|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
มีแนวโน้มว่า สินค้ากลุ่มสแนกหรือขนมขบเคี้ยวนานาชนิดทั้ง ขนมขึ้นรูป มันฝรั่งทอดกรอบ หรือข้าวโพดอบกรอบ เป็นคิวต่อไปที่ภาครัฐกำลังหาวางมาตราการควบคุมคุณภาพ ผ่านวิธีการแบ่งสีของแพ็กเก็จจิ้งเขียว เหลือง แดง เป็นตัวบ่งบอก จัดประเภทคุณค่าและวัตถุดิบในการผลิตเหมาะสม กับการบริโภค รวมถึงปริมาณน้ำตาลสูงทำให้อ้วน
กอปรกับ พฤติกรรมของบริโภคในปัจจุบัน เริ่มมีความกังวลเรื่องสุขภาพ โดยมีการปรับรูปแบบการใช้ชีวิตการกินอยู่ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และยิ่งมีผลวิจัยออกมาว่า สแนกที่ผ่านกระบวนการทอดมีผลกับสุขภาพ ซึ่งก็ส่งผลทำให้พฤติกรรมการเลือกประเภทของ สแนกมีการปรับเปลี่ยนใหม่ โดยพยายามงดบริโภคที่ผ่านกระบวนการทอดไม่เพียงนั้น การรับรู้ของผู้บริโภคซึ่งมีความคิดว่าการบริโภคสแนกไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ซึ่งถือเป็นอุปสรรคทางการตลาดของขนมขบเคี้ยวอย่างมาก
การปรับตัวเมื่อต้องเผชิญกับอุปสรรคทั้ง 3 ด้าน ที่ผ่านมายังไม่มีผู้ผลิตสแนกค่ายไหนออกมาเคลื่อนไหว เพื่อปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สุรเดช นภาพฤกษ์ชาติ รองกรรมการผู้จัดการตลาดและพัฒนาธุรกิจ บริษัทสยามร่วมมิตร จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวภายใต้แบรนด์ข้าวเกรียบกุ้งฮานามิ สแน็คแจ๊ค อาร์เซนอลคุกกี้ คอร์นพัฟ และเคนโด้ บอกว่า เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ทำให้นโยบายการทำตลาดตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นไป มุ่งเน้นผลิตสินค้ากลุ่มสแนก ภายใต้แนวคิด "Snack is not Fried"
สแนกทุกแบรนด์ของบริษัทไม่มีการทอด แต่ใช้กระบวนการ อบ ปิ้ง คั่ว ทำให้ไม่มีคอลเลสเตอรอล และเป็นสินค้าที่ให้คุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น
แนวทางการตลาด เพื่อพลิกภาพของตลาดสแนกเพื่อสุขภาพให้มีบทบาทมากขึ้นในบ้านเรา จะมีการแตกเซกเมนต์สแน็คออกมาเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ 1.Normal Snack ซึ่งเป็นสแนกทั่วไปในท้องตลาด และไม่มีกระบวนการทอดเช่น แบรนด์ฮานามิ และคอร์นพัฟฟ์ 2.Healthy Snack สแนกเพื่อสุขภาพ ที่สอดคล้องกับกระแสในปัจจุบัน และมีสินค้าทำตลาด 2 แบรนด์คือสแน็คแจ็ค ซึ่งมีความชัดเจนเรื่องคุณค่าทางอาหารและเคนโด้ ทำมาจากข้าวกับสาหร่าย
