Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"เบื้องหลังขายที่ดินสร้างโรงงานประกอบชิ้นส่วนเครื่องบิน"             
 


   
search resources

ระยองอินดัสเตรียลปาร์ค
นภดล ชวาลกร
Chemicals and Plastics
Aviation




ความสำเร็จในเบื้องแรกของระยองอินดัสเตรียลปาร์ค ที่สามารถดึงดูดให้บริษัทต่างชาติหลายๆ บริษัท ไม่ว่าจะเป็นบริษัท Wang Sang ผู้ผลิตของเล่นพลาสติกจากไต้หวัน บริษัท Astronic เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างนักลงทุนไต้หวันและเยอรมัน เพื่อผลิต Power Supply บริษัท Thai Fluorine Chemical เป็นบริษัทผลิตสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ ร่วมทุนระหว่างไทยกับอังกฤษ บริษัท Thai Film Industries เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ผลิต Film Production บริษัท B.W. ร่วมทุนระหว่างไทยกับไต้หวันผลิต Pharmacutical บริษัท Yeou Fa Chemical เป้นบริษัทของไต้หวัน ผลิตสินค้าประเภทเคมีภัณฑ์ และบริษัท Thainox Steel ร่วมทุนระหว่างประยุทธ มหากิจศิริ กับบริษัท Ugine S.A. แห่งฝรั่งเศส ผลิตเหล็กไร้สนิม (แสตนเลส สตีล) ให้มาลงทุนด้านอุตสาหกรรมหนักและปิโตรเคมี ในนิคมอุตสาหกรรมแห่งนี้ได้ และส่งผลให้นภดล ชวาลกร กรรมการผู้จัดการขึ้นรับรางวัลผู้วางแผนการตลาดดีเด่นเมื่อกลางปี 2535 แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าการพัฒนาโครงการของบริษัทจะหยุดอยู่เพียงตรงจุดนี้เท่านั้น

"เราเน้นที่จะเจาะตลาดแนวลึกจากกลุ่มลูกค้าของโครงการที่มีอยู่เดิม นั่นคือ ใช้ฐานผลิตภัณฑ์ของลูกค้าเดิมเป็นตัวนำตลาด เพื่อชักจูงนักลงทุนรายใหม่อื่นๆ เข้ามาลงทุนในโครงการเราเพิ่ม" นภดลกล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงช่องทางการเจาะตลาด

แต่เดิมนั้นทางผู้บริหารของระยองอินดัสเตรียล ปาร์ค มุ่งหวังไปที่อุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา โดยวางเป้าหมายให้ฟอร์ด และไครสเลอร์เห็นดีเห็นงามที่จะมาลงทุนตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียล ปาร์ค

แต่อุปสรรคใหญ่อยู่ที่ตลาดรถยนต์ในเมืองไทยตกอยู่ในกำมือของรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะให้รถยนต์สัญชาติอเมริกันสอดแทรกตลาดในเมืองไทยได้มากกว่านี้

ความล้มเหลวดังกล่าวกลับกลายเป็นผลดีต่อระยองอินดัสเตรียลปาร์คเมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมชมบริษัทโบอิ้ง ที่กลายเป็นประตูความคิดให้เขาเดินไปชักชวนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็น supplier ให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการประกอบเครื่องบินอย่าง Air Bus และ Boeing สนใจเข้ามาลงทุนในไทย

นภดลเล่าให้ฟังถึงแรงดลใจของการจูงใจให้ไปดึงกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน มาลงทุนในนิคมระยองฯ ว่ามาจากเหตุบังเอิญหลังจากที่ล้มเหลวในความพยายามที่จะชักชวนให้ผู้ผลิตรถยนต์สนใจมาลงทุนในประเทศไทย ในช่วงเวลาที่เดินทางกลับเมืองไทยก็เกิดความคิดว่า ในเครื่องบินแต่ละลำนั้นมีชิ้นส่วนจำนวนมากที่จะต้องผลิตและเปลี่ยนใหม่อยู่เสมอๆ

ดังนั้น เขาจึงได้เดินทางมาสหรัฐฯ อีกครั้ง เพื่อเยี่ยมชมกิจการโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน ซึ่งเป็น supplier ให้กับ Air Bus และ Boeing

จนกระทั่งสามารถชักชวนกลุ่มอุตสาหกรรมเหล่านั้นโดยเฉพาะบริษัท Evergreen Industry ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาแก่บริษัท supplier ต่างๆ และบริษัท AAA Machine Tool Corp ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายๆ บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินให้กับ Air Bus และ Boeing ตกลงปลงใจมาเปิดโรงงานแห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรมระยองฯ

ปัญหาหนึ่งของประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมาก็คือปัญหาความไม่มั่นคงทางการเมือง เริ่มตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ที่ส่งผลกระทบต่อบรรยากาศการลงทุนอย่างหนักหน่วง จนทำให้นักลงทุนต่างชาติหนีไปลงทุนยังประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงที่จ้องโอกาสเช่นนี้อยู่เสมอๆ

แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา กลับกลายเป็นการซ้ำเติมความไร้เสถียรภาพทางการเมืองและความไม่มั่นใจในสายตาของนักลงทุนต่างชาติให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น !!!

