|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทักษิณลา ทำอีเวนท์รัฐหด บิ๊กอีเว้นท์ไทยปรับกระบวนยุทธ์ใหม่รับปีกุน ลุยตลาดต่างประเทศ - ดึงเทคโนโลยีเสริมทัพ
บริษัทรับจัดอีเว้นท์รายใหญ่เมืองไทย พร้อมใจตั้งโต๊ะแถลงข่าวผลประกอบการพร้อมกางแผนยุทธศาสตร์ลุยตลาดอีเว้นท์ปี 50 ซีเอ็ม-ปิโก-อินเด็กซ์ หัวใจตรงกันเน้นนวัตกรรมใหม่เสริมทัพธุรกิจ ขอลุยตลาดต่างประเทศ ทุกค่ายฟันธงปีหน้าอีเว้นท์ภาครัฐหดตัว หลังจากได้อานิสงฆ์เต็มคราบจากงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และงานราชพฤกษ์ 2006 ส่งผลปีหน้าเอกชนเนื้อหอม ทุกบริษัทแห่รุมจ้องตาเป็นมัน
ก่อนทิ้งทวนปีจอ 49 บริษัทซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้การกุมบังเหียนของ เสริมคุณ คุณาวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ได้ออกมาโชว์ตัวเลขผลประกอบการตลอด 3 ไตรมาสที่ผ่านมา ซีเอ็มมีรายได้รวม 540 ล้านบาท และมีกำไรถึง 65 ล้านบาท ในขณะที่ปีก่อนปิดที่ 512 ล้านบาท คิดเป็นกำไร 30 ล้านบาท รายได้ทะยานสูงขึ้นกว่า 20% นี้เป็นผลมาจากการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ให้กับกลุ่มภาครัฐและเอกชนทั้งหลาย
อย่างไรก็ตามอานิสงฆ์ของการจัดงานสารพัดบิ๊กอีเว้นท์ให้กับภาครัฐที่เม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 4,000-5,000 ล้านบาทนั้น สอดคล้องกับตัวเลขรายได้ของ 'ปิโก' อีกหนึ่งค่ายบริษัทรับจัดอีเว้นท์รายใหญ่ของเมืองไทย ที่ได้รับการยืนยันจาก ศีลชัย เกียรติภาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) ตลอดปี 2549 ที่กำลังจะผ่านไป ปิโกเองมีรายได้จากภาครัฐขยายตัวสูงถึง 150% เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ ทำให้สัดส่วนลูกค้าจากภาครัฐสูงขึ้นถึง 30% และภาคเอกชนอีก 70% ส่งผลให้ปิโกมีรายได้รวมในปีนี้อยู่ที่ 1,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54% คิดเป็นกำไรสุทธิประมาณ 71 ล้านบาท ในขณะที่ บริษัท อินเด็กซ์ อีเว้นท์ เอเจนซี่ จำกัด (มหาชน) เองก็มีผลประกอบการรวม 635 ล้านบาท สูงจากปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละ 53 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการรับจัดงานให้กับภาครัฐนี้ด้วย
แต่ทว่าบรรยากาศที่หอมหวนไปด้วยอีเว้นท์ใหญ่ ๆ จากภาครัฐคงอยู่ได้ไม่นาน เพราะนโยบายเศรษฐกิจแบบพอเพียงของรัฐบาลชุดใหม่นี้ต้องการลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่เกินความจำเป็น ซึ่งตรงข้ามกับนโยบายเศรษฐกิจเชิงการตลาดของรัฐบาลยุคที่แล้วอย่างสิ้นเชิง ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าปีหน้าเม็ดเงินจำนวนประมาณ 5,000 ล้านบาท กว่าครึ่งอาจจะหายวับไปกับตา
