Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 มกราคม 2550
4 กลยุทธ์รุกตลาดไอศกรีมยุคใหม่             
 


   
search resources

Marketing
Dairy Product




นักการตลาดของกิจการมีชื่อของโลกดูเหมือนว่าจะเคยเข้าใจผิดว่าสินค้าที่มีโครงสร้างความต้องการจากผู้บริโภคที่ซับซ้อน อย่างเช่น ความเป็นเลิศด้านคุณภาพ ผลิตจากวัสดุธรรมชาติ ผลิตด้วยกระบวนการที่มีจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบ แถมเข้าข่ายกรีนโปรดักส์นั้น น่าจะต้องเป็นสินค้าที่มีมูลค่าต่อหน่วยสูงหรือเป็นสินค้าที่ต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสูง หรือเป็นสินค้าเป้าหมายของกลุ่มเอ็นจีโอเท่านั้น ไม่น่าเกี่ยวข้องกับสินค้ามูลค่าต่อหน่วยต่ำๆ และสินค้าประจำวัน เช่นอาหารหรือขนมแม้แต่น้อย

ที่บอกว่าความเข้าใจดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิดก็เพราะว่ามีกระแสข่าวออกมาว่า แม้แต่ไอศกรีมก็ยังต้องเป็นสินค้าที่มีคุณสมบัติตามที่ระบุมาตั้งหลายประการดังกล่าวด้วย ไม่เช่นนั้นอาจจะมีสิทธิขายไม่ออกหรือขายไม่ดีเหมือนแต่ก่อน หรือเหมือนกับไอศกรีมของคู่แข่งขันอย่างนึกไม่ถึงทีเดียว

ด้วยเหตุที่ผู้บริโภคในทุกวันนี้มีความคาดหวังต่อสินค้าและบริการที่ตนได้รับอย่างมากมายหลายประการ ซึ่งจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญทางการตลาดได้สรุปปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจซื้อที่กลายเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานไปแล้วในสินค้าแทบทุกชนิดอย่างน้อย ได้แก่ ประการแรก สินค้าและบริการที่บริโภคได้อย่างไม่ยุ่งยาก เน้นความสะดวกสบาย

ประการที่สอง สินค้าและบริการที่ทำให้วิถีการดำรงชีวิตดีขึ้นจากที่เคยเป็นอยู่ประจำวัน ประการที่สามสินค้าและบริการจากผู้ผลิตที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ ไม่เอารัดเอาเปรียบ หรือกดขี่แรงงาน

สำหรับตลาดไอศกรีมนั้นไม่ใช่ตลาดหมูๆ สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ระดับกิจการข้ามชาติอีกต่อไปเพราะ ประการแรก ผู้ค้าปลีกในตลาดทุกวันนี้ เริ่มหันมาทำการจำหน่ายไอศกรีมในแบรนด์เนมของตนเองกันมากขึ้นแล้ว แถมยังไม่ใช่ไอศกรีมแบบขี้ไก่ เพราะมีรสชาติในระดับพรีเมี่ยม และด้วยรูปแบบที่แปลกใหม่ อุดมด้วยนวัตกรรมอีกด้วย

ประการที่สอง ความสำเร็จของไอศกรีมในตลาดระดับบนมีความสำคัญที่สุดในส่วนของการสร้างความตระหนักและการยอมรับ และความแตกต่างที่มีอยู่จริง ไม่ใช่เพียงความแตกต่างอย่างฉาบฉวยเท่านั้น มิเช่นนั้นจะทำให้ไอศกรีมที่เน้นความเป็นพรีเมี่ยมกลายเป็นสินค้าแบบเหมาโหลที่ยังคงใช้สูตรการผลิตไอศกรีมแบบดั้งเดิมและขายในราคาต่อหน่วยต่ำๆไปเสีย

ในช่วงเวลา 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดไอศกรีมโลกก็ไม่แตกต่างจากอุตสาหกรรมการผลิตสินค้ากลุ่มอาหารอื่นๆ เพราะต่างเผชิญหน้ากับความซบเซาทางเศรษฐกิจ ทำให้แรงจูงใจในการที่ผู้ประกอบการจะสร้างสินค้าที่แปลกใหม่ และเพิ่มมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมไม่ต่อเนื่องอย่างที่ควรจะเป็น

มีการพยากรณ์ว่าในอนาคตจนถึงปี 2012 ตลาดไอศกรีมในยุโรป น่าจะยังคงมีอัตราการเติบโตในราว 1.94% ต่อปีเท่านั้น เทียบกับมูลค่าการตลาดราว 2.1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2005 ที่ผ่านมา

การเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเพียงเล็กน้อยดังกล่าวสร้างความพอใจให้กับผู้ประกอบการรายใหญ่ไม่น้อย เพราะอัตราการเติบโตแทบจะไม่มีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หรือนับจากปี 2001 นักการตลาดส่วนหนึ่งมองว่าการที่ตลาดไอศกรีมโลกเริ่มมีอัตราการเติบโตในทางบวก แม้ว่าจะเป็นอัตราเพียงเล็กน้อยนี้ อาจเป็นสัญญาณในทางบวกหรืออาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของยุคเติบโตและการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นของตลาดไอศกรีมอีกครั้งหนึ่ง

แนวโน้มของการปรับตัวของตลาดไอศกรีมโลกน่าจะไปยังทิศทางหลักที่สำคัญ เช่น การปรับยกคุณภาพหรือมูลค่าเพิ่มของไอศกรีม ด้วยการริเริ่มรสชาติไอศกรีมที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำกับรสชาติแบบเดิมๆการปรับปรุงรูปแบบของหีบห่อให้เพิ่มพูนคามสะดวกในการรับประทาน ได้ทั้งที่เดิน นั่งหรือยืนรับประทานไม่ใช่ต้องตักใส่ถ้วยทุกครั้ง

การทบทวนและคัดสรรลูกค้าและตลาดเป้าหมายใหม่ให้เหมาะสมและเข้ากันกับส่วนประสมทางการตลาดอื่นๆ ในบรรดาผู้ประกอบการไอศกรีมรายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทเนสท์เล่ยักษ์ใหญ่อันดับหนึ่งในตลาด และบริษัทยูนิลีเวอร์ที่ครองอันดับสองของโลก นับได้ว่าเป็นนักบุกเบิกในตลาดไอศกรีม

อย่างเช่นบริษัทยูนิลีเวอร์ได้ตัดสินใจเปิดตัวแบรนด์ใหม่เพิ่มขยายฐานทางการตลาด เช่น คาร์ตดอร์ ด้วยการเน้นที่นวัตกรรมของวัสดุที่ใช้ในทางการตลาด โดยหวังว่าจะสามารถสร้างสิ่งแปลกใหม่ในตลาดได้ โดยเฉพาะการสร้างคอนเซปต์ที่ว่า ไอศกรีมคาร์ตดอร์ คือ อาหารในรูปแบบของไอศกรีม

ด้วยแนวคิดและปรัชญาทางการตลาดแบบนี้ ผู้บริหารงานทางการตลาดของยูนิลีเวอร์จึงใช้นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยพ่อครัวหัวเห็ดจากที่ต่างๆ มาเพื่อช่วยกันคัดเลือกส่วนประสมของไอศกรีมที่ดีที่สุดเพื่อทำให้ได้ไอศกรีมสูตรใหม่ที่ดีที่สุด

ดูเหมือนว่านักการตลาดส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในแนวทางเดียวกันว่า การผลักดันไอศกรีมของตนไปสู่ความเป็นสินค้าระดับพรีเมี่ยมมากกว่าคู่แข่งจะเป็นหนทางหลักในการที่จะทำให้เกิดวงจรของการเติบโตของไอศกรีมอย่างต่อเนื่องเทียบกับปัจจัยอื่นๆ

แม้แต่ระดับราคาขายต่อหน่วยแล้ว มูลค่าเพิ่มจากความแปลกใหม่กลับมีความสำคัญและทรงอิทธิพลมากที่สุดซึ่งไม่ใช่ทำเองแต่เพียงฝ่ายเดียว คงจะต้องเพิ่มความโปร่งใส ด้วยการเปิดเผยส่วนประสมในไอศกรีมให้กับลูกค้าผู้บริโภคมากขึ้นตามไปด้วย เพื่อทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าสิ่งที่ได้บริโภคจากส่วนประสมในไอศกรีมนั้นไม่มีผลเสียต่อสุขภาพอย่างมากเกินกว่าระดับที่คาดหมายไว้

นอกจากนั้นไอศกรีมที่แสนจะธรรมดาในอดีตอาจสร้างความประหลาดใจให้กับผู้บริโภคอย่างมากเมื่อได้ทราบส่วนผสมของไอศกรีมว่ามีทั้งโปรตีนจากไข่ ผลไม้ สมุนไพร และเครื่องเทศที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะมีอยู่ในไอศกรีมมาก่อน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us