นภดลเองก็หวั่นวิตกในเรื่องนี้มาก แต่ในฐานะกรรมการผู้จัดการ ผู้ต้องทำหน้าที่ในการวางแผนด้านการตลาดให้กับระยองอินดัสเตรียลปาร์ค เขาได้ชี้แจงให้นักลงทุนอเมริกันวางใจและมั่นใจว่าวิกฤติการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคมนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ต้องเกิดขึ้นในทุกสังคม ที่ต้องมีการพัฒนาในทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับประวัติศาสตร์การพัฒนาประเทศของสหรัฐฯ เอง ซึ่งได้ผ่านการสูญเสียและการต่อสู้ในทางการเมืองมาแล้วเช่นกัน

ในที่สุด นภดลก็ประสบความสำเร็จ เมื่อสามารถโน้มน้าวให้บริษัทอเมริกัน 2 ราย คือบริษัท Evergreen Industry และ AAA Machine Tool Corp ตกลงมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินที่นิคมอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียลซึ่งได้มีการลงนาม Land Purchase Agreement เพื่อซื้อที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียลปาร์ค จำนวน 70 ไร่ มูลค่า 140 ล้านบาท เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ที่ผ่านมา Evergreen Industry ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,400 ล้านบาทในการดำเนินโครงการ Thai American Aero Space เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินประเภท Wing Slat, Landing Gear, Horrizontal-Stabillxer และ Wing Flap ในขณะที่บริษัท AAA Machine Tool Corp ดำเนินโครงการ AAA Tool Corp ใช้เงินลงทุนประมาณ 150 ล้านบาทเพื่อผลิตชิ้นส่วนของเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมหนัก

ทั้ง 2 โครงการนี้จะใช้เหล็กไร้สนิมและอะลูมิเนียมเป็นหลักในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน โดยเฉพาะเหล็กไร้สนิมซึ่งผลิตจากโรงงานของบริษัท Thainox Steel ที่ร่วมอยู่ในโครงการระยองอินดัสเตรียลปาร์คเช่นกัน และบริษัท Ugine S.A. ผู้ผลิตเหล็กไร้สนิมจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ร่วมทุนของบริษัท Thainox Steel ก็ได้รับการรับรองในเรื่องคุณภาพและมาตรฐานการผลิตเหล็กไร้สนิมจาก Boeing และ Air Bus เป็นอย่างดีอยู่แล้ว

Kevin J. Minter รองประธานกรรมการโครงการ Thai American Aero Space ได้กล่าวถึงเหตุผลที่ได้ตัดสินใจมาลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมระยองอินดัสเตรียลปาร์คว่า ต้องการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตด้านอุตสาหกรรมการบินของภูมิภาคนี้ เพื่อรองรับการเติบโตทางด้านการบินที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ชิ้นส่วนที่ผลิตได้ทั้งหมดจะต้องส่งกลับไปยังสหรัฐฯ เพื่อให้บริษัทประกอบเครื่องบินที่ว่าจ้างได้ดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานและจำหน่ายต่อไป

ในการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินดังกล่าว จะต้องใช้เวลาฝึกฝนและพัฒนาฝีมือวิศวกรแต่ละคนเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จึงจะถึงขั้นลงมือปฏิบัติงานจริงได้ และมีบริษัทมีเป้าหมายว่าในอนาคตจะสามารถชักชวนบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินประเภทอื่นๆ เข้ามาดำเนินการผลิตในประเทศไทย โดยคาดหมายว่า ในช่วงระยะเวลาอีก 5-10 ปีข้างหน้าบริษัทจะสามารถประกอบเครื่องบินในประเทศไทยได้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้บริหารของระยองอินดัสเตรียลปาร์คจะสามารถช่วงชิงโอกาส และชักชวนให้บริษัทอเมริกันดังกล่าวมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินในประเทศไทย แต่การมีค่าแรงที่ถูกกว่าประเทศคู่แข่งอย่างไต้หวันหรือสิงคโปร์ก็ไม่ใช่หลักประกันที่ดีพอ

ดูเหมือนว่าผู้บริหารโครงการ Thai American Aero Space และ AAA Tool Corp จะยังไม่ไว้วางใจในสถานการณ์ของเมืองไทยและมองว่าอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินเป็นอุตสาหกรรมใหม่เอี่ยมอ่อง

ในเชิงธุรกิจแล้วประเทศไทยแทบจะไม่มีประสบการณ์และความชำนาญในด้านนี้เลยโดยเฉพาะเรื่องแรงงานที่ต้อง Skill-labour เป็นพิเศษ

ด้วยเหตุนี้จึงน่าจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ฝ่ายอเมริกันเชิญชวนให้ระยองอินดัสเตรียลปาร์คเข้าร่วมทุนด้วยทั้งๆ ที่ในตอนแรกบริษัทอเมริกันดังกล่าวต้องการที่จะลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งนภดลได้เปิดเผยว่าระยองอินดัสเตรียลปาร์คคาดหมายว่าอาจจะร่วมทุนด้วยในสัดส่วนประมาณ 30% และกำลังทาบทามสถาบันการเงินบางแห่งอยู่คาดว่าจะสามารถตกลงกันในเรื่องสัดส่วนการร่วมทุนนี้ได้ประมาณต้นปี 2536

ความสำเร็จในขั้นต้นของโครงการพัฒนาฯ ถึงขั้นทำให้นภดลได้รับรางวัลผู้วางแผนด้านการตลาดดีเด่น แม้ว่าจะไม่มีผลต่อการดำเนินงานขายก็ตามแต่ก็สร้างความภูมิใจให้กับนภดลไม่น้อย และการที่สามารถชักจูงให้บริษัทต่างชาติมาลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินเป็นครั้งแรกในประเทศไทยนี้ อาจจะเป็นจุดผันเปลี่ยนของอุตสาหกรรมไทยก็ได้ !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us