"กระแส Healthy Snack กำลังมาแรงที่ประเทศอเมริกา ซึ่งการทำตลาดสแนกในบ้านเราคงจะปฏิเสธกระแสนี้ไม่ได้ อย่างไรก็ตามในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แม้บริษัทไม่เคยพูดถึงเรื่องนี้ แต่แนวคิดการทำตลาดเรื่องสุขภาพเป็นแผนระยะยาวที่เริ่มมาระยะหนึ่งแล้ว และความเป็น Healthy Snack ของสินค้า มีซ่อนอยู่ในกลุ่มสแนกของบริษัท ซึ่งพยายามดึงออกมาให้ออกมาเป็นอีกเซกเมนต์"
การปั้นแบรนด์ใหม่ "เคนโด้" ข้าวอบกรอบผสมสาหร่ายสไตล์ญี่ปุ่น เจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ซึ่งวางตลาดไปเมื่อเร็วๆนี้ เป็นการส่งสินค้าลงตลาดสแนกเพื่อสุขภาพครั้งแรกของสยามร่วมมิตร โดยใช้ระยะเวลาพัฒนาตัวสินค้า 3-4 ปี และใช้งบลงทุนในเครื่องจักรใหม่ไป 50 ล้านบาท ซึ่งสินค้าใหม่นี้จะเป็นสินค้าตัวแรกของบริษัทและตลาดที่มีความชัดเจนในเรื่อง Healthy Snack หรือขนมขบเคี้ยวที่มีคุณค่าทางโภชนาการและมีประโยชน์ต่อร่างกายนี้จะผลักดันให้เคนโด้เป็นสินค้าหลักเหมือนกับฮานามิในอนาคต
ที่สำคัญมีผลวิเคราะห์ตลาดพบว่า ในช่วง 5 ปีหลัง พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการตื่นตัวเรื่องการบริโภคมากขึ้น "ผู้บริโภคพยายามจะไม่บริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการทอด เพราะมีผลวิจัยออกมาว่ากระบวนการทอดก่อให้เกิดผลข้างเคียงกับสุขภาพ ทำให้เห็นว่าสิงที่บริษัททำมา 30 ปีนั้น เป็นสิ่งที่เดินมาถูกทาง และต้องการตอกย้ำว่า หลังจากนี้ต่อไปในอนาคตจะรักษาจุดยืนผลิตสแนกไม่ผ่านกระบวนการทอดนี้ต่อไป "
สำหรับกลยุทธ์การตลาด Normal Snack มีวิธีการขยายตลาดโดย เพิ่มรสชาติใหม่ๆ และมีแผนการตลาดที่จะใช้แบรนด์เดิมทั้ง ฮานามิ และคอรน์พัฟ แตกเข้าไปอยู่ในกลุ่มHealthy Snack ซึ่งทำให้แบรนด์เดียวอยู่ในตลาดสแนกทั้ง 2 ประเภท
ทว่าการทำตลาด Healthy Snack ยังมีความยากลำบากมาก เพราะต้องเผชิญกับอุปสรรค ทางด้านการรับรู้ของผู้บริโภคที่มองว่า เป็นสแนกที่ผลิตโดยธัญพืช มีคุณค่าเหมือนยา รสชาติไม่อร่อย ซึ่งที่ผ่านมามีสินค้าหลายแบรนด์ที่เข้ามาทำตลาดแล้วต้องพบกับจุดจบเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ดังกล่าว
สุรเดช บอกว่า แนวทางการตลาด Healthy Snack จะต้องตอกย้ำจุดยืนทุกด้านของสินค้าอย่างชัดเจนตั้งแต่ต้นทาง นับตั้งแต่สินค้า แบรนด์ แพ็กเก็จจิ้ง และคอนเซปต์การทำตลาดให้แตกต่างจากคู่แข่ง (Differentiated Marketing)ทว่าหากมีการทำตลาดให้เป็นเพื่อสุขภาพเพียงบางส่วน จะทำให้ผู้บริโภคไม่เข้าใจในตัวสินค้า
