Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มกราคม 2536








 
นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2536
"สามเหลี่ยมอินโดจีน"             
 

 
Charts & Figures

แผนการลดภาษีตามข้อตกลงในบัญชีเร่งด่วนเฉพาะสินค้าที่มีภาษีเกินกว่า 20%
สรุปจำนวนรายสินค้าที่ประเทศสมาชิกเสนอลดภาษีลง


   
search resources

International
Financing




"อัตราเงินเฟ้อที่ลดลง การยกเลิกปิดล้อมของสหรัฐฯ จะทำให้ปีหน้าเวียดนามมีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น อาเซียนจะต้องสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง โดยดึงเอาเวียดนามเข้าสู่แบบสามเหลี่ยมแห่งการเติบโตของอาเซียนด้วย"

ในวันที่ 1 มกราคม 2536 ก็ได้ก่อกำเนิดเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา อันประกอบด้วยหกประเทศสมาชิกคือ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน และไทย ซึ่งเป็นตลาดของประชากรรวมกันมากกว่า 320 ล้านคน

อาเซียนก่อตัวขึ้นครั้งแรกในวันที่ 8 สิงหาคม 2510 โดยสมาชิก 5 ประเทศ โดยมีบรูไนเข้ามาร่วมด้วยเป็นประเทศที่หกเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2527 ในรอบ 10 ปีแรกบทบาทของอาเซียนในทางเศรษฐกิจมีจำกัดมาก ความร่วมมือในทางเศรษฐกิจเริ่มการขยายตัวอย่างจริงจังภายหลังการประชุมสุดยอดครั้งแรกที่กรุงบาหลี (Bali Summit) ประเทศอินโดนีเซียในปี 2519

โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันประกอบด้วยโครงการสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน โครงการร่วมทุนทางอุตสาหกรรมของอาเซียน (AIJV) และโครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AIC)

ในส่วนของโครงการระบบสิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (PTA) นั้นเริ่มดำเนินการครั้งแรกในวันที่ 1 มกราคม 2521 โดยประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ให้การลดหย่อนอัตราภาษีศุลกากร (Preferential Trading Arrangement หรือ PTA) ในขณะนี้จำนวนสินค้าที่อยู่ในระบบดังกล่าวมีทั้งสิ้น 20,916 รายการ โดยแต่ละรายการได้รับการลดหย่อนภาษีศุลกากรระหว่างร้อยละ 25-50

อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติปรากฏว่าระบบพีทีเอ (PTA) นี้ ไม่ประสบความสำเร็จทั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็น เพราะรายการสินค้าส่วนใหญ่ไม่ตรงกับความต้องการของแต่ละประเทศ นอกจากนั้นยังมีการกีดกันทางการค้าในรูปอื่น

ความล้มเหลวของระบบพีทีเอประกอบกับการขยายตัวของการรวมกลุ่มการค้าโลก ไม่ว่าจะเป็นยุโรปตลาดเดียวหรือเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (นาฟตา) อีกทั้งการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่มีอัตราเร่งที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในสองทศวรรษที่ผ่านมา อันส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศสมาชิกมีลักษณะเสริมระหว่างกันยิ่งขึ้น (Complimentarity)

ปัจจัยทั้งสามประการดังกล่าวนี้นับว่ามีส่วนกระตุ้นสู่การรวมตัวของอาเซียนในรูปของเขตการค้าเสรีในที่สุด แนวความคิดในด้านการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในรูปธรรมเกิดขึ้น จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่สาม ณ กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2530 อย่างไรก็ตาม ในปี 2534 รัฐบาลไทยภายใต้นายกรัฐมนตรีอานันท์ ปันยารชุน ก็ได้พยายามผลักดันแนวความคิดดังกล่าวจนได้รับความเห็นชอบจากการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 7-8 ตุลาคม 2534 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์ ระหว่างวันที่ 27-28 มกราคม 2535 ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้ลงนามในเอกสารว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น

สาระสำคัญของข้อตกลงก็คืออาเซียนจะมีการจัดตั้งเขตการค้าเสรี (AFTA) โดยใช้อัตราภาษีพิเศษเท่าเทียมกัน (CEPT) เป็นกลไกในการบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จใน 15 ปี โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2536 และเมื่อครบกำหนด 15 ปีแล้วอัตราภาษีของสินค้าระหว่างประเทศสมาชิกจะเท่ากับร้อยละ 0-5 โดยสินค้าที่จะอยู่ในข่ายการลดภาษีเพื่อให้เป็นเขตการค้าเสรีนั้นจะประกอบด้วยสินค้าอุตสาหกรรม และสินค้าเกษตรแปรรูปจะเห็นได้ว่าสินค้าเกษตรนั้นจะไม่รวมอยู่ในข้อตกลง

อย่างไรก็ตาม ได้มีการจัดหมวดสินค้าไว้ 15 หมวดที่จะมีการเร่งลดอัตราภาษี (Fast Track) ซึ่งจากการประชุมของคณะมนตรีอาเซียนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2525 ก็ได้กำหนดระยะเวลาไว้ 10 ปี สินค้า 15 ประเภทที่อยู่ในข่ายการเร่งลดภาษีนั้นประกอบด้วยน้ำมันพืช ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ เภสัชภัณฑ์ ปุ๋ย พลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์หนัง เยื่อกระดาษ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เซรามิกและแก้ว อัญมณีและเครื่องประดับ แคโทดทำจากทองแดงเครื่องอิเล็กทรอนิกส์และเฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย

