอยู่บนสมมติฐานที่ไม่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่น กรณีภัยพิบัติต่างๆ ดังนั้น จุดนี้จะมีผลให้แรงกดดันที่จะไปมีผลต่อราคาก๊าซธรรมชาติก็ลดลงด้วยซึ่งจะสะท้อนไปยังค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ Ft ตลอดปี 2550 ก็จะปรับตัวบ้างเล็กน้อย และหากมีการบริหารจัดการที่ดีค่าไฟในช่วงต้นปี 2550 อาจไม่ต้องปรับขึ้นก็เป็นไปได้

นายเมตตา บันเทิงสุข อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)และอดีตผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ปี 2550 ทิศทางราคาน้ำมันตลาดโลกคงไม่มีอะไรหวือหวามากนักหากเทียบกับ 1-2 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากกำลังผลิตมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นระดับหนึ่งขณะที่ความต้องการแม้จะยังมีทิศทางขยายตัวเพิ่มแต่มีอัตราที่ลดลงเพราะผู้ใช้ส่วนหนึ่งหันไปพึ่งพาพลังงานอื่นๆ แทนเช่น ถ่านหิน นิวเคลียร์ เอทานอล ฯลฯ ทำให้นักวิเคราะห์มองว่าปี 2550 ความต้องการน้ำมันของโลกคงโตไม่เกิน 1.5% เมื่อเทียบกับปี 2549

“ ราคาน้ำมันตลาดโลกปี 2550 คงไม่แรงมาก ระหว่างทางอาจจะมีการช็อกของราคาบ้างแบบสั้นๆ ตามข่าวรายวันเช่น การสู้รบ การก่อการร้าย ซึ่งโดยรวมไม่มีใครมองว่าราคาน้ำมันดิบจะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นมากไปจากปีนี้บางรายมองว่าราคาน้ำมันดิบอาจจะลดต่ำลงด้วยซ้ำ แต่ส่วนใหญ่มองเฉลี่ยไม่เกิน 60 เหรียญต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามแม้ราคาโลกไม่หวือหวาแต่ราคาขายปลีกในไทยเองก็คงไม่ได้ลดลงมากเพราะภาระหนี้กองทุนฯที่ตรึงราคาน้ำมันก่อนหน้านี้ที่ยังเหลืออีกกว่า 5 หมื่นล้านบาทยังจำเป็นต้องทยอยเก็บจากผู้ใช้เพื่อใช้หนี้เก่าอยู่”นายเมตตากล่าว

**ปตท.การันตีบวกลบ 25 บ./ลิตร

นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท. จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า ทิศทางราคาน้ำมันขายปลีกในไทยในปี 2550 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับปี 2549 โดยคาดว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ประมาณ 56-60 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่น้ำมันสำเร็จรูปทั้งดีเซล-เบนซินเฉลี่ยจะอยู่ที่ 60-70 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ส่งผลให้ราคาขายปลีกในไทยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ประมาณบวกลบ 25 บาท/ลิตร หากไม่มีการเร่งเก็งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มเติมจากปัจจุบัน

“ ราคาน้ำมันในปี 2550 คงจะไม่ถูกกว่าในปี 2549 เพราะเศรษฐกิจโลกไม่ได้ดีนักจนทำให้ความต้องการเพิ่มขึ้นมากผิดปกติแต่ก็ไม่ได้ลดลงมากเช่นกัน โดยปตท.คงต้องปรับขึ้นน้ำมันตามทิศทางตลาด คงจะไม่เข้าแทรกแซงเหมือนกับปีที่ผ่านมา”นายประเสริฐกล่าว

สำหรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศขณะนี้คงจะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื่องจาก ราคาน้ำมันตลาดโลกยังคงทรงตัวระดับสูงแต่ไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากโดยเบนซินอยู่ที่ 64 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดีเซล 71 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล น้ำมันดิบอยู่ที่ 55-56 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ขณะที่ค่าการตลาดน้ำมันอยู่ที่กว่า 1 บาท/ลิตร เป็นระดับที่ผู้ค้าน้ำมันพอรับได้

อย่างไรก็ตามปตท.พร้อมจะเปิดปั๊มน้ำมัน 24 ชั่วโมง ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมนี้ เป็นต้นไป แต่คงจะไม่เปิดปั๊มทั้งหมด คงจะเลือกเปิดในพื้นที่ที่เหมาะสมที่พื้นที่นั้นมีความต้องการน้ำมันในช่วงกลางคืน เช่น ในพื้นที่เมืองใหญ่ หรือพื้นที่ กทม.เป็นต้น โดยอาจจะเปิดประมาณ 30-40 % จากจำนวนปั๊มประมาณ 1,200 แห่ง

