|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แม้เศรษฐกิจประเทศไทยจะแข็งแกร่งโดยพื้นฐาน แต่สำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะต่างชาติไม่ได้รับรู้แค่ปัจจัยดังกล่าว หากยังมองรวมไปถึงการเมืองและนโยบายของรัฐบาลว่ามีเสถียภาพมั่งคงเพียงใด ซึ่งยามนี้เรียกได้ว่าความมั่นใจของนักลงทุนยังไม่เต็มร้อย ความลังเลยังมีให้เห็นอยู่ และด้วยจุดนี้เองที่ทำให้พยากรณ์ได้ว่า เศรษฐกิจไทยปี 2550 อาการทรงตัว คือไม่เจ็บไข้ได้ป่วย แต่ก็ไม่ได้โตหวือหวาจนน่าประหลาดใจ
นักเศรษฐศาสตร์หลายสำนัก พยากรณ์ไปในทางเดียวกันว่า เศรษฐกิจไทยปี2550 คงพึ่งภาคการส่งออกดังเช่นปี 2549 ไม่ได้ เหตุผลประการหนึ่งเพราะเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้รายได้ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจนำเข้าและส่งออกลดลง ยังไม่รวมต้นทุนจากการซื้อเครื่องมือคุ้มครองความเสี่ยงที่เป็นภาระผู้ประกอบการมากขึ้นเมื่อค่าเงินมีความผันผวน
อีกทั้งคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐอเมริกาที่ส่งสัญญาณความเปราะบางทางเศรษฐกิจ ซึ่งแน่นอนว่ามหาอำนาจทางการค้ากำลังซื้อลดลงมีหรือที่ประเทศทั่วโลกจะไม่ได้รับผลกระทบจากภาคการนำเข้าและส่งออก
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) พยากรณ์การขยายตัวเศรษฐกิจโลกในปี 2550 มีแนวโน้มชะลอตัวลง นอกเหนือจากสหรัฐแล้วยังมีกลุ่มประเทศยุโรป และญี่ปุ่น โดยรายงานจากIMFคาดว่าเศรษฐกิจโลกขยายตัวในอัตราที่ถดถอยคือ 4.9% ในขณะที่ปี 2549 อยู่ที่ 5.1%
แม้ภาพรวมการนำเข้าส่งออกจะยังไม่น่ากลัว เพราะประเทศไทยได้พยายามเปิดตลาดค้าขายใหม่ ๆ กับหลายประเทศ อีกทั้งปัจจัยค่าเงินที่แข็งขึ้นนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งภูมิภาคเอเชีย การเสียเปรียบทางการค้าจึงมีไม่มาก
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นตัวกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ดี คือ การทำงบประมาณปี 2550 แบบขาดดุล และเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นหลังมีรัฐบาล "ขิงแก่" เข้ามาบริหารประเทศ ทำให้มีเม็ดเงินออกไปกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุนของภาครัฐ โดยเฉพาะโครงการเมกะโปรเจกต์ ซึ่งการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนภาคเอกชนได้ลงทุนเพิ่ม
ดังนั้นคาดว่าปัจจัยหลักที่จะทำให้เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัว น่าจะเกิดจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และการลงทุนที่เพิ่มขึ้นของภาคเอกชน
อย่างที่กล่าว แม้โครงสร้างเศรษฐกิจไทยจะมีความแข็งแกร่ง หากแต่ความมั่นใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจน ในส่วนประเด็นเรื่องการเมืองแม้จะชัดเจนแต่ก็ยังตัดออกไปจากใจนักลงทุนไทยไม่หมด ยังเหลือความกังวลอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเรื่องคลื่นใต้น้ำที่ว่ากันว่ายังกระเพื่อมอยู่
ส่วนนโยบายที่ใช้แนวคิด "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นตัวนำ นักลงทุนมีความเข้าใจมากขึ้น แต่สิ่งที่นักลงทุนโดยเฉพาะต่างชาติต้องการคือความชัดเจนในรายละเอียดนโยบายของภาครัฐต่อทิศทางการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
โดยภาพรวม เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังไปได้ หากแต่ รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจต้องช่วยกันสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน แม้ว่าขั้วอำนาจทางการเมืองเปลี่ยนแต่เศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งไม่ร่อแร่แน่นอน
ส่วนจะดีกว่าเดิมหรือไม่นั้นต้องดูปัจจัยหลายอย่างประกอบ เนื่องจากโลกยุคโลกาภิวัตน์ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงนั้นนำมาซึ่งทั้งผลบวกและผลลบได้เช่นกัน และอีกประเด็นที่สำคัญไม่แพ้กัน คือนโญบายทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ต้องมีความแม่นยำมากกว่านี้ ไม่ใช่ออกมาแล้วปั่นป่วนจนนักลงทุนตัวเกร็งกันหมด การกระทำแบบนี้บั่นทอนความเชื่อมั่นนักลงทุนได้เช่นกัน
สำหรับประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2550 สศค.คาดว่าขยายตัว 4.5-5% ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศๆไทย (ธปท.) คาดว่าขยายตัว 4.5-5.5% ส่วนภาพรวมปี 2549 ขยายตัวที่ 4.5% ภาพรวมเศรษฐกิจปี 2550 จึงอยู่ในขั้นทรง ๆ คือไม่มีดีไม่มีร้าย หากไม่มีปัจจัยที่คาดไม่ถึงเข้ามากระทบ
|
|
|
|
|