Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์1 มกราคม 2550
"ADVANC-ITV" น้ำลดตอผุด             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
ชินคอร์ปอเรชั่น, บมจ.




หลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนไปหลังทักษิณ ชินวัตร พ้นจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรีโดยฉับพลัน ปมปัญหาที่เคยกดเอาไว้ก็โผล่ เอไอเอสรายได้ลดลงแน่จากแนวทางใหม่ของไอซีที ส่วนไอทีวีสาหัส เจ็บหนักหรือไม่อยู่ที่ความเมตตาของรัฐ กลายเป็นการบ้านชิ้นใหญ่ให้กับผู้ถือหุ้นรายใหม่

หลังจากมีการเข้ายึดอำนาจดูเหมือนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในเครือข่ายชิน คอร์ป ที่แม้จะเคยเกิดข้อท้วงติงในยุคที่ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เรื่องเหล่านั้นก็ผ่านพ้นไปได้ทุกครั้ง แต่ในครั้งนี้บริษัทในเครือ 2 แห่งคือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC และบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV กำลังเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่

เริ่มจากข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ได้เสนอแนวทางปรับเปลี่ยนการจัดสรรส่วนแบ่งรายได้ในการให้บริการโทรศัพท์แบบเติมเงิน โดยกำหนดให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ส่งรายได้ให้แก่เจ้าของสัมปทานจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 25 ของรายได้ และปรับลดการส่งรายได้ในส่วนของโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบจดทะเบียนจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ซึ่งจะทำให้เอกชนทุกรายต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้แก่รัฐเท่ากัน นั่นหมายถึงรายได้ของ ADVANC จะลดลงมาใกล้เคียงกับผู้ให้บริการรายอื่น

เนื่องจาก ADVANC จ่ายส่วนแบ่งรายได้ 30% จากบริการแบบรายเดือนและ 20% จากบริการแบบเติมเงิน มาเป็นจ่ายที่ 25% ของการให้บริการทั้ง 2 ประเภท เริ่มตั้งแต่ต้นปี 2550 จนหมดอายุสัมปทาน ย่อมกระทบต่อรายได้ของบริษัท เนื่องจากรายได้จากลูกค้าในระบบเติมเงินของ ADVANC คิดเป็น 66% ของรายได้รวม

นอกจากนี้ยังมีปัญหาในเรื่องค่าใช้โครงข่าย หรือ แอ็คเซ็ส ชาร์จ ที่ค่ายดีแทคและทรูมูฟ ต้องจ่ายให้บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ในอัตรา 200 บาทต่อเลขหมายสำหรับโทรศัพท์ประเภทจดทะเบียน และอัตราร้อยละ 18 ของรายได้สำหรับประเภทบัตรเติมเงิน ขณะที่เอไอเอสเป็นเพียงผู้ให้บริการรายเดียวที่ได้สิทธิพิเศษได้ลดส่วนแบ่งรายได้โทรศัพท์แบบเติมเงิน และไม่ต้องจ่ายค่าเชื่อมเครือข่ายเพราะเป็นคู่สัญญาโดยตรงของทีโอที

รวมถึงค่าเชื่อมโยงเครือข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ ที่เอไอเอสต้องจ่ายค่าเชื่อมโยงเครือข่ายให้กับทีโอที จึงเป็นที่มาของการจับมือระหว่างดีแทคและทรูมูฟประกาศหยุดจ่ายค่าเชื่อมโยงเครือข่าย

เรื่องดังกล่าวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เตรียมส่งสัญญาสัมปทานธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมทุกฉบับให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความใหม่เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการแข่งขัน ถือได้ว่าไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับเอไอเอส เพราะสิทธิประโยชน์ที่มีเหนือคู่แข่งนับวันจะยิ่งลดลง หลังจากที่นายกรัฐมนตรีชื่อทักษิณ ชินวัตร พ้นจากเก้าอี้โดยฉับพลัน

อีกบริษัทหนึ่งที่ถือว่าประสบเคราะห์กรรมที่หนักหนาสาหัสคือ บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ที่ศาลปกครองสูงสุดได้ยืนยันคำพิพากษาศาลปกครองกลาง ในกรณีที่ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ

ส่งผลให้ไอทีวีต้องปรับผังรายการใหม่กลับไปสู่การนำเสนอรายการที่เป็นสาระ 70% บันเทิง 30% ต้องกลับไปจ่ายค่าสัมปทานในอัตรา 44% ของรายได้หรือ 1,000 ล้านบาทต่อปี จากเดิมที่จ่ายค่า 230 ล้านบาทต่อปี รวมถึงต้องจ่ายค่าสัมปทานย้อนหลังบวกดอกเบี้ย 15% ต่อปีเกือบ 3 พันล้านบาท และต้องจ่ายค่าปรับกรณีปรับผังรายการที่ผิดสัญญาสัมปทาน

รวมแล้วค่าปรับที่คิดเป็นรายวันตามที่สำนักปลัดนายกรัฐมนตรีคำนวณออกมาราว 1 แสนล้านบาท แต่ยังต้องรอข้อสรุปการเจรจาต่อรองค่าปรับกันอีกครั้ง

ที่ผ่านมาไอทีวีได้ปรับผังรายการจากเดิมที่ต้องเสนอรายการที่เป็นสาระ 70% บันเทิง 30% มาเป็นรายการสาระ 50% บันเทิง 50% หลังจากอนุญาโตตุลาการตัดสินให้ไอทีวีชนะคดีพิพากกับสำนักปลัดนายกรัฐมนตรีเมื่อ 30 มกราคม 2547 จากนั้นสำนักปลัดนายกมีการยื่นอุทธรณ์และเมื่อ 9 พฤษภาคม 2549 ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ ถัดมาทางไอทีวีจึงยื่นอุทธรณ์และผลตัดสินเมื่อ 13 ธันวาคม 2549 ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำตัดสินของศาลปกครอง

บริษัทลูกชิน คอร์ป ทั้ง 2 รายล้วนแล้วแต่ได้รับผลกระทบที่มีผลต่อรายได้ของบริษัท หลังจากที่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่ง แม้ก่อนหน้านี้จะมีการร้องเรียนหรือมีคดีความกันบ้าง แต่เรื่องต่าง ๆ กลับเดินไปอย่างช้า ๆ ถึงวันนี้ดูเหมือนว่าที่หนักหนาสาหัสมากที่สุดคงเป็นกรณีของไอทีวีที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานในอัตราเดิม ผลิตรายการในสัดส่วนสาระต่อบันเทิงตามเดิม และค่าปรับที่น่าจะได้ข้อสรุป แม้จะไม่สูงถึงแสนล้านบาท แต่ก็ทำให้ตัวไอทีวีคงต้องมีปัญหาต่อสถานะทางการเงินไม่น้อย

เพราะที่ผ่านมาในส่วนของไอทีวีผู้ที่ออกมาขับเคลื่อนเรียกร้องให้ช่วยรักษาไอทีวีกลับเป็นพนักงาน ผู้บริหารดูเหมือนจะมีความพยายามต่อสู้ในเรื่องเหล่านี้น้อยเกินไป ส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ยังคงเงียบกริบในเรื่องนี้

งานนี้ผู้ถือหุ้นใหญ่รายใหม่จากสิงคโปร์คงต้องคิดหนักว่าจะสู้ต่อหรือจะถอดใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us