"แนวโน้มธุรกิจอีเว้นท์ในปี 2550 ที่กำลังจะมาถึงนี้ จะอยู่ในภาวะชะลอตัว เนื่องจากภาครัฐซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายเงินจำนวนมากในช่วงที่ผ่านมา จะไม่ให้ความสำคัญในการจัดอีเว้นท์มากนักในปีหน้า โดยมีหลายโครงการที่ได้ถูกยเลิกไปแล้วเช่น งานกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น" เสริมคุณ บอสใหญ่จากค่ายซีเอ็ม ออการ์ไนเซอร์ กล่าวถึงเม็ดเงินที่ได้จากภาครัฐในปีหน้า ซึ่งแนวคิดนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับประธานเจ้าหน้าที่บริหารของปิโก ที่ต้องรอดูนโยบายการดำเนินงานของรัฐบาลชุดนี้ให้ชัดเจนก่อน โดยทิศทางการเติบโตของภาครัฐในปีหน้าอาจจะส่งผลลบหรือผลบวกต่อธุรกิจก็ได้ แต่ถ้าเป็นงานภาคเอกชน อัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องต้องมีขึ้นอย่างแน่นอน เพราะการทำอีเว้นมาร์เก็ตติ้ง เป็นเครื่องมือการตลาดที่วัดผลได้และสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงได้โดยตรง
ส่วนด้านอินเด็กซ์ฯ ยังให้ความสำคัญกับตลาดอีเว้นท์สำหรับเครื่องดื่มแอลกฮอล์ต่าง ๆ เพิ่มเติมด้วย โดยคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดงานไป เพื่อเน้นกลุ่มลูกค้าให้เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ในขณะที่ภาครัฐ ทางอินเด็กซ์ฯ มองว่าน่าจะลดงบประมาณในส่วนการจัดอีเว้นท์ลงถึง 50% ในปีหน้า
อีเว้นท์ไทยหวังโกยเงินอินเตอร์
ตลาดผู้จัดอีเว้นท์ในไทยนับวันผู้เล่นจะทวีคูณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไล่ตั้งแต่ขนาดกลางจนถึงรายย่อยผุดขึ้นราวกับดอกเห็ดที่ขึ้นมารับงานอีเว้นท์ต่าง ๆ ทำให้การแข่งขันในตลาดมีสูงมาก ดังนั้นการเปิดตลาดต่างประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชียจึงเป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่จะเข้ามาใหม่ ๆ นอกเหนือจากงานภายในประเทศอย่างเดียว ที่ผ่านมามีหลายเจ้าที่โกอินเตอร์ออกไปสร้างตลาดไว้ก่อนหน้า เริ่มตั้งแต่ค่ายอินเด็กซ์ ที่หาญกล้าเข้าไปลงทุนในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกลุ่มตะวันออกกลาง ล่าสุดได้เข้าร่วมประมูลการจัดสร้างกิจกรรมกลางแจ้งในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ที่ประเทศกาตาร์ ด้วยเหตุผลที่ว่ากลุ่มประเทศนี้เป็นตลาดพรีเมี่ยมชั้นดีแม้จะมีขนาดเล็กกว่าตลาดเมืองไทยก็ตาม แต่ท้ายที่สุดก็แพ้ให้แก่ออกาไนเซอร์จากประเทศอังกฤษและฝรั่งเศสไป
แต่ค่ายล่าสุดที่ประกาศลั่นขอลุยตลาดอีเว้นท์ในต่างประเทศคือ ซีเอ็ม ออกาไนซ์ที่แทคทีมธุรกิจกับบริษัท บายน เรดิโอ แอนด์ เทเลวิชั่น จำกัด ผู้ประกอบการโทรทัศน์รายใหญ่ของกัมพูชา ผุดบริษัท บายน ซีเอ็ม ออร์กาไนเซอร์ จำกัด ด้วยเงินลงทุน 10 ล้านบาท ถือหุ้น 75% เพื่อรับงานอีเว้นท์ด้านท่องเที่ยวและธุรกิจไมซ์ ตลอดจนจากงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ ในประเทศกัมพูชา ในขณะที่เวียดนามและจีนกำลังอยู่ในขั้นตอนการเจรจา