การทำตลาดของ สยามร่วมมิตร ซึ่งเป็นค่ายแรกของกลุ่มสแนกที่หยิบหยกเรื่องนี้สุขภาพขึ้นมาเป็นจุดแข็งนั้น ในอีกทางหนึ่ง นอกจากวางเป้าหมายสร้างกระแสสแนกเพื่อสุขภาพ เพื่อกระตุ้นให้คู่แข่งขันเข้ามาร่วมกันสร้างเซกเมนต์ใหม่นี้แล้ว ยังเป็นแนวทางที่จะขับเคลื่อนตลาดสแนกให้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อตอกย้ำความแข็งแกร่งภาพรวมของธุรกิจสินค้ากลุ่มสแนก มูลค่าตลาด 1.3 หมื่นล้านบาท ที่มีอนาคตและข้อมูลจากเอซีลนีลเส็น ตลาดรวมยังโต 10-15% โดยสัดส่วนถึง 80% เป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
ขณะที่ธุรกิจขนมสำหรับบ้านเรา ในแคทธิเกอรี่บิสกิต หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมปังกรอบ มูลค่าตลาด 6 พันล้านบาท ซึ่งประกอบด้วย เวเฟอร์ คุกกี้ ช็อคโกแล็ต ในปีหน้ามีแนวโน้มต้องเผชิญกับกับด่านหินนานัปปราการ
"สินค้ากลุ่มบิสกิต ที่เป็นแบรนด์ไทยค่อนข้างลำบาก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้าจำนวนมาก จากประเทศเพื่อนบ้านฟิลิปินส์ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย และประเทศจีน ซึ่งมีการตั้งโรงงานผลิตสินค้าออกมาเพื่อสนองตอบการบริโภคของคนในประเทศที่มีดีมานด์สูง ทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ อีกทั้งได้เปรียบเรื่องค่าเงินไทยที่แข็งขึ้น และการนำเข้าภายใต้กฏเอฟทีเอในกลางปี จะส่งผลทำให้ภาษีนำเข้าลดลง ดังนั้นสินค้าผลิตในไทยจะมีความเสียเปรียบเรื่องต้นทุนการขาย"
"สภาพตลาดเมืองไทยมีความแตกต่างจากตลาดต่างประเทศ ซึ่งสัดส่วนของตลาดกลุ่มบิสกิตมีมูลค่าตลาดใกล้เคียงกันหรือมากกว่า ดังนั้นในแง่ของการลงทุนการทำธุรกิจสแนกที่เมืองไทยมีความคุ้มค่ากว่า สำหรับการทำตลาดของสยามร่วมมิตรมุ่งเน้นกลุ่มสแนกเป็นหลัก ซึ่งกลุ่มนี้มีอนาคตมากที่สุด แม้เราจะจับตลาด 2 กลุ่ม แต่เราคงมุ่งเน้นทำตลาดไปที่สินค้าที่มีโอกาสทางธุรกิจ ทำกำไร
สัดส่วนธุรกิจของบริษัทโดยหลักๆ 80-90 % เป็นสินค้ากลุ่มสแนกและมีสัดส่วนเพียง 15% ที่เป็นสินค้าจับตลาดแคทธิเกอรี่บิสกิต ภายใต้แบรนด์ "อาร์เซนอลคุกกี้" ซึ่งเป็นคุกกี้รูปแบบสแนก ทำตลาดเฉพาะกลุ่ม และมียอดขายสูงสุดในช่วงเทศกาลเพราะให้เป็นของขวัญปีใหม่ ทำให้ไม่ได้รับผลกระทบจากสินค้านำเข้า"
สยามร่วมมิตร วางเป้าหมายจะมียอดขายประมาณ 3-5 ปีข้างหน้าเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า โดยปี 2554 ตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 4-5 พันล้าน โดยใช้กลยุทธ์เพื่อรักษาฐานลูกค้าดั้งเดิม จะมีการแตกไลน์สินค้าเพิ่มรสชาติใหม่ สร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดไม่ให้เกิดความจำเจ และการสร้างแบรนด์ใหม่ๆ หรือขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพ ตั้งเป้าออกสินค้าในกลุ่มนี้ 1-2 แบรนด์ต่อปี ส่วนอัตราการเติบโตของธุรกิจของปีนี้ มีอัตราการเติบโตประมาณ 10%
|
|
 |
|
|