โดยสรุปในรายการที่จะต้องเร่งลดภาษี (Fast Track) นั้นสินค้าที่ภาษีสูงกว่าร้อยละ 20 จะลดเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี และสินค้าที่มีอัตราภาษีที่ร้อยละ 20 หรือต่ำกว่านี้ก็จะลดให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 7 ปี

ในรายการที่มิได้เร่งลดภาษี (Normal Track) หรือที่เรียกว่าโปรแกรมลดภาษีตามปกตินั้น สินค้าที่มีอัตราภาษีร้อยละ 20 หรือต่ำกว่านั้นให้มีการลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 10 ปี

ส่วนสินค้าที่มีภาษีสูงกว่าร้อยละ 20 ก็จะลดลงสองระยะ โดยในระยะแรกจะลดเหลือร้อยละ 20 ภายใน 5-8 ปีและเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน 7 ปี

นอกจากนั้นในการตกลงของอาฟตาเคาน์ซิลยังได้กำหนดให้มีการใช้วัตถุดิบ (Local Content) ร้อยละ 40 โดยคิดจากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือสะสมรวมกันหลายประเทศสมาชิกอาเซียนก็ได้

การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งจะเริ่มอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 มกราคม 2536 นั้นย่อมจะส่งผลทั้งในแง่ดีและแง่เสียต่อประเทศสมาชิกและประเทศที่สามอื่นๆ และนำไปสู่การปรับโครงสร้างการผลิตและการค้าระหว่างประเทศสมาชิกของอาเซียนและประเทศอื่นๆ ในอนาคตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในช่วงที่อาเซียนมีการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ประเทศในคาบสมุทรอินโดจีน โดยเฉพาะเวียดนามก็มีพลวัตอย่างมากโดยคาดว่าในปี 2536 นั้นจะเป็นการก้าวกระโดดครั้งใหม่ของเศรษฐกิจเวียดนาม อันเป็นผลมาจากความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจมหภาคของเวียดนาม และอีกส่วนหนึ่งจากการยกเลิกการปิดล้อมทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาที่จะต่อเวียดนาม ในส่วนการเปลี่ยนแปลงภายในนั้นอาจกล่าวได้ว่ารัฐบาลเวียดนามประสบความสำเร็จในการเร่งการขยายตัวในทางเศรษฐกิจ หลังจากที่เคยทรุดตัวลง โดยคาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเวียดนามในปี 2535 นี้จะสูงถึงร้อยละ 5 หลังจากที่เคยขยายตัวเพียงร้อยละ 2 เมื่อสองสามปีก่อน การขยายตัวนั้นเกิดขึ้นทั้งภาคเกษตร ซึ่งมีแรงงานกว่าร้อยละ 70 และภาคอุตสาหกรรม ในส่วนของเงินเฟ้อนั้นรัฐบาลเวียดนาม ก็สามารถแก้ไขจนภาวะเงินเฟ้อลดลงจากร้อยละ 140 ในปี 1991 เหลือร้อยละ 27 ในปี 1992

การส่งออกของเวียดนามก็ขยายตัวมากจนทำให้เกิดการค้าเกินดุลเป็นครั้งแรกอันเป็นประวัติการณ์ ผลพวงจากภาวะเงินเฟ้อที่ดีและการค้าที่ดีขึ้นทำให้ค่าแลกเปลี่ยนของเงินดองก็มีเสถียรภาพโดยทรงตัวอยู่ในระดับ 10,700 ดองต่อหนึ่งเหรียญสหรัฐ การลงทุนจากต่างประเทศก็เพิ่มขึ้นถึงกว่าพันล้านเหรียญโดยมีไต้หวันและฮ่องกงเป็นนักลงทุนรายใหญ่ที่สุด

การยกเลิกการปิดล้อมทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาต่อเวียดนาม เปิดโอกาสให้สถาบันการเงิน เช่น ธนาคารโลก หรือธนาคารพัฒนาแห่งเอเชียตลอดจนรัฐบาลญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอื่นๆ ให้ความช่วยเหลือแก่เวียดนามได้อย่างเต็มที่ และจะเป็นแรงผลักดันสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆ ในโลก

การเปลี่ยนแปลงทั้งในส่วนของอาเซียนและอินโดจีนดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ย่อมหมายถึงความจำเป็นในการปรับความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอินโดจีนโดยเฉพาะเวียดนาม

ตรรกที่จะอธิบายถึงพลวัตของทั้งสองกลุ่มประเทศคือ ความจำเป็นในการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างกัน (Linkage) เพื่อผลประโยชน์ต่างตอบแทน มาตรการหรือกลไกที่จะสร้างความเชื่อมโยงดังกล่าวก็คือ การขยายเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนและอินโดจีน โดยหยิบยืมแนวคิดว่าด้วยสามเหลี่ยมแห่งการขยายตัว (Growth Triangle) มาใช้

กล่าวคือการสร้างเขตความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยใช้เงินทุนและเทคโนโลยีของประเทศที่ก้าวหน้าในอาเซียน เพื่อใช้แรงงานหรือวัตถุดิบที่ถูกในประเทศอินโดจีนโดยเขตการจัดตั้งนั้น อาจเป็นชายแดนติดต่อระหว่างกันหรืออาจใช้เขตส่งเสริมการส่งออกในประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นเกณฑ์

ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างการเชื่อมโยงระหว่างอาเซียนกับอินโดจีน เป็นเงื่อนไขสำคัญสำหรับการขยายความร่วมมือในภูมิภาคและการสร้างสันติภาพอันยั่งยืนในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us