“ ผมคิดว่าการเปิดปั๊ม 24 ชั่วโมงคงไม่ได้ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้น แต่เป็นการทำให้ผู้บริโภคที่เดินทางกลางคืนมีความสะดวกสบายมากขึ้น และในส่วนของมินิมาร์ทก็น่าจะมีส่วนทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นบ้าง ซึ่งเห็นว่าตลาดน้ำมันควรให้เป็นไปตามธรรมชาติ มีการแข่งขันอย่างเสรีทั้งในเรื่องของราคาและการค้า ซึ่งภาครัฐควรเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลไม่ให้ผู้ค้าน้ำมันเอาเปรียบประชาชน โดยรัฐบาลชุดนี้ประกาศที่จะให้ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงตามตลาดโลกถือเป็นเรื่องที่ดี “ นายประเสริฐกล่าว

**ปั๊มแข่งเดือดปีทองผู้บริโภค

นายชัยวัฒน์ ชูฤทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจน้ำมัน บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปี 2550 การแข่งขันในธุรกิจน้ำมันยังคงรุนแรงต่อไป แต่จากที่รัฐบาลมีนโยบายชัดว่าไม่เข้ามาแทรกแซงราคา และราคาน้ำมันตลาดโลกน่าจะอ่อนตัวกว่าในปีนี้บ้าง ก็คาดว่าปตท. คงจะไม่ต้องเข้ามาช่วยตรึงราคาเหมือนกับช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ที่ ปตท. ต้องขาดทุนเพื่อช่วยตรึงราคาน้ำมันเป็นเม็ดเงินรวมเกือบ 5,000 ล้านบาท โดยจะทำให้ ปตท. อาจจะไม่ต้องขาดทุนในเรื่องการค้าปลีกน้ำมันด้วย

“ปี 2550 คาดว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ คงอยู่ในเกณฑ์ 55-60 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และราคาน้ำมันในไทยคงอยู่ในระดับ 25-26 บาท/ลิตร โดยธุรกิจน้ำมันจะกลับสู่ภาวะปกติ หลังจากขาดทุนจากค่าการตลาดที่ต่ำมากว่า 2 ปีทำให้ปตท.ขาดทุนในธุรกิจน้ำมันช่วง 2 ปีเกือบ 7,000 ล้านบาท “นายชัยวัฒน์กล่าว

ทั้งนี้ ปี 2550 ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันจะเริ่มกลับมาแข่งขันกันมากขึ้นเพราะรัฐบาลประกาศที่จะไม่แทรกแซงตลาดน้ำมันจะทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยไม่ขาดทุน ประกอบกับรัฐบาลได้อนุมัติให้เปิดปั๊ม 24 ชั่วโมงได้ ดังนั้น จะได้เห็นการแข่งขันในธุรกิจน้ำมันด้านสงครามราคา(ไพรซ์วอร์) และโปรโมชั่นลดแลกแจกแถม อาทิ มาม่า น้ำ กลับมาอีกครั้งหนึ่งแต่นโยบายดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะหาปั๊มเติมน้ำมันได้สะดวกมากขึ้น

**หมดยุคทองโรงกลั่นน้ำมันไทย

นายวีรพล จิระประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กล่าวว่า ปี 2550 นั้นคงจะหมดยุคทองของโรงกลั่นไทยที่อดีต 2-3 ปีที่ผ่านมาค่าการกลั่นบางช่วงจะขึ้นไปสูงในระดับ 10 เหรียญต่อบาร์เรล โดยคาดว่าค่าการกลั่นจะอยู่ในระดับ 4-5 เหรียญต่อบาร์เรลเท่านั้นเนื่องจากกำลังการผลิตเริ่มมีมากขึ้นเพราะมีการเกิดโรงกลั่นใหม่

“ โรงกลั่นในประเทศปี 2550 น่าจะเป็นการเตรียมพร้อมในการขยายกำลังการผลิตมากกว่าที่จะไปลงทุนโรงกลั่นใหม่ โดยเฉพาะการเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตให้ได้ตามมาตรฐานน้ำมันยูโร 4 ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2555 ซึ่งโรงกลั่นต้องลงทุนรวมกว่า 5 หมื่นล้านบาท”นายวีรพลกล่าว

ตารางแสดงหนี้สินค้างชำระของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 13 ธ.ค. 2549

รายละเอียด จำนวนเงิน
1.หนี้เงินกู้สถาบันการเงิน 17,446 ล้านบาท
2.หนี้พันธบัตร 17,600 ล้านบาท
3.หนี้เงินชดเชยตรึงราคาน้ำมันค้างชำระ 1,549 ล้านบาท
4.หนี้ชดเชยราคาก๊าซหุงต้ม 11,927 ล้านบาท
ฯลฯ
รวมเป็นเงิน 48,598 ล้านบาท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us