"รูปแบบการเข้าลุยเข้าตลาดต่างประเทศนั้น จะเน้นหนักไปด้านใดจะต้องดูถึงพฤติกรรมผู้บริโภคและสภาวะตลาดในประเทศนั้นเป็นหลักด้วย อย่างกรณีกัมพูชา ที่โดดเด่นในเรื่องท่องเที่ยวและธุรกิจสื่อที่กำลังบูม เราก็ต้องเน้นจับทางนี้ให้อยู่ ส่วนเวียดนามก็สดใสในเรื่องตลาดคอนซูมเมอร์โพรดัคส์ ดังนั้นจะรุกในประเทศไหนก็ต้องดูทิศทางตลาดด้วย"
ในขณะที่ 'ปิโก' ยักษ์ใหญ่อีเว้นท์ในเมืองไทยเตรียมรองรับลูกค้าเอกชนจากภาคอุตสาหกรรมทั้ง รถยนต์ การสื่อสารโทรคมนาคม พลังงาน สถานบันการเงินและประกัน รวมไปถึงอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ด้วย โดยกลุ่มลูกค้าเหล่านี้จะเป็นบริษัทข้ามชาติจากฝั่งยุโรปและอเมริกามากขึ้นกว่าเดิม เหตุเพราะตลาดในฝั่งเอเชียแปซิฟิกมีโอกาสเติบโตได้สูงกว่าในประเทศแม่ โดยทางปิโกจะโชว์จุดแข็งในเรื่องของ 'Global and Local'เข้าแข่งในระดับสากล คือเน้นทั้งในประเทศและนอกประเทศ เพราะคาดว่าบริษัทอีเว้นท์ข้ามชาติต่าง ๆ จะต้องแห่ตามสินค้าที่เข้ามาในเมืองไทยอย่างแน่นอน รวมไปถึงการเพิ่มจุดขายในเรื่องการจัดนิทรรศการ-พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ (Quality Value Knowledge)
ขอใช้นวัตกรรม ชิงความเป็นหนึ่ง
ค่ายนักจัดอีเว้นท์ตัวใหญ่ ๆ ของเมืองไทยทุ่มงบไม่อั้น เพื่อพัฒนาดึงประโยชน์จากไฮเทคโนโลยีมาใช้จัดงานเพิ่มเพื่อความอลังการและกุมหัวใจลูกค้าให้กลับมาใช้บริการอีก เริ่มต้นที่อินเด็กซ์เองก็ทุ่มงบประมาณไม่น้อยเพื่อพัฒนาด้านเทคโนโลยีที่ใช้จัดอีเว้นท์ให้เป็นที่หนึ่งในตลาด ตั้งแต่การใช้ 'Spiny Strategy'คือการรวบรวมเครื่องมือการตลาดทั้งหมดที่อินเด็กซ์มีมาใช้ในงานอีเว้นท์ ทั้งอุปกรณ์แสง สี เสียง เอฟเฟ็กต์พิเศษต่าง ๆ รวมไปถึงลูกเล่นทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ตั้งแต่ต้นปี เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการความโดดเด่นและให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด
ในฟากออกาไนเซอร์อย่าง ซีเอ็ม ที่หมายมั่นปั้นมือจะให้ความสุดยอดในเรื่องเทคโนโลยีทั้งด้านแสง สี เสียงและอุปกรณ์ด้านเครือข่าย มาเป็นหนึ่งในหัวหอกที่จะใช้กลับมาทวงตำแหน่งแชมป์ในธุรกิจกลุ่มคอปเปอร์เรท มาร์เก็ตติ้ง (Corporate Marketing) นอกเหนือจากการพัฒนาระบบลูกค้าเพื่อสร้างบริการให้ต่อเนื่อง และทำไอเอ็มซีให้ครบวงจรมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงเพิ่มบุคลากรที่มีความชำนาญมาเสริมทัพอีกด้วย
|
|
|
|
|